WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Thursday, October 6, 2011

ภาพข่าวพระราชกรณียกิจเมื่อ6ตุลาคม2519

ที่มา Thai E-News

เมื่อลมฝนบนฟ้ามาแล้ว ร่มโพธิ์แก้วจะพาพฤกษาสดใส(ภาพขวา)-พระ บาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เสด็จฯ ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม เมื่อวันที่ 6 ต.ค. พสกนิกรชาวไทยผู้มั่นคงในองค์พระมหากษัตราธิราช เฝ้าถวายความจงรักภักดีโดยคับคั่ง

พุทธมามก(ภาพซ้าย)-สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เสด็จฯ ณ พระอุโบสถวัดบวรนิเวศ ถวายสักการะสมเด็จพระญาณสังวร ทรงแสดงพระองค์เป็นพุทธมามก ปฏิบัติพระองค์โดยเบญจศีล ยึดมั่นในหลักพระธรรมคำสอนของสมเด็จพระบรมศาสดา เมื่อวันที่ 6 ต.ค. นี้ (ภาพและคำบรรยาย:เดลินิวส์ ฉบับวันที่ 9 ตุลาคม 2519)

โดย ทีมข่าวไทยอีนิวส์
6 ตุลาคม 2554

สถาบันกษัตริย์ อันเป็นที่เทิดทูนสักการะของพสกนิกรชาวไทยได้มีบทบาทสำคัญในการดับ วิกฤตการณ์การเมืองมาหลายคราว ให้เหตุร้ายต่างๆสงบเย็นลงด้วยพระบารมี ทว่าในคราวเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 เมื่อ 35 ปีที่แล้ว ไม่ได้มีบันทึกทางราชการไว้ในแง่มุมนี้แต่อย่างใด

ดร.สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล นักวิชาการด้านประวัติศาสตร์ไทยร่วมสมัย อาจารย์คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ บันทึกไว้ในบทความทางวิชาการว่า จากการศึกษานั้นพบว่า ไม่ได้มีการบันทึกในหนังสือทางการชื่อ พระราชกรณียกิจ ระหว่างเดือนตุลาคม 2519 –กันยายน 2520 ของสำนักราชเลขาธิการ แต่อย่างใด (ดูหน้า 2 ของหนังสือ ซึ่งสรุปพระราชกรณียกิจวันที่ 5 ตุลาคม แล้วข้ามไปวันที่ 8 ตุลาคมเลย)

กระนั้นก็ตามหนังสือพิมพ์ในยุคนั้น ก็ได้บันทึกพระราชกรณียกิจอันเปี่ยมล้นด้วยพระมหากรุณาธิคุณของพระราชวงศ์ ที่มีต่อพสกนิกรชาวไทยไว้ดังต่อไปนี้


วันที่ 19 กันยายน 2519 จอมพลถนอม กิตติขจร ที่ถูกขับไล่ไปในคราวเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 ได้กลับเข้าประเทศ โดยบวชเป็นสามเณรมาจากสิงคโปร์ จากนั้นได้มายังวัดบวรนิเวศฯ เพื่อบวชเป็นภิกษุ โดยมีพระญาณสังวร เป็นองค์อุปัชฌาย์
ต่อ มาในเวลา 21.30 น.วันที่ 23 กันยายน 2519 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯและสมเด็จพระบรมราชินีฯเสด็จไปที่วัดบวรนิเวศ เพื่อสนทนาธรรมกับพระญาณสังวรฯ ซึ่งเคยเป็นพระพี่เลี้ยงเมื่อพระองค์ทรงผนวช

ในระหว่างการเยือน คุณหญิงเกษหลง สนิทวงศ์ นางสนองพระโอษฐ์ ได้แถลงว่า สมเด็จพระราชินีให้มาบอกว่า ได้ทราบว่าจะมีคนใจร้ายจะมาเผาวัดบวรนิเวศ จึงทรงมีความห่วงใยอย่างมาก “ขอให้ประชาชนช่วยกันดูแลป้องกัน อย่าให้ผู้ใจร้ายมาทำลายวัด” (ที่มา:www.2519.net)

