WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Wednesday, January 4, 2012

เมืองไทย 2555 อะไรรอเราอยู่ ตอน 4: สุรชัย ตรงงาม มองกระบวนการยุติธรรมกับการปกป้องทรัพยากร

ที่มา ประชาไท

สัมภาษณ์ สุรชัย ตรงงาม นักกฎหมายด้านคดีสิ่งแวดล้อม ผู้อำนวยการโครงการนิติธรรมสิ่งแวดล้อม (EnLAW) กับมุมมองต่อกระบวนการยุติธรรมกับการปกป้องทรัพยากร ภาพรวมในปี 2555 อนาคตอันก้าวหน้าของสิทธิชุมชนหรือโซ่ตรวนของคนจน ปัญหาความยุติธรรมและการจัดการความขัดแย้งด้านสิ่งแวดล้อม



ภาพรวมของปีที่ผ่านมา ในเรื่องกระบวนการยุติธรรมกับการจัดการปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมเป็นอย่างไร?

สุรชัย: สถานการณ์โดยรวม ผมคิดว่าเรามีรัฐบาล 2 รัฐบาลในปีนี้ คือรัฐบาลที่นำโดยพรรคประชาธิปัตย์ กับรัฐบาลที่นำโดยพรรคเพื่อไทย แต่ว่าสิ่งที่เราเห็นคือไม่มีความแตกต่างกันในเชิงนโยบายการส่งเสริมการ พัฒนาอุตสาหกรรม รวมทั้งเรื่องการที่รัฐบาลต้องออกกฎหมายหรือการออกกติกาใดๆ ในการคุ้มครองสิทธิในด้านสิ่งแวดล้อม แต่ก็ยังไม่มีแนวโน้มในเรื่องนี้ที่ชัดเจน ซึ่งอาจเป็นเพราะด้วยปัญหาทางการเมือง หรือปัญหาอุทกภัยใดๆ ก็ตาม แต่สิ่งที่เราพบก็คือยังไม่มีความเคลื่อนไหวที่จะผลักดันให้เกิดกฎหมายใหม่ๆ หรือมาตรการใดๆ ในการคุ้มครอง

ยกตัวอย่างเช่น การที่รัฐธรรมนูญได้รับรองในเรื่องการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพิจารณา โครงการด้านสิ่งแวดล้อม แต่เรายังไม่มีกฎหมายในระดับพระราชบัญญัติที่จะออกกฎเกณฑ์ที่มีความชัดเจน ว่า ใครควรจะเป็นผู้ที่มีส่วนในการเข้ามาร่วมให้ความเห็น และควรต้องมาร่วมรับรู้ข้อมูลแค่ไหน มีส่วนให้ความเห็นแค่ไหน ก่อนที่จะมีการดำเนินโครงการ ผมคิดว่าหลักเกณฑ์เหล่านี้ยังเป็นเรื่องที่กระจัดกระจายอยู่ตามหน่วยงาน ต่างๆ แต่ยังไม่มีกฎหมายที่พูดถึงหลักการตรงนี้อย่างชัดเจน ซึ่งมันส่งผลให้ลักษณะการรับฟังความคิดเห็นมีหลักเกณฑ์ที่ไม่ชัดเจน และก่อให้เกิดข้อสงสัย ความไม่ไว้วางใจของชุมชน ชุมชนก็มันจะสะท้อนว่าตนเองไม่มีส่วนร่วมอย่างแท้จริง

การที่รัฐบาลไม่พยายามที่จะออกกฎเกณฑ์หลักการในการรับฟังความคิดเห็นใน การดำเนินโครงการที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม รวมทั้งมาตรการอื่นๆ อีกหลายๆ มาตรการ เช่น การผ่านร่างกฎหมายองค์กรอิสระด้านสิ่งแวดล้อม ที่แม้จะมีการร่างมาและผ่านที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรในสมัยรัฐบาลพรรคประชาธิ ปัตย์ แต่ในสมัยรัฐบาลเพื่อไทยก็ไม่ได้รับรอง ทำให้ร่างกฎหมายดังกล่าวตกไป นี่แสดงให้เห็นว่าจริงๆ แล้วรัฐบาลเองยังไม่มีแผนนโยบายในการคำนึงถึงการมีสิทธิ การมีส่วนร่วม

