WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Wednesday, October 5, 2011

ข้าแต่ศาลที่เคารพ...... "ผมขอคัดค้าน พ.ร.ก.ฉุกเฉิน" เปิดจดหมายของผู้ถูกควบคุมตัวตามหมาย ฉฉ.

ที่มา ประชาไท

วันเสาร์ที่ทุกคนน่าจะได้พักผ่อน แต่หลายคนอาจจะกังวลใจกับงานที่ทำในอาทิตย์ที่ผ่านมา หรืองานและเรื่องราวที่รออยู่เบื้องหน้าในอาทิตย์ถัดไป ข้าพเจ้าได้รับจดหมายน้อยฉบับหนึ่งจากศูนย์พิทักษ์สันติ จชต ที่ตั้งอยู่ที่โรงเรียนตำรวจภูธร 9 จังหวัดยะลา จดหมายลงวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2554 บรรยายถึงข้อความที่เราอาจจะไม่ค่อยได้เห็นและได้ยิน มีข้อความว่า

“ ข้าพเจ้านายนิเซ๊ะ นิฮะ ยังมีสติสมัญชญะดี ร่ายกายแข็งแรง หลังจากนี้ถ้าหากมีอะไรในกระบวนการซักถามในชั้น พ.ร.ก. ข้าฯ นายนิเซ๊ะ นิฮะ จะไม่ให้การใดทั้งสิ้น นอกจากจะยืนยันคำให้การเดิม ถ้าหากเกิดอะไรขึ้นแก่ข้าฯ ไม่ว่าร่างกายหรือชีวิต หรือกรณีใดก็ตาม ข้าฯ ขอเขียนหนังสือนี้เป็นลายลักษณ์อักษรไว้เป็นหลักฐาน เพื่อดำเนินการต่อไป”

ลงชื่อ

ขอคัดค้าน พ.ร.ก.

1 ตุลาคม 2554

ลายมือและร่องรอยของจดหมายที่ถูกพับจนเล็ก บ่งบอกถึงที่มาและที่ไปของจดหมายได้ดี ด้วยเส้นสายตัวหนังสือที่หนักแน่น ชัดเจน นายนิเซ๊ะ นิฮะ ถูกจับกุมเมื่อเวลารุ่งเช้า วันที่ 16 กันยายน 2554 เจ้าหน้าที่ทหารตรวจค้นบ้านนายนิเซ๊ะ นิฮะ ตำบลตะลุโบะ อำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี โดยมิได้แสดงหมายแต่อย่างใด และควบคุมตัวนายนิเซ๊ะ นิฮะ ไปยังค่ายทหารบริเวณโรงไฟฟ้าปัตตานี ถนนปัตตานี - ยะลา อำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี ต่อมานายนิเซ๊ะ นิฮะ ถูกย้ายสถานที่ควบคุมตัวยังค่ายอิงคยุทธบริหาร อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานีในวันเดียวกัน มีรายงานว่านายนิเซ๊ะ ได้รับการปฏิบัติอย่างดีระหว่างการควบคุมตัวและได้ให้การกับเจ้าหน้าที่ทหาร ที่ค่ายอิงคยุทธฯด้วยความสมัครใจต่อข้อซักถามต่าง ๆ

ภายหลังการควบคุมตัวตามอำนาจกฎอัยการศึกเป็นเวลา 7 วัน เมื่อวันที่ 22 กันยายน 2554 นายนิเซ๊ะ นิฮะ ได้รับแจ้งว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจสถานีตำรวจภูธรกะพ้อ อำเภอกะพ้อ จังหวัดปัตตานี จะยื่นคำร้องขอออกหมายควบคุมตัวตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 โดยย้ายการควบคุมตัวไปที่ค่ายอิงคยุทธฯ และในวันที่ 26 กันยายน 2554 นายนิเซ๊ะ นิฮะ ได้ลงชื่อในบันทึกซักถามซึ่งเป็นการสิ้นสุดการควบคุมตัวและผู้ถูกควบคุมตัว ย่อมจะได้รับการปล่อยตัวตามระเบียบปฏิบัติที่ถือปฏิบัติกันมา แต่กลับถูกส่งตัวไปที่ศูนย์พิทักษ์สันติ จชต ที่ตั้งอยู่ที่โรงเรียนตำรวจภูธร 9 จังหวัดยะลา โดยนายนิเซ๊ะ นิฮะ ซึ่งสามารถสื่อสารภาษาไทยได้ดี ไม่ได้ทราบถึงข้อกล่าวหาหรือข้อสงสัยที่มีอยู่แต่อย่างใด อีกทั้งเขาก็ไม่มีโอกาสได้ชี้แจงกับศาลจังหวัดปัตตานีในวันที่ 22 กันยายน ในระหว่างที่ทางเจ้าหน้าที่ตำรวจขอศาลจังหวัดปัตตานีออกหมายจับตามอำนาจของ พ.ร.ก.ฉุกเฉินเป็นครั้งแรก ถ้ามีโอกาสนายนิเซ๊ะ นิฮะ อาจจะพูดเป็นภาษาไทยชัดถ้อยชัดคำกว่าตัวหนังสือว่า ผมขอคัดค้าน พ.ร.ก…

