ที่มา ข่าวสด
หมายเหตุ : เว็บไซต์นิติราษฎร์ในส่วนของ ′บทความจากผู้อ่าน′ เผยแพร่บทความเรื่อง ′ปกป้องสถาบัน′ เขียนโดย เกษียร เตชะพีระ อาจารย์จากคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นักวิชาการชั้นแนวหน้าของไทย มีเนื้อหาดังนี้
ระหว่างติดตามสดับตรับฟังวิวาทะสืบเนื่องจากข้อเสนอของเพื่อนอาจารย์กลุ่มนิติราษฎร์ที่ให้ลบล้างผลพวงของรัฐประหาร๑๙กันยายน พ.ศ.๒๕๔๙ ดังอื้ออึงอยู่นั้น ผมอดนึกเปรียบเทียบไม่ได้ว่า.....สิ่งที่คณะรัฐประหาร คปค. กระทำเมื่อ ๕ ปีก่อนคือการใช้อำนาจปืนลุกขึ้นฉีกกฎหมายสูง สุดของชาติที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงลงพระปรมาภิไธยกำกับไว้ทิ้งโดยพลการขณะ สิ่งที่คณะนิติราษฎร์ทำตอนนี้คือนำเสนอหลักเหตุผลข้อถกเถียงทางวิชาการเพื่อ ให้สังคมไทยพิจารณาตัดสินใจลบล้างผลพวงของการละเมิดกฎหมายและอำนาจอธิปไตย ของแผ่นดินโดยคปค.ครั้งนั้นผ่านกระบวนการและวิธีการโดยชอบในกรอบของกฎหมาย ปัจจุบันเนื้อแท้ที่แตกต่างตรงกันข้ามของสิ่งที่ ทั้งสองคณะกระทำ,และปฏิกิริยาที่ต่างกันอย่างสิ้นเชิงต่อกรณีทั้งสองโดย เฉพาะในหมู่นักกฎหมายทนายความและครูบาอาจารย์นิติศาสตร์บางคน ช่างเป็นที่น่าแปลกประหลาดอัศจรรย์ใจเสียนี่กระไร?!?!?เราจะเข้าใจพวกเขาว่าอย่างไรดี?มองในแง่ดีที่สุด ผมเข้าใจว่าสิ่งที่นักกฎหมายทนายความและครูบาอาจารย์นิติศาสตร์บาง คนพยายามทำ คือปกป้องสถาบันเก่าแก่สำคัญของชาติสถาบันหนึ่งไว้ นั่นคือสถาบันรัฐประหาร!สถาบันดังกล่าวอยู่คู่ กับสถาบันหลักทั้งสามอันได้แก่ชาติ-ศาสนา-พระมหากษัตริย์มาตลอดยุคการเมือง ไทยสมัยใหม่หน้าที่สำคัญของสถาบันหลักของชาติแห่งที่สี่นี้คือเป็นเครื่อง มือหรือวิธีการ(instrument/means) ที่พลังการเมืองบางกลุ่มบางฝ่ายในสังคมการเมืองไทยเก็บไว้ใช้เพื่อปกป้อง สถาบันหลักทั้งสามในยามที่พวกเขาเห็นกันไปเองว่าคับขันจำเป็นสถานะถูกผิดดีชั่วทางศีลธรรม(moral/immoral)ของสิ่งที่เป็นเครื่องมือย่อมไม่มีอยู่ในตัวมันเอง (ก็มันเป็นแค่เครื่องมืออ่ะ.....) หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งมันเป็นกลางทางศีลธรรม (amoral) ตราบเท่าที่มันสามารถนำไปสู่เป้าหมายที่พึงประสงค์ มันก็ใช้ได้แล้วในระเบียบวิธีคิดแบบ instrumentalism (อุปกรณ์นิยม), pragmatism (สัมฤทธิ์คตินิยม) หรือ consequentialism (ผลลัพธ์นิยม) นี้ เป้าหมายย่อมเป็นตัวให้ความชอบธรรมกับวิธีการ (The end justifies the means.) หากเป้าหมาย (ปกป้องสถาบันหลักทั้งสาม, ปราบทุจริตคอร์รัปชั่น ฯลฯ) ถูก ต้องชอบธรรมเสียอย่างแล้ว ไม่ว่าวิธีการใด ๆ (รัฐประหาร, ใช้กำลังบังคับปราบปรามประชาชน, ก่อการร้าย ฯลฯ) ก็ใช้ได้ ต่อให้มันผิดเลวชั่วร้ายทางศีลธรรมหรือการเมืองเพียงใดก็ตาม เพราะเป้าหมายที่ถูกต้องย่อมจะเสกบันดาลให้วิธีการดังกล่าวกลายเป็นถูกต้องดีงามในสายตาของผู้ใช้ไปได้ โดยปริยายในโลกที่ “จะแมวดำหรือแมวขาวก็ช่าง ขอให้จับหนูได้เป็นพอ” หรือ “จะรัฐประหารหรือ ระบอบรัฐสภาก็ช่าง ขอให้ปราบคอร์รัปชั่น/ปกป้องสถาบันได้เป็นพอ” นี้ แนวคิดและหลักปฏิบัติ เรื่องสิทธิเสรีภาพ, อำนาจอธิปไตยของประชาชน, หลักนิติธรรม ฯลฯ ย่อมกลายเป็นสิ่งแปลกปลอม และฟุ่มเฟือย มีก็ได้ ไม่มีก็ไม่เห็นจะเป็นไร เพราะ “เมืองไทยเสียอย่าง เรามีเอกลักษณ์เฉพาะตัวไม่ เหมือนใครอื่นเขาในโลก”, “ความเป็นไทยจะให้ไปเดินตามหลักสากลของฝรั่งมังค่าตะวันตกได้ อย่างไร” ฯลฯลฯเป็นเรื่องง่ายที่จะฟันธงว่าความคิดข้างต้นต่อต้านประชาธิปไตย ส่วนที่ยุ่งกว่าหน่อยคือ พยายามเข้าใจว่าลำดับเหตุผลตรรกะการคิดที่นำคนฉลาด ๆ อย่างท่านไปสู่จุดนั้นมันเป็นอย่างไร?ผมคิดว่ามันเป็นอะไรบางอย่างทำนองนี้ครับ…..แก่นสารส่วนที่เป็นประชาธิปไตย(democraticcomponents) ของระเบียบการเมืองเสรี ประชาธิปไตย (liberal democracy) นั้นคือหลักของการปกครองโดยประชาชน (government by the people)ผู้ตะขิดตะขวงใจหรือปฏิเสธไม่ยอมรับประชาธิปไตยกล่าวให้ถึงที่สุดก็คือปฏิเสธหลักการนี้แหละเพราะ“การปกครองโดยประชาชน” (ซึ่งฟังดูดี) แปลเป็นรูปธรรมในสังคมหนึ่ง ๆ ได้ความ ว่า (ขอประทานโทษ ใช้ภาษาตลาดเพื่อสื่อความเข้าใจ) “การปกครองโดยพวกมึง”!พวกมึงน่ะน้า?!? เอื๊อกกกก.... ขืนให้พวกมึงขึ้นมาปกครองก็อิ๊บอ๋ายเท่านั้นเองขึ้นชื่อว่า “ประชาชน” นั้นย่อมน่ารักในทางนามธรรม แต่พอกลายเป็น “พวกมึง” ในทาง รูปธรรมแล้ว มันก็รักไม่ค่อยลง เพราะย่อมมีทั้งคนดีคนชั่ว คนฉลาดคนเขลาปะปนคละเคล้ากันไป เป็นธรรมดา และที่แย่ก็ตรงพอปล่อยให้โหวตเสรีเลือกผู้ปกครองตามใจตัวเองทีไร ก็มักจะโหวตผิด เลือกคนโกงคนทุจริตมาทุกที การที่ “ประชาชน” ผู้น่ารักดันโหวตเลือกคนไม่ดีมาสู่อำนาจ ย่อมฟ้อง