อย่างไรก็ดี เราก็จะเห็นการเกิดขึ้นขององค์กรต่างๆ ที่จะมาสนับสนุนการขับเคลื่อนของชุมชนด้านสิทธิ เช่น คณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย แต่ก็ยังเป็นแค่เรื่องการก่อตั้ง การปฏิรูปกฎหมายตรงนี้อาจมีแนวโน้มให้มีการผลักดันให้เกิดการปฏิรูปกฎหมาย ที่มันสอดคล้องกับสิทธิด้านสิ่งแวดล้อมตามรัฐธรรมนูญ ซึ่งอันนี้ก็เป็นเรื่องหนึ่ง

ปรากฏการณ์เด่นๆ ซึ่งเป็นที่จดจำในช่วงเวลาที่ผ่านมาคืออะไร?

สุรชัย: ผมคิดว่ามันมีการขับเคลื่อนของชุมชนในหลายรูปแบบในปัจจุบัน นอกจากการตรวจสอบการดำเนินโครงการใดๆ ที่อาจมีผลกระทบต่อชุมชนของเขาในเฉพาะพื้นที่แล้ว ยังมีการรวมตัว รวมกลุ่มเป็นเครือข่ายมากขึ้น เช่น เครือข่ายเหมืองแร่ หรือปฏิบัติการเพชรเกษม 41 ต่อต้านแผนพัฒนาภาคใต้ หรือเครือข่ายปฏิรูปที่ดินซึ่งตั้งคำถามเกี่ยวกับการจัดสรรทรัพยากรที่ดิน ที่เป็นธรรมและการฟ้องคดีเรียกค่าเสียหายเรื่องโลกร้อน

กรณีเหล่านี้ผมคิดว่า เป็นปรากฏการณ์ที่ทำให้เห็นว่าชาวบ้านชาวบ้านเริ่มมีการรวมตัวรวมกลุ่มเป็น เครือข่ายมากขึ้นในการขับเคลื่อน และการขับเคลื่อนดังกล่าวก็มีแนวโน้มที่จะไปสู่การขับเคลื่อนที่มากกว่าใน พื้นที่ เช่น การตั้งคำถามต่อแผนพัฒนาภาคใต้ การตั้งคำถามต่อการจัดทำผังเมือง ซึ่งพวกนี้จะเป็นเรื่องที่มันกว้างกว่าพื้นที่ ตรงนี้เป็นรูปธรรมที่เห็นและมีแนวโน้มที่ดี เพียงแต่ว่าในการดำเนินการดังกล่าวยังเป็นเรื่องของการใช้สิทธิในการควบคุม ตรวจสอบ แต่การรณรงค์เรื่องของการใช้สิทธิทางการฟ้องคดีนั้นยังมีอยู่ไม่มาก การขับเคลื่อนของชุมชนเราก็จะเห็นว่ายังไม่ได้ทำอย่างเป็นรูปแบบแต่เป็นไป ตามสถานการณ์ทางธรรมชาติ

ยกตัวอย่างกรณีน้ำท่วมคราวนี้เราก็จะเห็นว่าจะมีชุมชนย่อยๆ ออกมาตั้งคำถามกับการทำงานของรัฐในการบริหารจัดการแก้ไขปัญหาน้ำท่วม ทำไมน้ำท่วมที่นั่นแต่ไม่ท่วมที่นี่ ทำไมท่วมที่นี่มากกว่า ที่นี่มีลักษณะเป็นประชาชนชั้นสองน้อยกว่าที่อื่นหรือย่างไร ผมคิดว่ามันมีลักษณะเชิงสถานการณ์มากกว่าที่จะออกมาตั้งคำถามในเรื่องเหล่า นี้มากขึ้น

