WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Friday, October 7, 2011

"นิติราษฎร์" เตรียมขยับประเด็น รธน. สัปดาห์หน้า

ที่มา ประชาไท

วงเสวนาที่ มธ. หนุนข้อเสนอนิติราษฎร์ สุนัย ชี้ไม่ล้างพิษรัฐประหาร โครงสร้างประชาธิปไตยฯพังแน่ พิชิต เชื่อข้อเสนอนิติราษฎร์ไม่เพียงทำให้รัฐประหารเป็นโมฆะ แต่ยังเป็นการต่อสู้ทางความคิดขั้นรากฐานด้วยว่าอำนาจอธิปไตยเป็นของใคร ส่วนสุธาชัย หนุนเอารัฐธรรมนูญสามฉบับแรกเป็นต้นร่างรัฐธรรมนูญใหม่ วรเจตน์ย้ำนิติราษฎร์ทำงานความคิด ไม่นำมวลชน

(6 ต.ค.54) ที่ห้องจี๊ด เศรษฐบุตร คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) ท่าพระจันทร์ มีการเสวนาวิพากษ์ข้อเสนอนิติราษฎร์ "การล้มล้างผลพวงของคณะรัฐประหาร" ในงานรำลึก 35 ปี 6 ตุลา

สุนัย จุลพงศธร ส.ส.พรรคเพื่อไทย กล่าวขอบคุณคณะนิติราษฎร์ที่ประกาศข้อเสนอการล้างผลพวงรัฐประหาร โดยมองว่า นิติราษฎร์หวังดีกับบ้านเมืองและสถาบันฯ ทั้งนี้ ยืนยันว่าไม่เคยรู้จักกันเป็นการส่วนตัวมาก่อน

สุนัย กล่าวว่า ที่ผ่านมา มีนักวิชาการอยากรื้อประกาศคณะปฏิวัติ โดยชี้ว่า ขณะที่ ส.ส. กว่าจะเข้าสภาได้ยากมาก หลายครั้งอยู่ได้ไม่ครบ 4 ปี กว่าจะออกกฎหมายได้ทีก็ลำบาก ขณะที่กลุ่มยึดอำนาจมาถึงก็ออกได้สบาย และกลายเป็นรัฏฐาธิปัตย์

ทั้งนี้ สุนัยระบุด้วยว่า สมคิด เลิศไพฑูรย์ อธิการบดี มธ. ไม่ควรตำหนินิติราษฎร์ และสมคิดเองควรจะพิจารณาลาออก เพราะผิดจริยธรรมการก่อตั้งมหาวิทยาลัยและจริยธรรมการต่อสู้ของนักศึกษา มธ.ตลอดหลายสิบปีที่ผ่านมา

เขากล่าวว่า หากไม่ล้างกระบวนการรัฐประหาร ระบบแห่งโครงสร้างการเมืองซึ่งคือ "ประชาธิปไตยอันมีกษัตริย์เป็นประมุข" จะพัง โดยชี้ว่า โครงสร้างรัฐธรรมนูญ 2550 ดึงเอาศาลมาเกลือกกลั้วกับการเมือง เรียกว่า รัฐธรรมนูญที่ศาลติดคุกการเมือง ยกตัวอย่าง การสรรหา ส.ว. 74 คนที่ทำโดยประธานศาลรัฐธรรมนูญ ตัวแทนจากศาลฎีกา ตัวแทนศาลปกครอง และตัวแทนองค์กรอิสระ 4 องค์กรซึ่งก็มีที่มาจากศาลเช่นกัน นอกจากนี้ รัฐธรรมนูญฉบับนี้ทำให้องค์กรอิสระเป็นองค์กรเหนือรัฐ โดยสามารถยื่นกฎหมายเข้าสภาได้เอง ไม่ต้องผ่านรัฐบาล สภาจะเรียกศาลหรือองค์กรอิสระมาให้ปากคำใดๆ ไม่ได้ ซึ่งในที่นี้ การไม่ให้ศาลมา เข้าใจได้ เพราะถือเป็นหนึ่งในสามอำนาจอธิปไตย แต่องค์กรอิสระนั้นไม่ได้มีที่มาจากประชาชนเลย

