WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Thursday, July 14, 2011

กูรูฟันธงรัฐบาลใหม่หลังเลือกตั้งยังอึมครึม! จับตาแขวน "อภิสิทธิ์-ยิ่งลักษณ์" พลิกเกม..ใครมีอำนาจเต็ม

ที่มา มติชน




ดร.สุชาติ ธาดาธำรงเวช อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง


รศ.สุขุม นวลสกุล นักวิชาการทางด้านรัฐศาสตร์


ศ.ดร.ลิขิต ธีรเวคิน ผอ.โครงการปริญญาเอก วิทยาลัยสื่อสารการเมือง มหาวิทยาลัยเกริก


รศ.ดร.สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์ นักวิชาการอิสระด้านเศรษฐกิจและการเมือง

รับชมข่าว VDO ชมคลิป


เมื่อ วันที่ 13 ก.ค. 2554 วิทยาลัยสื่อสารการเมือง มหาวิทยาลัยเกริก จัดการสัมนาภายใต้หัวข้อ "coffee talk เมืองไทยกับรัฐบาลใหม่ สดใส หรืออึมครึม" ณ โรงแรมโซฟิเทล เซ็นทาราแกรนด์ กรุงเทพฯ (ลาดพร้าว)


ศ.ดร.ลิขิต ธีรเวคิน ผอ.โครงการปริญญาเอก วิทยาลัยสื่อสารการเมือง มหาวิทยาลัยเกริก กล่าวว่า หากติดตามการเมืองในช่วงนี้ อาจเกิดความไม่สบายใจ ยิ่งดูข่าว ก่อนเลือกตั้ง 2 วัน ก็ไม่สบายใจ เกือบจะไม่มีการเลือกตั้ง เพราะโพลบอกว่าเพื่อไทยจะชนะทั้งหมด เกือบจะล้มการเลือกตั้ง ยูเอ็นรู้ก็ออกมาพูด ทูตอเมริการู้จึงมาพบ 2 ครั้ง ทูตประเทศอื่นๆ รู้ก็เข้าพบ แต่เรื่องนี้ละเอียดอ่อน มีคนเข้ามาเกี่ยวข้อง จึงไม่ขอพูดในที่นี้ แต่ผ่านมาได้ก็ดี แต่ตอนนี้ยังลูกผีลูกคนอยู่ หรือยังอึมครึมอยู่

ประเด็นก็คือว่าถ้า แขวนคุณยิ่งลักษณ์ ชินวัตร และแขวนคุณอภิสิทธิ์ ก็แขวนไปเลย ที่ไม่ใช่เป็นการถ่วงน้ำหนักกัน ขณะเดียวกันประชาธิปัตย์ไม่ได้เสียหาย แต่ถ้าเพื่อไทยมีการเปลี่ยนตัวนายกรัฐมนตรีก็จะกลายเป็นประเด็นสำคัญ แม้จะเป็นรัฐบาลอยู่ นายกฯไม่ใช่สตรี เพราะมีประเด็นเรื่องหุ้น หากมีการเลือกตั้งใหม่ ผลก็จะตามมาอีก เหมือนการเลือกตั้งในพม่าที่แข่งได้แต่ห้ามชนะ กติกาถูกบิดเบือน ซึ่งตนไม่อยากให้เกิดขึ้น แต่ก็ต้องระวัง

ใน แง่เศรษฐกิจ บางอย่างที่ปฎิบัติได้ยาก แต่พอถอยกลับมาก็เป็นภาพที่ดี บางสิ่งไม่มีความรอบคอบ คนไทยก็เรียนเศรษฐศาสตร์เยอะ แต่สิ่งที่นำเสนอมา เหมือนกับคนที่ไม่จำเป็นต้องเรียนเศรษฐศาสตร์มาก็ได้ เพราะการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจดูตามสามัญสำนึกก็รู้แล้ว ตัวอย่างมีพรรคความหวังใหม่ครั้งเมื่อเป็นรัฐบาล ที่ประหยัดค่าใช้จ่ายโดยไม่ให้ข้าราชการไปสัมนาในโรงแรม แล้วจะเป็นไปได้อย่างไรที่จะไม่มีการบริโภคในประเทศ ถ้าเป็นแบบนี้เศรษฐกิจพัง แล้วมีแนวคิดนี้มาได้อย่างไร


ส่วน นโยบายขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาทนั้น ตนก็เห็นด้วยที่ทำให้คนพออยู่พอใช้ แต่การทำฉับพลับแบบนี้ก็อันตรายมหาศาล ซึ่งจะต้องใช้สามัญสำนึก อีกอย่างทั่วประเทศค่าแรงก็ไม่เท่ากัน วานนี้อุตสาหกรรมก็ออกมาขัดแย้ง มันจึงกลายเป็นสัญญาณของการเริ่มต้นด้วยความขัดแย้ง เป็นสัญญาณที่ไม่ดี แต่ต้องจำเป็นทำตามนโยบายที่ประกาศไว้ ทำเพื่อคะแนนเสียง ตรงนี้เป็นปัญหา บางคนเอาประเทศไปเลยเพื่อคะแนนเสียง กลายเป็นข้อเสียของประชาธิปไตย ทำอะไรก็ได้ แล้วค่อยมาแก้ปัญหา แต่ปัญหาคือมันแก้ไม่ได้ บางอย่างเกี่ยวพันกัน สัญญาแล้วก็ผูกพัน ตรงนี้จึงน่าเป็นห่วง

ถ้า มองในแง่ดีของการเมืองแล้ว เลือกนายกฯ ตั้งครม.ให้เรียบร้อย ก็บริหารไปเลย ส่วนฝ่านค้านก็ทำไป แต่มีแนวโน้มหลัง 6 เดือน การเมืองจะปั่นป่วนสูง หรือถ้าครบ 1 ปี หากไม่ปรับครม.ก็ยุบสภา และถ้าเป็นตนก็จะทำแบบนั้น ให้รู้ว่า 1 ปี เสียเงิน 2 พันล้าน ยุบแล้วเลือกตั้งใหม่ เอาให้ถอยร่นลงทะเลไปเลย ซึ่งการยุบสภาก็ไม่จำเป็นต้องขัดแย้งกับใครทั้งสิ้น เมื่อเห็นว่าบรรยากาศทำให้พรรคของตัวมีส.ส.เพิ่มขึ้นก็ทำ ที่สำคัญการแขวนคุณยิ่งลักษณ์กับคุณอภิสิทธิ์เป็นการแขวนตลอดหรือไม่ ซึ่งอาจจะหลุดไม่เท่ากัน เพราะคุณอภิสิทธิ์ไม่มีคดีแบบคุณยิ่งลักษณ์ ถ้าไม่เป็นอย่างนั้นก็ไม่แน่ใจว่าทุกอย่างจะเหมือนเดิม ทุกอย่างจะสงบ แต่ในเบื้องต้นจะเปิดสภาทันหรือไม่

อย่าง ไรก็ตาม การเลือกตั้งครั้งนี้ไม่ใช่การเปลี่ยนรัฐบาลตามปกติ เพราะเป็นการต่อสู้ระหว่างความแพ้กับชนะ เมื่อไม่ชนะก็เป็นเดือดเป็นแค้น แสดงอารมณ์ หลายฝ่ายแสดงความไม่พอใจ ถ้าไม่เชื่อการเลือกตั้งแบบนี้จะให้ใช้ระบบใด ก็ให้เลือกเอา หาคำตอบเอง เมื่อเป็นการขัดแย้ง ต่อสู้ แย่งชิงแบบนี้ ตนก็ผิดหวัง เสมือนแพ้ชนะเป็นเรื่องของความตาย ใช้อารมณ์เข้ามาเกี่ยวข้อง โดยเฉพาะนักวิชาการที่ใช้อารมณ์มาเกี่ยวข้อง คล้ายว่า นี่คือสงคราม แพ้ไม่ได้ ท้ายที่สุดหลังการเลือกตั้งก็อึมครึม