อีกเรื่องหนึ่งที่สำคัญ ผมคิดว่าในปีที่ผ่านมาจะมีลักษณะที่คล้ายกับปีก่อนๆ ก็คือว่าในเรื่องการขับเคลื่อนของชุมชนด้านสิ่งแวดล้อม เราจะพบปรากฏการณ์ของการใช้กระบวนการทางกฎหมายเพื่อที่จะดำเนินคดีกับแกนนำ กับชาวบ้านที่ใช้สิทธิด้านสิ่งแวดล้อมในรูปแบบต่างๆ ไม่ว่าชาวบ้านจะแสดงสิทธิในการมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น ตั้งคำถามกับโครงการก็อาจถูกดำเนินคดีข้อหาหมิ่นประมาท หรือว่าชาวบ้านใช้สิทธิในการชุมนุมก็อาจถูกดำเนินคดีทางอาญาเกี่ยวกับการ ชุมนุมมั่วสุม ก่อให้เกิดความวุ่นวายในบ้านเมือง

ปรากฏการณ์การใช้กระบวนการทางกฎหมายเหล่านี้ ในหลายๆ ครั้งเราจะเห็นได้ว่ามันเป็นเรื่องที่ตัวรัฐ หรือทุน หรือผู้ประกอบการเองมีความประสงค์ต้องการจะขัดขวางการแสดงความคิดเห็นในการ ตรวจสอบของชุมชนด้านสิ่งแวดล้อม ซึ่งอันนี้เป็นแนวโน้มที่มีมาอย่างต่อเนื่อง รวมถึงในปีที่ผ่านมาก็มีลักษณะเช่นนั้นอยู่

คราวนี้ในลักษณะของกระบวนการยุติธรรมเอง กระบวนการยุติธรรมก็จะมีผลในคำพิพากษาคดีของคุณจินตนา แก้วขาว ที่พิพากษาให้จำคุก 4 เดือน ข้อหาบุกรุก จากการที่คุณหน่อย จินตนา แก้วขาว และคนในชุมชนเข้าไปร่วมคัดค้านโครงการถ่านหินเมื่อสิบปีที่แล้วโดยไม่รอลง อาญา ตัวคำพิพากษาเองก็ทำให้เห็นถึงว่ากระบวนการยุติธรรมเองยังไม่ได้คำนึงถึง เรื่องสิทธิตามรัฐธรรมนูญอย่างจริงจัง ตรงนี้ก็เป็นจุดที่ก่อให้เกิดการตั้งคำถามมากขึ้นในปีที่ผ่านมา

หมายความว่ากระบวนการยุติธรรมด้านสิ่งแวดล้อมในปี 2554 มีกรณีที่น่าสนใจคือเรื่องคดีคุณจินตนา?

สุรชัย: ครับ และก็หลายๆ คนที่ออกมาปกป้องทางสิทธิชุมชน ซึ่งผมคิดว่ามีหลายๆ ประเด็นที่ต้องมีความชัดเจนว่าความผิดทางอาญาที่มีความเกี่ยวข้องกับการใช้ สิทธิตามรัฐธรรมนูญในด้านสิ่งแวดล้อมมันควรมีเส้นแบ่ง หรือขอบเขตมากน้อยแค่ไหน อย่างไร ซึ่งอันนี้ยังมีความไม่ชัดเจน ยังเป็นเรื่องคลุมเครือ และโดยคำพิพากษาเองก็ยังไม่ได้พูดในประเด็นนี้อย่างชัดเจน ซึ่งเรื่องนี้เป็นประเด็นที่สังคมต้องมีการศึกษาและพูดคุยให้มากขึ้น

กระบวนการยุติธรรมเองก็มีการพยายามปรับตัว โดยการตั้งแผนกคดีสิ่งแวดล้อมในศาลแพ่ง ตั้งแผนกคดีสิ่งแวดล้อมในศาลปกครอง รวมถึงมีการออกคำแนะนำของประธานศาลฎีกาและประธานศาลปกครองสูงสุดเกี่ยวกับ เรื่องการดำเนินคดีด้านสิ่งแวดล้อม ซึ่งออกมาพร้อมกันโดยมิได้นัดหมาย ตรงนี้ก็สะท้อนว่ากระบวนการยุติธรรมก็พยายามปรับตัว

