WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Tuesday, January 3, 2012

สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ: ถนนประชาธิปไตย ขอจังหวัดธนบุรีคืน

ที่มา ประชาไท

“กรุงธนแทนที่ กรุงศรีอยุธยา
ราชธานีไทย ถึงจะแตกแยกไปก็ไม่สิ้นคนดี”

วันที่ ๒๘ ธันวาคมของทุกปี จะถือกันว่า เป็นวันพระเจ้ากรุงธนบุรี ซึ่งจะเป็นวันที่ประชาชนชาวธนบุรี จะจัดงานเฉลิมฉลองเพื่อระลึกถึงพระเจ้ากรุงธนบุรี ซึ่งเป็นผู้กอบกู้เอกราชของราชอาณาจักร หลังจากที่กรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่า ใน พ.ศ.๒๓๑๐ พระเจ้าตาก ซึ่งขณะนั้นเป็นพระยาวชิระปราการ ได้ตั้งตนเป็นกษัตริย์ แล้วนำกองทัพต่อสู้เพื่อรื้อฟื้นบ้านเมือง พระองค์ประสบความสำเร็จ และได้ตั้งราชธานีใหม่ที่กรุงธนบุรี ซึ่งอยู่ทางตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา พระองค์ครองราชย์สมบัติมาได้ ๑๕ ปี จนถึง พ.ศ.๒๓๒๔ ก็เกิดกบฏภายในราชอาณาจักร จนทำให้พระองค์เสื่อมอำนาจลง เจ้าพระยาจักรี สมุหนายก จึงปราบดาภิเษกขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์องค์ใหม่ แล้วมีพระราชดำริว่า กรุงธนบุรี เมืองหลวงเดิม ตั้งอยู่ในที่คับแคบ ไม่ต้องด้วยหลักพิชัยสงคราม จึงย้ายเมืองหลวงมาอยู่ฝั่งบางกอก ทางตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา อันเป็นที่มาของกรุงเทพฯ เมืองหลวงในปัจจุบัน

ในทางประวัติศาสตร์ในระยะแรก เมืองธนบุรี ก็ยังมีฐานะเป็นเมืองหนึ่งในราชอาณาจักร จนถึงสมัยรัชกาลที่ ๕ เมื่อมีการเปลี่ยนการปกครองเป็นแบบมณฑลเทศาภิบาล ได้มีการจัดตั้งเป็นมณฑลกรุงเทพมหานคร มีการรวมหลายเมืองอยู่ในมณฑล คือ กรุงเทพฯ ธนบุรี นนทบุรี ปทุมธานี นครเขื่อนขันธ์ สมุทรปราการ ธัญญบุรี และมีนบุรี จนเมื่อเกิดการปฏิวัติ พ.ศ.๒๔๗๕ ได้มีการยกเลิกมณฑล แล้วตั้งเป็นจังหวัด โดยถือว่าจังหวัดพระนคร และ จังหวัดธนบุรี เป็น ๒ จังหวัดที่แยกจากกัน ถือเป็นการปกครองส่วนภูมิภาค

ดังนั้น ชาวธนบุรี จึงได้มีจังหวัดธนบุรีของตนเอง ในระยะแรก สมุทรสาครก็รวมอยู่ในจังหวัดธนบุรีด้วย เมื่อมีการเลือกตั้งครั้งแรก จังหวัดธนบุรีก็มีผู้แทนราษฎรจังหวัดของตน ต่อมา พ.ศ.๒๔๘๐ เมื่อมีการเลือกตั้งส่วนท้องถิ่นครั้งแรก จังหวัดธนบุรี ก็มีเทศบาลนครธนบุรีเป็นอิสระของตนเอง นายทองอยู่ พุฒพัฒน์ เป็นอดีตผู้แทนราษฎรจังหวัดธนบุรีที่มีชื่อเสียงมาก และเป็นคนสำคัญในการรวมรวมเงินบริจาคเพื่อรณรงค์สร้างอนุสาวรีย์พระเจ้ากรุง ธนบุรีที่วงเวียนใหญ่ ซึ่งสร้างได้สำเร็จและประดิษฐานเป็นทางการเมื่อ พ.ศ.๒๔๙๗ สำหรับอดีตผู้แทนราษฎรธนบุรีที่มีชื่อเสียงในระยะต่อมาก็เช่น นายไถง สุวรรณทัต พล.ร.ต.ทหาร ขำหิรัญ เป็นต้น

