ที่มา มติชน
กลุ่มบุคคลที่ระบุว่าเป็น "คณะศิษย์เก่าธรรมศาสตร์" ออกประกาศชวนชาวธรรมศาสตร์ รวมตัวบริเวณหน้าหอประชุมใหญ่ มธ. ท่าพระจันทร์ ในวันที่ 5 ตุลาคม เวลา 10.00 – 11.00 น. เพื่อแสดงเจตนารมณ์พิทักษ์คุณูปการ ปรีดี พนมยงค์ และปกป้องอุดมการณ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยระบุว่า สาเหตุสืบเนื่องจากการตั้งคำถามของสมคิด เลิศไพฑูรย์ อธิการบดี มธ.ต่อแถลงการณ์ของคณะ "นิติราษฎร์" ก่อนหน้านี้ ซึ่งตอนหนึ่งได้พาดพิงถึงการอภิวัฒน์ 2475 และปรีดี พนมยงค์ โดยจัดให้มีฐานะเดียวกันกับ สฤษดิ์ ถนอม-ประภาส และสุจินดา อันกระทบต่อฐานะทางประวัติศาสตร์ของปรีดี และทำให้สาธารณชนเข้าใจผิดได้ว่าปรีดีไม่ได้แตกต่างจากเผด็จการทหารในอดีต ที่ผ่านมา
ทั้งนี้ "คณะศิษย์เก่าธรรมศาสตร์" ระบุด้วยว่าในวันดังกล่าวจะมีการแถลงต่อสื่อต่างๆ พร้อมแจกแถลงการณ์และล่ารายชื่อในหนังสือเรียกร้องต่อสภามหาวิทยาลัยให้ พิจารณาบทบาทของ สมคิด เลิศไพฑูรย์ ในฐานะอธิการบดีอย่างเร่งด่วน นอกจากนี้ จะมีคณะศิษย์ยุคต่างๆ ร่วมวางหรีดและขึงผ้าดำล้อมรอบมหาวิทยาลัยเพื่อเป็นการประท้วงต่อจิตสำนึก "อธรรมศาสตร์" ด้วย
...............................................................
"คำประกาศเชิญชวนชาวธรรมศาสตร์"
สืบเนื่องจากกรณี ดร.สมคิด เลิศไพฑูรย์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้ตั้งคำถามต่อแถลงการณ์ของคณะ "นิติราษฎร์" ก่อนหน้านี้ หนึ่งในคำถามนั้นได้พาดพิงถึงการอภิวัฒน์ 2475 และอาจารย์ปรีดี โดยจัดให้อาจารย์ปรีดีมีฐานะเดียวกันกับ สฤษดิ์ ถนอม-ประภาส และสุจินดา คำถามดังกล่าวย่อมกระทบต่อฐานะทางประวัติศาสตร์ของอ.ปรีดี และทำให้สาธารณชนเข้าใจผิดได้ว่า อ.ปรีดีไม่ได้แตกต่างจากเผด็จการทหารในอดีตที่ผ่านมา
การบิดเบือนประวัติศาสตร์ครั้งนี้มิได้เกิดจากศัตรูทางการเมืองของ อ.ปรีดีในอดีต แต่เกิดจากอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ผู้มีหน้าที่สืบทอดจิตวิญญาณธรรมศาสตร์ และรักษาดอกผลการเปลี่ยนแปลงการปกครองไทย
จากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ สู่ระบอบประชาธิปไตย ในอดีตที่ผ่านมามหาวิทยาลัยแห่งนี้เป็นมหาวิทยาลัยที่ยืดหยัดเป็นธงนำการ ต่อสู้กับเผด็จการทหารทุกยุคทุกสมัย และชาวธรรมศาสตร์ล้วนยกย่องเคารพต่อ อ.ปรีดีในฐานะผู้นำการอภิวัฒน์เปลี่ยนแปลงการปกครองครั้งประวัติศาสตร์ที่ ผ่านมา
ดังนั้นเราเหล่าลูกศิษย์ อ.ปรีดี และศิษย์เก่าทุกยุคทุกสมัยไม่อาจยอมรับพฤติกรรมและการกระทำของอธิการบดีผู้ นี้ได้อีกต่อไป พวกเราใคร่ขอเรียกร้องต่อชาวธรรมศาสตร์ทุกท่าน ขอให้ไปร่วมกันแสดงเจตนารมณ์พิทักษ์คุณูปการ อ.ปรีดี และปกป้องอุดมการณ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ณ บริเวณหน้าหอประชุมใหญ่ มธ.(ท่าพระจันทร์) วันที่ 5 ตุลาคม เวลา 10.00 – 11.00 น. โดยพร้อมเพรียงกัน เพื่อแถลงการณ์ต่อสื่อต่างๆ พร้อมแจกแถลงการณ์และล่าลายชื่อในหนังสือเรียกร้องต่อสภามหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ให้พิจารณาบทบาทของอธิการบดีผู้นี้อย่างเร่งด่วน
ในโอกาสนี้จะมีคณะศิษย์ยุคต่างๆ มาร่วมวางหรีดและขึงผ้าดำล้อมรอบมหาวิทยาลัย จากประตูท่าพระจันทร์ถึงประตูหอประชุมใหญ่ เพื่อเป็นการประท้วงต่อจิตสำนึก "อธรรมศาสตร์" ให้หมดสิ้นไปจากสถาบันแห่งนี้
คณะศิษย์เก่าธรรมศาสตร์
4 ตุลาคม 2554
----------
ขณะเดียวกัน ได้มีกลุ่มนักวิชาการในนาม "กลุ่มคณาจารย์ต่อต้านรัฐประหาร" ออกแถลงการณ์ต่อข้อเสนอทางวิชาการของคณะนิติราษฎร์ ผ่านทางเว็บล็อกวิฬัจฉา (http://www.wiraja.com) ซึ่งมีเนื้อหา ดังนี้
แถลงการณ์กลุ่มคณาจารย์ต่อต้านรัฐประหาร ต่อกรณีข้อเสนอทางวิชาการของคณะนิติราษฎร์
ตามที่คณะนิติราษฎร์ได้เผยแพร่ข้อเสนอทางวิชาการของคณะนิติราษฎร์ ในวาระครบ 5 ปีรัฐประหาร ต่อสาธารณชนเมื่อวันที่ 18 กันยายน 2554 โดยมีสาระสำคัญใน 4 ประเด็น คือ การลบล้างผลพวงของรัฐประหาร 19 กันยายน 2549, การแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112, กระบวนการยุติธรรมกับผู้ต้องหาหรือจำเลยและการเยียวยาผู้ได้รับความเสียหาย ภายหลังประหาร 19 กันยายน 2549, และการยกเลิกรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 และการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ซึ่งข้อเสนอทางวิชาการดังกล่าวได้ก่อให้เกิดการวิพากษ์วิจารณ์ในวงกว้าง มีทั้งที่เห็นด้วยและที่เห็นต่าง มีทั้งที่สร้างสรรค์และที่ทำลายล้าง มีทั้งที่อ้างอิงหลักฐานอันน่าเชื่อถือและที่อ้างอิงอาวุธยุทโธปกรณ์อันน่า หวาดหวั่น
ด้วยความเชื่อมั่นและเจตนาที่จะธำรงไว้ซึ่งการปกครองระบอบ ประชาธิปไตย เรา–ผู้มีรายนามดังปรากฏข้างท้ายแถลงการณ์นี้–ได้ศึกษาข้อเสนอทางวิชาการของ คณะนิติราษฎร์โดยละเอียดแล้ว จึงได้ร่วมกันแสดงจุดยืนของเราในประเด็นต่างๆ ดังต่อไปนี้
1. เราสนับสนุนข้อเสนอทางวิชาการทั้ง 4 ประเด็นของคณะนิติราษฎร์ โดยเล็งเห็นว่าข้อเสนอทางวิชาการดังกล่าวนอกจากจะช่วยรักษาจุดด่างพร้อยจาก การรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 แล้ว ยังช่วยสร้างกลไกการป้องกันการก่อรัฐประหารในอนาคตอีกด้วย ที่สำคัญเหนือสิ่งอื่นใด ข้อเสนอทางวิชาการดังกล่าวอุดมไปด้วยจิตวิญญาณประชาธิปไตยอย่างแท้จริง
2. เราเสนอให้รัฐบาลและองค์กรที่เกี่ยวข้องรับข้อเสนอทางวิชาการของคณะนิติ ราษฎร์ไปพิจารณา ศึกษาความเป็นไปได้ และนำไปปฏิบัติให้เป็นจริง อันจะเป็นโอกาสสำคัญในการเสริมรากฐานประชาธิปไตยของประเทศให้แข็งแกร่งอีก คำรบหนึ่ง
