ที่มา ประชาไท
สืบเนื่องจากในวันที่ 5 ตุลาคมที่จะถึงนี้ จะถึงรอบการรายงานสถานการณ์สิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ภายใต้สภาสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ ด้วยกระบวนการ Universal Periodic Review (ยูพีอาร์) โดยจะมีตัวแทนจากนานาชาติตั้งคำถามทางการไทยในประเด็นสิทธิฯ ที่ต่างชาติเห็นว่ามีการละเมิดหลักสิทธิมนุษยชนสากล และทางการไทยมีหน้าที่จะต้องรายงาน รวมถึงสามารถรับข้อเสนอแนะมาปฏิบัติได้
ข้อมูลจากเว็บไซต์ข้าหลวงใหญ่แห่งสหประชาชาติ เปิดเผยว่า ทางตัวแทนรัฐบาลจากหลายประเทศจากแถบยุโรป อาทิ อังกฤษ นอรเวย์ เนเธอร์แลนด์ สวิตเซอร์แลนด์ มุ่งตั้งคำถามทางการไทยในหลายประเด็น แต่เรื่องที่ต่างชาติให้ความสนใจมากเป็นพิเศษ ได้แก่ เรื่องกฎหมายอาญามาตรา 112 และพรบ.ว่าด้วยการกระทำผิดทางคอมพิวเตอร์ ซึงหลายฝ่ายมองว่าเป็นการละเมิดสิทธิเสรีภาพในการแสดงออก
นอกจากนี้ เรื่องที่รัฐบาลต่างชาติให้ความสนใจ ยังรวมถึง การค้นหาความจริงในเหตุการณ์เมษายน-พฤษภาคม 2554 เหตุการณ์ความรุนแรงในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ สิทธิฯ ของผู้ลี้ภัยจากชายแดนพม่า รวมถึงความเป็นกลางของคณะกรรมการสิทธิฯ ไทย และองค์กรอิสระอื่นๆ เช่น คณะกรรมการปรองดองฯ และศาลด้วย
ทั้งนี้ ข้าหลวงใหญ่แห่งสหประชาชาติ ได้อธิบายว่า กระบวนยูพีอาร์ นับเป็นกระบวนการที่เป็นเอกลักษณ์ของสภาสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ ที่เปิดโอกาสให้แต่ละประเทศผลัดกันตรวจสอบสถานการณ์สิทธิของประเทศต่างๆ โดยใช้กระบวนการที่เป็นมิตรและปฏิสัมพันธ์เชิงสร้างสรรค์ (Constructive engagement) กับผู้นำประเทศต่างๆ เพื่อนำไปสู่การปรับปรุงสถานการณ์สิทธิฯ ในทุกประเทศอย่างทั่วถึง
บัน คี มุน เลขาธิการแห่งสหประชาชาติ กล่าวว่า กระบวนการทบทวนสถานการณ์สิทธิมนุษยชน “มีศักยภาพที่ดีมากในการส่งเสริมและพิทักษ์สิทธิมนุษยชนแม้แต่ในประเทศที่ อยู่ในมุมมืดของโลกใบนี้”
สำหรับประเทศไทย ตัวแทนจากกระทรวงการต่างประเทศจะเป็นผู้ชี้แจงสถานการณ์สิทธิฯ ไทย ตามรายงานที่ได้ทำไว้ก่อนหน้านี้ พร้อมทั้งตอบคำถามต่อนานาชาติในประเด็นต่างๆ ที่ถูกตั้งคำถาม โดยจะถึงคิวการรายงานในวันที่ 5 ตุลาคม ที่จะถึงนี้ ในเวลา 18.30 -21.30 น. ตามนาฬิกาประเทศไทย
สำหรับผู้ที่สนใจ สามารถติดตามชมกระบวนการดังกล่าวได้ ผ่านการถ่ายทอดสดทางเว็บไซต์ http://www.un.org/webcast/unhrc/ หรือสามารถเข้าร่วมงาน ‘ปาร์ตี้สิทธิมนุษยชน’ Human Rights Party: WTF is UPR? [Live Cast: The 1st Cycle of Thailand Universal Periodic Review] ซึ่งจัดโดยองค์กรภาคประชาสังคมของไทย เพื่อรณรงค์ความตระหนักรู้ในกระบวนการยูพีอาร์ได้ ในวันที่ 5 ตุลาคม เวลา 18.30 สถานที่ ‘Reading Room’ หรือสามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เฟซบุ๊กดังกล่าว
__________________
คำถามที่น่าสนใจบางส่วนจากรัฐบาลต่างประเทศ
ประเด็นเหตุการณ์ความรุนแรงเดือนเมษายน - พฤษภาคม 2553
สาธารณรัฐเช็ก
