ที่มา Thai E-News
ผู้ ประท้วง 74 คน เจ้าหน้าที่ทหารตำรวจ 11 คน เจ้าหน้าที่หน่วยแพทย์ 4 คน และผู้สื่อข่าว 2 คนถูกสังหาร กองกำลังฝ่ายความมั่นคงได้ใช้กำลังเกินกว่าเหตุ ทั้งการใช้อาวุธปืนที่มุ่งหมายชีวิตและการประกาศ “เขตกระสุนจริง” เป็นเหตุให้ผู้ประท้วงและคนทั่วไปที่ไม่มีอาวุธหลายคนเสียชีวิต ..รัฐบาลได้ควบคุมตัวประชาชนกว่า 450คนในช่วงเริ่มต้นการประท้วง และยังมีอีก 180 คนที่ถูกควบคุมตัว (รายงาน-ของAMNESTY,รูปประกอบ-จากแฟ้มภาพ)
โดย ชำนาญ จันทร์เรือง
13 กรกฎาคม 2554
เมื่อ ต้นเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล(Amnesty International)หรือที่เรารู้จักกันโดยทั่วไปว่าองค์การนิรโทษกรรมสากล ได้จัดทำรายงานประจำปี 2554 เพื่อรายงานสถานการณ์การละเมิดสิทธิมนุษยชนของประเทศต่างๆทั่วโลก ซึ่งรวมถึงประเทศไทยเราด้วย (อ่านรายงานฉบับภาษาอังกฤษจากเวบไซต์สำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภีย แห่งสหประชาชาติ)
โดย รายงานดังกล่าวมีประเด็นที่สำคัญๆว่ายังมีการเซ็นเซอร์เว็บไซต์ วิทยุ และโทรทัศน์รวมทั้งสื่อสิ่งพิมพ์ มีความเข้มงวดมากขึ้น เช่นเดียวกับการควบคุมจำกัดเสรีภาพในการแสดงความเห็น
ความรุนแรงจาก การขัดแย้งกันด้วยกำลังอาวุธภายในประเทศที่ภาคใต้ยังดำเนินต่อ ไป โดยกองกำลังฝ่ายความมั่นคงยังคงซ้อมทรมานและปฏิบัติอย่างโหดร้ายต่อผู้ต้อง สงสัย
ในขณะที่สมาชิกกลุ่มติดอาวุธยังคงโจมตีพลเรือน ส่วนผู้ชุมนุมต่อต้านรัฐบาลที่กรุงเทพฯ และอีกหลายจังหวัดต้องเผชิญกับการใช้กำลังเกินกว่าเหตุของกองกำลังฝ่ายความ มั่นคง และยังคงมีการควบคุมตัวผู้ประท้วงอีกหลายร้อยคน
โดยพระราช กำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินมีข้อบัญญัติหลายประการที่ ขัดต่อกฎหมาย และมาตรฐานสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ และมีการประกาศใช้ที่กรุงเทพฯ เป็นเวลาเกือบ 8 เดือน
คนงานต่างด้าวที่ไม่มีสถานภาพตามกฎหมายต้องเผชิญกับการละเมิดสิทธิมนุษยชนรวมทั้งผู้ลี้ภัยก็ถูกบังคับส่งกลับพม่า
ความรุนแรงทางการเมือง
ระหว่าง วันที่ 10 เมษายน - 19 พฤษภาคม ผู้ประท้วงหรือคนทั่วไป 74 คน เจ้าหน้าที่ทหารตำรวจ 11 คนเจ้าหน้าที่หน่วยแพทย์ 4 คน และผู้สื่อข่าว 2 คนถูกสังหาร ในระหว่างการชุมนุมต่อต้านรัฐบาลที่กรุงเทพฯและที่จังหวัดอื่นๆ
กองกำลังฝ่ายความมั่นคงได้ใช้กำลังเกินกว่าเหตุ ทั้งการใช้อาวุธปืนที่มุ่งหมายชีวิต และการประกาศ “เขตกระสุนจริง” เป็นเหตุให้ผู้ประท้วงและคนทั่วไปที่ไม่มีอาวุธหลายคนเสียชีวิต พลตรีขัตติยะ สวัสดิผล ผู้นำกลุ่มประท้วงก็ถูกยิงจนเสียชีวิตจากพลแม่นปืนเมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม
ผู้ ประท้วงและสมาชิกบางส่วนก็มีอาวุธ และได้ใช้อาวุธต่อต้านกองกำลังฝ่ายความมั่นคง รัฐบาลได้ควบคุมตัวประชาชนกว่า 450คนในช่วงเริ่มต้นการประท้วง
และ ยังมีอีก 180 คนที่ถูกควบคุมตัวหรือไม่ก็ได้รับการประกันตัวออกมาระหว่างรอการไต่สวนคดี เมื่อปลายปีที่ผ่านมา บางส่วนถูกตั้งข้อกล่าวหาว่าก่อการร้าย
เสรีภาพในการแสดงความเห็น
รัฐบาล ได้ควบคุมเสรีภาพในการแสดงความเห็นโดยอ้าง พรก.ฉุกเฉินฯ กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพและพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับ คอมพิวเตอร์