จนกระทั่งเมื่อเกิดการรัฐประหาร โดยจอมพลถนอม กิตติขจร เมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๑๔ คณะผู้ยึดอำนาจได้ออกประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ ๒๕ ในวันที่ ๒๑ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๑๔ ให้ยุบจังหวัดธนบุรีไปรวมกับจังหวัดพระนครโดยให้เรียกว่า นครหลวงกรุงเทพธนบุรี โดยให้มีผู้ว่าราชการจังหวัดมาจากการแต่งตั้งควบตำแหน่งเป็นนายกเทศมนตรีใน จังหวัดที่รวมกัน ในคำประกาศคณะปฏิวัติได้ให้เหตุผลการรวมจังหวัดดังนี้

"โดยที่จังหวัดพระนครและจังหวัดธนบุรีเป็นจังหวัดที่มีความสัมพันธ์ซึ่ง กันและกันทั้งในด้านประวัติศาสตร์และการปกครองมาช้านาน แม้ในปัจจุบันการประกอบอาชีพของประชาชนแต่ละจังหวัดก็ได้ดำเนินไปในลักษณะ ที่เป็นจังหวัดเดียวกัน และการจัดหน่วยราชการสำหรับรับใช้ประชาชน ก็ได้กระทำในรูปให้มีหน่วยราชการร่วมกัน เช่น การศาล การรับจดทะเบียนกิจการบางประเภท คณะปฏิวัติจึงเห็นสมควรที่จะรวมจังหวัดพระนครและจังหวัดธนบุรีเป็นจังหวัด เดียวกัน เพื่อการบริหารราชการจะได้ดำเนินไปโดยประหยัดและมีประสิทธิภาพ บังเกิดความเจริญแก่จังหวัดทั้งสองโดยรวดเร็ว" (อ้างจาก กำพล จำปาพันธ์ รัฐประหาร ๒๕๑๔ กับการรวมธนบุรีเข้ากับกรุงเทพฯ)

ดังนั้น จะขอย้ำในที่นี้ก่อนว่า การรวมธนบุรีเข้ากับกรุงเทพฯนั้น คือ ผลพวงของการรัฐประหาร ไม่มีการนำเสนอเข้าพิจารณาในสภาผูแทนราษฎร ไม่มีการทำประชาพิจารณ์ถามชาวฝั่งธน ไม่มีข้อมูลชัดเจนว่า คณะรัฐประหารปรึกษาหารือ หรือรับข้อเสนอมาจากใคร ยิ่งกว่านั้น จะเห็นว่าเหตุผลในการรวมจังหวัดอ่อนมาก ข้ออ้างเพียงแค่ จังหวัดทั้งสองมีความสัมพันธ์กันทั้งในด้านประวัติศาสตร์และการปกครอง ไม่ได้ให้ความกระจ่างได้เพียงพอ

แต่กระนั้น นครหลวงกรุงเทพธนบุรี ก็ยังคงมีคำว่า ธนบุรีอยู่ในชื่อ จนกระทั่ง อีก ๑ ปีต่อมา คือ วันที่ ๑๓ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๑๕ คณะรัฐประหารก็ออกประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ ๓๓๕ ให้ยุบรวมการปกครองท้องถิ่นแบบเทศบาลทั้งหมดเข้ากับผู้ว่าราชการจังหวัดเป็น หน่วยราชการเดียว เรียกว่า กรุงเทพมหานคร ซึ่งเท่ากับเป็นการยกเลิกชื่อนครหลวงกรุงเทพธนบุรีไปด้วย และการเรียกชื่อ กรุงเทพมหานคร ยังคงใช้มาถึงปัจจุบัน ในโครงสร้างการบริหารเช่นนี้ ธนบุรีคือเขตที่เคยเป็นอำเภอเมืองธนบุรี กลายเป็นเพียงเขตหนึ่งในกรุงเทพมหานครเท่านั้น