• สืบ เนื่องจากข้อมูลที่ได้รับร่วมกันจากผู้ตรวจการพิเศษสหประชาชาติด้านเสรีภาพ การแสดงออก และผู้ตรวจการพิเศษสหประชาชาติด้านการบังคับใช้กฎหมายพิเศษและประหารชีวิต โดยทันทีหรือตามอำเภอใจนั้น เมื่อวันที่ 7 เมษายน 2553 รัฐบาลไทยได้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในกรุงเทพมหานครและจังหวัดใกล้เคียง โดยต่อมาในวันที่ 10 เมษายน 2553 การปะทะกันระหว่างผู้ชุมนุมประท้วงต่อต้านรัฐบาลเกิดความตึงเครียดขึ้น จนเป็นเหตุแก่การกล่าวหาว่า เจ้าหน้าที่รัฐใช้อาวุธหนักเข้าปราบปรามการชุมนุม ทำให้มีผู้เสียชีวิต 21 รายและบาดเจ็บกว่า 700 ราย เราทราบว่า ประเทศไทยได้ให้สัตยาบันต่อกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิ ทางการเมือง (ICCPR) ซึ่งบัญญัติให้การใช้กำลังโดยเจ้าหน้าที่รัฐเป็นไปโดยจำกัดที่สุด และการใช้กำลังนั้นจะต้องอยู่ในสัดส่วนที่เหมาะสมต่อวัตถุประสงค์อันชอบธรรม ที่ต้องการจะได้รับ ด้วยเหตุนี้ เราจึงขอเรียนถามคำอธิบายโดยย่อต่อมาตรการที่รัฐบาลไทยนำมาพิจารณาก่อนการ ใช้กำลัง เพื่อให้สอดคล้องกับข้อบัญญัติข้างต้นและหลักการพื้นฐานของสหประชาชาติว่า ด้วยการใช้ปืนกลโดยเจ้าหน้าที่รัฐ
สหราชอาณาจักร
• อยาก ทราบความคืบหน้าว่ารัฐบาลไทย ได้ให้คำตอบอย่างไรต่อรายงานและข้อเสนอแนะจากคณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้น หาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ นอกจากนี้ รัฐบาลไทยได้นำข้อเสนอแนะใดมาปฏิบัติ และมีการให้ความช่วยเหลือด้านกฎหมายและการเงินแก่ผู้เสียหายมากน้อยเพียงไร
นอร์เวย์
• รัฐบาล ไทยจะมีวิธีอย่างไรที่จะทำให้แน่ใจว่าคณะกรรมการปรองดองแห่งชาติที่ตั้งขึ้น หลังเหตุการณ์ความวุ่นวายเดือนเมษายน- พฤษภาคม 2553 จะได้รับทรัพยากรและอำนาจตามที่จำเป็น เพื่อหาผู้กระทำการละเมิดสิทธิมนุษยชน และนำมาซึ่งความยุติธรรมได้
ประเด็นเสรีภาพในการแสดงออก
เดนมาร์ก
• รัฐบาล ไทยมีมาตรการใดในการปกป้องเสรีภาพทางการแสดงออกของสาธารณะ ซึ่งรวมถึงเสรีภาพของสื่อแขนงต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นสิ่งพิมพ์, สื่อวิทยุ-โทรทัศน์ และสื่อออนไลน์
เนเธอร์แลนด์
• ประเทศ ไทยถูกวิจารณ์อย่างต่อเนื่องเกี่ยวกับมาตรการการบล็อคเว็บไซต์และการจำกัด เสรีภาพทางการแสดงความคิดเห็น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในกรณีที่เกี่ยวข้องกับพระมหากษัตริย์และประเด็นอ่อนไหวอื่นๆ ในขณะเดียวกัน สื่อเองก็ถูกกล่าวหาว่ามีการเซ็นเซอร์ตัวเองอย่างเข้มข้น ในด้านรัฐบาลไทยนั้นก็ยอมรับในหลายโอกาสว่า มีการใช้กฎหมายหมิ่นสถาบันฯ ในการควบคุมความคิดเห็นของประชาชน ด้วยเหตุนี้ อยากทราบว่า ประเทศไทยจะมีการปฏิรูปกฎหมายอาญาและพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยว กับคอมพิวเตอร์เมื่อไหร่ อย่างไร และการปฏิรูปดังกล่าวจะรวมถึงการมีเกณฑ์ที่ชัดเจนและมีเหตุผลต่อการพิจารณา การกระทำผิดกรณีหมิ่นฯ หรือไม่
สวิตเซอร์แลนด์
• รัฐบาล มีมาตรการอย่างไรในการสร้างหลักประกันเสรีภาพทางการแสดงความคิดเห็นและการ ชุมนุมให้เกิดขึ้นในทางปฏิบัติแก่ประชาชนไทย ทั้งนี้ รัฐบาลไทยคาดว่าจะเชิญผู้ตรวจการพิเศษสหประชาชาติด้านเสรีภาพการแสดงออกมา ยังประเทศไทยหรือไม่?