นับแต่วันที่ 26 กันยายน 2554 นายนิเซ๊ะ นิฮะ ถูกควบคุมตัวที่ศูนย์พิทักษ์สันติที่ตั้งอยู่ที่โรงเรียนตำรวจภูธร 9 จังหวัดยะลา ระหว่างนั้นการซักถามนายนิเซ๊ะ นิฮะ ได้รับการปฏิบัติอย่างดี และซักถามดำเนินไปด้วยคำถามเดิม ๆ เช่น คำถามเกี่ยวกับอาชีพ คำถามเกี่ยวกับกิจกรรมในสมัยเป็นนักศึกษามหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในกรุงเทพ สมัยปฎิวัติรัฐประหารและการต่อสู้เรียกร้องเพื่อประชาธิปไตยเมื่อ 19 ปีที่แล้วในช่วงพฤษภาทมิฬ

ในวันที่ 29 กันยายน 2554 เจ้าหน้าที่ตำรวจได้ขอขยายการควบคุมตัวตามอำนาจของ พ.ร.ก.ฉุกเฉินหลังจากการควบคุมตัวอีก 7 วัน โดยนายนิเซ๊ะ นิฮะ ก็ไม่มีโอกาสได้พูดกับศาลที่เคารพว่า ผมขอคัดค้าน พ.ร.ก…………….

ในวันที่ 30 กันยายน 2554 ทนายความมูลนิธิศูนย์ทนายความมุสลิมได้รับคำร้องจากญาติว่าต้องการให้มีการ ปล่อยตัวนายนิเซ๊ะ นิฮะเนื่องจากทางเจ้าหน้าที่ฯ ไม่ได้ซักถามประเด็นใดใดเพิ่มเติม การถูกควบคุมตัวโดยไม่มีเหตุจำเป็นตามกฎหมายนั้นไม่ตรงกับเจตนารมณ์ ของ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน เพราะนายนิเซ๊ะ นิฮะเป็นผู้บริสุทธิ์และยืนยันว่าจะว่าได้ให้การแก่เจ้าหน้าที่แล้วและยืน ยันคำให้การเดิม ทนายความฯ ได้ยื่นคำร้องขอให้ศาลจังหวัดปัตตานีมีคำสั่งไต่สวนคำร้องขอขยายระยะเวลาการ ควบคุมตัว โดยขอให้ศาลเรียกเจ้าหน้าที่ผู้ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาการควบ คุมตัวและผู้ถูกควบคุมตัวมาไต่สวน และขอให้ศาลมีคำสั่งปล่อยตัวนายนิเซ๊ะ นิฮะ ผู้ถูกควบคุมตัว เพราะการควบคุมตัวบุคคลไว้ไม่มีเหตุจำเป็นตามสถานการณ์ฉุกเฉินแต่อย่างใด ย่อมกระทบต่อสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐาน และทั้งนี้เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม ทั้งนี้ ศาลไม่ได้เรียกให้มีการไต่สวนคำร้องในวันดังกล่าว ศาลฯจึงยังไม่ได้มีโอกาสได้ยินเสียงร้องจากนายนิเซ๊ะ นิฮะ ว่าผมขอคัดค้านพรก…………….

