WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Saturday, July 16, 2011

บทบาทที่ "คนเสื้อแดง" ควรวางตัวในรัฐบาลเพื่อไทย

ที่มา มติชน



โดย Siam Intelligence Unit

(ที่มา http://www.siamintelligence.com/what-red-shirt-role-should-be/)


ปฏิเสธ ไม่ได้ว่า "คนเสื้อแดง" และ "พรรคเพื่อไทย" มีจุดร่วมกันหลายอย่าง และเสริมจุดเด่น-สนับสนุนซึ่งกันและกัน จนประสบความสำเร็จในการเลือกตั้งปี 2554 ที่ผ่านมา


แต่ "คนเสื้อแดง" ก็มีจุดยืน ประเด็น ข้อเรียกร้องอีกหลายอย่าง ที่ไม่ตรงกับพรรคเพื่อไทย และมีโอกาสสูงที่จะพัฒนาจนกลายเป็นปมขัดแย้งระหว่างคนทั้งสองกลุ่มในอนาคต ตัวอย่างเช่น การกระจายรายได้และความเท่าเทียมในสังคม ซึ่งพรรคเพื่อไทยยังไม่สนใจเรื่องนี้มากนัก และ ส.ส. ของพรรคหลายคนก็มีพฤติกรรมที่คนเสื้อแดงต่อต้านอย่างไม่ต้องสงสัย (เพียงแต่เสื้อแดงอาจเลือกหลับตาข้างหนึ่ง และจับมือกับพรรคเพื่อไทยเพื่อโค่นศัตรูตรงหน้าลงก่อน)


นั่นเป็น เรื่องของอนาคตระยะไกล แต่สิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้นก็คือ ตัวแทนของกลุ่มคนเสื้อแดงจำนวนไม่น้อย กำลังจะได้เข้าไปนั่งในสภาผู้แทนราษฎร โดยสังกัดพรรคเพื่อไทย แถมบางคนก็มีชื่อเป็น "ตัวเต็ง" ที่จะนั่งเก้าอี้รัฐมนตรีบางกระทรวงด้วยซ้ำ


วิ วาทะว่าคนเสื้อแดงสมควรนั่งเก้าอี้รัฐมนตรี ทำหน้าที่บริหารประเทศหรือไม่ ยังเป็นสิ่งที่พูดกันไม่จบ และต่างฝ่ายต่างก็มีเหตุผลสนับสนุนของตัวเอง


แต่ SIU เห็นด้วยกับข้อเสนอของ สรกล อดุลยานนท์ ใน มติชน ว่าคนเสื้อแดง (โดยเฉพาะนายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ) สมควรได้รับปูนบำเหน็จจากผลงานที่ผ่านมาหลายประการ


แต่คนเสื้อแดง โดยเฉพาะนายณัฐวุฒิ ก็ "ไม่ควร" รับตำแหน่งทางบริหาร เพื่อความสง่างามทางการเมือง


เรา เชื่อว่ามีงานสำคัญอีกมากที่คน เสื้อแดงควรทำภายใต้รัฐสภาชุดนี้ และสามารถทำได้โดยไม่จำเป็นต้องเป็นรัฐมนตรี งานสำคัญ 3 ประการที่เราเห็นว่าคนเสื้อแดงควรวางบทบาทของตัวเองว่าจะทำให้สำเร็จ ได้แก่


1) สืบหาความจริงในเหตุการณ์ไม่สงบช่วงเดือนเมษายน-พฤษภาคม 2553


เรื่อง นี้เป็นเรื่องที่ชัดเจนที่สุดที่เสื้อแดงควรทำ เพราะกลุ่มคนเสื้อแดงเป็นผู้เสียหายหลักจากเหตุการณ์ไม่สงบหลายช่วง (ทั้งในเหตุการณ์ 10 เมษา และ 19 พฤษภา แต่ก็มีเหตุการณ์อื่นๆ อีกด้วย เช่น การฆาตกรรม เสธ.แดง)


