ที่มา ประชาไท
นับ แต่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ(ป.ป.ช.)มีมติเมื่อ วันที่ 23 พฤศจิกายน 2553 ให้รับเรื่องร้องเรียน อดีตผู้บริหารศาลปกครองสูงสุดและพวกใน 2 กรณีคือ
หนึ่ง ถูกกล่าวหาว่า ใช้อำนาจหน้าที่โดยมิชอบในการเปลี่ยนองค์คณะตุลาการศาลปกครองสูงสุดในการ พิจารณาคดีมิให้นำมติ ครม.นายสมัคร สุนทรเวช เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2551 ซึ่งสนับสนุนการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก ไปดำเนินการใดๆ
สอง ถูกกล่าวหา ใช้อำนาจโดยมิชอบในการส่งคำร้องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า มาตรา 16 แห่ง พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินว่าขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญหรือ ไม่
(คลิกดู ป.ป.ช.หงอศาลปกครองสูงสุด ดองคดีแทรกกระบวนการยุติธรรม)
ปรากฏว่า เวลาผ่านไปกว่า 7 เดือน การไต่สวนในทั้งสองกรณีไม่มีความคืบหน้าใดๆเพราะ ดร.หัสวุฒิ วิฑิตวิริยกุล ประธานศาลปกครองสูงสุดไม่ยอมให้เข้ามาตรวจสอบในกรณีดังกล่าวโดยอ้างว่า คณะกรรมการ ป.ป.ช.ไม่มีอำนาจแทรกแซงการทำงานของตุลาการ
ดัง นั้น เมื่อคณะกรรมการ ป.ป.ช.มีมติให้เลขาธิการ ป.ป.ช.ทำหนังสือสอบถามข้อมูลข้อเท็จจริงเบื้องต้นจากสำนักงานศาลปกครอง นอกจาก ดร.หัสวุฒิจะไม่ยอมให้สำนักงานศาลปกครองส่งข้อมูลข้อเท็จจริงให้แก่คณะ กรรมการ ป.ป.ช.แล้ว ยังนำเรื่องเข้าพิจารณาในคณะกรรมการตุลาการศาลปกครอง(ก.ศป.)หลายครั้งและมี มติให้แต่งตั้งคณะกรรมการขื้นมาสอบสวนข้อเท็จจริงมีนายวิชัย ชื่นชมพูนุท รองประธานศาลปกครองสูงสุดเป็นประธาน
จนกระทั่งเมื่อเร็วๆนี้ คณะกรรมการฯชุดนายวิชัยได้สรุปข้อเท็จจริงทั้งสองกรณีว่า ไม่ มีมูลและแจ้งเรื่องให้แก่คณะกรรมการ ป.ป.ช.ทราบซึ่งจะมีการนำเรื่องเข้าพิจารณาในคณะกรรมการ ป.ป.ช.พิจารณากรณีดังกล่าวว่า จะดำเนินการอย่างไร
แต่คำถามที่เกิดขึ้นคือ
หนึ่ง กรณีการก ล่า วหาว่าอดีตผู้บริหารศาลปกครองสูงสุดใช้อำนาจหน้าที่โดยมิชอบที่มีกระทบต่อ ความยุติธรรมในการพิจารณาคดี ซึ่งส่งต่อความน่าเชื่อถือของศาลปกครอง
เมื่อผลสอบสวนสรุปว่า ข้อกล่าวหาไม่มีมูล ควรที่ ดร.หัสวุฒิจะต้องเปิดเผยผลสอบสวนดังกล่าวต่อสาธารณะหรือไม่
สอง ในการสอบสวนดังกล่าว คณะกรรมการได้สอบสวนตุลาการเสียงข้างมากในองค์คณะจำนวน 3 คนคือ นายชาญชัย แสวงศักดิ์ นายวราวุธ ศิริยุทธ์วัฒนา และนายธงชัย ลำดับวงศ์ หรือไม่
สาม การแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนดังกล่าวของ ก.ศป.มีอำนาจเพียงการสอบสวนทางวินัยเท่านั้น(ในกรณีผลการสอบสวนข้อเท็จจริงมีมูล) แต่กรณีการร้องเรียนต่อคณะกรรมการ ป.ป.ช.เป็นเรื่องการกระทำผิดในทางอาญา จึงเป็นคนละประเด็นกันหรือไม่
สี่ การที่แต่งตั้ง “คนใน”สอบสวนกันเอง โดยที่อดีตผู้บริหารศาลปกครองสูงสุดซึ่งเป็น “เจ้านาย” เก่ายังนั่งค้ำหัวเป็นที่ปรึกษาศาลปกครองอยู่และเดินทางไปทำงานอยู่ทุกวัน เป็นการลูกหน้าปะจมูกหรือไม่ ผลการสอบสวนน่าเชื่อถือมากน้อยแค่ไหน
ด้าน คณะกรรมการ ป.ป.ช.เอง เมื่อดูจากกระบวนการแล้วก็ทำแบบกล้าๆกลัวปล่อยให้เรื่องยิดเยื้อมานานกว่า ครึ่งปีโดยไม่ดำเนินการใดๆ ผิดกับบางเรื่องที่คณะกรรมการ ป.ป.ช.เร่งรัดให้เดินหน้าอย่างรวดเร็ว ทั้งๆที่ข้อกล่าวหาทั้งสองกรณีเป็นเรื่องสำคัญอย่างมาก
เพราะถ้าข้อกล่าวหาเป็นจริงเท่ากับเป็นการแทรกแซงและทำลายกระบวนการยุติธรรมโดยผู้บริหารระดับสูงในกระบวนการยุติธรรมเอง
การปล่อยให้เรื่องยืดเยื้อแบบซื้อเวลายิ่งทำให้สาธารณะคลางแคลงใจว่า จะมีการช่วยเหลือกันเพื่อปกปิดความผิดหรือไม่
ตรง กันข้าม ถ้ามีการสอบสวนด้วยความโปร่งใสและผลสรุปออกมาว่า ข้อกล่าวหาไม่มีมูลจะทำให้ภาพลักษณ์ของศาลปกครองใสสะอาดหน้าเชื่อถือยิ่ง ขั้น