โทนโท่อยู่ว่า “พวกมึง” โง่ (ขาดการศึกษา) หรือชั่ว (ขายเสียงขายสิทธิ์เหมือนขายชีวิตขายชาติ) หรือ ยังเป็นเด็กอยู่ (ไม่บรรลุวุฒิภาวะ ถูกจูงจมูกได้ง่ายด้วยนโยบายขายฝันสารพัด) ฉะนั้นจึงจำเป็นอยู่ เองที่ “พวกกู” (ผู้ใหญ่ในบ้านเมือง) ผู้มีคุณธรรม สติปัญญาความสามารถและความเป็นไทยจะต้อง เข้ามาแบกรับหน้าที่รับผิดชอบปกครองดูแลบ้านเมืองให้ผ่านพ้นช่วงวิกฤตคับขันแตกแยกนี้ไป ก่อน, อะแฮ่ม, โดยไม่ต้องผ่านการเลือกตั้งแบบประชาธิปไตย หากด้วยวิธีอื่นแทน.....แต่มันจะเป็นไรไป ในเมื่อเป้าหมาย (ปราบคอร์รัปชั่น/ปกป้องสถาบัน) ย่อมสำคัญกว่าวิธี การ (รัฐประหาร), จะแมวดำแมวขาวก็ช่าง ขอให้จับหนู (ตัวใหญ่ หนีไปอยู่ต่างประเทศอีกแล้วตอน นี้) ได้เป็นพอแหะ ๆปัญหา อยู่ตรงประสบการณ์รอบห้าปีที่ผ่านมาบ่งชี้ชัดว่าเครื่องมือ/วิธีการรัฐ ประหารนั้นมันไม่บรรลุผลสัมฤทธิ์ในการปราบทุจริตคอร์รัปชั่น/ปกป้องสถาบัน อย่างที่ตั้งเป้าหมายไว้เลยตรงกันข้ามก็เห็นๆ กันอยู่ว่าการทุจริตคอร์รัปชั่นยังดำรงอยู่ในวงการรัฐบาลและราชการ, ปัญหาความมั่นคงของสถาบันหลักของชาติกลับหนักหน่วงร้ายแรงขึ้น, มิหนำซ้ำความแตกแยกขัด แย้งระหว่างคนในชาติกลับรุนแรงลุกลามออกไปถึงขั้นฆ่าฟันกันกลางเมืองล้มตายเรือนร้อยบาด เจ็บเป็นพันเสียหายเป็นหมื่นเป็นแสนล้านนี่คือราคาที่เราจ่ายให้การใช้วิธีการที่ผิดในนามของเป้าหมายที่ถูกแล้วมันคุ้มกันไหม?เรียก ชีวิตของผู้ที่ตายไปเพราะผลพวงสืบเนื่องจากรัฐประหารกลับคืนมาได้แม้สักคนหนึ่งไหม? ใครต้อง รับผิดชอบ?ผมอยากเรียนว่าการที่คปค.ยึดอำนาจโดยอ้าง เหตุผลในการปกป้องสถาบันหลักของชาติด้วยความเชื่อว่ามีแต่วิธีการรัฐประหาร เท่านั้นจะยังความมั่นคงแก่สถาบันหลักของชาติได้เท่ากับ เป็นการลากดึงเอาสถาบันหลักของชาติให้ออกห่างจากรัฐธรรมนูญ, หลักนิติธรรมและการปกครอง ในระบอบประชาธิปไตยขณะที่เอาเข้าจริง ภายใต้ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ที่ตั้ง อันมั่นคงที่สุดของสถาบันหลักของชาติคืออยู่ที่เดียวกับรัฐธรรมนูญ, หลักนิติธรรมและประชาธิปไตยเท่านั้นข้อเสนอของ คณะนิติราษฎร์ให้ลบล้างผลพวงของการรัฐประหารโดยเนื้อแท้แล้วจะส่งผลช่วย ฟื้นฟูและผดุงความมั่นคงของสถาบันหลักของชาติเคียงข้างรัฐธรรมนูญ,หลัก นิติธรรมและประชาธิปไตยเยี่ยงนานาอารยประเทศในที่สุด