WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Friday, July 15, 2011

เสวนา: การบริหารจัดการมรดกโลกในกระแสโลกาภิวัตน์

ที่มา ประชาไท

นัก วิชาการร่วมถกอนาคตการจัดการปราสาทพระวิหาร นักวิชาการ มธ. ชี้ การขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหาร ไม่มีผลต่อข้อพิพาทเรื่องดินแดน 4.6 ตารางเมตร ผอ.สำนักโบราณคดี ยัน คำตัดสินศาลโลกยังไม่ชัดเจน ชี้เป็นเรื่องผลประโยชน์ของชาติมากกว่าชาตินิยม

วาน นี้ (14 ก.ค. 54) เวลา 13.00 น. วิทยาลัยนวัตกรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้จัดงานเสวนาเรื่อง “การบริหารจัดการมรดกโลกในกระแสโลกภิวัฒน์" โดยมีวิทยากรร่วมเสวนาคือ ดร. พิสิฐ เจริญวงศ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านประวัติศาสตร์และการจัดการวัฒนธรรม, ธราพงศ์ ศรีสุชาติ ผู้อำนวยการสำนักโบราณคดี ผู้แทนจากกระทรวงวัฒนธรรม และ อัครพงษ์ ค่ำคูณ อาจารย์ประจำวิทยาลัยนานาชาติปรีดี พนมยงค์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

พิสิฐ เจริญวงศ์ อดีตผู้อำนวยการศูนย์ภูมิภาคโบราณคดีและวิจิตรศิลป์แห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SEAMEO-SPAFA) มองว่า การที่ประเทศไทยเป็นภาคีสมาชิกของอนุสัญญาคุ้มครองแหล่งมรดกโลกทางวัฒนธรรม และธรรมชาติ หรือที่เราเรียกกันสั้นๆ ว่าอนุสัญญามรดกโลกนั้น มีประโยชน์สำหรับประเทศไทยมากกว่า เนื่องจากไทยสามารถใช้ประโยชน์จากข้อตกลงที่ระบุไว้หากมีปัญหา และสามารถท้วงติงกับภาคีสมาชิกอื่นๆ ได้ นอกจากนี้ การเป็นภาคีสมาชิกของอนุสัญญาฉบับดังกล่าว ก็ยังเป็นการส่งเสริมคุ้มครองแหล่งมรดกโลกต่างๆ ในระหว่างประเทศสมาชิกด้วยกัน ทั้งในด้านความรู้ การเงิน การจัดการ เป็นต้น

“ถ้า เรายังมีปัญหาหรือข้อขัดแย้ง จะสามารถใช้ข้อตกลงในอนุสัญญาฉบับนี้ได้ ประเทศที่เป็นภาคี มี 187 ประเทศ เกือบเท่าๆ กับจำนวนประเทศสมาชิกของ UNESCO ถ้าหากอนุสัญญาฉบับนี้ไม่ดีจริง คงไม่มีประเทศต่างๆในโลกเข้ามาเป็นภาคีถึง 187 ประเทศด้วยกัน และจากภาคีที่ว่า หากตัดไปแค่กัมพูชา ก็ยังมีอีก 185 ประเทศที่เรายังสามารถใช้ประโยชน์ท้วงติงได้” พิสิฐอธิบาย

อัครพงษ์ ค่ำคูณ นักวิชาการทางด้านเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ชี้ว่า การประท้วงโดยการเดินออกจากที่ประชุมของสุวิทย์ คุณกิตติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรในการประชุมของ UNESCO นั้น ความจริงแล้วยังไม่มีผลใดๆ โดยทันที เนื่องจากข้อตกลงในอนุสัญญาดังกล่าวระบุไว้ว่า ประเทศไทยสามารถลาออกจากการเป็นภาคีอนุสัญญามรดกโลกได้ แต่จะต้องส่งจดหมายการบอกเลิกสัญญาแก่ผู้อำนวยการของ UNESCO และการลาออก จะมีผลหลังจากสัญญาตอบรับต่อจดหมายนั้น 12 เดือน

อย่างไรก็ตาม อัครพงษ์ได้ชี้ว่า ในจดหมายที่สุวิทย์ คุณกิตติยื่นให้นางบูรโกว่า ผู้อำนวยการของยูเนสโก ได้ระบุว่า จดหมายการบอกเลิกสัญญา จะส่งตามมาทีหลัง นั่นหมายถึงว่า จดหมายที่สุวิทย์ยื่นไป เป็นการแสดงถึงการประท้วงเท่านั้น แต่ยังไม่มีกระบวนการในการลาออกจาการเป็นภาคีอย่างเป็นทางการ นอกจากนี้ นักวิชาการมธ. ยังชี้ให้เห็นด้วยว่า การขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกของเขาพระวิหาร ไม่มีผลกระทบใดๆ ต่อสิทธิของกรณีข้อพิพาทที่ยังคงดำเนินอยู่

