WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Friday, October 7, 2011

"สุธาชัย" ถอดบทเรียน6ตุลา มรดกตกทอดสู่ "คนเสื้อแดง" โยนผลพวง "รัฐประหาร" ตราบาปติดตัว "อภิสิทธิ์"

ที่มา มติชน



รับชมข่าว VDO

เมื่อวันที่6ต.ค. จากงานสัปดาห์รำลึก 35 ปี 6 ตุลา จัดโดย องค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ท่าพระจันทร์) โครงการกำแพงประวัติศาสตร์: ธรรมศาสตร์กับการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย และเครือข่ายเดือนตุลา ร่วมกับ กลุ่มประชาคมจุฬาเพื่อประชาชน (CCP), กลุ่มประชาคมธรรมศาสตร์คัดค้านอำนาจนอกระบบ (TCAD), กลุ่มธรรมศาสตร์เสรีเพื่อประชาธิปไตย (LLTD), กลุ่มเสรีเกษตรศาสตร์ (LKS), กลุ่มประชาคมมหิดลเสรีเพื่อประชาธิปไตย (FMCD) ณ ห้องจี๊ด เศรษฐบุตร คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์

ผศ.ดร.สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ อาจารย์ประจำภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้บรรยายถึง เหตุการณ์ 6 ตุลา 2519 ในโอกาสครบรอบ 35 ปี 16 ตุลา โดยได้ตั้งคำถามว่า ทำไมถึงมีการเข่นฆ่าประชาชน หรือมีการรัฐประหารเกิดขึ้น ซึ่งสามารถสรุปได้ดังนี้

1. 6 ตุลา เกิดจากความคับแคบของความคิดของชนชั้นนำ ที่คิดอะไรไม่เป็น และมักจะใช้วิธีการที่เรามักจะคุ้นเคยกันเมื่อ 19 กันยา 2549 แม้ 6 ตุลา 2519 เราอาจจะไม่คุ้นก็ตาม ลักษณะที่น่าสนใจคือ การเข่นฆ่าประชาชนมาจากกระบวนการที่เรียกว่า "การมีอำนาจเหนือรัฐ" หรือที่เราเรียกว่า "กลุ่มอำมาตยาธิปไตย" ซึ่งลักษณะนี้ รัฐบาลทุกชุดก่อน 6 ตุลา ไม่ได้มีการสั่งการหรือดำเนินการ แต่กลไกของรัฐทำงานเอง ทำให้มีการเข่นฆ่านักศึกษา ฆ่าผู้นำชาวนา

จนถึงปัจจุบัน ก็ไม่เคยมีการจับคนร้ายแม้แต่คนเดียว มากกว่านั้นคือ ไม่มีใครทราบว่าใครสั่งฆ่า ใครเป็นคนลงมือ ใครเป็นคนแขวนคอ ซึ่งทั้งหมดนี้ ยังไม่มีการดำเนินคดี ถามว่าทำไมถึงดำเนินการไม่ได้ เพราะกลไกของรัฐเป็นผู้ดำเนินการ และทำไมถึงต้องมีการรัฐประหาร ก็เพราะรัฐบาลไม่ตอบสนองกลุ่มอำมาตย์

2. เหตุใด 6 ตุลา 2519 ถึงมีความสำคัญ วันนี้ผ่านมา 35 ปี เหตุการณ์ก็เปลี่ยนไป รัฐบาลก็เปลี่ยนหลายชุด แทบไม่มีอะไรเชื่อมโยงกับคณะบุคคลที่เป็นฝ่ายกระทำ ตัวละครหลายคนก็เสียไปแล้ว แม้จะมีเหลืออยู่บ้าง แต่ก็ทำให้เหตุการณ์ 6 ตุลา กลายเป็นเรื่องของประวัติศาสตร์ กลายเป็นประวัติศาสตร์ที่โหดเหี้ยม และยังเหลือสิ่งตกค้างอยู่บ้าง เช่น คำถามที่ว่าใครเป็นคนก่อเหตุ ซึ่งตอบไม่ได้อย่างเป็นทางการ แม้จะรู้ว่าเป็นใคร แต่ก็ไม่มีใครตอบ เพราะเป็นคดีลึกลับที่ไม่สามารถตอบได้