ศาลมีคำสั่งนัดไต่สวนผู้ร้องและผู้ร้องคัดค้านแลนายนิเซ๊ะ นิฮะ ผู้ถูกควบคุมตัว ในวันวันพุธที่ 5 ตุลาคม 2554 เวลา 09.30 น. ซึ่งเป็นเวลาอีกกว่า 5 วันหลังจากที่นายนิเซ๊ะ นิฮะ ได้มอบหมายให้ทนายความนำความมาเสนอต่อศาลเพื่อให้ศาลรับฟังแต่ศาลก็ยังคงไม่ ได้ยิน นายนิเซ๊ะ นิฮะ จึงได้เขียนจดหมายฉบับดังกล่าวส่งให้ญาติพับจนเล็กส่งออกมาให้คนภายนอกได้ รับรู้ความรู้สึกของตน

การออกหมายจับของศาลเพื่อการควบคุมตัวบุคคลอันเกิดจากดุลพินิจของเจ้า พนักงานฯ ภายใต้การบังคับใช้กฎหมายพิเศษถูกตั้งคำถามเสียงดังมาโดยตลอด ด้วยการเปรียบเทียบความสัมฤทธิ์ผลของการรักษาความมั่นคงปลอดภัยในชีวิตและ ทรัพย์สินของจำนวนผู้ถูกควบคุมตัวที่ได้รับการปล่อยตัวพร้อมกับจำนวนคดีที่ ศาลมีคำสั่งยกฟ้องมานานนับ 7 ปี จนเมื่อวันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2554 ภายหลังการบังคับใช้ พ.ร.ก.กว่า 5 ปี ได้มีประกาศราชกิจจานุเบกษาเรื่องคำแนะนำของประธานศาลฎีกา เกี่ยวกับการพิจารณาคำร้องขอจับกุมและควบคุมตัวบุคคลตามพระราชกำหนดการ บริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 โดยกำหนดหลักการสำคัญบางประการเพื่อคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชน ตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย เช่น การขอศาลออกหมายจับตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉินให้นำข้อบังคับของประธานศาลฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการ เกี่ยวกับการออกคำสั่งหรือหมายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ป.วิอาญา) มาใช้บังคับโดยอนุโลม

ในคำแนะนำประธานศาลฎีกาได้ระบุด้วยว่า ศาลจังหวัดที่เกี่ยวข้องต้องไต่สวนให้ได้ความก่อนออกหมาย ศาลควรสอบถามผู้ร้องว่า เคยมีการออกหมายจับและควบคุมตัวบุคคลมาก่อนที่ศาลใดหรือไม่ เพื่อมิให้มีการควบคุมตัวเกินระยะเวลาที่กำหนด รวมทั้งระบุว่าให้ผู้รับผิดชอบรายงานความคืบหน้าการจับกุมตามหมายต่อศาลทุก สามเดือนจนกว่าจะจับกุมได้ เมื่อจับกุมตามหมายจับได้แล้วให้จัดทำรายงานแจ้งต่อศาล หากเปลี่ยนสถานที่ควบคุมตัวให้รายงานให้ศาลทราบทันที เมื่อมีการปล่อยตัวไม่ว่าเมื่อใดก็ตามต้องแจ้งให้ญาติหรือผู้ที่ผู้ถูกควบ คุมตัวไว้ใจทราบและนำตัวผู้ถูกควบคุมตัวมาศาลที่ออกหมายจับเพื่อการปล่อยตัว ถ้าไม่ปฏิบัติตามคำแนะนำดังกล่าวศาลจะเพิกถอนหมายจับ หรือสั่งเป็นอย่างอื่นได้ หมายจับตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉินนี้กำหนดว่าเมื่อครบกำหนดหนึ่งปีหากไม่สามารถจับกุมบุคคลได้ ศาลอาจเรียกผู้ขอออกหมายมาสอบถามหรือเพิกถอนหมายจับได้ อีกทั้งประธานศาลฎีกากำหนดด้วยว่าถ้าการจับกุมและควบคุมตัวไม่เป็นไปตาม กฎหมาย ให้ศาลทำการไต่สวน มีคำสั่งให้นำผู้ถูกควบคุมตัวมาศาลเพื่อไต่สวนได้ เป็นต้น