ขณะที่ พิชิต ลิขิตกิจสมบูรณ์ อาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์ มธ. กล่าวว่า แนวคิดล้างพิษรัฐประหาร 19 ก.ย. นั้นมีการพูดคุยมาตั้งแต่หลัง 19 ก.ย.ไม่นาน แต่คณะนิติราษฎร์ถือเป็นบุคคลคณะแรกที่สังเคราะห์ความคิดนี้ได้สำเร็จ และจะผลักดันให้เป็นจริงได้โดยประชาชน

พิชิต ระบุว่า ข้อเสนอนี้ไม่เพียงแต่ทำให้การรัฐประหารเป็นโมฆะ แต่ยังเป็นการต่อสู้ทางความคิดขั้นรากฐานว่าในประเทศไทย อำนาจอธิปไตยเป็นของใครด้วย เนื่องจากที่ผ่านมา มีแนวคิดสองแนวต่อสู้กัน หนึ่งคือ แนวคิดเชิงประเพณีว่า "อำนาจอยู่ที่ไหน รัฏฐาธิปัตย์อยู่ที่นั่น" ซึ่งจะเห็นจากนักกฎหมายเมืองไทยที่ถือเอาคำสั่งเป็นความชอบธรรม และออกมาโต้นิติราษฎร์ว่าทำเพื่อคนๆ เดียว ส่วนกระแสที่สอง ซึ่งเริ่มแข็งแรงขึ้น จนพัฒนามาเป็นประกาศของคณะนิติราษฎร์ คือความเชื่อที่ว่าประชาชนคือรัฎฐาธิปัตย์ และประชาชนคือรัฎฐาธิปัตย์อยู่ตลอดเวลาไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้น แนวคิดนี้เป็นปรัชญาพื้นฐานของหลักการเสรีนิยมและประชาธิปไตย ดังนั้น เพื่อให้ประชาชนเป็นรัฎฐาธิปัตย์ ต้องกลับไปล้างผลพวงของรัฐประหาร ตามข้อเสนอของนิติราษฎร์ ซึ่งเป็นทางสายกลางที่สุดแล้ว

สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ อาจารย์ภาควิชาประวัติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า เมื่อประเทศมีปัญหาหนัก เห็นด้วยกับนิติราษฎร์ว่าต้องแก้ที่กฎหมาย โดยลบล้างดอกผลของรัฐประหารก่อน ทั้งนี้ สุธาชัยระบุว่า ข้อเสนอเรื่องแก้ไขมาตรา 112 ประมวลกฎหมายอาญานั้นมองว่าเป็นข้อเสนอที่อยู่ในทางสายกลางและควรทำ แม้ว่าส่วนตัวไม่เห็นด้วย โดยเห็นว่าควรให้ยกเลิกเพราะมีกฎหมายหมิ่นประมาทอยู่แล้ว

ส่วนข้อเสนอเรื่องยกเลิกรัฐธรรมนูญ 2550 และร่างใหม่โดยเอารัฐธรรมนูญสามฉบับแรกเป็นตัวตั้ง สุธาชัยกล่าวว่า เป็นข้อเสนอที่ดีมาก และเป็นสายกลางที่จะใช้แก้ปัญหาบ้านเมือง ส่วนที่มีผู้คัดค้านโดยบอกว่ามีการเสนอนิรโทษกรรมให้ พ.ต.ท.ทักษิณคนเดียวนั้น ยังไม่เห็นว่ามีข้อไหน ขณะที่ข้ออ้างเรื่องรัฐธรรมนูญไทยมีพัฒนาการมาไกลแล้ว ก็ยังไม่เห็นพัฒนาการเช่นกัน