ขณะที่ รศ.สุขุม นวลสกุล นักวิชาการทางด้านรัฐศาสตร์ กล่าวว่า ความสดในทางการเมืองน่าจะหมายถึงความหวัง ส่วนจะอึมครึมนั้นก็คงเป็นเรื่องที่ผิดหวัง จากการเลือกตั้ง ถ้าย้อนอารมณ์ของคนในสังคมที่เรียกร้องให้ยุบสภาในสมัยที่นายสมัคร สุนทรเวช เป็นนายกรัฐมนตรี ข้อหาก็เพราะเป็นรัฐบาลนอมีนีที่พยายามช่วยพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ฝ่ายที่เรียกร้องในสภาคือพรรคประชาธิปัตย์ นอกสภาคือ พันธมิตรฯ ก่อนมีการเปลี่ยนนายกฯด้วยตุลาการภิวัฒน์ แล้วทำให้นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ มาเป็นนายกฯแทน เมื่อมากุมอำนาจก็ทำให้เห็นว่าไม่ควรยุบสภา และฝ่ายที่ยืนกรานว่าไม่ยุบ กลับไปเรียกร้องให้ยุบสภาแทน ข้อหาคือรัฐบาลชุดนี้มีอำนาจนอกระบบ ตรงนี้ตนพยายามชี้ว่าเป็นข้อขัดแย้ง ก่อให้รู้สึกอึมครึม คือเลวทั้งคู่


ฉะนั้นนาย อภิสิทธิ์ต้องยอมรับปาฏิหารย์ เพราะอยู่มาได้จนยุบสภา เพราะมีคนตายถึง 91 ศพ ทำไมอยู่ได้ ซึ่งมีอยู่ 2 ฝ่ายคือให้อยู่กับไม่ให้อยู่ และนี่ก็เป็นสิ่งที่เรียกร้องให้มีการเลือกตั้งก่อนหน้านี้ เป็นการเรียกร้องเพื่อแก้ไขปัญหาทางการเมือง และตนก็ไม่แน่ใจว่า เมื่อมีการเลือกตั้งแล้วจะมีความเปลี่ยนแปลง เพราะมีปัญหาที่ซ้อนอยู่คือ ปัญหาด้านเศรษฐกิจ แต่รัฐบาลประชาธิปัตย์ก็เข้าใจผิดมาตลอดว่า การแก้ปัญหานั้นถูกทาง นโยบายต่างๆ เช่น ประกันรายได้ เรียนฟรี ขณะที่คนยังเข้าแถวซื้อน้ำมัน ไข่แพงอยู่ และก็เป็นการตัดสินใจผิด ที่คิดว่าจะเรียกคะแนนได้ภายหลังมีการยุบสภาแล้วเลือกตั้งใหม่


เมื่อ ยุบสภาแล้ว จะเห็นว่าทุกอย่างเข้าทางพรรคเพื่อไทยมากกว่า เพราะพรรคประชาธิปัตย์ล้มเหลวเรื่องเศรษฐกิจแต่กลับหาเสียงแก้ปัญหาเศรษฐกิจ ถ้าคิดว่าการเลือกตั้งครั้งนี้ปัญหาอยู่ที่การเมือง ผลการเลือกตั้งก็อาจจะไม่เป็นอย่างนี้ก็ได้ แต่ผลที่เกิดขึ้นมาจากปัญหาด้านเศรษฐกิจมากกว่า ซึ่งต้องยอมรับว่านโยบายทางด้านตลาดของพรรคเพื่อไทยเหนือกว่า คนละชั้นกับพรรคประชาธิปัตย์ แม้จะใช้เรื่องเผาบ้านเผาเมืองมาเป็นกระแสตีกลับ แต่ก็ช้า