• รัฐบาลไทยจะมีการพิจารณาทบทวนกฎหมายหมิ่นสถาบันพระมหากษัตริย์หรือไม่?
สหราชอาณาจักร
• ประเทศ ไทยคาดว่าจะมีการทบทวนประมวลกฎหมายซึ่งเคยใช้ควบคุมเสรีภาพในการแสดงออก โดยมองหาวิธีการบังคับใช้กฎหมายอย่างเป็นธรรมหรือไม่ หากการทบทวนฯ เกิดขึ้น ประเทศไทยสามารถให้รายละเอียดหรือภาพรวมเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าวเพิ่มเติม ได้หรือไม่
นอร์เวย์
• ไม่ทราบ ว่ารัฐบาลจะเร่งกระบวนการที่เกี่ยวข้องเพื่อทบทวนกฏหมายที่เกี่ยวข้อง ในแง่การกำหนดความชัดเจนในการบังคับใช้ และการกำหนดบทลงโทษของกฎหมายอาญามาตรา 112 หรือไม่ เพื่อที่จะป้องกันการใช้กฎหมายดังกล่าวในทางละเมิดสิทธิฯ
ประเด็นเรื่องกระบวนการยุติธรรม
สวิตเซอร์แลนด์
• รัฐบาลไทยมีมาตรการอย่างไรในการสร้างความเข้มแข็งให้กับบทบาทความเป็นอิสระและความเป็นธรรมของกระบวนการยุติธรรมไทย
สหราชอาณาจักร
• อยาก ทราบว่าประเทศไทยจะมีขั้นตอนในการปฏิรูประบบยุติธรรม ซึ่งรวมถึงการปฏิบัติต่อผู้ต้องขัง ไม่ว่าจะเป็นผู้ที่รอการพิจารณาคดีหรือผู้ที่ถูกจำคุกอย่างไร?
ประเด็นเรื่องโทษประหารชีวิต
สวิตเซอร์แลนด์
• รัฐบาลไทยคาดว่าจะมีการพิจารณายกเลิกโทษประหารชีวิตหรือไม่?
สาธารณรัฐเช็ก
• สาธารณรัฐ เช็กมีความยินดีที่ประเทศไทยได้ให้สัตยาบันต่อกติการะหว่างประเทศว่าด้วย สิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (ICCPR) นอกจากนี้แล้ว รัฐบาลไทยจะพิจารณาให้สัตยาบันต่อข้อกำหนดเพิ่มเติมฉบับที่ 2 ว่าด้วยเรื่องการยกเลิกโทษประหารชีวิตของกติกาดังกล่าวด้วยหรือไม่
ประเด็นเรื่องคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
เนเธอร์แลนด์
• คณะ กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ คือ หน่วยงานที่มีความสำคัญยิ่งด้านความเป็นอิสระและความเป็นธรรมต่อการสอบสวน กรณีการละเมิดสิทธิมนุษยชน โดยคณะกรรมการสิทธิฯ ในประเทศไทยได้รับการแต่งตั้งอย่างเป็นเอกเทศโดยผู้แทนจากศาลยุติธรรม อย่างไรก็ตาม การตรวจสอบเหตุการณ์ความรุนแรงในเดือนเมษายน/พฤษภาคม 2553 โดยคณะกรรมการฯ ชุดดังกล่าว ยังคงไม่ได้รับการเปิดเผยสู่สาธารณชน ด้วยเหตุนี้ จึงขอสอบถามว่า การทบทวนสถานการณ์สิทธิฯ ในประเทศไทยได้กล่าวถึงกระบวนการคัดสรรคณะกรรมการสิทธิฯ ในอนาคต ว่าจะเป็นไปอย่างโปร่งใส มีส่วนร่วม เพื่อให้แน่ใจว่าได้คณะทำงานที่มีความเป็นอิสระ เป็นธรรม และมีความสามารถหรือไม่?