ถ้าได้อ่านคำแนะนำของประธานศาลฎีกาและประธานศาลปกครองสูงสุดก็จะมีคำแนะ นำหลายอย่างที่พยายามจะบอกถึงหลักเกณฑ์ว่ากระบวนการยุติธรรมจะต้องคำนึงถึง เรื่องสิทธิตามรัฐธรรมนูญอยู่นะ เช่น เรื่องการใช้สิทธิในการฟ้องร้องคดีของประชาชนต้องคำนึงถึงเรื่องสิทธิชุมชน มากขึ้น หรือการพิจารณาคดี ศาลต้องมีการพิจารณาในเชิงรุกมากขึ้น ต้องสามารถสอบถามพยานเพิ่มเติมได้เองหรือออกไปเดินเผชิญสืบ และตัวคำพิพากษานั้นเองก็ต้องคำนึงถึงการใช้สิทธิของชุมชนกับถิ่นที่อยู่ ผลประโยชน์สาธารณะ

อีกทั้งมีความพยายามวางหลักการในลักษณะคล้ายกันทั้งศาลฎีกาและศาลปกครอง สูงสุดคือว่า ให้คำนึงถึงหลักการพัฒนาที่ยังยืนและสิทธิของชนรุ่นต่อไป ผมคิดว่าอันนี้เป็นแนวโน้มที่ดี เพียงแต่ว่าในปีที่ผ่านมาก็ยังอาจยังไม่มีผลในทางปฏิบัติที่ชัดเจน แต่ก็มีแนวโน้มที่ดีในทางคดี

เราทำคดีอยู่บางเรื่อง เช่นคดีที่ชาวบ้านมีการขอร้องเข้าเป็นคู่ความฝ่ายที่สาม กรณีเรื่องการฟ้องเพิกถอนเอกสารสิทธิที่ดินซึ่งออกโดยไม่ชอบเพื่อนำไปก่อ สร้างโรงถลุงเหล็กที่ อ.บางสะพาน จ.ประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งบริษัทก็มีการฟ้องร้องทางกรมที่ดินและผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อขอให้มีการ เพิกถอนคำสั่งดังกล่าว ทีนี้ชาวบ้านในพื้นที่ก็มีส่วนในการคัดค้านเรื่องนี้มาโดยตลอดและก็เห็นว่า จะมีผลกระทบต่อชุมชนของตนในด้านสิ่งแวดล้อมและในหลายๆ ประเด็น จึงร้องสอดเข้ามา ขอเข้าเป็นคู่ความในศาล เพื่อนำเสนอข้อมูล ข้อเท็จจริง ในการพิจารณาคดีและมีคำพิพากษา แต่ศาลชั้นต้นเห็นว่าชาวบ้านไม่ได้เป็นผู้มีกรรมสิทธิ์ในพื้นที่ดังกล่าว จึงสั่งยกคำร้องขอร้องสอดนั้น

แต่เมื่ออุทธรณ์ต่อศาลปกครองสูงสุด ศาลปกครองสูงสุดก็ยืนยันหลักการตรงนี้ว่า สิทธิของชุมชนที่ได้รับผลกระทบ ถือว่ามีการโต้แย้งสิทธิ และควรมีที่จะนำเข้ามาพิจารณาคดี เพื่อให้ผลของคดีนี้ที่จะมีผลโดยตรงนี้สามารถเป็นไปตามหลักการที่ประชาชน เข้ามามีส่วนร่วมได้ ซึ่งผมคิดว่าตรงนี้เป็นแนวโน้มที่ดี อย่างน้อยก็คือเปิดช่องให้ประชาชนเข้าไปมีส่วนร่วมในการจัดการทรัพยากรและ การแก้ไขปัญหาในหลากหลายเรื่องขึ้นมา เพียงแต่ว่าผลของการพิพากษา และการจัดตั้งแผนกคดีต่างๆ เพิ่งเริ่มต้น อาจจะต้องรอดูผลต่อไป

คาดว่าในอนาคตเรื่องสิทธิชุมชนจะถูกพูดถึงมากขึ้นในทางกฎหมายหรือเปล่า?