หาก รัฐบาลใหม่มุ่งแก้ปัญหา เศรษฐกิจแล้ว ก็ยังคิดว่าสดใสต่อเดินหน้าตามที่โฆษณาไว้ แต่ถ้าเปลี่ยนทางก็แย่ และต้องมองให้ดีเนื่องจากว่าการเมืองกับเรื่องเศรษฐกิจเป็นเรื่องเกี่ยวพัน กัน แต่ครั้งนี้คนเลือกเพราะปัญหาเศรษฐกิจมากกว่าปัญหาการเมือง สิ่งที่อึมครึมหรือระแวงขึ้นมาได้ เนื่องจากสงครามยังไม่จบ มีคนพยายามรบ มิเช่นนั้นคงไม่มีการฟ้องว่าการเลือกตั้งเป็นโมฆะ ยังมีคนสู้ชนิดหัวชนฝา สิ่งที่อึมมครึมก็คือ ใครเป็นผู้มีอำนาจเต็ม หรือมีอำนาจที่แท้จริงแต่ถ้าเพื่อไทยมีอำนาจแท้จริง ก็สดใสได้ มีความชอบธรรม ไม่ว่าอย่างไร นายกฯที่อยู่ในตำแหน่งต้องอยู่ให้ได้ หากลิปซิ้งต้องทำให้เก่ง ต่อมาคือ การตั้งครม. ต้องให้รางวัลขุนพลนั่นคือแกนนำแดงที่ได้เป็นส.ส. เพราะอาจจะเป็นความชอบธรรมของอีกฝ่ายหนึ่งต้องข้อหาได้


ด้านรศ.ดร.สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์ นักวิชาการอิสระด้านเศรษฐกิจและการเมือง กล่าวว่า จะ สดใสหรือไม่นั้น การเมืองที่สำคัญก็คือว่า ทำไมถึงมีการเปลี่ยนแปลง พรรคประชาธิปัตย์ผิดพลาดตรงไหน มีการใช้การตลาดการเมืองหรือไม่ และเป็นเรื่องของความเป็นไปได้ อย่างน้อยการเมืองเป็นเรื่องของการตลาดทั้งนี้ไม่สำคัญว่า ความจริงเป็นอย่างไร แต่คนจะมองอย่างไรมากกว่า ซึ่งพรรคประชาธิปัตย์ต้องศึกษาตรงนี้ ถ้าพูดถึงเรื่องเศรษฐกิจแล้ว ต้องยอมรับว่าประชธิปัตย์ได้เปรียบ เพราะที่ผ่านมาเศรษฐกิจขยายตัวสูงสุด เป็นความสามารถหรือไม่ เป็นอีกเรื่องหนึ่ง ช่วงหลังการเติบโตก็ยังคงดี การส่งออกขยายตัว ถามว่าคนส่วนมากรู้เรื่องเศรษฐกิจหรือไม่ เมื่อเศรษฐกิจภาพรวมดี แต่รากหญ้ามองว่าไข่แพง ตรงนี้จึงเป็นประเด็น


โดย เฉพาะมีเรื่องของสื่อเข้ามาเกี่ยวข้อง ขณะเดียวกันพรรคเพื่อไทยมีการวางแผนกลยุทธ์ได้ดี รวมทั้งในแง่ตลาด ใช้สื่ออย่างไร ประชาธิปัตย์มีสื่อที่เป็นพันธมิตรน้อย เมื่อเป็นนายกฯ สื่อจากสื่อที่เป็นมิตรก็กลายเป็นศัตรู ยิ่งเปลี่ยนบทบาทจากสื่อมาเป็นพรรคการเมือง สถานภาพของบทบาทต้องขัดแย้งแน่นอน ทันทีที่ภาพประชาธิปัตย์เป็นลบก็แย่ สิ่งที่เห็นได้ชัดก็คือโพลที่ออกมา

แน่นอนว่าใน การนำเสนอของพรรคเพื่อไทยต่อประชาชน จะต้องเป็นวาระทางด้านเศรษฐกิจ ถ้าบอกว่าเป็นวาระทางการเมืองสำคัญกว่า ต้องทำให้วาระเศรษฐกิจโดนใจ ชนิดที่ว่าครองรักกันอยู่ได้นาน ถึงจะอยู่ในภาวะสดใส ซึ่งแบบนี้ก็ท้าทายเพราะพรรคเพื่อไทยไม่ธรรมดา เขามีการตลาด เห็นได้ชัดในแต่ละกลุ่ม เห็นแล้วก็โดนใจ แม้พ่อแม่ชอบพรรคอื่น แต่ลูกเลือกเพื่อไทย เพราะจะได้เงินเดือนหมื่นห้า ตัวนโยบายที่ออกมีส่วนจูงใจ ชัดเจนต้องทำเพื่อให้เกมนี้แพ้ไม่ได้ ซึ่งประชาธิปัตย์แข่งนโยบายไม่ได้