• เมื่อเดือนตุลาคมนางอมรวรรณ เจริญกิจ(Amornwan Charoenkij) ถูกจับกุมตาม พรก.ฉุกเฉินฯที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เนื่องจากขายรองเท้าแตะที่มีรูปหน้านายกรัฐมนตรีและมีข้อความอ้างถึงผู้เสีย ชีวิตทั้ง 91 รายจากความรุนแรงเมื่อเดือนพฤษภาคม แม้ว่าขณะจับกุมจะมีการยกเลิกประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในพื้นที่ดังกล่าวแล้ว แต่มาตรา 9 (3) ตาม พรก.ฉุกเฉินมีเนื้อหาครอบคลุมทั่วประเทศ ซึ่งขัดกับหลักสัดส่วนความเหมาะสมตามกติการะหว่างประเทศ
พรก.ฉุก เฉินฯให้อำนาจกับศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) ที่ได้รับการจัดตั้งขึ้นมาใหม่เพื่อเซ็นเซอร์เว็บไซต์ วิทยุ และโทรทัศน์ รวมทั้งสื่อสิ่งพิมพ์โดยไม่ต้องขอหมายศาล ในช่วงการชุมนุมต่อต้านรัฐบาลที่เข้มข้นมากที่สุด ในแต่ละสัปดาห์ของช่วงสามสัปดาห์สุดท้ายในเดือนพฤษภาคม ศอฉ.ประกาศว่าได้บล็อกเว็บไซต์ 770, 1,150 และ 1,900แห่งตามลำดับ
กระทรวง เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารประกาศในเดือนมิถุนายนว่าได้บล็อก เว็บไซต์ในประเทศไทย 43,908 แห่ง โดยอ้างว่าละเมิดกฎหมายหมิ่นฯ และขัดต่อความมั่นคงภายในประเทศมีการฟ้องร้องดำเนินคดีอย่างน้อย 5 คดีตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ โดยอ้างว่ามีเนื้อหาดูหมิ่นสถาบันพระมหากษัตริย์และ/หรือเป็นภัยคุกคามต่อ ความมั่นคงภายในประเทศ เป็นเหตุให้มีคดีในเรื่องนี้ 15 คดีนับแต่ พรบ.ฉบับนี้มีผลบังคับใช้เมื่อปี 2550
• ในวันที่ 29 เมษายน นายวิภาส รักสกุลไทยนักธุรกิจได้ถูกจับกุมหลัง จากส่งข้อความในเฟซบุ๊คในข้อหาละเมิดกฎหมายหมิ่นฯ เขาได้กลายเป็นนักโทษทางความคิด(prisoner of conscience)ไม่ได้รับการประกันตัว และจนถึงสิ้นปีที่ผ่านมายังคงถูกควบคุมตัวเพื่อรอกำหนดวันไต่สวน
• ในวันที่ 24 กันยายน นางสาวจีรนุช เปรมชัยพรผู้อำนวยการเว็บข่าวประชาไทได้ถูกจับกุมเนื่อง จากมีข้อความแสดงความเห็นในเว็บไซต์ซึ่งเป็นการละเมิดกฎหมายหมิ่นฯ เธอได้รับการปล่อยตัวชั่วคราว และจนถึงสิ้นปีที่ผ่านมายังคงรอการสั่งฟ้องคดีจากอัยการ
ผู้ลี้ภัยและผู้อพยพเข้าเมือง
ชาว ต่างชาติซึ่งส่วนใหญ่มาจากเอเชียและไม่ว่าจะมีสถานะเข้าเมืองอย่างไร ยังต้องเผชิญกับการเลือกปฏิบัติ ทั้งในแง่การมีงานทำ การจ่ายค่าชดเชยหากเกิดอุบัติเหตุจากการทำงาน และการขึ้นทะเบียนคนพิการ ทั้งยังถูกจำกัดสิทธิในการเดินทาง และต้องทำงานในสภาพที่อันตรายและไม่เหมาะสม แม้จะมีข้อกล่าวหาว่ามีการรีดไถเงิน การทรมาน และการใช้ความรุนแรงต่อคนงานต่างด้าวโดยนายจ้างและเจ้าหน้าที่ โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ผู้รักษากฎหมาย
แต่ก็ไม่มีการสืบสวนสอบสวนหรือ ไม่มีการฟ้องร้องดำเนินคดีแต่อย่างใดภายหลัง การหลั่งไหลเข้ามาของผู้อพยพอย่างน้อย20,000 คนในช่วงต้นเดือนพฤศจิกายน หลายคนเดินทางกลับพม่าอย่างสมัครใจ แต่หลายคนก็ถูกบังคับให้กลับ หรือถูกห้ามไม่ให้ข้ามเข้ามายังพรมแดนฝั่งไทยซึ่งเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นตลอด ทั้งปีที่มีผู้ลี้ภัยหลบหนีการต่อสู้เข้ามาทางพรมแดนแบบประปราย
• ที่หมู่บ้านWaw Lay อำเภอพบพระ จังหวัดตาก ทางการไทยบังคับให้ผู้ลี้ภัยชาวพม่า 166 คนเดินทางกลับไปเมื่อวันที่ 25 ธันวาคม และบังคับส่งกลับอย่างน้อย 360 คนเมื่อวันที่ 8 ธันวาคมอีก650 คนเมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน และประมาณ2,500 คนเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน
การขัดแย้งกันด้วยกำลังอาวุธภายในประเทศ