ทั้งนี้ สิ่งที่ตอบไม่ได้นั้น ก็ได้ส่งผลต่อผู้ก่อเหตุ ที่ทำให้ลบไม่ออก เป็นอีกกรณีหนึ่งที่ตามหลอกหลอนผู้ก่อเหตุ โดยเชื่อว่าเหตุการณ์ครั้งนั้น ยังติดตัวเขาหรือเป็นตราบาปไปตลอด เช่นเดียวกับกรณี 91 ศพ ในการชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดง ก็กลายเป็นตราบาปติดตัว นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ตลอดไป

3. เมื่อย้อนประเด็น 6 ตุลา สามารถสรุปได้ว่า เป็นความพ่ายแพ้ทางประวัติศาสตร์ของกลุ่มอนุรักษ์นิยม กลุ่มที่ก่อเหตุนั้น เขาคิดว่าเมื่อฆ่านักศึกษา และทำการรัฐประหารแล้ว จะสามารถสร้างหลักประกันให้กับสถาบันหลักที่ยึดมั่นได้ และเขาก็มั่นใจอย่างนั้น จนเราอาจจะคิดไม่ถึงว่า รัฐบาลของนายธานินทร์ กรัยวิเชียร ที่บอกว่าภาพไม่ดี บริหารไม่ได้เรื่องนั้น กลายเป็นรัฐบาลในอุดมคติของฝ่ายอำมาตย์ ในภาวะที่ต้องการจัดการกับกลุ่มที่เขาเรียกว่า "คอมมิวนิสต์" ไม่ต้องการประชาธิปไตย ไม่สนใจว่าประชาชนจะชอบหรือไม่ชอบ พอขึ้นมาก็เสียภาพลักษณ์ ต้องแก้ต่างในทางสากล ขณะเดียวกันรัฐบาลของนายธานินทร์ก็ไม่มีใครชอบ ไม่ได้เป็นที่นิยม เพราะสถานการณ์บ้านเมืองแย่ นักศึกษาหนีเข้าป่า สงครามกลางเมืองขยายตัว และถูกต้านจากกลุ่มเดียวกัน ก่อนถูกโค่นภายในปีเดียวกัน

ครั้งเมื่อ พล.อ.เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ มาเป็นนายกรัฐมนตรี แม้จะมีการนิรโทษกรรมฝ่ายเหยื่อ แต่เขาก็เชื่อว่าฝ่ายผู้กระทำไม่ผิด ทำไมถึงคิดว่าสิ่งที่พวกเขานั้นไม่ผิด คำตอบคือ เพราะเขาคิดว่าที่ทำไปเพื่อปกป้องชาติบ้านเมือง ศาสนา และพระมหากษัตริย์ จึงคิดว่าไม่ผิด

ทั้งนี้ สรุปได้ว่า ที่ผ่านมา 10 กว่าปีนั้น ไม่มีใครกล่าวว่า การปราบปราบนักศึกษาเมื่อ 6 ตุลา เป็นที่น่าชื่นชม หรือมาบอกว่าเรามีส่วนร่วมแล้วชอบธรรม ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง เท่าที่สำรวจมา ก็ไม่มีวรรณกรรมหรือนวนิยายไหน ที่กล่าวถึงนักศึกษาช่วง 6 ตุลา ในทางลบ แต่ 6 ตุลา ได้ถูกเปลี่ยนฐานะ กลายเป็นตราบาปที่ทำให้คนที่เกี่ยวข้องไม่อยากพูดถึง แม้หลายคนถูกขุดคุ้ยมาพูด ว่ามีความเกี่ยวข้องก็ตาม

4. จาก 6 ตุลา ถึงปัจจุบัน คิดว่า 6 ตุลา ให้บทเรียนสังคมไทยที่สะท้อนข้อเท็จจริงที่ไม่เปลี่ยน อย่างน้อยใน 35 ปี เป็นที่น่าแปลกใจว่า สิ่งที่ชอบอ้างว่าเป็นเมืองพุทธ แต่ไม่มี "อหิงสาธรรม" ชนชั้นปกครองจึงพร้อมที่จะใช้ความรุนแรงเสมอ การเข่นฆ่าจึงเกิดขึ้นครั้งแล้วครั้งเล่า และเหตุการณ์เมื่อวันที่ 6 ตุลา ก็ไม่ใช่ครั้งสุดท้าย ทั้งนี้ เพราะสังคมไทยต่างจากประเทศอื่น คือชนชั้นนำโหดเหี้ยม ซึ่งมั่นใจว่าประเทศอื่นส่วนใหญ่ไม่มีแบบนี้ ชนชั้นกลางไทยไร้สติปัญญา พร้อมที่จะสนับสนุนการฆ่าประชาชนเสมอ การฆ่านำมาซึ่งเสถียรภาพ ชนชั้นกลางมักจะวางเฉย และชนชั้นนำไทยจนถึงวันนี้ยังเหมือนเดิม คือไม่มีวิธีการแก้ปัญหากับการคิดต่าง นอกเหนือจากการฆ่า คุมขัง เหมือนกับที่กลุ่มคนเสื้อแดงเผชิญ

มีประชาชนได้เรียกร้องขอให้การรัฐประหารเมื่อ 19 ก.ย. เป็นครั้งสุดท้าย และขอให้สรุปบทเรียนว่าอย่าฆ่าประชาชนอีก แต่สังคมไทยก็สรุปบทเรียนสวนทาง มีการฆ่าเพิ่มมากขึ้น จนสรุปบทเรียนได้ว่า ฆ่าประชาชนไม่ผิดแล้วนิรโทษกรรมตัวเอง จนมาถึงรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ ที่ได้เกิดเหตุการณ์เช่นเดียวกันนั้น ก็รับบทเรียนมาว่า ไม่ต้องรับผิดชอบด้วยการลาออก ไม่ต้องหนีไปต่างประเทศ มากกว่านั้นไม่ต้องนิรโทษกรรมตัวเองด้วย เพราะคิดว่าที่ทำนั้นไม่ผิด ซึ่งตรงนี้เห็นชัดว่ามันสวนทางกัน จะเห็นได้ว่าการฆ่ามีมากขึ้น และครั้งหนึ่งที่ พล.อ.สุจินดา คราประยูร เป็นนายกรัฐมนตรีนั้น แม้จะรับผิดชอบด้วยการลาออก แต่ก็ไม่ใช่เพราะเขาคิดว่าฆ่าประชาชน แต่คิดว่าเขาไม่สามารถรักษาเสถียรภาพของชนชั้นนำได้ต่างหาก

"6 ตุลา" เป็นความพ่ายแพ้ทางประวัติศาสตร์ของ "อำมาตย์"

อ.สุธาชัย กล่าวว่า จนถึงวันนี้ ผ่านมา 35 ปี สรุปได้อีกว่า คนที่ก่อเหตุ 6 ตุลานั้น เป็นผู้แพ้ทางประวัติศาสตร์ แพ้ในที่นี้คือไม่มีความชอบธรรม ไม่สามารถอ้างความชอบธรรมในฐานะผู้ก่อเหตุได้อีก ไม่สามารถอ้างว่าเหตุการณ์ครั้งนั้นต้องจารึกเกียรติไว้ในประวัติศาสตร์ ว่าเรามีส่วนฆ่านักศึกษา เพราะนักศึกษาเป็นภัยต่อบ้านเมือง เช่นเดียวกับในหนังสืองานศพของผู้ที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์นี้ ก็ไม่ได้ถูกบันทึกเรื่องดังกล่าวเข้าไปด้วยว่าเป็นวีรชน หรือเป็นคุณงามความดี


ในทางตรงกัน ผู้ก่อเหตุต้องแก้ต่าง ต้องซ่อนตัว ลืมไปให้มากที่สุดว่าไม่ได้เกี่ยวข้อง ต้องพยายามบอกว่าตนเองไม่เกี่ยวข้อง หรือไม่ควรมีกรณีแบบนี้ในประวัติศาสตร์ ไม่มีการฉลองชัยชนะ มีแต่ผู้แพ้เท่านั้นที่ฉลอง สิ่งที่ไม่หายก็คือว่า มีประชาชน มีนักศึกษา มีใครต่อหลายคนยังฉลองอยู่ทุกปี โดยเฉพาะเมื่อครบรอบ 20 ปี 6ตุลา ในปี พ.ศ.2539 กลายเป็นงานสำคัญ เป็นหมายฟื้นตัวของขบวนการ มีการประกาศตัวของคนเดือนตุลา และในปีพ.ศ. 2544 เอง ก็มีการสร้างอนุสรณ์สถานขึ้นด้วย

กระบวนการเหล่านี้กลายเป็นว่าผู้แพ้มีตำแหน่งแห่งที่ชัดเจนว่าเป็นคน เดือนตุลา ไม่ต้องหลบซ่อน ขณะที่ฝ่ายที่กระทำแล้วชนะต้องหลบซ่อน มันสวนทางกัน และเรื่องน่าตื่นเต้นก็คือ ในบทบาทใหม่นั้น ก็มีกลุ่มคนเสื้อแดงเป็นผู้สืบทอด เพราะมีจิตวิญญาณที่สืบเนื่องจาก 6 ตุลาได้ ส่วนหนึ่งอาจจะตกอยู่ในชะตากรรมเดียวกัน ถูกติดคุกเหมือนกัน ถ้าจิตวิญญาณเหล่านี้ยังอยู่ ก็ฟันธงได้ว่า ได้คงอยู่ในขบวนการของคนเสื้อแดง ดังนั้นจิตวิญญาณการต่อสู้ของกลุ่มคนเสื้อแดงจะสืบต่อคน 6 ตุลาหรือไม่นั้น คนเสื้อแดงก็รับจิตวิญญาณดังกล่าวไปแล้วโดยไม่รู้ตัว

บทเรียน 6 ตุลา ที่มีการเข่นฆ่าของกลุ่มอำนาจเหนือรัฐนั้น อำนาจเหล่านั้นยังอยู่ และก่อตัวอย่างเข้มแข็ง พอมีรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร คำถามที่ถูกถามคือ รัฐบาลนี้จะอยู่ได้กี่ปี ซึ่งคำถามนี้จะไม่เกิดขึ้นในประเทศที่ไม่มีอำนาจเหนือรัฐ ถ้าประเทศไทยประชาธิปไตยมั่นคง รัฐบาลที่ชนะการเลือกตั้งต้องอยู่ได้ 4 ปี และถ้าเราไม่อธิบายแบบนี้ แสดงว่าเรายังให้ค่าอำนาจเหนือรัฐ แม้จะสะท้อนความเป็นจริงว่าอำนาจเหล่านั้นยังมั่นคง และยังเห็นรัฐบาลที่มาจากการแต่งตั้ง เมื่อทำผิดกฎหมายจะไม่โดนปลด ซึ่งไม่เคยเกิดขึ้นที่ไหน


นอกจากนี้ ยังเป็นการสะท้อนระบอบประชาธิปไตยของไทย ที่ชนชั้นนำไม่เคยยอมรับอำนาจประชาชน ชนชั้นนำไม่เคยรังเกียจการรัฐประหาร ทำไมประเทศอื่นไม่เกิด เพราะเขาคิดว่าการทำรัฐประหารไม่สามารถช่วยแก้ปัญหาได้ ไม่ใช่ว่าประเทศเหล่านั้นไม่มีวิกฤติทางการเมืองแต่ชนชั้นนำไทยไม่เคยเคารพ กติกา แม้กระทั่งกติกาที่ตัวเองสร้างขึ้น ไม่เคารพรัฐธรรมนูญ ชนชั้นปกครองไทยมักจะคุ้นเคยกับการใช้กฎหมายกับประชาชนด้านเดียวเสมอ นี่คือ สองมาตรฐานในการใช้กฎหมายในสังคมไทย เขาบอกว่าประชาชนต้องเคารพกฎหมาย แต่เขาไม่เคารพเสียเอง