นอก จากนี้คู่แข่งของพรรคประชา ธิปัตย์ไม่ใช่คุณยิ่งลักษณ์ แต่เป็นคนที่อยู่หลังยิ่งลักษณ์ เป็นการโคลนนิ่งแน่นอน ฉะนั้นสาเหตุเหล่านี้ที่ปชป.แพ้ ขณะเดียวกันยังมีโหวตโนด้วย คนเลือกตามอารมณ์ หากจะตอบคำถามว่าการเลือกตั้งครั้งนี้ก็คือ พรรคเพื่อไทยอยู่ได้นาน ยกเว้นตกม้าตาย ขนาดเป็นฝ่ายค้านยังมาเป็นรัฐบาลได้ เนื่องจากทรัพยากรเยอะ ไม่ว่าจะเป็นกระแสพรรค มวลชน สื่อ ขณะที่สื่อก็มีผลต่อการรับรู้ด้วย คนที่คิดให้กับพรรคเพื่อไทยเขาเป็นนักกลยุทธ์ มีทิศทางแน่นอน และเขาก็รู้ว่าถ้าจะอยู่นานจะต้องช่วยคนที่สามารถอุ้มเขาได้ เขาดูลำดับความสำคัญหมด ส่วนการวางตัวรัฐมนตรีก็การันตี 90 เปอร์เซ็นต์ว่าไม่มีปัญหา พอมีปัญหาก็มีผู้ใหญ่ดูแล (ต้องมีคนคนนี้อยู่) ประชาชนก็ไม่สนใจ เพราะเขาต้องการให้ภาพออกมาสวย แม้ภาพของครม.อาจจะไม่สวย แต่สามารถจัดสรรลงตัว แม้จะมีเสียงบ่นบ้าง และคนที่เป็นรัฐมนตรีจะต้องทำงานเป็นทีมเวิร์ค เพื่อเป็นแขนขา ช่วยกันทำงาน

รัฐบาล ชุดนี้มีอะไรดีในแง่เศรษฐกิจ คิดว่าถ้าทำได้จะดี เพราะรัฐบาลชุดนี้ต้องการปฏิรูปเศรษฐกิจอย่างจริงจัง และเป็นรอยต่อของพรรคเพื่อไทย เป็นจังหวะ เพราะแผนเหล่านี้เน้นประชานิยม พยายามผสมเป็นยุทธศาสตร์ ทำให้ลงตัว แต่การดำเนินนโยบายทั้งหลายอาจส่งผลต่อประเทศได้ ฉะนั้นต้องดูให้สถานการณ์ต่างประเทศให้ชัด ดูการขยายตัวด้วย ขณะเดียวกันการดำเนินนโยบายต้องระวัง เพราะแผนอาจจะส่งผลกระทบทางอ้อม ซึ่งอาจจะกระทบถึงสถานะทางการคลัง ส่วนหนึ่งอาจจะไม่ใช่เรื่องที่เราทำ อาจจะมาจากสภาวะเศรษฐกิจโลกก็ได้ และการจัดการต้องป้องกันไม่ให้ส่งผล เพราะแก้ยากมาก อาจะเป็นภาวะอึมครึม


ดร.สุชาติ ธาดาธำรงเวช แคนดิเดตรัฐมนตรีกระทรวงการคลัง พรรคเพื่อไทย กล่าวว่า ในมุมมองของตนนั้น เข้าใจว่าการเลือกตั้งคราวนี้เป็นช่วงของการเปลี่ยนจากระบอบเดิม หรือที่เรียกว่าระบอบจารีต มีแต่ชนชั้นนำ มาเป็นการเลือกตั้งที่ให้คนจนหรือประชาชนมีเสียงหรือแสดงออกชัดเจน ที่ไม่ใช่ภาพมายา

