WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Tuesday, July 12, 2011

ประเวศกับนายทุนใหญ่สหพัฒน์และค่าแรง300บาท

ที่มา Thai E-News


โดย เปลวเทียน ส่องทาง

ภาย หลังจากนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ว่าที่นายกรัฐมนตรี ได้ประกาศนโยบายการเข้าไปตรวจสอบโครงสร้างต้นทุนสินค้าของผู้ประกอบการ รวมทั้งการขึ้นค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำเป็น 300 บาท เพื่อช่วยเหลือเรื่องปากท้องประชาชน ผู้ประกอบการ หลาย ๆ ฝ่ายก็มีเสียงสะท้อนต่าง ๆ ตามมา รวมถึงเครือสหพัฒน์ บริษัทผู้ผลิตและจำหน่ายสินค้าอุปโภคบริโภครายใหญ่


"บุญชัย โชควัฒนา" ประธานกรรมการบริหาร บริษัท สหพัฒนพิบูล จำกัด (มหาชน) ผู้ผลิตสินค้าอุปโภคบริโภครายใหญ่ แสดงทรรศนะถึงนโยบายดังกล่าวว่า นโยบายการปรับขึ้นค่าจ้างแรงขั้นต่ำเป็น 300 บาท รัฐไม่ควรดำเนินนโยบายเช่นนี้ หากทำจริง จะเป็นเรื่องที่เสียหายมาก ระบบจะพัง นักลงทุนจะหนีหายหมด เหมือนกับกรณีที่นักลงทุนจีนหนีมาลงทุนในตลาดไทย เพราะประเทศจีนมีการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ


ก่อนหน้านี้ นายประเวศ วะสี ปาฐกถาในงานประชุมประจำปีสภาพัฒน์ฯ ชี้นโยบายค่าแรงวันละ 300 บาททำไม่ได้ จะทำให้สินค้าไทยสู้ต่างประเทศไทยไม่ได้ แต่หากทำให้แรงงานมีที่พัก-อาหารพอเพียง แม้ได้ค่าจ้างวันละ 150 บาท เงินก็เหลือและแรงงานก็อยู่ได้ หากเชื่อมโยงผู้บริโภคในเมืองกับผู้ทำเกษตรยั่งยืนจะเป็นพลังขับเคลื่อนไป สู่การพัฒนาที่ยั่งยืน

ทั้งบุญชัย ผู้บริหารเครือสหพัฒน์และประเวศ ล้วนเป็นผู้สนับสนุนระบอบอำมาตยาธิปไตย มักวิพากษ์ทุนอีกฝ่ายหนึ่งว่าเป็นทุนสามานย์ เช่นเดียวกับ ณรงค์ เพรชประเสริฐ เจ้าทฤษฎีแห่งสำนักนี้ และเสนอทางแก้ไขปัญหาไม่ได้ใช้หลักวิชา ไม่ได้นำงานวิจัยมาแก้ไขปัญหาค่าจ้างแรงงานแต่อย่างใด ในทางกลับกันกับเสนอทางแก้เข้าข้างนายทุนที่เห็นแก่ตัวด้วยซ้ำไป

รากเหง้าทางความคิดของคนเหล่านี้ เป็นไปในทางวิธีคิดแบบเศรษฐกิจแบบพึ่งตนเอง พอเพียงผสมผสานอยู่ในตัวมันเอง

หรือ อีกด้านหนึ่งให้ขูดรีดตนเองมากกว่าเรียกร้องสิทธิอันพึงมี พึงได้ของคนจนของผู้ใช้แรงงาน มากกว่าแก้ปัญหาเชิงโครงสร้างแห่งความเหลื่อมล้ำที่หลายครั้งคนเหล่านี้พูด ถึงเพียงลมปากเท่านั้นเอง

ขณะที่นักเศรษฐศาตร์กระแสหลัก ก็เสนอให้เศรษฐกิจเจริญเติบโตก่อน แล้วการกระจายรายได้จะตามมา ซึ่งไม่รู้เมื่อไหร่จะมาสักที เพราะเศรษฐกิจเติบโต แต่กลับไม่มีการกระจายรายได้ให้เห็น

จากการศึกษาของผู้ ใช้แรงงานพบว่า ค่าใช้จ่ายในการดำรงชีพของลูกจ้างต่อวัน ซึ่งประกอบด้วย ค่าพาหนะ , ค่าอาหาร เครื่องดื่ม , ยารักษาโรค มีค่าเฉลี่ยออกมาสูงถึง ๑๙๘ บาท ต่อวัน