เสื้อแดงควรเข้าไปมีบทบาทตรวจสอบและกดดัน ให้เกิดการอธิบายความจริง อธิบายสิ่งที่เกิดขึ้นจริงในเหตุการณ์เหล่านี้ โดยอิงกับความจริงที่มีหลักฐานและพยานสนับสนุนตามหลักการด้านยุติธรรมที่ได้ รับการยอมรับในสากล


จากนั้นก็สร้างกระบวนการชดเชยและชดใช้ผู้ เสียหาย ทั้งผู้บาดเจ็บและผู้เสียชีวิต และกระบวนการไต่สวนผู้กระทำความผิดในเหตุการณ์ครั้งนี้ต่อไป


แต่ คนเสื้อแดงก็ต้องไม่ลืมว่า ตัวเองเป็นหนึ่งใน "คู่ขัดแย้ง" ของความไม่สงบทางการเมืองครั้งนี้ และเสื้อแดงเองก็เป็นฝ่ายกระทำความผิด สร้างความรุนแรงด้วยเช่นกัน ดังนั้นคนเสื้อแดงจึงต้องวางบทบาทของตัวเองให้ดี ทำตัวเป็นผู้ตรวจสอบภายนอก ปล่อยให้ "คนกลาง" (ซึ่งตอนนี้คงจะชัดเจนว่าเป็นคณะทำงานชุดของคณิต ณ นคร ในรูปแบบที่อาจเปลี่ยนไปจากเดิมบ้าง) ทำงานได้อย่างเต็มที่ ให้ความร่วมมือกับคณะทำงานคนกลาง ในขณะเดียวกันก็คอยตรวจสอบ กดดัน ไม่ให้มีอำนาจฝ่ายตรงข้ามเข้ามาแทรกแซงได้


สิ่ง ที่เสื้อแดงต้องระวังมากที่สุดก็คือ ไม่เข้าไปแทรกแซงกระบวนการค้นหาความจริงเสียเอง ซึ่งจะทำให้ความชอบธรรมของฝ่ายตัวเองหมดลงในทันที


2) แก้ไขกฎหมายที่สร้างความเหลื่อมล้ำ


จุด ยืนของกลุ่มคนเสื้อแดงที่เสนอออกมาแล้ว "โดนใจ" คนไทยจำนวนไม่น้อย คือ "ความเหลื่อมล้ำในสังคม" ไม่ว่าจะเป็นด้านเศรษฐกิจ รายได้ ภาษี การศึกษา การประกอบอาชีพ ฯลฯ


คนเสื้อแดงควรใช้โอกาสที่มีที่นั่งของตัวเอง ในสภาผู้แทนราษฎร และพรรคที่ตัวเองสนับสนุนได้ครองเสียงข้างมากในสภา แก้ไขกฎหมายที่พิกลพิการ สร้างไม่เท่าเทียมกันในสังคม โดยใช้กระบวนการทางรัฐสภาให้เต็มที่


ถ้า คนเสื้อแดง เลือกที่จะไม่แก้ไขกฎหมายเหล่านี้ในรัฐสภาชุดนี้ ภายใต้บรรยากาศการเมืองที่เป็นชัยชนะของคนเสื้อแดงหลังการเลือกตั้งแบบนี้ ก็คงจะยากที่จะเห็นความพยายามแก้ไขกฎหมายที่เหลื่อมล้ำในอนาคตอันใกล้


กฎหมาย ที่ SIU เห็นว่าควร "ตั้งธง" แก้ไขให้เร็วที่สุดคือ กฎหมายด้านภาษีมรดกและกฎหมายด้านที่ดิน ซึ่งจะช่วยให้การกระจายรายได้ในสังคมไทยเป็นธรรมมากขึ้น แถมแก้ปัญหาเรื่องที่ดินทำกิน (ซึ่งกระทบผู้สนับสนุนคนเสื้อแดงจำนวนมหาศาล) ไปพร้อมๆ กัน