อีกนัยยะหนึ่งก็คือ เป็นการเปลี่ยนจากขุนนางนิยม เป็นประชานิยม เนื่องจากสิ่งที่พรรคเพื่อไทยนำเสนอนั้น เป็นการเสนอความจริงใจต่อประชาชน เสมือนเป็นครอบครัวเดียวกัน ซึ่งต่างจากสมัยก่อนที่มองประชาชนเป็นคนรับใช้ พยายามซื้อเสียง เช่น เอาเงินให้เปล่าๆ หลายรูปแบบ ล่าสุดให้ส่วนต่างค่าข้าว ที่ไม่ได้ช่วยอะไรเลย แต่เป็นการลดราคาข้าวของโลกมากกว่า สิ่งเหล่านี้ถ้าปล่อยเรื่อย ๆ ประเทศจะยากจน


สิ่งที่พรรคเพื่อไทยต้องการก็คือ ไม่ทำร้ายและไม่โกงประชาชน แม้หลายคนในพรรคขณะนี้จะเคยคอร์รัปชั่นมาก่อน แต่การเมืองต้องเป็นแบบใหม่ ส.ส.ต้องมีอุดมการณ์ที่จะทำเพื่อประชาชน ถ้าส.ส.ได้เงินเดือนแล้วมาเป็นลูกจ้างในพรรคก็ไม่ได้ประโยชน์อะไร และในอนาคตการเมืองต้องเป็นเหมือนอเมริกา มีอุดมการณ์ของตนเอง การเลือกตั้งที่เป็นการแจกเงินก็เปลี่ยนมาเป็นการลงขัน แล้วใช้ส่วนนั้นหาเสียงแทน ซึ่งปัจจุบันต้องยอมรับว่าการเลือกตั้งสู้กระแสเงินได้ยาก พอพรรคเพื่อไทยเข้ามาเป็นรัฐบาลก็คาดหวังสูงว่า จะทำตามที่ประกาศเป็นนโยบายไว้ เมื่อทำไม่ได้คนยากคนจนที่เลือกก็หนี แม้จะมีส.ส.ที่มาจากเส้นสายบ้าง ที่เป็นลักษณะการบังคับให้ประชาชนเลือกคนตามที่พรรคเสนอแทนคนที่ประชาชนเสนอ


ส่วนเรื่องนโยบายก็เป็นที่ทราบกันแล้ว เรามองว่าถ้าครอบครัวนี้ มีลูก 5 คน คนที่ 1 อยู่ในตลาดทุน แค่ตัดสินใจเพียง 5 นาที ก็ได้กำไรเป็น 100 ล้าน ลูกคนที่ 2 อยู่ในระบบอุตสาหกรรม ลูกคนที่เหลือเป็นกรรมกรและชาวนา เรียนน้อย ตรงนี้ถ้าพี่ชายไม่กระจายเงินให้น้องประเทศก็ไปไม่รอด ในความคิดตนคนจนมีถึง 60 ล้านคน เงินเดือน 2 หมื่นบาทไม่ร่ำรวย ฉะนั้นต้องดูประชาชนให้อยู่ดีกินดี มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น มีการกระจายเงินจากอุตสาหกรรมในโรงงานสู่น้องที่เป็นกรรมกรหรือชาวนา คิดประมาณว่าเมื่อไหร่ก็ตามที่คนมีฐานะกระจายเงินของตนเองไปให้คนจน คนนั้นก็จะรวยมากยิ่งขึ้น ขอแค่ให้มีโอกาส

อย่าง ไรก็ตาม เป้าหมายคือ ต้องสร้างโอกาส ให้มีรายได้ แม้จะทะเลาะกัน เสื้อเหลือง เสื้อแดง เราก็จัดระบบให้อยู่ได้ เหมือนคนในครอบครัว ใช้โมเดลของแอฟริกาใต้ เพราะเราเชื่อว่าการปรองดองไม่มีปัญหามากนัก เราก็เอื้ออาทรให้ประชาชนได้แสดงความคิดเห็นด้วย ส่วนนโยบายของพรรคเพื่อไทยที่พูดก็ทำได้หมด ทำให้คนยากคนจนอยู่ได้ และกลายเป็นคนชั้นกลางในอีก 10 ข้างหน้า ถึงวันนั้นคงไม่มีใครมาทำลายระบอบประชาธิปไตยได้