ค่าใช้จ่ายประจำเดือน ซึ่งประกอบด้วย ค่าเช่าบ้าน ที่พัก , ค่าน้ำประปา กระแสไฟฟ้า , ค่ากิจกรรมทางสังคม , ค่าเลี้ยงดูครอบครัว , ค่าใช้จ่ายในครัวเรือน และค่าใช้จ่ายในการศึกษาเรียนรู้ มีค่าเฉลี่ยออกมาสูงถึง ๗,๘๐๐ บาท ต่อเดือน

คณะ กรรมการค่าจ้างกลางหรือบอร์ดค่าจ้าง ได้สำรวจ แรงงานในพื้นที่กรุงเทพฯและจังหวัดปริมณฑลรายรอบ มีรายได้ไม่พอต่อรายจ่ายตามอัตภาพ วันละ 6.8-11 บาท และไม่พอต่อรายจ่ายตามคุณภาพชีวิต วันละ 24-25 บาท ข

ณะที่โดยภาพรวม รายภาคนั้นแรงงานที่อยู่ในพื้นที่ภาคกลางมีรายได้น้อยกว่าราย จ่ายสูงที่สุด คือมีรายได้ไม่พอต่อรายจ่ายตามอัตภาพ วันละ 32.67 บาท และไม่พอต่อรายจ่ายตามคุณภาพชีวิต วันละ 48.81 บาท

การสำรวจผู้ใช้ แรงงานทั่วประเทศกว่า 23,194 คน ช่วง 1 เม.ย. - 31 พ.ค. 2554 เฉลี่ยค่าใช้จ่ายรายเดือนของแต่ละคนนั้น ค่าอาหารอยู่ที่ 2,015 บาท, ค่าที่พัก 1,400 บาท, ค่าพาหนะ 649 บาท, ค่าใช้จ่ายส่วนตัว 819 บาท ซึ่งว่ากันเฉพาะค่าใช้จ่ายหลักเหล่านี้ ไม่รวมค่าใช้จ่ายเบ็ดเตล็ด-สันทนาการ รวมแล้วก็เดือนละ 4,883 บาท

รศ.ดร.แล ดิลกวิทยรัตน์ ผอ.ศูนย์พัฒนาแรงงานและการจัดการ คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เคยแสดงความคิดเห็นไว้ว่า...
การ สำรวจอัตราค่าครองชีพกับค่าใช้จ่ายของแรงงานในแต่ละครั้ง ผลออกมาก็ ’ไม่เคยพอกิน" ยิ่งถ้ามีหนี้สิน กู้เงินนอกระบบมาใช้ ยิ่งมีปัญหา แรงงานต้องทำโอที-ทำงานล่วงเวลา

"ต้องทำโอทีอย่างน้อยวันละ 2-4 ชั่วโมง เพื่อให้ได้เงินเพิ่ม การไม่พอกินทำให้เกิดปัญหาสังคม ปัญหาครอบครัวตามมา คือไม่มีเวลากลับบ้านไปหาพ่อ-แม่ ไม่มีเวลาอยู่กับครอบครัว ลูกเมีย หรือไม่มีเวลาไปเรียนรู้เพิ่มเติมเพื่อพัฒนาทักษะ ศักยภาพ เพื่อให้ได้ขึ้นค่าแรง ก็เลยต้องทำงานแบบย่ำอยู่กับที่ ไม่ได้ไปไหนไกล"

ดังนั้น กรณี ’ค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท" ที่กำลังเป็นประเด็น ถึงขึ้นได้จริง ๆ "ก็ยังคง ไม่เพียงพอกับการดำรงชีวิตอยู่ดี ซึ่ง แต่ละวันลูกจ้างต้องจ่ายค่ารถไปทำงาน บางคนไป-กลับวันละหลายต่อ ไหนจะค่าอาหาร ค่าเช่าบ้าน ค่าสังคมต่าง ๆ บางคนมีลูกมีเมียต้องดูแล ยังไงก็ไม่มีทางพอแน่นอน"

ชีวิตที่เป็นจริงของผู้ใช้แรงงานมักต้องทำ งานมากกว่าวันละแปดชั่วโมง ต้องทำโอที ต้องทำฮอลลิเดย์ ไม่มีวันหยุด ไม่มีเวลาพักผ่อน จึงไม่ได้นั่งสมาธิ จึงไม่ได้สนทนาธรรมกันที่โรงแรมหรู แต่ต้องดิ้นรนเพื่อให้มีเงินพอที่ตนเองและครอบครัวมีชีวิตอยู่รอด

แน่นอนว่า ประเวศ และบุญชัย เครือสหพัฒน์ มิได้ใช้ชีวิตดั่งผู้ใช้แรงงาน ผู้สร้างสรรพสิ่งให้โลกใบนี้

*****
เรื่องเกี่ยวเนื่อง:บอยคอตมาม่าไตรมาสเดียวกำไรฮวบ41% ยังไร้สำนึกเป็นสว.ลากตั้งเฉยเครือสหพัฒน์ต้องเจอจัดหนัก