WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Tuesday, July 12, 2011

กูรูใหญ่ "ณรงค์ เพ็ชร์ประเสริฐ" มองต่างมุม หนุนขึ้นค่าแรง 300 บาท ฝากการบ้านข้อใหญ่ให้รัฐบาลปู

ที่มา มติชน



นโยบาย ค่าแรงขั้นต่ำ เป็นนโยบายสำคัญที่พรรคการเมืองต่างๆ ชูเป็นประเด็นแรกในการหาเสียง โดยเฉพาะพรรคเพื่อไทยที่ประกาศอย่างชัดเจนว่าจะปรับเป็น 300 บาท

ภาย หลังที่พรรคเพื่อไทยชนะการเลือกตั้ง ก็ยิ่งมีการพูดกันมากว่าจะเป็นไปได้มากน้อยแค่ไหน ที่สำคัญคือจะทำได้หรือไม่ แม้ ดร.โอฬาร ไชยประวัติ หัวหน้าทีมเศรษฐกิจพรรคเพื่อไทย ได้ชี้แจงว่า พรรคต้องการยกระดับฐานะของคนยากคนจนให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น และยืนยันว่า เมื่อเป็นรัฐบาลจะเร่งพิจารณาในระดับไตรภาคี เพื่อนำไปสู่การปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำในทุกพื้นที่ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคมปีหน้าเป็นต้นไป

ขณะที่หลายฝ่ายก็ออกมาระบุ ว่า นโยบายดังกล่าวจะส่งผลโดยตรงทำให้นายจ้างหรือสถานประกอบการต้องแบกรับภาระ ต้นทุนที่เพิ่มสูงขึ้น ธุรกิจเอสเอ็มอีจะต้องปิดกิจการ จะเกิดการย้ายฐานการผลิตไปยังประเทศเพื่อนบ้าน อีกทั้งจะทำให้แรงงาน ต่างด้าวทะลักเข้ามาในประเทศเพิ่มมากขึ้น จนกลายเป็นปัญหาความมั่นคง แม้จะเป็นความหวังของแรงงานไม่ว่าจะเป็นคนไทยหรือต่างด้าวก็ตาม

จากนโยบายการปรับค่าแรงขั้นต่ำของพรรคเพื่อไทยที่มีทั้งคนเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยนั้น รศ.ดร.ณรงค์ เพ็ชรประเสริฐ อาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ให้สัมภาษณ์กับ "มติชนออนไลน์" ถึงกรณีนโยบายขึ้นค่าแรงขั้นต่ำว่า ที่ผ่านมาเราไม่ได้มองถึงปัญหาค่าจ้างขั้นต่ำว่าเป็นปัญหาหรือไม่ มากกว่านั้นการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำเป็นไปเพื่อการพัฒนาประเทศหรือไม่ ถ้าเป็นการพัฒนาประเทศก็เป็นสิ่งที่ดี แต่ถ้าการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำเพื่อทำตามนโยบายอย่างเดียวโดยไม่ได้คำนึง ถึงเรื่องอื่นก็ไม่ได้ประโยชน์อะไร

คำ ถามก็คือว่า การปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำเป็นการเพิ่มรายได้ด้วยหรือไม่ หากมีการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำแล้วไม่เป็นการลดรายได้ก็จะเกิดปัญหาตามมา เพราะก่อนหน้านี้กรุงเทพมหานครขึ้นค่าแรงไปแล้ว 9 บาท เมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมา ผลปรากฎว่าค่าครองชีพสูงขึ้น กล่าวคือคือ ได้ค่าแรงเพิ่ม 9 บาทต่อวัน แต่ราคาก๋วยเตี๋ยวเพิ่มจาก 25 บาท เป็น 30 บาท ถ้าวันหนึ่งกิน 3 มื้อ ก็เท่ากับว่าต้องจ่ายค่ากินเพิ่มอีก 15 บาทต่อวัน