3. เราขอเชิญชวนให้บรรดานักวิชาการและประชาชนทุกสาขาอาชีพ–ไม่ว่าจะอยู่ในแวดวง นิติศาสตร์หรือไม่ก็ตาม–อย่านิ่งเฉย โปรดออกมาร่วมเสนอแนะและวิพากษ์วิจารณ์ข้อเสนอของคณะนิติราษฎร์ บนฐานความรู้ความเข้าใจของท่าน เพื่อให้ได้ความคิดที่รอบด้านอันจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการพัฒนา ประชาธิปไตยของประเทศ
4. เราขอประณามการใส่ร้ายป้ายสี การบิดเบือนข้อเท็จจริง การขู่อาฆาตมาดร้าย และความพยายามใดๆ ก็ตามที่มุ่งทำลายเสรีภาพทางวิชาการและบรรยากาศประชาธิปไตยทั้งในที่ลับและ ที่แจ้ง ซึ่งไม่เพียงไม่ก่อประโยชน์อันใดแก่สังคมแล้วยังกัดกร่อนทำลายกลุ่มผู้กระทำ การเช่นนั้นเองด้วย
ขอให้ประชาธิปไตยจงเบ่งบาน มวลหมู่เผด็จการจงสิ้นสูญ
3 ตุลาคม 2554
กฤชวรรธน์ โล่ห์วัชรินทร์ (วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น)
อนุชา โสมาบุตร (นักวิชาการอิสระ)
อิศรา ก้านจักร (คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น)
ศิริศักดิ์ เหล่าจันขาม (วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น)
ปิยบุตร บุรีคำ (ภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)
ประสงค์ สีหานาม (ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม)
พงศาล มีคุณสมบัติ (นักวิชาการอิสระ)
สุดา รังกุพันธุ์ (คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)
ชูธรรม สาวิกันย์ (ภาควิชาวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร)
อาซีดีน นอจิ (ภาควิชากฎหมายอิสลาม โรงเรียนเอกชนสอนศาสนา จังหวัดปัตตานี)
ศาสวัต บุญศรี (คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยศิลปากร)
ธีรวัฒน์ ทัศนภิรมย์ (คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล)
เอกพิชัย สอนศรี (คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่)
สรัลภัค หมอกเรืองใส (วิทยาลัยพยาบาลและสุขภาพ ม.ราชภัฏสวนสุนันทา)
เนติลักษณ์ นีระพล (นักวิชาการอิสระ)
วิระพงศ์ จันทร์สนาม (คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ)
เสนัชย์ ทองประดิษฐ์ (นักวิชาการอิสระ)
กฤดิกร วงศ์สว่างพานิช (นักศึกษาปริญญาโท Aberystwyth University, UK)
ฉัตรชัย ช้างชัย (นิสิตคณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา)
สฤษดิ์ จันทราช (พ่อค้า ศรีสะเกษ)
ยุทธนา สูงสุมาลย์ (สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ)
สลักธรรม โตจิราการ (นายแพทย์ปฏิบัติการ โรงพยาบาลบ้านหมอ)
องอาจ บุญคง
วโรดม ตู้จินดา (คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์)
(ที่มา เว็บไซต์ประชาไท)