WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Thursday, July 14, 2011

อายัด ‘โบอิ้ง 737’ ที่มิวนิค อ้างทวงหนี้ดอนเมืองโทลล์เวย์

ที่มา ประชาไท

13 ก.ค. 54 สื่อและสำนักข่าวต่างประเทศหลายสำนัก อาทิ บีบีซี รอยเตอร์ นิวยอร์กไทมส์ รายงานข่าวเกี่ยวกับเครื่องบินโบอิ้ง 737 ของกองทัพอากาศไทยถูกอายัดที่สนามบินมิวนิค โดยเจ้าหน้าที่เร่งรัดหนี้สินของบริษัทสัญชาติเยอรมัน วอลเตอร์ บาว (Walter Bau AG)

ทั้งนี้รายงานของ ‘แอนดรูว์ แมกเกรเกอร์ มาร์แชล’ ให้รายละเอียดว่าเครื่องบินลำดังกล่าวถูกอายัดเนื่องมาจากข้อเรียกร้องทาง การเงินที่มีต่อรัฐไทย โดยเจ้าหน้าที่เร่งรัดหนี้ของบริษัทในเยอรมันเมื่อวันอังคาร (12 ก.ค.) ที่ผ่านมา ซึ่งคาดว่ามาจากความพยายามเร่งรัดการทวงหนี้ในส่วนของบริษัทวอลเตอร์ บาว ซึ่งถือหุ้นจำนวน 10 เปอร์เซ็นต์ ในบริษัททางยกระดับดอนเมือง ซึ่งสร้างและดำเนินการทางด่วนยกระดับจากตัวเมืองกรุงเทพฯ เชื่อมต่อสนามบินดอนเมือง และต่อมาบริษัทวอลเตอร์ บาวล้มละลายในปี 2548 เจ้าหน้าที่จึงพยายามเร่งรัดหนี้ดังกล่าวให้กับเจ้าหนี้ โดยการเรียกร้องสินไหมต่อประเทศไทย สืบเนื่องจากการเปลี่ยนเงื่อนไขของข้อสัญญาในการสร้างทางด่วนและการปฏิเสธ การขึ้นค่าทางด่วนในปี 2547 ในสมัยอดีตนายกฯ ทักษิณ ชินวัตร ซึ่งถูกอ้างว่าเป็นสาเหตุให้ทำให้โครงการดังกล่าวขาดทุน

ในปี 2552 คณะอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศมีคำสั่งให้ประเทศไทยจ่ายเงินจำนวน 29.2 ล้านยูโรเป็นค่าชดเชย พร้อมค่าปรับ 1.98 ล้านยูโรเป็นค่าละเมิดสัญญา (การตัดสินใจและความเป็นมาที่เป็นปัญหาของโครงการทางยกระดับสนามบินดอนเมือง สามารถอ่านได้ที่นี่) ซึ่งรัฐบาลไทย โดยนายกรัฐมนตรี อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ไม่ยอมรับผลการตัดสินดังกล่าว และตัดสินใจสู้คดี โดยตั้งคณะกรรมการขึ้นมาเพื่อพิจารณาปัญหาดังกล่าว ซึ่งรายงานของ ‘แอนดรูว์ แมกเกรเกอร์ มาร์แชล’ ระบุว่า “เพื่อฝังกลบประเด็นดังกล่าวด้วยระบบราชการที่ยืดยาดและไม่มีวันจบสิ้น”

รายงาน ของอดีตผู้สื่อข่าวรอยเตอร์ผู้นี้ระบุว่า เหตุพิพาทดังกล่าวและคำสั่งให้รัฐบาลไทยจ่ายเงินค่าชดเชยโดยคณะอนุญาโต ตุลาการ เป็นเหตุให้ผู้ตรวจการทางการเงินของเอาส์เบอร์ก (Ausburg) แวร์เนอร์ ชไนเดอร์ (Werner Schneider) ซึ่งดูแลเรื่องการล้มละลายของวอลเตอร์ บาว ตัดสินใจทำการอายัดเครื่องบินลำดังกล่าวเพื่อเป็นมาตรการบังคับให้ประเทศไทย จ่ายหนี้ที่ค้างชำระ

ทั้งนี้ รายงานข่าวเกี่ยวกับเครื่องบินโบอิ้ง 737 ของกองทัพอากาศไทยถูกอายัดที่สนามบินมิวนิค ถูกนำเสนอในหน้าหนึ่งของเว็บไซต์สำนักข่าวต่างประเทศชื่อดังหลายแห่ง โดยระบุด้วยว่า เครื่องบินลำดังกล่าวเป็นเครื่องบินโบอิ้ง 737 ที่สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชทรงใช้เป็นการส่วนพระองค์ และย้ำว่าหนี้ดังกล่าวนั้นไม่ได้เกี่ยวข้องกับสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ แต่อย่างใด

อย่างไรก็ตาม นิวยอร์กไทม์ รายงานคำสัมภาษณ์ของนายธานี ทองภักดี โฆษกกระทรวงการต่างประเทศซึ่งยอมรับว่า มีการอายัดพระราชพาหนะลำดังกล่าวจริง แต่พระราชพาหนะดังกล่าวเป็นของส่วนพระองค์ ไม่ใช่ของรัฐบาลไทยตามที่สื่อมวลชนเข้าใจ และการกระทำครั้งนี้ถือเป็นเรื่องไม่เหมาะสมอย่างยิ่ง