WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Saturday, October 8, 2011

มอง รัฐประหาร ด้วยหลัก ปฏิจจสมุปบาท แห่ง "พุทธธรรม"

ที่มา มติชน



(ที่มา หนังสือพิมพ์มติชนรายวัน ฉบับประจำวันที่ 7 ตุลาคม 2554)


เหตุการณ์ ทุกเหตุการณ์ เกิดขึ้น ดำรงอยู่ ดำเนินไป อย่างมีพลวัต มีความเกี่ยวเนื่อง สัมพันธ์ และมิได้ขึ้นอยู่กับเจตจำนงในทางอัตวิสัยของผู้ใด ผู้หนึ่ง

ไม่ว่าจะเป็นเหตุการณ์เมื่อเดือนกันยายน 2549

ไม่ว่าจะเป็นเหตุการณ์เมื่อเดือนเมษายน พฤษภาคม 2553

คล้ายกับการตัดสินใจรัฐประหารเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549 จะประสบผลสำเร็จ สามารถโค่นล้มรัฐบาลพรรคไทยรักไทยลงได้

เป็นชัยชนะท่ามกลางเสียงชโยโห่ร้อง

กระนั้น เมื่อปะเข้ากับแถลงการณ์ "5 ปีรัฐประหาร 1 ปี คณะนิติราษฎร์" จากอาจารย์กฎหมายเพียง 7 คนจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ผลพวงของรัฐประหารก็เละ

ขณะ เดียวกัน หากพิจารณาสถานการณ์เมื่อเดือนเมษายน พฤษภาคม 2553 อย่างหาสัจจะจากสภาพความเป็นจริง ก็ต้องยอมรับว่า 90 กว่าศพ 2,000 กว่าคนที่บาดเจ็บและพิการ ร่วม 300 คนที่ถูกจับกุมขัง คือผลและความต่อเนื่องจากสถานการณ์รัฐประหารเมื่อเดือนกันยายน 2549

เพราะ หากไม่มีการรัฐประหาร เพราะหากไม่มีการใช้ขบวนการตุลาการภิวัฒน์เพื่ออุ้มคนบางคนให้เป็นนายก รัฐมนตรี คงไม่มีกลุ่มคนเสื้อแดง คงไม่มีการชุมนุมและคงไม่มีการปราบปราม

90 กว่าศพจึงคือความต่อเนื่องอันสัมพันธ์กับการทำรัฐประหารเดือนกันยายน 2549

ในความเป็นจริง สรรพสิ่งในโลกล้วนอยู่ใต้กฎแห่งการเคลื่อนไหว เปลี่ยนแปลง แต่ก็ยังมีคนจำนวนหนึ่งไม่ยอมรับต่อความเป็นจริงนี้

กลุ่มคนที่เลือกกระบวนการรัฐประหาร คือ กลุ่มคนที่ปฏิเสธความเป็นจริงนี้

กฎแห่งการเคลื่อนไหว เปลี่ยนแปลงนี้ หากมองบนพื้นฐานแห่งหลักพุทธธรรมก็คือสิ่งที่เรียกว่า ปฏิจจสมุปบาท และที่เรียกว่า อิทัปปจยตา

ปฏิจจสมุปบาท
การที่ธรรมทั้งหลายอาศัยกันเกิดขึ้นพร้อม 1 สภาพอาศัยปัจจัยเกิดขึ้น 1 การที่สิ่งทั้งหลายอาศัยกันจึงเกิดขึ้น 1 การที่ทุกข์เกิดขึ้นเพราะอาศัยปัจจัยต่อเนื่องกันมา

อันมีความเด่นชัดมากยิ่งขึ้นเมื่อหยิบ อิทัปปจยตา มาพิจารณา

อิทัปปจยตา ภาวะที่มีอันนี้ อันนี้ เป็นปัจจัย 1 ความเป็นไปตามความสัมพันธ์แห่งเหตุปัจจัย 1 กฎที่ว่า "เมื่อมีสิ่งนี้ สิ่งนี้จึงมี, เพราะสิ่งนี้เกิดขึ้น สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น" 1 เป็นอีกชื่อหนึ่งของหลักปฏิจจสมุปบาท หรือ ปัจจยาการ

นักรัฐประหารคิดนึกว่า เมื่อจัดการกับ "สิ่งนี้" ทุกอย่างก็ยุติ เรียบโร้ย

แต่ ในความเป็นจริงที่เห็นและเป็นอยู่ไม่ว่าสถานการณ์เดือนตุลาคม 2519 ไม่ว่าสถานการณ์เดือนกันยายน 2549 กลับไม่เป็นไปตามที่คิดนึกวางพิมพ์เขียวเอาไว้

เมื่อมีสิ่งนี้ สิ่งนี้จึงมี ขณะเดียวกัน เพราะสิ่งนี้เกิดขึ้น สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น

เพราะเกิดสถานการณ์เดือนมิถุนายน 2475 จึงมีสถานการณ์เดือนเมษายน 2476

และเพราะมีสถานการณ์เดือนเมษายน 2476 จึงมีสถานการณ์เดือนกันยายน 2476

ขณะเดียวกัน เพราะมีสถานการณ์เดือนมิถุนายน 2475 เพราะมีสถานการณ์เดือนกันยายน 2476 จึงได้มีสถานการณ์เดือนตุลาคม 2476

เป็นความเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์และสัมพัทธ์

เพราะเกิดสถานการณ์เดือนตุลาคม 2516 จึงนำไปสู่สถานการณ์เดือนตุลาคม 2519 เพื่อกำจัดผลพวงอันนอกเหนือความต้องการ

ขณะที่สถานการณ์เดือนตุลาคม 2519 ก็นำไปสู่สถานการณ์เดือนตุลาคม 2520

เพราะมีสถานการณ์เดือนกุมภาพันธ์ 2534 จึงนำไปสู่สถานการณ์ประท้วงและปราบปรามการชุมนุมเดือนพฤษภาคม 2535

แล้วสถานการณ์เดือนกันยายน 2549 ก็ยืดเยื้อเรื้อรังมาตลอด 5 ปีไม่สิ้นสุด

บรรดา นักรัฐประหารคิดว่าการยึดอำนาจเมื่อเดือนกันยายน 2549 ทุกอย่างจะเรียบโร้ย การยุบพรรคไทยรักไทยเมื่อเดือนพฤษภาคม 2550 ทุกอย่างจะเรียบโร้ย

แต่แล้วการเลือกตั้งเดือนธันวาคม 2550 พรรคพลังประชาชนก็กำชัย หลายคนคิดว่าสถานการณ์เดือนเมษายน พฤษภาคม 2553 จะเรียบโร้ย

แต่แล้วการเลือกตั้งเดือนกรกฎาคม 2554 พรรคเพื่อไทยก็กำชัยถล่มทลาย

จากนี้จึงเห็นได้ว่า แม้รัฐประหารจะมีกองทัพเป็นปัจจัยชี้ขาดแต่ก็มิอาจทำได้อย่างเบ็ดเสร็จ

ผล สะเทือนอันติดตามมาจากรัฐประหารเดือนกันยายน 2549 กระทั่งผ่านการเลือกตั้งทั่วไปเดือนกรกฎาคม 2554 ชัยชนะก็มิได้เป็นของเหล่านักรัฐประหาร

หากรัฐบาลกลับเป็นของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ น้องสาว พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร