WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Friday, July 15, 2011

ไทยรัฐ:เยอรมันหลู่พระเกียรติพระบรมฯ อ้างสื่อผู้ดีเผยทางการอินทรีเหล็กขออภัยในความไม่สะดวก

ที่มา Thai E-News



หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ฉบับวันทื่ 15 กรกฎาคม พาดหัวข่าวใหญ่ว่า เยอรมันผิดพลาด สั่งอายัด โบอิ้งส่วนพระองค์ โดยมีรายละเอียดรายงานข่าวดังนี้

เผย เยอรมันลบหลู่พระเกียรติ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯสยามมกุฎราชกุมาร สั่งอายัดเครื่องบินโบอิ้ง 737 ซึ่งเป็นเครื่องบิน ส่วนพระองค์ระหว่างจอดอยู่ที่สนามบินมิวนิก อ้างเป็นของรัฐบาลไทย จะนำไปชดใช้ให้กับบริษัทวอเตอร์ บาวน์ ของประเทศเยอรมัน ที่ฟ้องร้องกับรัฐบาลไทยเรื่องสัมปทานการก่อสร้างทางดอนเมืองโทลล์เวย์ “กษิต” บินด่วนไปเจรจาให้ถอนอายัดขอเครื่องบินคืน ยันเป็นเครื่องบินส่วนพระองค์ไม่เกี่ยวกับรัฐบาล ชี้เป็นความผิดพลาดอย่างใหญ่หลวงของกระบวนการยุติธรรมเยอรมัน ด้านกระทรวงต่างประเทศเยอรมันออกแถลงการณ์ขออภัยแล้ว

เว็บไซต์ หนังสือพิมพ์เทเลกราฟของอังกฤษ รายงานอ้างอิงคำแถลงของกระทรวงการต่างประเทศเยอรมัน ระบุว่ารัฐบาลเยอรมันขออภัยในความไม่สะดวกที่เกิดขึ้นกับสมเด็จพระบรมโอรสา ธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร อันเป็นผลจากการยึดเครื่องบินลำดังกล่าว และมิได้เปิดเผยรายละเอียดเพิ่มเติม

ตามที่ศาลเยอรมันได้อายัด เครื่องบินโบอิ้ง 737 ที่ท่าอากาศยานนครมิวนิก เมื่อวันที่ 13 ก.ค.นั้น ที่กระทรวงการต่างประเทศ เมื่อเวลา 17.10 น. วันที่ 14 ก.ค. นายกษิต ภิรมย์ รมว.ต่างประเทศ แถลงว่า ได้เกิดข้อพิพาทระหว่างรัฐบาลไทยกับบริษัทวอเตอร์ บาวน์ ของเยอรมัน ซึ่งได้เลิกกิจการไปแล้ว แต่ได้มอบหมายให้ทนายความเป็นผู้จำหน่ายทรัพย์สินของบริษัทดังกล่าว ซึ่งถือเป็นเรื่องขัดแย้งกันเกี่ยวกับสัมปทานในการก่อสร้างดอนเมืองโทลล์ เวย์ เมื่อปี 2548 และได้ดำเนินการตามกระบวนการยุติธรรมตั้งแต่ไต่สวนที่ฮ่องกง และมาสิ้นสุดที่นครเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ โดยมีคณะอนุญาโตตุลาการ ที่ดำเนินการภายใต้อนุสัญญานิวยอร์ก ว่าด้วยอนุญาโตตุลาการ เมื่อวันที่ 1 ก.ค. 2552 ได้ชี้ขาดให้ราชอาณาจักรไทยชดใช้ค่าเสียหายให้กับบริษัทวอเตอร์ บาวน์ เป็นเงินประมาณ 30 ล้านยูโร บวกดอกเบี้ยอีก 6 เดือน ในอัตราร้อยละ 2 ตั้งแต่วันที่ 3 ธ.ค. 2549 รวมถึงค่าใช้จ่ายในกระบวนการอนุญาโตตุลาการของบริษัทนี้ เป็นเงินเกือบ 2 ล้านยูโร