การ ละเมิดสิทธิมนุษยชนจากทุกฝ่ายยังดำเนินต่อไปท่ามกลางการขัดแย้งกันด้วย กำลังอาวุธภายในประเทศที่เกิดขึ้นในจังหวัดภาคใต้ของไทย มีการขยายเวลาการประกาศใช้พรก.ฉุกเฉินเป็นครั้งที่ 21 นับแต่เดือนกรกฎาคม 2548 กองกำลังฝ่ายความมั่นคงยังคงทำการทรมานผู้ต้องสงสัย เป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิตหลายคนระหว่างถูกควบคุมตัว
• ในเดือนสิงหาคมตำรวจได้ยกเลิกข้อกล่าวหาทั้งหมดที่มีต่ออดีตทหารพรานที่ ถูกกล่าวหาว่าเกี่ยวข้องกับการสังหารหมู่ที่มัสยิดอัลฟุรกอน ซึ่งทำให้ชาวมุสลิมเสียชีวิตไป 10 คน และเป็นปีที่เจ็ดติดต่อกันที่ไม่มีการฟ้องร้องคดีต่อเจ้าหน้าที่ในข้อหาที่ เกี่ยวข้องกับการละเมิดสิทธิมนุษยชนในภาคใต้
จะเห็นได้ว่านอก เหนือจากการสลายการชุมนุมที่ราชประสงค์ด้วยกระสุนจริงซึ่ง ถือเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรงแล้ว เรายังมีการละเมิดสิทธิมนุษยชนอยู่โดยทั่วไปที่เราไม่ทราบ เพราะมีการปกปิดข้อมูลข่าวสาร ทำให้ดูเหมือนว่าบ้านเมืองเราสงบเงียบเมื่อสิ้นสุดสถานการณ์ที่ราชประสงค์ แต่ในสายตาของคนนอกนั้น เรายังอยู่ในสถานการณ์ของการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างรุนแรงอยู่ ซึ่งสวนทางกับร่างรายงานของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนของไทยเกี่ยวกับเหตุการณ์ นี้ที่สนับสนุนรัฐฐบาลในการใช้กำลังเข้าปราบปรามประชาชนอันขัดกันกับหลักการ ของสิทธิมนุษยชนอย่างสิ้นเชิง จนผมอยากตั้งคำถามต่อผู้อ่านว่าคณะกรรมการชุดนี้ว่ายังสมควรที่จะใช้ชื่อ “สิทธิมนุษยชน”อยู่ต่อไปหรือไม่
การมีรายงานจากองค์การระหว่างประเทศ ให้เราได้พิจารณาเปรียบเทียบเช่นนี้เป็น เสมือนกระเงาที่สะท้อนตัวตนที่แท้จริงของเรา ซึ่งผู้ที่ฉลาดย่อมที่จะเลือกมาใช้ประโยชน์ แต่ผู้ที่โง่เขลาย่อมก่นด่าและรังเกียจผู้ที่นำเสนอข้อมูลเช่นว่านี้
---------------
หมายเหตุ เผยแพร่ครั้งแรกในกรุงเทพธุรกิจ ฉบับประจำวันพุธที่ 13 กรกฎาคม 2554
*******(รายงานฉบับภาษาอังกฤษจากเวบไซต์สำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัย แห่งสหประชาชาติ)
Amnesty International Annual Report 2011 - Thailand
Head of state: King Bhumibol Adulyadej
Head of government: Abhisit Vejjajiva
Death penalty: retentionist
Population: 68.1 million
Life expectancy: 69.3 years
Under-5 mortality (m/f): 13/8 per 1,000
Adult literacy: 93.5 per cent
Official censorship of websites, radio and television stations, and print publications was tightened as freedom of expression remained restricted. Violence continued in the internal armed conflict in southern Thailand, with security forces subjecting suspects to torture and other ill-treatment, and members of Muslim armed groups attacking civilians, particularly teachers. Anti-government protests in Bangkok and several other provinces were characterized by excessive use of force by security forces, violent acts by some protesters, and the detention of several hundred prisoners. An Emergency Decree containing many provisions that contravened international human rights law and standards was in effect in Bangkok for almost eight months. Migrant workers with irregular status in Thailand faced a range of human rights abuses and, along with refugees, were forcibly returned to Myanmar.
Background