สุรชัย: ผมคิดว่าสิทธิชุมชนได้ถูกสถาปนาโดยรัฐธรรมนูญ และได้รับการยอมรับมากขึ้น มีการพยายามที่จะตีความเรื่องสิทธิชุมชน สิทธิด้านสิ่งแวดล้อมของชุมชนมากขึ้น อย่างน้อยอย่างที่ผมยกตัวอย่างคือคำสั่งศาลปกครองที่ศาลรับคำร้องสอด มันก็เป็นตัวยืนยันประการหนึ่งว่า อย่างน้อยศาลปกครองรับรองสิทธิชุมชนในการที่จะเข้ามาปกป้องสิทธิด้านสิ่งแวด ล้อมของตนในคดีได้ แต่ว่าการรับรองต่างๆ ก็ยังอยู่แค่ว่าเขาเป็นผู้มีสิทธิเข้ามาในคดีได้ แต่ว่าเขาจะมีสิทธิตามรัฐธรรมนูญ สิทธิด้านสิ่งแวดล้อมจริงๆ หรือไม่ ต้องไปพิสูจน์กันในการพิจารณาคดีและคำพิพากษาต่อไป

คิดเห็นอย่างไรกับการที่มีคำ วินิจฉัยศาลระบุว่า กฎหมายป่าไม้ซึ่งมักถูกนำมาใช้จับกุมชาวบ้านที่อยู่กับป่าไม่ขัดต่อกฎหมาย รัฐธรรมนูญ ตรงนี้จะทำให้มีแนวโน้มการฟ้องคดีต่อชาวบ้านเพิ่มขึ้นหรือไม่?

สุรชัย: อันนี้น่าจะหมายถึงคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญล่าสุดเกี่ยวกับเรื่องว่า พ.ร.บ.อุทยานฯ ขัดต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่ อันนี้เราก็ต้องดูนะครับว่า คำฟ้องดังกล่าวถือเป็นคำฟ้องในบางประเด็นเกี่ยวกับ พ.ร.บ.อุทยานเท่านั้น ในรายละเอียดผมยังไม่แน่ใจ เพราะยังไม่เห็นคำพิพากษา เราเห็นแต่ข่าวที่ออกมา ดังนั้นจึงไม่เห็นเหตุผลในรายละเอียดว่าศาลรัฐธรรมนูญใช้เหตุผลอย่างไรจึง วินิจฉัยออกมาในทำนองนั้น แต่ในความเข้าใจของผม เบื้องต้นผมคิดว่าอาจจะเป็นไปได้ว่าศาลรัฐธรรมนูญพยายามจะบอกว่า แม้ว่าตัวกฎหมายอุทยานไม่ได้เขียนเอาไว้อย่างชัดเจนในเรื่องการมีส่วนร่วม ของประชาชนก่อนจะประกาศเขตอุทยาน กรมอุทยานก็ผูกพันต้องบังคับใช้กฎหมายตามรัฐธรรมนูญ ต้องรับรองสิทธิ์ของประชาชนตามรัฐธรรมนูญอยู่ดี

กล่าวโดยง่ายๆ นั้นหมายความว่า ไม่ว่ากฎหมายอุทยานจะเขียนไม่เขียนกรมอุทยานก็ต้องปฏิบัติตารัฐธรรมนูญ คุณจะไปออกกฎเกณฑ์อะไร แค่ไหน อย่างไรเกี่ยวกับการรับฟังความคิดเห็น ก็เป็นเรื่องที่กรมอุทยานต้องทำเพื่อเป็นการคุ้มครองสิทธิของประชาชนด้าน สิ่งแวดล้อมตามรัฐธรรมนูญอยู่แล้ว แต่ว่าตรงนี้เป็นเรื่องที่เราดูจากประเด็นเท่านั้นจะต้องไปดูในรายละเอียด ของคำพิพากษาอีกที

OLYMPUS DIGITAL CAMERA

แนวโน้มในอนาคตของกระบวนการยุติธรรมกับการปกป้องทรัพยากรจะเป็นอย่างไร?