“ในอนุสัญญามรดกโลกฉบับ ปี 1972 นี้ ข้อ 11 วรรค 3 ได้บอกชัดเจนว่าว่าทรัพย์สินที่ร่วมขึ้นทะเบียน ต้องได้รับความยินยอมจากรัฐที่เกี่ยวข้อง และทรัพย์สินที่ขึ้นทะเบียนนั้น หากอยู่ในดินแดน หรืออธิปไตยที่อ้างสิทธิโดยสองรัฐขึ้นไป ไม่มีผลในการทำลายสิทธิของกรณีพิพาท แปลว่าสิทธิการอ้างเรื่องดินแดนยังมีอยู่ แต่นี่เป็นสิ่งที่เราไม่ได้รับรู้กันมากนัก” อัครพงษ์อธิบาย

ภาพประกอบจาก www.downmerng.blogspot.com

นอก จากนี้ หากเราดูแผนการจัดการวัฒนธรรมของกัมพูชา จะพบว่า พื้นที่สีเขียว คือทางด้านตะวันออกและฝั่งตะวันตกเฉียงใต้ มาผนวกรวมเป็น buffer zone แต่เราจะเห็นว่าไม่รวมพื้นที่สีเหลืองซึ่งเป็นพื้นที่ 4.6 ตารางเมตรที่เป็นข้อพิพาท คำถามคือว่า ที่เราไปคัดค้านแผนการบริหารจัดการนี้ เราไปค้านตรงไหน อย่างไรก็ตาม ก็ยังมีข้อถกเถียงเรื่องถนนที่ตัดเป็นทางขึ้น ซึ่งอาจไปเกี่ยวข้องกับพื้นที่ทับซ้อน

อัครพงษ์ พูดถึง ความรับรู้ ความเชื่อ และความรู้สึกของสังคมไทยที่เข้าใจผิดเกี่ยวกับเขาพระวิหารสามประการ อย่างแรกคือ การที่เขาพระวิหารมีทางขึ้นเฉพาะฝั่งไทย โดยในความเป็นจริงแล้ว ทางกัมพูชาเองก็มีทางขึ้นมาสู่เขาพระวิหารเช่นเดียวกัน (ดูในคลิปวิดีโอ) อย่างที่สอง คือ ความเข้าใจผิดที่ว่า ไทยและกัมพูชา ถือแผนที่คนละฉบับ โดยไทยถือของฉบับที่ทำขึ้นโดยอเมริกัน และกัมพูชาถือแผนที่ฉบับฝรั่งเศส อย่างไรก็ตามหากดูอย่างใกล้ชิดจะพบว่า ไม่มีแผนที่ฉบับใดเลยของนานาชาติ ที่ขีดเส้นให้เขาพระวิหารอยู่ในเขตของประเทศไทย ไม่ว่าจะก่อน หรือภายหลังที่ศาลโลกได้ตัดสินในปี 2505 ว่า ปราสาทพระวิหารตั้งอยู่ในเขตอธิปไตยของกัมพูชา นอกจากนี้ เรื่องสันปันน้ำที่เข้าใจผิดว่าสันที่สูงที่สุดต้องเป็นตัวแบ่งเขตแดน ซึ่งในความจริงแล้ว สันปันน้ำที่เอามาเป็นเส้นเขตแดนนั้นจะเป็นสันปันน้ำที่มีความต่อเนื่องและ ความสูงที่เหมาะสม ดังนั้นหากประเทศไทยต้องการจะนำประเด็นสันปันน้ำมาต่อสู้กรณีเขาพระวิหารจะ ต้องทำความเข้าใจตรงนี้ให้ชัดเจน

“เรื่องการ บริหารจัดการวัฒนธรรมเป็นเรื่องที่ขึ้นอยู่ กับมนุษย์ว่าจะอยู่ร่วมกันได้หรือไม่ ผมคิดว่าสิ่งที่น่าสนใจคือ เส้นส่วนใหญ่นั้นที่ขีด จะขีดในแผนที่ ขีดในกระดาษ ในที่จริงๆมันไม่มี พอมาขีดในกระดาษมันก็มาขีดในสมองเรา ทำให้เป็นเขากับเรา ทำอย่างไรในทางวัฒนธรรม จะได้เข้าใจในแง่มุมเหล่านี้ว่า ก่อนมีเส้นเขตแดน เราก็อยู่ด้วยกันมา พอมีเส้นเขตแดน กลับอยู่ด้วยกันไม่ได้” อัครพงษ์กล่าวส่งท้าย