A political crisis polarized Thai society for a fifth consecutive year, spiking sharply after former Prime Minister Thaksin Shinawatra, deposed in a 2006 coup and in self-imposed exile, was convicted in his absence by a court in Bangkok in late February on corruption charges. Mid-March through late May saw increasingly violent anti-government protests by the United Front for Democracy against Dictatorship, partly affiliated with Thaksin Shinawatra. More than 90 people were killed, at least 2,000 others were injured, and 37 buildings in Bangkok were burned down. The government invoked the Internal Security Act in March and the Emergency Decree in April; the latter remained in place in Bangkok and three other provinces until almost the end of the year. In the aftermath of the violence, the government established several bodies for national reform and a Truth for Reconciliation Commission.
The internal armed conflict in southern Thailand continued, reaching a death toll of 4,500 since 2004. In November, Thailand experienced its largest single influx of refugees in 25 years when at least 20,000 refugees fled fighting across the Myanmar border.
Political violence
Between 10 April and 19 May, 74 protesters or passers-by, 11 members of the security forces, four medics and two journalists were killed during sometimes violent anti-government protests in Bangkok and elsewhere. The security forces used excessive force, including lethal use of firearms and "live fire zones", which killed several unarmed protesters and bystanders. Major General Khattiya Sawasdipol, a leader of the demonstrators' defences, was shot and killed by a sniper on 13 May. Some protesters and elements seemingly aligned with them were also armed and used lethal force against the security forces. The government detained over 450 people in the wake of the protests, approximately 180 of whom remained in detention or on bail pending trial at the end of the year. Some were charged with terrorism.
Freedom of expression
The government clamped down on freedom of expression, mainly through the Emergency Decree, the lèse majesté law, and the 2007 Computer-related Crimes Act.
In October, Amornwan Charoenkij was arrested under the Emergency Decree in Ayutthaya province – despite the Decree not being in effect there – for selling slippers featuring the Prime Minister's face and a message referring to the 91 dead from the May violence.
The Emergency Decree authorized the newly established Center for the Resolution of the Emergency Situation (CRES) to censor websites, radio and television stations, and printed publications without a court warrant. During each of the last three weeks of May, as violence during anti-government protests peaked, the CRES announced that it had censored 770, 1,150 and 1,900 websites, respectively. The Ministry of Information, Communication and Technology announced in June that it had blocked access in Thailand to 43,908 websites on grounds that they violated the lèse majesté law and national security.