สุรชัย: แนวโน้มในอนาคต ในปีหน้า (พ.ศ.2555) ผมคิดว่าการเคลื่อนของประชาชนจะเป็นการเคลื่อนในเชิงการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม ในเชิงพื้นที่มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นประเด็นเรื่องผังเมือง การกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินในลักษณะที่มันเป็นผังเมืองว่า เราควรกำหนดการใช้ประโยชน์ในที่ดินของชุมชนให้เป็นแบบไหน ให้เป็นเกษตรกรรม ให้ปลอดจากอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ หรืออยากให้เป็นท่องเที่ยว หรือในบางพื้นที่อาจอยากให้เป็นอุตสาหกรรมก็แล้วแต่ มันจะมีการขับเคลื่อน ตั้งคำถามเกี่ยวกับเรื่องผังเมืองและกฎหมายผังเมืองนี้มากขึ้น

เราอาจมีการพูดถึงเรื่องการกำหนดการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมในเชิงพื้นที่ตาม พ.ร.บ.สิ่งแวดล้อมปี 2535 มากขึ้น ผมคิดว่าการขับเคลื่อนนี้มันจะมีลักษณะนอกจากเป็นรายเฉพาะประเด็น เฉพาะพื้นที่ ก็จะมีการคุ้มครองที่เป็นลักษณะวงกว้างอย่างนี้มากขึ้น ผมคิดว่าแนวโน้มจะเป็นอย่างนั้น

ส่วนการขับเคลื่อนกฎหมายใหม่ๆ ในปีหน้าก็น่าจะมีทั้ง พ.ร.บ.ผังเมืองเองที่ออกมาตั้งแต่ปี 2518 และปัจจุบันก็มีการร่างกฎหมายอยู่ทั้งโดยกรมโยธาธิการและผังเมือง และภาคประชาชนบางส่วนก็มี รวมทั้งยังมีกฎหมายอีกหลายเรื่อง องค์กรอิสระด้านสิ่งแวดล้อมก็ยังเป็นกฎหมายที่เราต้องผลักดันกันต่อไป เพราะว่ากฎหมายที่องค์กรภาคประชาชนพยายามเสนอคืออยากให้เป็นองค์กร แต่ภาครัฐบางส่วนอาจเห็นว่าไม่จำเป็นต้องเป็นองค์กรตรงนี้

รวมทั้งในปีหน้า ผมคิดว่าจะมีคำพิพากษาที่ออกมาเป็นบรรทัดฐานในอีกหลายเรื่อง คำพิพากษาสูงสุด เช่น คดีคลิตี้ เกี่ยวกับเรื่องการปนเปื้อนสารตะกั่วในลำห้วยคลิตี้ ก็น่าจะมีคำพิพากษาเกี่ยวกับประเด็นเรื่องของหน่วยงานรัฐมีหน้าที่ในการ ฟื้นฟูคุณภาพสิ่งแวดล้อมที่มีการปนเปื้อนมลพิษมากน้อยแค่ไหน ซึ่งอันนี้ผมคิดว่าเป็นประเด็นสำคัญ เพราะว่าเรายังไม่มีการพูดเกี่ยวกับการเยียวยาในแง่ของการฟื้นฟูสิ่งแวดล้อม ที่เสียหายไปจากการดำเนินกิจการ โครงการที่อาจมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมทั้งหลายตอนนี้เลย อย่างชัดเจนนะครับ คดีคลิตี้ก็อาจจะเป็นเคสแรกๆ ที่ชัดเจนขึ้น

นอกจากนั้น เราก็จะมีคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุดเกี่ยวกับคดีเรื่องการสลายการชุมนุม ท่อก๊าซฯ ไทย-มาเลเซีย ที่มีการฟ้องร้องคดีกันมาตั้งแต่ปี 2546 ซึ่งอันนี้ก็จะเป็นการวางหลักบางประการเกี่ยวกับเรื่องการใช้เสรีภาพในการ ชุมนุมของชุมชนในด้านต่างๆ รวมถึงด้านสิ่งแวดล้อมด้วย ซึ่งอันนี้ก็เป็นแนวโน้มที่เราต้องติดตามกันต่อไปครับว่าคำพิพากษาศาลฎีกาจะ วางบรรทัดฐานอะไร อย่างไร และจริงๆ แล้วภาคประชาชนหรือนักวิชาการจะเห็นพ้องต้องกันไหมหากจะต้องมีการผลักดันให้ มีการออกกฎหมายหรือแก้ไขกฎหมายใดต่อไป

ในแง่ของการใช้กระบวนการทางกฎหมายในการฟ้องร้องชาวบ้าน แนวโน้มในอนาคตจะเป็นอย่างไร?

