WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Saturday, July 16, 2011

เยอรมนีแจง การอายัด 'โบอิ้ง 737' เป็น “หนทางสุดท้าย” ในการเร่งรัดหนี้

ที่มา ประชาไท

“วอ ลเตอร์ บาว” แจง การอายัดเครื่องบินเป็นมาตรการที่จำเป็น “เอพี” ชี้ ปกติเครื่องบินของรัฐบาลจะมีความคุ้มกันทางการฑูต แต่ในกรณีไทยอายัดได้เพราะใช้ส่วนตัว ฝ่ายจนท. เยอรมันเผย ได้เตรียมการอายัดอย่างลับมาเป็นเวลาหนึ่งแล้ว

สืบเนื่องจากการอายัด เครื่องบินโบอิ้ง 737 ของราชอาณาจักรไทย ซึ่งเป็นพระราชพาหนะส่วนพระองค์ของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช โดยเจ้าหน้าที่เร่งรัดหนี้ของบริษัทวอลเตอร์ บาว จากคำสั่งของคณะอนุญาโตตุลาการเมื่อวันที่ 12 กรกฎาคมที่ผ่านมานั้น

เมื่อ วันที่ 13 กรกฎาคมที่ผ่านมา สำนักข่าวเอพีได้รายงานคำพูดของ โรเบิร์ต วิลเฮล์ม โฆษกของสนามบินมิวนิคว่า ในขณะนี้เครื่องบินลำดังกล่าวถูกศาลสั่งอายัดไว้แล้ว ซึ่งในขณะนี้จอดพักอยู่ที่สนามบินมิวนิค และเนื่องจากการที่สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เสด็จมาพำนักที่ประเทศเยอรมนีอย่างบ่อยครั้งนั้น ทำให้พระองค์พลอยตกอยู่ในข้อพิพาททางธุรกิจระหว่างสองประเทศที่มีมาอย่างยาว นานไปโดยปริยาย

ทางโฆษกฝ่ายล้มละลายของบริษัทวอลเตอร์ บาว, อเล็กซานเดอร์ โกร์บิง กล่าวว่า “มาตรการที่รุนแรง” ในการอายัดเครื่องบินของกองทัพอากาศไทยนี้ เป็น “หนทางสุดท้าย” ในการที่จะเร่งรัดเงินค้างชำระ ซึ่งเป็นคำสั่งทางการเงินที่อนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศได้ตัดสินไว้ในปี 2009

“การตามหาเครื่องบินลำดังกล่าวเป็นไปอย่างซับซ้อนมาก และแน่นอนว่าต้องทำไปด้วยความระมัดระวังเพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้มีสัญญาณเตือน หลุดออกไป” แวร์เนอร์ ชไนเดอร์ เจ้าหน้าที่ฝ่ายล้มละลายของบริษัทวอลเตอร์ บาว กล่าวในแถลงการณ์

เอพีรายงานเพิ่มเติมว่า เจ้าหน้าที่ล้มละลายฝ่ายเยอรมนีได้เตรียมการที่จะอายัดเครื่องบินลำดังกล่าว มาเป็นระยะเวลาหนึ่งแล้ว นอกจากนี้ ยังระบุว่า โดยทั่วไปแล้ว เครื่องบินของรัฐบาลจะมีสถานะทางการทูต ทำให้โดยส่วนใหญ่จะอยู่นอกเหนืออำนาจศาลจากประเทศอื่นๆ อย่างไรก็ตาม เงื่อนไขตามนั้นจะเป็นได้ก็ต่อเมื่อเครื่องบินถูกใช้ในทางการเท่านั้น ซึ่งไม่นับการใช้ในทางส่วนตัว

ทางกระทรวงการต่างประเทศของเยอรมนี กล่าวต่อกรณีดังกล่าวว่า “เราเสียใจสำหรับความขัดข้องที่เกิดขึ้นแก่มกุฎราชกุมาร ที่เกิดขึ้นจากการอายัดดังกล่าว” และมิได้ให้ความเห็นใดๆ เพิ่มเติม

เอ พีรายงานว่า เครื่องบินพระราชพาหนะลำดังกล่าว จอดนิ่งอยู่ในลานสนามบินเมื่อวันพุธที่ผ่านมา และมีรูปที่แสดงถึงคำสั่งศาลที่ระบุว่า “ต่อราชอาณาจักรไทย ที่มีอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะเป็นผู้แทน” ติดอยู่บนประตูของเครื่องบิน ซึ่งสั่งห้ามไม่ให้มี “การเปลี่ยนแปลง, การนำไปใช้ หรือการลดมูลค่า (ของเครื่องบิน)”

หนังสือ พิมพ์นิวยอร์กไทมส์รายงานว่า เครื่องบินโบอิ้ง 737-400 ลำดังกล่าวซึ่งสร้างขึ้นในปี 1995 น่าจะมีมูลค่าราว 5-6 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยมีที่นั่ง 36 ที่นั่ง เมื่อเทียบกับเครื่องบินโบอิ้งที่ใช้ในเชิงพาณิชย์ทั่วไปซึ่งบรรจุที่นั่ง ราว 189 ที่นั่ง

ทั้งนี้ ชไนเดอร์ ได้กล่าวด้วยว่า เขาได้ใช้วิธีการอายัดเครื่องบินเพื่อเร่งรัดหนี้เช่นนี้มาแล้วในปี 2005 ในกรุงอิสตันบูล โดยได้อายัดเครื่องบินแอร์บัสของสายการบินมิดเดิ้ลอีสต์ เนื่องมาจากข้อพิพาททางการเงินระหว่างบริษัทวอลเตอร์ บาวและรัฐบาลเลบานอน