อย่างไรก็ตาม อุปสรรคที่เสื้อแดงจะต้องเผชิญคือการคัดค้านจากผู้เสียประโยชน์ ซึ่งเสียงที่ดังที่สุดอาจจะมาจากพรรคเพื่อไทยด้วยซ้ำ คนเสื้อแดงจะต้องต่อรองอำนาจกับพรรคเพื่อไทยในเรื่องนี้ให้ดี และมุ่งมั่นทำเรื่องนี้ให้สำเร็จให้ได้


กฎหมายอื่นๆ ที่ควรทำได้แก่ การกระจายอำนาจให้การปกครองส่วนท้องถิ่น สวัสดิการแรงงาน (สองเรื่องนี้ คณะกรรมการปฏิรูป ชุดของนายอานันท์ ปันยารชุน ได้เสนอไว้บ้างแล้ว สามารถนำไอเดียบางส่วนไปพัฒนาต่อได้) สิทธิมนุษยชนพื้นฐาน กระบวนการยุติธรรม (ตำรวจ อัยการ) การปฏิบัติต่อนักโทษในเรือนจำ (ซึ่งคนเสื้อแดงหลายคนก็ประสบด้วยตัวเองมาแล้ว) กฎหมายความผิดอาญาทางคอมพิวเตอร์ (ที่ปิดกั้นการแสดงความคิดเห็น) เป็นต้น


3) แก้รัฐธรรมนูญ 2550 ให้มีความเป็นประชาธิปไตยมากขึ้น


ประเด็น หลักที่คนเสื้อแดงต่อสู้มาตลอดคือ "ความเป็นประชาธิปไตยที่แท้จริงในสังคมไทย" ซึ่งเป็นสิ่งที่น่ายกย่อง และอุปสรรคที่สำคัญอันหนึ่งคือรัฐธรรมนูญปี 2550 ที่ถูกเขียนขึ้นในรัฐบาล คมช. และถูกวิพากษ์วิจารณ์จากคนเสื้อแดงว่ามีประเด็นที่ไม่เป็นประชาธิปไตยหลาย ประการ


คนจำนวนไม่น้อยในสังคมก็มองว่ารัฐธรรมนูญปี 2550 ควรถูกแก้ไขให้เป็นประชาธิปไตยมากขึ้น และคนเสื้อแดงควรใช้เวทีรัฐสภาชุดนี้ ผลักดันการแก้ไขรัฐธรรมนูญให้เป็นประชาธิปไตยมากขึ้น


ถึงแม้รัฐธรรมนูญ 2550 จะถูกแก้ไขไปบางส่วนแล้วในสมัยรัฐบาลอภิสิทธิ์ แต่ก็ยังมีอีกหลายประเด็นที่ยังไม่ถูกแก้ เช่น การสรรหา ส.ว. ที่ใช้ระบบการแต่งตั้งครึ่งหนึ่ง หรือ โทษการยุบพรรคการเมืองที่พิสูจน์แล้วว่ามีผลเสียมากกว่าผลดี และไม่ได้ช่วยแก้ปัญหาทางการเมืองแต่อย่างใด


ประเด็นอื่นๆ ได้แก่ บทบาทหน้าที่ของ ส.ส. ในการดำรงตำแหน่งทางการเมือง และกระบวนการแต่งตั้งองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ ที่รัฐธรรมนูญ 50 กำหนดให้ผ่านคณะกรรมการที่มีบุคคลเพียงไม่กี่กลุ่มเท่านั้น


ใน รอบ 3 ปีที่ผ่านมา มีการศึกษาประเด็นต่างๆ ที่ควรปรับปรุงแก้ไขในรัฐธรรมนูญปี 2550 อยู่ 2 ครั้ง คือ คณะกรรมการชุดของนายดิเรก ถึงฝั่ง สมาชิกวุฒิสภา และคณะกรรมการชุดของนายสมบัติ ธำรงธัญวงศ์ ซึ่งนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ แต่งตั้งหลังเหตุการณ์พฤษภาคม 2553 กลุ่มคนเสื้อแดงสามารถต่อยอดแนวทางที่คณะกรรมการทั้งสองชุดเสนอเอาไว้ หยิบยืมแนวคิดที่น่าสนใจมาใช้ได้โดยไม่ต้องเริ่มใหม่