สุรชัย: คือลักษณะจะเป็นลักษณะร่วมโดยทั่วไป คือจะมีแนวโน้มมากขึ้นออยู่แล้ว ผมคิดว่าปีหน้าก็น่าจะต้องผลักดันให้มีการตรวจสอบกระบวนการยุติธรรมในหลายๆ ด้าน คงต้องมีการพูดถึงเรื่องการปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญมากขึ้นซึ่งก็มีอยู่นะ แต่ว่าในบางประเด็นก็ไม่มี พูดง่ายๆ ว่าไม่ทั่วถึงจริงจัง ก็อาจจะมีเฉพาะกลุ่ม เฉพาะคน เฉพาะคดีสิ่งแวดล้อมซึ่งผมคิดว่าการใช้สิทธิด้านสิ่งแวดล้อมมันไม่สามารถจะ ไปจำกัดขอบเขตอยู่เฉพาะแผนกคดีสิ่งแวดล้อมในศาลต่างๆ ได้ เพราะว่ามันมีสิทธิที่เกี่ยวเนื่องกับการใช้สิทธิด้านสิ่งแวดล้มตรงนี้ ไม่ว่าสิทธิในการแสดงความคิดเห็น เสรีภาพในการชุมนุม และมีการดำเนินคดีอาญาที่เกี่ยวเนื่องกัน

ตรงนี้ทั้งฝ่ายภาคประชาชนและฝ่ายนักวิชาการเองก็ต้องพยายามผลักดัน ประเด็น และศาลเองก็วินิจฉัยข้อเท็จจริง หรือว่าข้อกฎหมายเหล่านี้ให้มีความชัดเจน เพราะผมคิดว่ามันจะทำให้การใช้สิทธิของชุมชน ของประชาชนในส่วนต่างๆ มีความชัดเจนขึ้น และตัวชุมชนเองก็จะได้มีการทบทวนว่าการใช้สิทธิของตนเองนั้นมีความเหมาะสม เพียงพอแล้วหรือไม่ แค่ไหน อย่างไรด้วย เพราะปัจจุบันที่มันยังไม่มีความชัดเจนก็ก่อให้เกิดกระบวนการที่อาจทำให้ เกิดการกลั่นแกล้ง หรือว่าเพื่อไม่ให้ชุมชนมีปากมีเสียงหรือสามารถมีส่วนร่วมด้านสิ่งแวดล้อม ได้ ซึ่งผมคิดว่าไม่ควรจะมีลักษณะแบบนี้

สำหรับกรณีการระดมฟ้องร้องคดีน้ำท่วมต่อหน่วยงานรัฐ ถือเป็นกรณีที่ประชาชนลุกขึ้นมาใช้สิทธิทางกฎหมายมากขึ้นหรือไม่ อย่างไร?

สุรชัย: ในการใช้สิทธิ์ หากมองเพียงการใช้สิทธิ์ก็อาจจะดูดี แต่คิดว่าลักษณะดังกล่าวมันอาจไม่ได้นำไปสู่ความเข้มแข็งของชุมชนจริง คือมันอาจจะช่วยเยียวยาได้ แต่ว่ามันมีความจำเป็นคือจะฟ้องเพื่อเยียวยาก็ว่ากันไป เป็นสิทธิของแต่ละคนที่เห็นว่ามีความเสียหายเฉพาะบุคคลก็สามารถที่จะเรียก ร้อง แต่จริงๆ แล้วมันก็ไม่ได้ง่ายอะไรขนาดนั้น คือเราเห็นกลไกเรื่องการฟ้อง แต่ในความจริงแล้วเราต้องดูผลที่มันเกิดขึ้นด้วย ผมคิดว่าสิ่งที่มันมากไปกว่านั้น เราต้องคิดในเชิงสร้างกลไก สร้างมาตรการ คำพิพากษามันต้องสร้างกลไก สร้างมาตรการ และตัวกระบวนการการฟ้องจะต้องสร้างความเข้มแข็งด้วย