At least five cases were brought under the Computer-related Crimes Act for content deemed offensive to the monarchy and/or a threat to national security, bringing the total to 15 since the Act was promulgated in 2007.
On 29 April, businessman Wipas Raksakulthai was arrested for forwarding a message on the social networking site, Facebook, which allegedly violated the lèse majesté law. A prisoner of conscience, he was refused bail and at the end of the year remained in detention awaiting a trial date.
On 24 September, Chiranuch Premchaiporn, director of online newspaper Prachatai, was arrested for comments posted on the website which violated the lèse majesté law. She was released on bail and at year's end was waiting for a referral to the public prosecutor.
Refugees and migrants
Migrant workers who did not register their status before a 28 February deadline were forcibly removed to Myanmar, and were subject to trafficking and extortion by both Thai officials and a Myanmar government-backed ethnic minority militia. In November, Thailand violated the principle of non-refoulement by forcing many refugees fleeing from fighting in Myanmar to return there, placing them at risk of serious human rights abuses. A government process with the stated aim of verifying the immigration status of over 1.4 million registered migrant workers was marred by concerns for the safety of Myanmar nationals who had to return to Myanmar to take part; unregulated brokers charging extortionate fees; and insufficient provision of information to those meant to take part. The verification process excluded the roughly 1.4 million other migrant workers who did not register with the immigration authorities before the 28 February deadline.
Irrespective of their immigration status, many foreign nationals – mainly from Asia – continued to face discrimination in access to work, industrial accident compensation, and disability registration, and were subject to restrictions on their movements as well as dangerous and unhealthy working conditions. Alleged instances of extortion, torture and other violence against migrant workers by both employers and officials, including, in particular, law enforcement officers, were either not investigated or not prosecuted.
Following an influx of at least 20,000 refugees in early November, many returned to Myanmar voluntarily, but others were forced to return or were prevented from crossing the border into Thailand. This was also true throughout the rest of the year in relation to smaller groups of refugees escaping sporadic fighting across the border.
In Waw Lay village in Phop Phra district in Tak province, Thai authorities forcibly returned 166 Burmese refugees on 25 December, at least 360 on 8 December, roughly 650 on 17 November, and approximately 2,500 on 10 November.
Internal armed conflict
Human rights abuses by all sides continued in the internal armed conflict in Thailand's predominantly Muslim southern provinces, where the Emergency Decree was renewed for the 21st time since July 2005 (it was lifted in one district in late December). The security forces continued to use torture on suspects, leading to several deaths in custody. Armed groups continued to target civilians, both Buddhist and Muslim, and to carry out indiscriminate attacks, particularly during the Ramadan period. Attacks on teachers and schools reached such a level in October that nearly all schools in the south closed for a week. On the sixth anniversary of the deaths of 85 people in Tak Bai, Narathiwat province, and after a 2009 decision not to prosecute the security forces involved, 14 co-ordinated bomb attacks took place, killing two people and injuring 74 others.
The government passed legislation to empower the civilian-led Southern Border Provinces Administrative Centre to operate independently of the military and report directly to the Prime Minister, but impunity continued for the security forces.
In August, the police dropped all charges against a former paramilitary ranger alleged to have been involved in a 2009 attack on the Al-Furqan mosque in which 10 Muslims were killed. For the seventh consecutive year, no official was successfully prosecuted for human rights violations in the south.
Death penalty
There were no known executions. As of August, there were 708 people facing the death penalty whose cases were on appeal or final, 339 of them for drug offences. On 13 January, the Minister of Interior announced a campaign to extend the death penalty for drug offences under three existing laws. These developments contradicted Thailand's Second National Human Rights Plan for 2009 to 2013 which included the intention to abolish the death penalty.
In both April and May, following outbreaks of violence between anti-government protesters and security forces, the government stated that some detainees would be charged with terrorism, which could result in the death penalty.
Death row prisoners continued to be shackled in leg irons upon arrival in prison despite a 2009 court decision (since appealed) declaring it "illegal". The Truth for Reconciliation Commission recommended in July that the practice be stopped immediately.
In December, Thailand abstained from a UN General Assembly resolution calling for a worldwide moratorium on executions, having voted against the resolution in 2007-2009.