เย็นศิระเพราะพระบริบาล-เด ลินิวส์ ฉบับวันที่ 9 ตุลาคม 2519 ได้ตีพิมพ์ภาพในหลวงและสมเด็จพระบรมฯ กำลังทรงเสด็จทอดพระบาท โดยมีลูกเสือชาวบ้านจำนวนหนึ่งนั่งถวายบังคมกับพื้น พร้อมคำบรรยายว่า “เมื่อลมฝนบนฟ้ามาแล้ว ร่มโพธิ์แก้วจะพาพฤกษาสดใส พระ บาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เสด็จฯ ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม เมื่อวันที่ 6 ต.ค. พสกนิกรชาวไทยผู้มั่นคงในองค์พระมหากษัตราธิราช เฝ้าถวายความจงรักภักดีโดยคับคั่ง”

ดร.สมศักดิ์ตั้งข้อสังเกตว่า ถ้าคำบรรยายนี้ถูกต้อง ก็แสดงว่า ในวันนั้น ในหลวงทรงเสด็จไปยังบริเวณใกล้กับสถานที่เกิดเหตุ (ธรรมศาสตร์-สนามหลวง)มาก น่าเสียดายว่า คำบรรยายไม่ได้ระบุว่าทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจอะไรและเวลาใด (ทั้ง 2 พระองค์อยู่ในฉลองพระองค์สูทสากล)

ติดกันยังเป็นพระบรมฉายาลักษณ์สมเด็จพระบรมฯทรงกำลังนมัสการพระญาณสังวร โดยมีคำบรรยายว่า “พุทธมามก สมเด็จ พระบรมโอรสาธิราช เสด็จฯ ณ พระอุโบสถวัดบวรนิเวศ ถวายสักการะสมเด็จพระญาณสังวร ทรงแสดงพระองค์เป็นพุทธมามก ปฏิบัติพระองค์โดยเบญจศีล ยึดมั่นในหลักพระธรรมคำสอนของสมเด็จพระบรมศาสดา เมื่อวันที่ 6 ต.ค. นี้” (ทรงอยู่ในฉลองพระองค์สูทสากล จึงอาจเป็นเวลาใกล้เคียงกับที่เสด็จวัดพระแก้วในอีกภาพหนึ่ง)
ที่มา:บทความ"เราสู้" หลัง 6 ตุลา โดยสมศักดิ์ เจียมธีรสกุล

ทรงต้องการให้บ้านเมืองสามัคคี-หนังสือพิมพ์ดาวสยาม ฉบับวันที่ 9 ตุลาคม 2519 ตีพิมพ์ว่า เมื่อเวลา 17.00 น.ของวันที่ 6 ตุลาคม 2519 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯได้รับสั่งเรียกนายธรรมนูญ เทียนเงิน ผู้ว่าการกรุงเทพมหานครเข้าเฝ้าฯ ทรงรับสั่งเกี่ยวกับการที่ได้มีลูกเสือชาวบ้านจากต่างจังหวัดนับเป็นหมื่นๆ คนได้มาชุมนุมนั้นอาจจะประสบปัญหาเกี่ยวกับอาหารและที่พัก ทรงรับสั่งให้นายธรรมนูญชี้แจงให้ลูกเสือชาวบ้านสลายตัว

ในขณะนั้นเองสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชสยามมงกุฏราชกุมาร ได้เสด็จพร้อมกับนายธรรมนูญ เทียนเงิน มาที่ทำเนียบรัฐบาลและที่ชุมนุมลูกเสือชาวบ้านด้วย ได้ทรงมีพระราชดำรัสกับกลุ่มลูกเสือชาวบ้านที่มาชุมนุมว่า
"ข้าพเจ้า ขอให้ทุกคนยิ้มแย้มและใจเย็นๆ ไม่มีอะไรที่แก้ไขไม่ได้ แต่ต้องค่อยแก้ค่อยไป บ้านเมืองตอนนี้กำลังต้องการความสามัคคีและกำลังอยู่ในสถานการณ์ที่สำคัญ ฉะนั้นขอให้ทุกคนสลายตัวเสีย ถือว่าให้ของขวัญกับข้าพเจ้า ท่านเหนื่อยกันมามากแล้ว ขอให้กลับไปหลับนอนเสียให้สบาย ทุกคนโปรดทราบว่า สองล้นเกล้าฯทรงเป็นห่วง ไม่มีอะไรที่สองล้นเกล้าฯจะเสียใจเท่ากับพวกเราฆ่ากันเอง ขอให้ทุกคนโชคดี"..

ขณะที่วัลลภ โรจนวิสุทธิ์ ได้บันทึกเกี่ยวกับพระราชดำรัสครั้งนี้ว่า “ได้มีรับสั่งขอบใจที่ทุกคนรู้สึกเจ็บร้อนแทนพระองค์” (ยังเตอร์กของไทย, หน้า 219)

ที่มา:เชิงอรรถบทความ เราสู้หลัง6ตุลา โดย สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล

พระมหากรุณาธิคุณ-เดลินิวส์ ฉบับวันที่ 9 ตุลาคม 2519 ตีพิมพ์พระบรมฉายาลักษณ์เจ้าฟ้าชายในหน้า 1 พร้อมคำบรรยายว่า
“เสด็จฯ ทำเนียบ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ เสด็จฯไปทำเนียบรัฐบาลเมื่อเย็นวันที่ 6 ต.ค. ทรงมีรับสั่งกับลูกเสือชาวบ้าน ซึ่งไปชุมนุมอย่างแน่นขนัดประมาณ 6 หมื่นคน”

ที่มา:เชิงอรรถบทความ เราสู้หลัง6ตุลา โดย สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล


พระมหากรุณาธิคุณจาก2ทูลกระหม่อม-หนังสือ พิมพ์เสียงปวงชน ฉบับวันที่ 9 ตุลาคม 2519 ได้ตีพิมพ์ภาพถ่ายที่ทั้ง 2 พระองค์ทรงกำลังก้มลงสอบถามอาการผู้บาดเจ็บที่กำลังนอนอยู่บนเตียงผู้หนึ่ง ด้วยพระพักตร์ห่วงใย พร้อมคำบรรยายภาพว่า
“ทูลกระหม่อมทั้งสอง พระองค์เสด็จเยี่ยมตำรวจที่ได้รับบาดเจ็บจากการกวาดล้างที่ธรรมศาสตร์ ที่โรงพยาบาลตำรวจ เมื่อ 15.00 น. วันที่ 7 เดือนนี้ และพระราชทานเงินของมูลนิธิสายใจไทยให้ตำรวจที่ได้รับบาดเจ็บทุกคน”


สองสัปดาห์ต่อมา คือในวันที่ 20 ตุลาคม 2519 ได้มีพิธีบำเพ็ญกุศลและ บรรจุศพนายเสมอ อ้นจรูญ ลูกเสือชาวบ้านคนหนึ่งที่บุกเข้าไปในมหาวิทยาลัยในเช้าวันที่ 6 และเสียชีวิต (จากกระสุนของฝ่ายนักศึกษา?) โดยสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ 2 พระองค์ เสด็จพระดำเนินทรงร่วมงานด้วย วันต่อมา ไทยรัฐ ตีพิมพ์บนหน้า 1 พระฉายาลักษณ์ทั้งสองพระองค์ในฉลองพระองค์ไว้ทุกข์ดำ กำลังทรงนั่งย่อพระวรกายลงสนทนากับครอบครัวของนายเสมออย่างใกล้ชิด พร้อมคำบรรยายภาพสั้นๆ (ในลักษณะที่หนังสือพิมพ์เรียกว่า “ภาพเป็นข่าว”)

วันที่ 22 ตุลา ไทยรัฐ และ ไทยเดลี่ ตีพิมพ์พระฉายาลักษณ์ของ 2 พระองค์ในพระอริยาบทเดียวกันระหว่างทรงสนทนากับลูกเสือชาวบ้านที่มาร่วมงาน และเฝ้ารับเสด็จในวันบรรจุศพนายเสมอ แต่อยู่ในหน้า 4

มีเพียง เดลินิวส์ ฉบับวันนั้น ที่นอกจากตีพิมพ์พระฉายาลักษณ์ในหน้า 1 แล้ว ยังรายงานข่าวในหน้าเดียวกัน ดังนี้:


ฟ้าหญิงฯ สดุดีศพลูกเสือชาวบ้าน

สมเด็จพระเจ้าลูกเธอทั้งสองเสด็จทรงบำเพ็ญพระกุศลและบรรจุศพ “นายเสมอ อ้นจรูญ” ลูกเสือชาวบ้านที่เสียชีวิตจากการช่วยเหลือเจ้าหน้าที่ จากเหตุการณ์จลาจล “6 ต.ค.” ที่วัดพระศรีมหาธาตุ ท่ามกลางลูกเสือชาวบ้านร่วมพิธีกว่า 5 พันคน ทรงสดุดีวีรกรรมว่าสมควรแก่การเชิดชูเป็นแบบอย่าง

เมื่อเวลา 15.00 น. (ที่ 20 ตุลาคม 2519) สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าสิรินธรเทพรัตนสุดา และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ เสด็จทรงบำเพ็ญพระกุศลและบรรจุศพ นายเสมอ อ้นจรูญ ลูกเสือชาวบ้านรุ่นที่ 5 ค่ายวังสราญรมย์ 206/3 กทม. 70 ณ ศาลาทักษิณาประดิษฐ์ วัดพระศรีมหาธาตุ เมื่อเสด็จมาถึง สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าสิรินธรเทพรัตนสุดา ทรงจุดธูปเทียนเครื่องนมัสการ พระสงฆ์ 39 รูป สวดมาติกาจบแล้ว เจ้าพนักงานลาดภูษาโยง สมเด็จพระเจ้าลูกเธอฯเสด็จไปทอดผ้าแล้วทรงหลั่งทักษิโณทก

สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าสิรินธรเทพรัตนสุดา ทรงกล่าวสดุดีเกียรติคุณ นายเสมอ อ้นจรูญ ว่า
“การ ปฏิบัติหน้าที่ครั้งนี้ [เป็นไปตาม] คำสัตย์ปฏิญาณที่ได้ปฏิญาณไว้กับลูกเสือชาวบ้าน สมควรแก่การเชิดชู เพื่อเป็นตัวอย่างแก่ลูกเสือชาวบ้านต่อไปในด้านมีความจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์”
แล้วเสด็จไปที่หน้าหีบศพ ทรงหยิบดินห่อผ้าขาวดำวางบนพานที่ตั้งหน้าหีบศพ ทรงวางพวงมาลา

ในโอกาสนี้ ทั้งสองพระองค์ เสด็จเยี่ยมลูกเสือชาวบ้านกว่า 5,000 คน ซึ่งเดินทางมาจากจังหวัดใกล้เคียง ที่มาเฝ้ารับเสด็จอย่างคับคั่งตามพระอัธยาศัยด้วย

สำหรับวีรกรรมของนายเสมอ ที่ได้ปฏิบัติจนถึงแก่เสียชีวิต คือ เมื่อวันที่ 6 ต.ค.นี้ เวลา 08.00 น. นายเสมอได้ติดตามตำรวจเข้าไปในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เพื่อช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับบาดเจ็บจากการต่อสู้ ถูกฝ่ายผู้ก่อการไม่สงบระดมยิงมาจากด้านข้างหอประชุมใหญ่ ได้รับบาดเจ็บสาหัสและเสียชีวิตในเวลาต่อมา

ที่มา:บทความ เราสู้หลัง 6 ตุลา โดย สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล


ทรงเยี่ยมกับพสกนิกร-ในหลวง และพระบรมราชวงศ์เสด็จพระราชดำเนินทรงเยี่ยมราษฎร และลูกเสือชาวบ้านที่จังหวัดสิงห์บุรี เมื่อวันที่ 9 ตุลาคม 2519 ทรงพระเกษมสำราญกับราษฎรอย่างใกล้ชิด อันนับเป็นพระมหากรุณาธิคุณอันหาที่สุดมิได้

จากรายงานข่าวของหนังสือพิมพ์ในช่วงนั้น ก็คงทำให้พสกนิกรชาวไทยได้น้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณโดยทั่วกันว่า แผ่นดินไทยสงบร่มเย็นมาตลอดได้ก็ด้วยพระบารมี ขอทรงพระเจริญ