ในขณะที่ทางธราพงศ์ ศรีสุชาติ ผู้แทนจากกระทรวงวัฒนธรรม กล่าวว่า หากดูแผนการบริหารจัดการมรดกโลกของกัมพูชา ที่เสนอต่อยูเนสโกแล้วพบว่า กัมพูชาได้ใช้พื้นที่พิพาท 4.6 ตารางกิโลเมตรเป็น core zone และขยาย buffer zone ให้รุกล้ำเข้ามาในเขตไทยมากขึ้น จึงมองได้ว่าเป็นการ “รุกล้ำอธิปไตยทางเอกสารโดยแผนที่” ซึ่งทางไทยยังมีปัญหาตรงนี้อยู่ ถึงแม้ว่าทางไทยจะยอมรับและสนับสนุนให้ขึ้นเขาพระวิหารในกัมพูชาในที่ประชุม ของยูเนสโกอย่างเป็นทางการแล้วในปี 2550 และ 2551 นอกจากนี้ เขายังมองว่า ในกรณีของพื้นที่พิพาท ยังคงไม่มีความชัดเจนในข้อกฎหมาย

“ในเจตนารมณ์ของคนที่ทำงานเรื่องดินแดน เราถือว่าคำตัดสินของศาลโลก เรายอมรับ ในเรื่องตัวปราสาท เรื่องพื้นที่ใต้ปราสาท ตามที่จอมพลสฤษดิ์ (ธนะรัตน์) พูดไว้ว่าเป็นสมบัติของกัมพูชา แต่ส่วนอื่นๆ ตามสนธิสัญญา 1904-1907 ตามเขตสันปันน้ำ ยังเป็นของไทยอยู่” ธราพงศ์กล่าว และอธิบายเพิ่มเติมถึงความจำเป็นที่ต้องพิจารณาแผนการบริหารจัดการเขาพระ วิหารของกัมพูชาอย่างใกล้ชิด

“เนื่องจากพื้นที่รอบปราสาท ในความคิดคำนึงของฝ่ายไทย เรายังถือว่าเป็นพื้นที่ของไทยอยู่ ดังนั้น เมื่อมีแผนการบริหารจัดการ เมื่อมีการสร้างนู่นสร้างนี่ในพื้นที่ เราถือว่าเป็นการละเมิดอธิปไตย เพราะฉะนั้นเจ้าหน้าที่ไทยที่ทำเรื่องนี้กลัวว่า ถ้าแผนการบริหารจัดการฉบับนี้ได้รับการยอมรับ ก็จะเป็นปัญหาผูกพันต่ออนาคตของประเทศไทย”

นอกจากนี้ เขายังอธิบายเพิ่มเติมว่า การประท้วงเดินออกจากที่ประชุมของสุวิทย์ คุณกิตติ ถือเป็นการบอกเลิกสัญญากลางอากาศในที่ประชุม แต่ยังไม่มีผล เนื่องจากคนที่สามารถลาออกจากอนุสัญญาดังกล่าวได้ มีเพียงนายกรัฐมนตรี หรือรัฐมนตรีกระทรวงต่างประเทศ แต่เนื่องจากวันที่ตัวแทนประเทศไทยไปบอกเลิกอนุสัญญาในตอนนั้น เป็นวันที่ประเทศไทยได้ยุบสภาไปแล้ว จึงไม่สามารถดำเนินการให้สภารับรองตามมาตรา 190 ได้ และหลังจากที่ลาออกจากอนุสัญญาดังกล่าวได้แล้ว ต้องใช้เวลาอีก 1 ปี จึงจะมีผลบังคับใช้ ในขณะนี้จึงยังไม่มีผลอะไร และผลสรุปจึงยังไม่ชัดเจน

“เรื่องนี้ไม่ใช่เป็นเรื่องชาตินิยม แต่เป็นเรื่องบูรณภาพของดินแดน และเป็นเรื่องผลประโยชน์ของประเทศไทย เพราะฉะนั้น เราใช้ความเป็นสากลที่เข้ามาดูแลเรื่องนี้ ความเป็นนักวัฒนธรรม มองเห็นความไร้พรมแดนกับสหภาพยุโรปได้ แต่สำหรับดินแดนแบบนี้ จะไปใช้วิธีแบบนั้นก็คงไม่ได้ บทสรุประหว่างสหภาพยุโรปกับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มันคนละเรื่องกัน เนื่องจาก มีกฎหมายอาญามาตรา 112 เป็นชนักติดหลังเรื่องโทษของการทำให้เสียดินแดน การเสียดินแดนเป็นเรื่องใหญ่ เราจึงต้องระมัดระวัง” ผู้แทนกระทรวงวัฒนธรรมชี้แจง