ฉะนั้น จึงสรุปได้ว่าค่ากินเพิ่มขึ้นมากกว่าค่าจ้าง หากเทียบกับการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำเป็น 300 บาท (คิดจากฐานของกรุงเทพและปริมณฑล) ก็เท่ากับว่าเพิ่มขึ้นอีก 85 บาท เพราะเดิมเคยได้ 215 บาทต่อวัน หากสินค้าที่เรากินอยู่ต่อวันเพิ่มขึ้นเป็น 100 บาทต่อวัน การปรับขึ้นค่าแรงก็ไม่ได้ประโยชน์อะไร นี่จึงเป็นตัวอย่างหนึ่งที่สะท้อนให้เห็นอย่างชัดเจน

เท่า ที่ผ่านมาระบบรากฐาน เศรษฐกิจของบ้านเราจะอยู่ภายใต้อำนาจของตลาด ทำให้สินค้าหลายประเภทมีอำนาจในการปรับขึ้นราคาสินค้า ปัญหาก็คือว่าการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำมีผลต่อการขึ้นราคาสินค้า ในทางเศรษฐศาสตร์แล้วการปรับขึ้นค่าแรงแบบนี้จะเรียกว่า ค่าจ้างเพิ่มแต่รายได้ลด ในเมื่อธุรกิจในไทยมีอำนาจเหนือตลาดแล้ว การปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ แต่ค่าครองชีพหรือรายได้ไม่มั่นคง หรือสูงกว่ารายรับที่เพิ่มขึ้น ก็เสมือนเป็นการลงโทษแรงงานมากกว่า ถ้าแรงงานเพิ่มอีก 100 บาท ของอย่างอื่นก็ปรับขึ้นหมด ทำให้ค่าใช้จ่ายในการบริโภคเพิ่มตาม ถ้าถามว่ารายได้เพิ่มแล้วสินค้าแพง ก็เท่ากับว่ารายได้ลงลง แม้ปริมาณเงินจะเพิ่มขึ้น ขณะที่การเพิ่มค่าแรงขึ้นอีก 85 บาทในกรุงเทพฯ แล้วรัฐบาลสามารถดูแลไม่ให้ราคาสินค้าปรับขึ้นได้ ก็เป็นสิ่งที่ดีและสามารถทำได้

ขณะ ที่ผู้ประกอบการมีการเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำเป็น 300 บาท ก็ไม่ได้มีผลกระทบมากนัก ขณะเดียวกันผู้ประกอบการจะได้ประโยชน์มากกว่า เพราะว่า การขึ้นค่าแรงเป็นส่วนหนึ่งของต้นทุนในการผลิต ซึ่งน้อยกว่าต้นทุนการผลิตอื่นๆ ด้วยซ้ำ เพราะการผลิตจะต้องดูภาพรวมหลายอย่างประกอบกัน ผู้ประกอบการเองก็อาศัยการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำขยับราคาสินค้าได้ แต่ในเชิงธุรกิจแล้วก็มักจะอ้างการเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำ เพราะแท้ที่จริงแล้วค่าแรงไม่ได้มีผลต่อการทำธุรกิจ การครองชีพของแรงงานมากกว่าที่เป็นปัญหา และการดำเนินนโยบายของพรรคการเมืองก็ไม่ได้ทำความเข้าใจว่า การเพิ่มค่าจ้างจะเป็นการช่วยเหลือแรงงานนั้น เป็นความเข้าใจผิดอย่างยิ่ง

นอกจากนี้ รศ.ดร.ณรงค์ ยังกล่าวกับ "มติชนออนไลน์" อีกว่า ปัญหา อีกอย่างหนึ่งก็คือ การปรับค่าแรงขั้นต่ำไม่ได้อธิบายว่าจะเป็นค่าแรงนั้นจะเป็นรายได้ที่แท้ จริง ที่ไม่ใช่การขึ้นค่าจ้างพร้อมๆ กับการขึ้นราคาสินค้า ถ้าตั้งใจเพิ่มให้จริง จะต้องทำให้แรงงานอยู่ได้ และต้องสินค้าหรือค่าครองชีพลดลงด้วย คำถามหลังจากนี้ก็คือ ที่ขึ้นค่าแรงขั้นต่ำเป็นการเพิ่มหรือลดรายได้ ขณะเดียวกัน ผู้ประกอบการหรือแรงงานที่จะได้ประโยชน์