นายกษิตกล่าวว่า โดยเหตุผลที่ชี้ขาดให้ไทยเป็นผู้แพ้คดีคือ เพราะรัฐบาลไทยผิดพันธกรณี กระทั่งเมื่อวันที่ 26 มี.ค. 2553 บริษัทดังกล่าวได้เริ่มดำเนินการให้บังคับตามคำชี้ขาดตามคณะอนุญาโตตุลาการ ที่นครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา ซึ่งรัฐบาลไทยได้อุทธรณ์โดยสำนักงานอัยการสูงสุดของไทย โดยกระทรวงคมนาคมเป็นเจ้าของเรื่อง และมีกระทรวงการต่างประเทศช่วยดำเนินการอุทธรณ์ด้วย ทั้งนี้ ผลออกมาบังคับให้ไทยต้องจ่ายเงินชดเชยในประเทศใดก็ได้ ที่เป็นสมาชิกของอนุสัญญานิวยอร์ก ว่าด้วยอนุญาโตตุลาการ อีกทั้งบริษัทดังกล่าวยังได้ฟ้องร้องต่อศาลยุติธรรมของเยอรมันด้วย ทำให้เมื่อวันที่ 11 ก.ค.ที่ผ่านมา ศาลยุติธรรมของเยอรมันได้มีคำพิพากษาให้อายัดเครื่องบินในสมเด็จพระบรมโอรสา ธิราชฯ สยามมกุฎ ราชกุมาร ที่จอดอยู่ที่นครมิวนิก ของเยอรมัน ทั้งนี้ ตนได้ทราบเรื่องดังกล่าวตั้งแต่เช้ามืดวันที่ 13 ก.ค. จึงได้เร่งดำเนินการมาจนถึงวันนี้

“ทางเจ้าทุกข์ และศาลเยอรมัน สามารถอายัดทรัพย์สินของรัฐบาลไทยได้ แต่เครื่องบินลำนี้ที่จอดอยู่นั้นเป็นของส่วนพระองค์ ไม่เกี่ยวกับทรัพย์สินของรัฐบาลไทย เพราะฉะนั้นในแง่กฎหมาย เราถือว่าเป็นการอายัดทรัพย์สินส่วนบุคคล ถือเป็นการผิดพลาดอย่างใหญ่หลวง เราได้ยืนยันเรื่องนี้ผ่านทางการทูต ผ่านทางสถานทูตไทยที่กรุงเบอร์ลิน และตนได้มีหนังสืออย่างเป็นทางการถึง รมว.ต่างประเทศเยอรมัน ซึ่งเมื่อท่านได้รับเรื่อง ก็ส่งมอบให้ปลัดกระทรวงการต่างประเทศเยอรมันติดต่อกลับมาหาผมในทันที แสดงว่าเขามีความห่วงใยเรื่องนี้เป็นอย่างมาก ขณะเดียวกัน สถานทูตไทยในกรุงเบอร์ลิน ก็ได้ติดต่อกับกรมสนธิสัญญาของกระทรวงการต่างประเทศเยอรมันอย่างใกล้ชิดด้วย โดยเราได้ยื่นหลักฐานคือใบทะเบียนแสดงความเป็นเจ้าของว่าเป็นเครื่องบินของ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ ไม่ใช่ของรัฐบาลไทย” นายกษิตกล่าว

รมว.ต่าง ประเทศกล่าวด้วยว่า นอกจากนี้ คณะทำงานฝ่ายกฎหมายของไทย ที่ประกอบด้วยสำนักงานอัยการสูงสุด และรองอธิบดีกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย กระทรวงการต่างประเทศ ได้เดินทางไปถึงนครมิวนิกแล้วเมื่อช่วงเช้าของวันนี้ พร้อมกันนี้ นายจริยวัฒน์ สันตะบุตร เอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงเบอร์ลิน ได้ไปพบกับทนายความที่ฝ่ายไทยแต่งตั้งขึ้นและในคืนวันนี้ เวลา 23.00 น. ตนจะออกเดินทางไปยังกรุงเบอร์ลิน เพื่อพบกับรัฐบาลเยอรมันแสดงความกังวลใจและไม่สบายใจอย่างยิ่งต่อสิ่งที่ เกิดขึ้น และถือเป็นความผิดพลาดอันใหญ่หลวงของกระบวนการยุติธรรมของเยอรมัน ที่ไต่สวนแต่เพียงฝ่ายโจทก์เพียงฝ่ายเดียว อีกทั้งยังได้รับข้อมูลที่คาดเคลื่อนจากทนายฝ่ายโจทก์ จนส่งผลให้เกิดความเสียหายอย่างมาก เชื่อว่าหากทางเยอรมันได้รับข้อมูลจากเรา คาดว่าในเร็วๆนี้ จะสามารถหาข้อยุติในเรื่องนี้ได้ โดยเป้าหมายแรกของเราคือ ต้องถอนอายัดเครื่องบินพระที่นั่งดังกล่าวในทันที ส่วนกระบวนการต่อสู้คดีก็ยังเป็นเรื่องของรัฐบาลไทยกับบริษัทวอเตอร์ บาวน์ ต่อไป