เสื้อแดงคือจุดเปลี่ยนของการทำรัฐประหาร

อ.สุธาชัย กล่าวว่า การทำรัฐประหารครั้งล่า สุดกลายเป็นจุดเปลี่ยน เพราะเจอเสื้อแดงต่อต้าน และการต่อต้านนั้นยังอยู่ ซึ่งเขาอาจจะคิดไม่ถึงมาก่อนว่าจะเกิดการต่อต้าน ทั้งนี้ กลุ่มเสื้อแดงใหญ่กว่าคนเดือนตุลา ที่มีอุดมการณ์ชัดเจนกว่า มาถึงวันนี้ ประชาชนเห็นประชาธิปไตยเป็นเนื้อหา แต่ชนชั้นปกครองเห็นเป็นประชาธิปไตยเป็นเพียงรูปแบบ เมื่อคนเสื้อแดงไม่ยอม จึงทำให้การรัฐประหารในปี 49 ไม่เหมือนครั้งที่ผ่านมา การต่อต้านเริ่มขยายตัว แม้ชนชั้นนำมองว่าทักษิณ ชินวัตร เป็นต้นเหตุ แต่ผ่านมา 5 ปี ก็ไม่ได้เป็นอย่างนั้น

อีกประเด็นหนึ่งก็คือ 6 ตุลา ยังมีปัญหาที่ต้องพูดถึงอีกนั่นก็คือ การหมิ่นสถาบัน นักศึกษาครั้งนั้นถูกสร้างว่าหมิ่นสถาบัน ผ่านมา 35 ปี เรื่องนี้ยังถูกนำมาใช้ และยังสะท้อนความล้าหลังได้อยู่ ยังเป็นเครื่องมือทำร้ายคน ทำให้คนถูกคุมขังด้วยข้อหาหมิ่นฯจำนวนมาก และกระแสนี้ก็ยังไม่หยุดจนถึงรัฐบาลชุดปัจจุบันและไปไกลจนถึงการไล่ล่าทาง อินเตอร์เน็ต ซึ่งการใช้กฎหมายหมิ่นฯ ถือว่าล้าหลังกว่า 14 ตุลา 2516 เสียอีก ทำร้ายคนมากกว่าเดิม ถูกใช้เป็นเครื่องมือเข่นฆ่าสังหาร และใส่ร้ายผู้บริสุทธิ์ได้ตลอดเวลา ซึ่งจะต้องแก้ไขหรือยกเลิก


มากกว่านั้น สังคมไทยยังไม่เป็นประเทศที่มีเสรีภาพได้ ตราบเท่าที่กฎหมายมาตรา 112 ยังถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือทางการเมืองอยุู่ หลายคนถูกจับอย่างไร้เหตุผล และกฎหมายนี้ก็เป็นมรดกตกค้าง ทำให้เหตุการณ์คล้าย 6 ตุลา ยังอยู่ และเชื่อว่าจะรุนแรงขึ้นอีก


อย่างไรก็ตาม 6 ตุลา 19 กลายเป็นประวัติศาตร์ที่ขัดกับประวัติศาสตร์กระแสหลัก เพราะประวัติศาสตร์ไทยกระแสหลักที่เรียนกันมาเป็นการสร้างชาติโดยชนชั้นนำ ป้องชาติบ้านเมือง มีบุญบารมี แผ่ปกคลุมไพร่ บ้านเมืองขึ้นอยู่กับบารมีของผู้นำ ในการป้องกันเหตุร้ายที่มาจากมาร จากภายนอกประเทศ ที่ไม่ใช่การกดขี่จากชนชั้นนำ