ทั้งนี้ ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในการเสวนาดังกล่าว อาจารย์จากกลุ่มนิติราษฎร์ 4 คนได้แก่ วรเจตน์ ภาคีรัตน์, ปิยบุตร แสงกนกกุล, สาวตรี สุขศรี และปูนเทพ ศิรินุพงศ์ เข้าร่วมรับฟังและแลกเปลี่ยนด้วย

โดย วรเจตน์ ภาคีรัตน์ กลุ่มนิติราษฎร์ กล่าวว่า อีกสองประเด็นที่ต้องทำให้ชัดขึ้นอีก นอกจากเรื่องลบล้างผลพวง คือการยกร่างรัฐธรรมนูญที่เสนอให้เอารัฐธรรมนูญสามฉบับแรกเป็นแนวทางยกร่าง ที่ยังต้องขยายความรายละเอียด เพราะหากทำให้เป็นเรื่องที่วิพากษ์วิจารณ์ คุยกันอย่างเปิดเผยได้ จะทำให้ความคิดเคลื่อนไปในประชาชนวงกว้าง และได้รัฐธรรมนูญที่เกิดการปรับสมดุลแห่งอำนาจ เป็นการเปลี่ยนเชิงระบบอย่างสันติ

ทั้งนี้ วรเจตน์ ขยายความว่า ที่เสนอรัฐธรรมนูญสามฉบับแรกเป็นแนวทาง เนื่องจากสามฉบับแรกเกิดหลังเปลี่ยนระบอบการปกครอง โดยฉบับที่สามถูกฆ่าในรัฐประหาร 2490 ซึ่งถือเป็นรัฐประหารครั้งแรก นี่จึงเป็นการย้อนกลับไปเชื่อมเอาอดีตกับปัจจุบันเข้าด้วยกัน ส่วนที่มีการตั้งข้อสังเกตว่าสามฉบับแรกไม่มีองคมนตรีนั้นถูกต้องแล้ว นอกจากนี้อีกเรื่องที่ต้องพูดกันคือ สถานะของพระมหากษัตริย์ เพราะหลังๆ มีหลายเรื่องที่เป็นเรื่องต้องห้ามเช่น การสืบสันตะติวงศ์ ซึ่งสังคมไทยไม่คุยกัน

"การทำให้ระบอบประชาธิปไตยยั่งยืน การปรับความคิดเป็นเรื่องสำคัญ ปูฐานความคิดให้คนเห็นภาพ ที่สุดจะทำให้ประเทศไปในทิศทางที่เป็นประชาธิปไตยได้" วรเจตน์กล่าวและตอบกรณีมีผู้เรียกร้องให้นิติราษฎร์นำมวลชนในการเคลื่อนไหว โดยย้ำว่า นิติราษฎร์ทำงานทางความคิด จะไม่นำมวลชนเด็ดขาด เพราะนอกจะไม่ใช่ความถนัดแล้ว จะทำให้หลักการเสียด้วย

ด้าน ปิยบุตร กล่าวว่า การทำงานทางความคิดของนิติราษฎร์คงไม่ได้จุดพลุแล้วเงียบ สัปดาห์หน้าจะเตรียมขยับอีกเล็กน้อย สำหรับประเด็นการลบล้างผลพวงรัฐประหารได้อธิบายหลายรอบแล้ว ซึ่งคนที่ไม่เข้าใจก็จะไม่เข้าใจหรือแกล้งไม่เข้าใจอยู่ แต่ประเด็นที่จะขยายความต่อไปคือประเด็นที่สี่ ซึ่งใจความสำคัญอยู่ที่การนำรัฐธรรมนูญสามฉบับแรกมาเป็นต้นแบบ และคำประกาศ ซึ่งไม่ได้อยู่ในรัฐธรรมนูญ แต่เป็นสปิริตว่ารัฐไทยจะเป็นแบบนี้