"อภิสิทธิ์" คาด 4 โมงเย็นรู้ผลศาลเยอรมันถอนอายัดเครื่องบินส่วนพระองค์หรือไม่

เวบ ไซต์ASTVผู้จัดการ รายงานความคืบหน้าว่า นายกฯ เผยอสส.แจงศาลเยอรมันขอถอนอายัดเครื่องบินส่วนพระองค์พระบรมฯ แล้ว คาด 4 โมงเย็นรู้ผล ยันไม่ใช่เครื่องบินของรัฐ เชื่อทุกอย่างคลี่คลายได้ ชี้เรื่องคดีความอยู่ในระหว่างอุทธรณ์ สับผู้ฟ้องไม่ควรทำ ยันไทยพร้อมทำตามคำพิพากษาสูงสุด ระบุเป็นเรื่องเอกชนฟ้องไม่เกี่ยวรัฐบาล ไม่กระทบสัมพันธ์ระหว่างประเทศ

วันนี้ (15 ก.ค.) ที่ซอยสุขุมวิท 31 นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี รักษาการหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีที่ทางการเยอรมันอายัดเครื่องบินโบอิ้ง 737 ส่วนพระองค์สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามกุฎราชกุมาร ว่า เมื่อวันที่ 14 ก.ค.ทางอัยการสูงสุดได้เดินทางไปยังเยอรมันเพื่อนำข้อเท็จจริงไปให้ศาล เยอรมันได้พิจารณาว่าเครื่องบินลำดังกล่าวเป็นเครื่องบินส่วนพระองค์ ซึ่งศาลได้รับฟังข้อเท็จจริงแล้วโดยเวลา 11.00 น.ตามเวลาท้องถิ่นเยอรมันซึ่งตรงกับเวลา 16.00 น.ตามเวลาประเทศไทยจะมีการตัดสินว่าจะมีการถอนอายัดเครื่องบินหรือไม่

โดย ทางฝ่ายไทยหวังว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงคำตัดสิน และคงชัดเจนเพราะที่ผ่านมาศาลเข้าใจคลาดเคลื่อนว่าเครื่องบินลำนี้เป็นของ รัฐบาลซึ่งความจริงไม่ใช่ ทั้งนี้รัฐบาลไทยได้ประสานงานทุกช่องทางเพื่อเร่งแก้ไขปัญหาให้เร็วที่สุด ขณะที่รัฐบาลเยอรมันได้อำนวยความสะดวกทางด้านกฎหมายให้กับฝ่ายไทย และถือว่าเป็นเรื่องของเอกชนที่ไปฟ้องศาลซึ่งฝ่ายบริหารจะเข้าไปแทรกแซงศาล ไม่ได้ คิดว่าทุกอย่างน่าจะคลี่คลายได้ ทางกระทรวงการต่างประเทศได้ชี้แจงรายละเอียดทั้งหมดแล้วว่าเรื่องทั้งหมดที่ เกิดขึ้นไม่ได้เกี่ยวข้องกับสมเด็จพระบรมฯ และทรัพย์สินของพระองค์ท่านไม่ควรเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องด้วย