อันนี้ก็พูดตรงๆ คือผมก็ไม่รู้เหมือนกันว่าการระดมฟ้องนี้ ถ้ามันไม่มีกระบวนการให้เขามีส่วนร่วม มันก็เหมือนกับการมอบอำนาจมอบชีวิตให้ทนายความไปทำคดีให้ ซึ่งผมคิดว่าอย่างนี้ผลมันก็ไม่น่าได้เต็มประสิทธิภาพมากนัก

การฟ้องมันฮือฮาก็จริง แต่มันสร้างเป็นบรรทัดฐานอะไรหรือเปล่า คือคนเขามีวัตถุประสงค์อะไรหลายอย่างก็แล้วแต่ และตรงนี้ก็อาจจะสร้างคุณูปการบางอย่างทางสังคมในทางสังคมก็ได้ หรืออาจเป็นรูปการใหม่ในการฟ้องก็ได้ แต่คนไม่มีปฏิสัมพันธ์กับเรื่องที่ตนฟ้องมากพอที่สร้างจิตสำนึกในบางเรื่อง ขึ้นมา มันก็จะกลายเป็นเรื่องการเรียกค่าเสียหาย ซึ่งก็โอเคก็เยียวยากันไป แล้วสุดท้ายปีหน้าก็มาว่ากันใหม่

บุคคลแห่งปีที่มีอิทธิพลในวงการด้านสิ่งแวดล้อมในปีที่ผ่านมาคือใคร เพราะอะไร

สุรชัย: บุคคลที่มีอิทธิพลต่อวงการด้านสิ่งแวดล้อมผมก็ต้องพูดถึงคุณหน่อย จินตนา และนักต่อสู่อีกหลายๆ คนที่ต่อสู้เพื่อชุมชนของเขา แต่ต้องถูกดำเนินคดีและจำคุกคุมขัง ผมคิดว่านี่เป็นประเด็นสำคัญมากในปีที่ผ่านมา เพราะว่าในการต่อสู้ของบุคคลดังกล่าวไม่ได้ทำเพื่อประโยชน์ส่วนตัว แต่สิ่งที่เขาทำเป็นเพื่อประโยชน์สาธารณะ เพื่อประโยชน์ของชุมชน โดยคำนึงถึงสิทธิด้านสิ่งแวดล้อมของชุมชน ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวของเขามันเป็นประโยชน์ สิ่งที่เป็นประโยชน์ผมคิดว่ากระบวนการยุติธรรมต้องคำนึงถึง และให้ความคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของชุมชนในการออกมาตรวจสอบ หรือการมีส่วนร่วมเกี่ยวกับด้านสิ่งแวดล้อมต้องมีที่ยืน และได้รับความคุ้มครองจากกระบวนการยุติธรรม

ที่ผ่านมา เราจะเห็นว่ากระบวนการยุติธรรมยังละเลย และไม่ได้คำนึงถึงสิทธิของชุมชนอย่างเพียงพอ ซึ่งอันนี้เป็นเรื่องที่ต้องตรวจสอบ และต้องวิพากษ์วิจารณ์ เพื่อให้กระบวนการยุติธรรมได้กลับมาคำนึงถึง และกระบวนการยุติธรรมตรงนี้ก็ไม่ได้หมายความเฉพาะศาล แต่หมายถึงกระบวนการยุติธรรมตั้งแต่ชั้นตำรวจ ชั้นอัยการ รวมถึงทนายความและก็ศาลด้วย

ผมคิดว่าเราอาจจะต้องกลับมาทบทวนว่า เราจะสร้างความชัดเจนในการใช้สิทธิของประชาชนที่จะได้รับการคุ้มครองตามรัฐ ธรรมนูญอย่างเพียงพอได้อย่างไร ไม่ใช่การใช้สิทธิตามรัฐธรรมนูญนำไปสู่ผลลัพธ์ที่จะต้องได้รับโทษทางอาญา ต้องชดใช้ความเสียหายในทางแพ่ง ผมคิดว่าเป็นเรื่องไม่ถูกต้องที่คนทำเพื่อผลประโยชน์ของส่วนรวมต้องได้รับผล ที่ไม่เป็นธรรมอย่างนั้น