สหราชอาณาจักร
• อยาก ทราบว่าคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนไทยจะปฏิบัติภารกิจโดยสอดคล้องกับหลักการ ปารีสที่มีขึ้นเพื่อชี้แนะแนวการปฏิบัติงานของสถาบันแบบเดียวกันนี้ทั่วโลก หรือไม่
ประเด็นเรื่องสามจังหวัดชายแดนภาคใต้
เดนมาร์ค
• รัฐบาล ไทยมีแผนการใดที่จะกำจัดการปฏิบัติที่เลวร้ายในสถานคุมขัง และสร้างหลักประกันว่าการทรมานเพื่อบังคับให้ผู้ถูกกล่าวหารับสารภาพ ดังเช่น กรณีในสามจังหวัดชายแดนใต้ จะได้รับการสืบสวนอย่างรัดกุมและเป็นธรรม โดยพยานเองก็ปราศจากความเสี่ยงที่ยอมรับไม่ได้ต่อการรายงานการกระทำดังกล่าว ด้วย
สหราชอาณาจักร
• อยาก ทราบว่าประเทศไทยจะพิจารณายกเลิกกฎหมายพิเศษด้านความมั่นคงในจังหวัดชายแดน ใต้ ซึ่งร่วมถึงพรก.ฉุกเฉินหรือไม่? หากมีการยกเลิกดังกล่าว จะมีกรอบระยะเวลาการดำเนินงานอย่างไร
ประเด็นเรื่องผู้ลี้ภัยและแรงงานข้ามชาติ
สาธารณรัฐเช็ค
• ประเทศ ไทยมีมาตรการอย่างไรในการบรรลุมาตรฐานระหว่างประเทศเกี่ยวกับการจัดตั้งสิ่ง อำนวยความสะดวกในสถานกักกันแรงงานข้ามชาติ เช่น ศูนย์อำนวยการพิเศษในการปราบปราม จับกุม และดำเนินคดีแรงงานที่ลักลอบเข้าเมืองผิดกฎหมายหรือค้าแรงงานเถื่อน ซึ่งเป็นไปตามคำบัญชาของนายกรัฐมนตรีฉบับที่ 125/12223 เมื่อวันที่ 2 มิถุนายน 2553
เนเธอร์แลนด์
• แม้ ประเทศไทยยังไม่ให้สัตยาบันต่ออนุสัญญาเกี่ยวกับสถานะของผู้ลี้ภัยพร้อมทั้ง ข้อกำหนดเพิ่มเติมปี 1967 แต่ในขณะเดียวกัน ก็ยังเป็นประเทศที่ให้แหล่งพักพิงแก่กลุ่มผู้ลี้ภัยจำนวนมาก และต้องผูกพันกับมาตรฐานสิทธิมนุษยชนสากลเกี่ยวกับการปฏิบัติต่อผู้ลี้ภัย แรงงานข้ามชาติในประเทศไทยโดยมากนั้น ขาดซึ่งสิทธิขั้นพื้นฐานและถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนในหลายด้าน รวมถึง การถูกละเมิดโดยตำรวจและถูกเหยียดเชื้อชาติ ในการนี้ ขอสอบถามว่า การทบทวนสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทยได้รวมเอาหลักการ Non-refoulement เข้าพิจารณาหรือไม่? หลักการดังกล่าว คือ การที่รัฐบาลไทยสร้างความมั่นใจว่า จะไม่มีบุคคลใดถูกขับไล่ ส่งตัวกลับ หรือถูกส่งมอบในฐานะนักโทษ กลับไปยังประเทศหรือดินแดนที่ซึ่งเขาอาจต้องพบเจอกับการละเมิดสิทธิมนุษยชน ขั้นร้ายแรง นอกจากนี้ ขอสอบถามว่า ประเทศไทยจะมีการปรับข้อกฎหมายเพื่อประกันรายอย่างยุติธรรม ชดเชยรายได้แก่แรงงานข้ามชาติโดยเท่าเทียม สร้างสภาวะการทำงานที่ปลอดภัย ถูกสุขลักษณะ ปราศจากการละเมิดสิทธิมนุษยชนหรือไม่