นาย อภิสิทธิ์ กล่าวอีกว่า ส่วนคดีหลักเรื่องการฟ้องเรียกค่าเสียหายจากรัฐบาลไทยนั้นอยู่ระหว่างที่ กำลังยื่นอุทธรณ์ที่ศาลนครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา ซึ่งเราไม่ทราบว่าจะใช้เวลามากน้อยแค่ไหนแต่ที่ผ่านมาคดีจะใช้เวลามากพอ สมควร ขณะนี้ทางอัยการสูงสุดมีข้อมูลที่เป็นประโยชน์ในชั้นอุทธรณ์ เมื่อถามว่า รัฐบาลจะแก้ไขปัญหาที่จะอาจจะถูกอายัดทรัพย์สินของรัฐบาลอย่างไร นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ไม่ควรจะมีเรื่องนี้เกิดขึ้น และทางอัยการสูงสุดกำลังดำเนินการแต่ปัญหาที่เกิดขึ้นขณะนี้เพราะเป็นช่วง รอยต่อของคดีที่ไทยเตรียมยื่นอุทธรณ์ในวันที่ 29 ก.ค.นี้ ตามข้อเท็จจริงแล้วไม่มีความจำเป็นอะไรที่ต้องมาอายัดทรัพย์สินอะไร เพราะเมื่อชั้นสุดท้ายศาลตัดสินอย่างไรหรือให้ประเทศไทยชำระหนี้เราต้อง ปฏิบัติตามอยู่แล้ว รัฐบาลไม่มีทางหนีไปไหนทรัพย์สินของรัฐบาลมีอยู่มากมาย และเป็นเรื่องที่ต้องดำเนินการไม่มีเหตุผลอะไรที่จะไม่ปฏิบัติตาม ดังนั้นไม่มีความจำเป็นใดๆที่ทางการเยอรมันจะต้องมาดำเนินการอะไร

เมื่อ ถามว่า ทางกระทรวงการต่างประเทศตั้งข้อสังเกตว่ากระบวนการการไต่สวนของเยอรมันทำไม ไต่สวนฝ่ายเดียว นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ตนไม่อยากไปวิจารณ์กระบวนการยุติธรรมแต่เราข้องใจว่าทำไมถึงไต่สวนฝ่ายเดียว เข้าใจว่าฝ่ายผู้ร้องคงจะอ้างว่าเป็นเรื่องฉุกเฉิน และเป็นมาตรการชั่วคราวที่จะดำเนินการอย่างเร่งด่วน อย่างไรตาม ขณะนี้ภารกิจสำคัญคือให้มีการถอนอายัดเครื่องบินของพระองค์ท่านเสียก่อน และต่อไปไม่ควรมีปัญหาแบบนี้เกิดขึ้นซึ่งเป็นเรื่องของเอกชน เมื่อถามว่า ที่นายกฯระบุว่าเป็นเรื่องเอกชน และอัยการสูงสุดดำเนินการอยู่มาตรการเป็นอย่างไร นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ทางอัยการสูงสุดเตรียมการไว้แล้วในชั้นนี้ไม่อยากให้เอามาปะปนทำให้เกิดความ สับสนเพราะภารกิจเร่งด่วนคือการถอนอายัด

เมื่อถามว่า ในฐานะที่เป็นรัฐบาลจะชี้แจงกับประชาชนเพราะส่งผลกระทบความรู้สึกประชาชน นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า อยากให้ประชาชนทราบว่ารัฐบาลให้ความสำคัญดำเนินการเรื่องนี้เต็มที่ ตลอดระยะเวลา 2 วันที่ผ่านมาดำเนินการเต็มที่ไม่ว่านายกษิต ภิรมย์ รมว.ต่างประเทศ เอกอัครราชไทยประจำเยอรมัน อัยการสูงสุด และทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง คิดว่าภายในวันที่ 15 ก.ค.นี้เรื่องทุกอย่างจะจบลงได้ นอกจากนั้นขอให้เข้าใจว่าปัญหาที่เกิดขึ้นไม่ใช่เรื่องของรัฐบาลเยอรมัน แต่เป็นเรื่องเอกชนรายหนึ่งที่ไปฟ้องศาลและใช้อำนาจศาล ซึ่งรัฐบาลเยอรมันไม่มีอำนาจไปแทรกแซงแต่ได้อำนวยความสะดวกอย่างดีให้เราใช้ สิทธิ์ทางกฎหมาย ดังนั้นปัญหาที่เกิดขึ้นไม่ส่งผลกระทบความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ แต่เอกชนเป็นอีกเรื่องหนึ่ง