จดหมายน้อยฉบับดังกล่าวเป็นเสียงร้องเรียกดังดังต่อสาธารณะฉบับแรกจากผู้ ถูกควบคุมตัว ทั้งที่มีผู้ถูกควบคุมตัวภายใต้อำนาจกฎหมายพิเศษหลายรายที่ ไม่สามารถเขียนหนังสือ ไม่สามารถเข้าถึงความช่วยเหลือทางกฎหมาย ไม่สามารถมีทนายความร่างคำร้องขอคัดค้านการควบคุมตัว บางรายเคยมีรายงานว่า ถูกซ้อมทำร้ายร่างกายระหว่างการควบคุมตัว และเคยแม้กระทั่งไม่มีชีวิตที่ รอดกลับออกไปจากการควบคุมตัว เช่น กรณีนายสุไลมาน แนซา แม้เรื่องราวเหล่านี้เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นแล้วและกำลังอยู่ในขั้นตอนการไต่ สวนการตายของศาลฯ แต่มีเสียงสะท้อนการทำงานของนักสิทธิมนุษยชนและนักกฎหมาย มาโดยตลอดว่า ข้อร้องเรียนเรื่องการซ้อมทรมานผู้ต้องหาเดิมๆ นั้นไม่ควรนำมาเผยแพร่กันอีก นักสิทธิมนุษยชนได้แต่เรียกร้องปกป้องแต่ผู้ต้องสงสัย ตกเป็นเครื่องมือของกลุ่มที่ใช้ความรุนแรง ไม่คำนึงถึงสิทธิของผู้เสียหาย และความปลอดภัยของเจ้าหน้าที่รัฐ ผู้ก่อการได้ฆ่าสังหารผู้บริสุทธิ์ไปเป็น จำนวนมาก เหล่านี้เป็นต้น ซึ่งเป็นที่ยอมรับกันทั่วไปว่ากฎหมายพิเศษมีเพื่อ สถานการณ์พิเศษที่ต้องการการบริหารจัดการเป็นพิเศษ ความเสียหายที่เกิดแก่ ผู้บริสุทธิ์และเจ้าหน้าที่รัฐซึ่งต้องได้รับการเยียวยาทั้งด้านการให้ความ ช่วยเหลือทางมนุษยธรรมและความเป็นธรรมนั้นคือการนำผู้กระทำผิดมาลงโทษ

แม้ว่ารัฐบาลใหม่เองก็ยังไม่มีแนวทางออกทางการเมืองที่ชัดเจนเกี่ยวกับ จังหวัดชายแดนภาคใต้ แต่ถ้าจะให้คนในรัฐบาลยกมือว่าใครได้รับผลกระทบจาก พ.ร.ก.ฉุกเฉินมาแล้วบ้าง คงมีคนยกมือขึ้นไม่มากก็น้อย พ.ร.ก.ฉุกเฉินที่ประกาศใช้ในพื้นที่กรุงเทพและ จังหวัดต่าง ๆในช่วงเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2554 เป็นฉบับเดียวกับที่ประกาศใช้ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้มาเป็น ระยะเวลากว่า 7 ปีติดต่อกัน การยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉินหรือการทบทวนที่มาของกฎหมาย และการต่อ พ.ร.ก.ฉุกเฉินนั้นคงเป็นหน้าที่ผู้มีอำนาจในการกำหนดนิตินโยบายของรัฐบาลคง ต้องรับฟังทุกด้านและคำนึงถึงหลักการที่ว่า การบังคับใช้กฎหมายนั้นต้องมีมาตรฐานเดียวไม่ใช่สองมาตรฐาน เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมในสังคมประเทศที่เป็นจริง ดังนี้เสียงเรียกร้องของ ผู้ถูกควบคุมตัวแม้แต่เพียงรายเดียว เราทุกคนก็ต้องรับฟัง

ข้าแต่ศาลที่เคารพ ผมขอคัดค้าน พ.ร.ก...

......................

หมายเหตุ:
นายนิเซ๊ะ นิฮะ นั้นปัจจุบันมีภูมิลำเนาอยู่ที่จังหวัดปัตตานี เป็นปัญญาชนที่มีบทบาทในงานพัฒนาชุมชนตามวิถีชุมชนและภูมิปัญญาท้องถิ่น อดีตเป็นนักกิจกรรมนักศึกษามหาวิทยาลัยรามคำแหงในช่วงเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ ปี2535 ร่วมกับพรรคสานแสงทองซึ่งเป็นพรรคการเมืองนักศึกษามหาวิทยาลัยรามคำแหง จากนั้นก็ได้มีบทบาทเกี่ยวข้องกับงานพัฒนาสังคมและชุมชนมาโดยตลอด หลังเหตุการณ์พฤษภาทมิฬก็ได้มีโอกาสร่วมเคลื่อนไหวกับสมัชชาคนจน กระทั่งได้รับเลือกเป็นประธาน PNYS (กลุ่มนักศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้ มหาวิทยาลัยรามคำแหง) เมื่อปีพ.ศ. 2537 และต่อมาก็ได้มีส่วนร่วมทำกิจกรรมเพื่อสังคมร่วมกับองค์เครือข่ายภาคประชา สังคมอย่างต่อเนื่อง จนจบการศึกษาในปี พ.ศ. 2540 คณะรัฐศาสตร์ สาขาการปกครอง