จาก เหตุการณ์หรือสิ่งที่เกิดขึ้น จะทำให้การปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำในต่างจังหวัดยิ่งเป็นปัญหาใหญ่ เพราะมีค่าแรงที่ต่ำกว่า ขณะเดียวกันสินค้าอุปโภค บริโภคทั้งหลายจะต้องมีราคาที่สูงกว่า หากมีการปรับขึ้นราคาสินค้า ไม่ว่าจะเป็นค่าขนส่งต่างๆ ขณะเดียวกันทางกระทรวงแรงงานได้เอาค่าครองชีพของกรรมกรไปถัวเฉลี่ยกับชาวนา ทั้งที่กรรมกรมีค่าใช้จ่ายทุกอย่าง ค่าเดินทางสูงกว่า ต้องออกจากบ้านทุกวัน แต่ชาวนาอาจจะไม่ต้องออกบ้านทุกวัน ฉะนั้นจึงคิดถัวเฉลี่ยไม่ได้ และกระทรวงแรงงานก็ไม่เคยแยกแยะตรงนี้

ปัญหา ภายหลังการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำก็จะทำให้แรงงานต่างด้าว ด้าวเข้ามาประเทศไทยเพิ่มมากขึ้นนั้น เป็นสิ่งที่ปฏิเสธไม่ได้ หากจะปรับค่าแรงให้เฉพาะคนไทย มันจะผิดหลักการอยู่ 2 หลัก คือ กฎหมายค่าจ้างขั้นต่ำไม่ได้หมายถึงเฉพาะคนไทยเท่านั้น แต่ยังรวมถึงต่างด้าวด้วย อีกอย่างก็คือว่า ไม่เป็นการปฏิบัติตามอนุสัญญาของแรงงาน เพราะจะต้องไม่มีการแบ่งแยกเชื้อชาติ หากแบ่งแยกเชื้อชาติก็เท่ากับว่าไม่เป็นการเคารพอนุสัญญา หรือเป็นการเบี้ยวแรงงาน ยิ่งไม่ปรับค่าแรงขั้นต่ำให้แรงงานต่างด้าว ก็เสมือนเป็นการตอกย้ำว่าเราเบี้ยวค่าแรง มากกว่านั้นก็คือว่า สิ่งที่นโยบายระบุไปนั้นไม่เคารพกติกาสากล

ส่วน กรณีที่มีการขึ้นค่าแรงไปแล้วนั้น ต้องอย่าลืมว่า ยังมีอีกหลายปัจจัยที่ไม่ได้คิด เพราะการมีนโยบายปรับขึ้นค่าแรง ก็เท่ากับเป็นการชี้โพรงให้กระรอก กล่าวคือ เมื่อไม่มีการขึ้นให้ต่างด้าวก็เหมือนเป็นการชี้แนะให้นายทุนหรือผู้ประกอบ การเลือกใช้แรงงานต่างด้าวมากยิ่งขึ้น อนาคตคนไทยก็จะตกงาน เมื่อเอาเข้าจริงแล้วบริษัทใหญ่โดยเฉพาะธุรกิจที่อยู่ภายใต้พรรคเพื่อไทย คงไม่ปรับขึ้นค่าแรงตาม และถ้าบอกว่าขึ้นให้ราชการเป็น 15,000 บาท พรรคเพื่อไทยก็คงไม่เดือดร้อนหรือทำงานหนัก เพราะราชการได้เงินเดือนจากภาษีประชาชน แต่ปัญหาอยู่ที่ว่าจะรับราชการเพิ่มอีกกี่คน ในเมื่อมีนโยบายลดจำนวนข้าราชการอยู่


อย่าง ไรก็ตาม รศ.ดร.ณรงค์ ยังเห็นด้วยกับการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ แต่จะขึ้นอย่างไรให้เขาอยู่ได้ หรือขึ้นค่าแรงแล้วทำให้มีรายได้เพิ่มอย่างแท้จริง ค่าครองชีพไม่สูง แรงงานอยู่ได้ ที่สำคัญต้องไม่เป็นการลงโทษแรงงานจากการขึ้นค่าแรง หรือเป็นการชี้โพรงให้กระรอก


นี่จึงเป็นโจทย์ที่พรรคเพื่อไทยจะต้องคิดต่อ !!!