การยุบรวมจังหวัดธนบุรีเข้ากับกรุงเทพมหานครดังกล่าว ทำให้กรุงเทพมหานครกลายเป็นจังหวัดใหญ่เทอะทะ เพราะจากสถิติในขณะนี้ กรุงเทพมหานครมีประชากรที่เป็นทางการราว ๕.๗ ล้านคน หรือราว ๘.๕ เปอร์เซนต์ของประเทศ มีการแบ่งเขตการบริหารได้ถึง ๕๐ เขต และมี ผู้แทนราษฎรถึง ๓๓ คน ก่อนหน้านี้ เคยมีครั้งหนึ่งเช่นกัน ที่เกิดการตั้งคำถามกับความใหญ่โตของกรุงเทพมหานคร คือ เมื่อ พ.ศ.๒๕๔๓ เมื่อเกิดการเลือกตั้งวุฒิสมาชิกครั้งแรก ในขณะนั้น คิดจำนวนวุฒิสมาชิกสัดส่วนตามประชากร ทำให้กรุงเทพมหานครมีวุฒิสมาชิกได้ ๑๘ คน ทำให้มีผู้สมัครแข่งขันถึง ๒๖๕ คน ซึ่งเป็นการยากลำบากทั้งในการจัดการที่จะต้องปิดประกาศผู้สมัครและพิมพ์บัตร เลือกตั้ง จึงมีการเสนอกันว่า ถ้ากรุงเทพมหานครมีขนาดเล็กลง การเลือกตั้งจะสะดวกกว่านี้ แต่หลังจากการเลือกตั้ง กระแสนี้ก็เงียบหายไป

จนกระทั่ง เมื่อผ่านมาถึงขณะนี้ กรุงเทพมหานครจะมีอายุครบ ๔๐ ปี ได้เกิดกระแสจากประชาชนชาวธนบุรีที่สงสัยและไม่เห็นด้วยกับการรวมจังหวัด และเริ่มเกิดการรณรงค์ที่ให้มีการฟื้นฟูจังหวัดธนบุรี โดยตั้งเป็นเฟซบุค "เราต้องการจังหวัดธนบุรี” การรณรงค์นี้ เหตุผลที่รองรับแรกสุดคือ พื้นที่กรุงเทพมหานครกว้างเกินไปกว่าที่ผู้ว่ากรุงเทพมหานครจะดูแลได้ทั่ว ถึง ตัวอย่างรูปธรรมที่ก่อให้เกิดความน้อยเนื้อต่ำใจสำหรับชาวธนบุรีก็คือ กรณีน้ำท่วมใหญ่ครั้งที่ผ่านมา ชาวฝั่งธนบุรีรู้สึกว่าถูกปล่อยให้รับน้ำแทนชาวพระนครชั้นใน มีการนำเสนอข้อมูลว่า ชาวธนบุรีนั้น มีจำนวน ๓๑.๒๔ เปอร์เซนต์ของกรุงเทพฯ แต่ไม่มีระบบการระบายน้ำของตนเอง ดังนั้น ถ้าหากว่าชาวธนบุรี มีการบริหารท้องถิ่นของตนเอง การจัดการบริหารน่าจะดีกว่า

นอกจากนี้ ในระยะ ๔๐ ปีที่ผ่านมา ก็เกิดการแยกจังหวัด และตั้งจังหวัดใหม่ถึง ๗ จังหวัด คือ ยโสธร พะเยา มุกดาหาร หนองบัวลำภู สระแก้ว อำนาจเจริญ และ บึงกาฬ ซึ่งทำให้การบริหารราชการสะดวกและคล่องตัวมากขึ้นทั้งสิ้น และการแบ่งจังหวัดเหล่านั้น ก็ไม่ได้ก่อให้เกิดปัญหาทางการเมืองใดเลย นี่จึงเป็นเงื่อนไขที่น่าจะเป็นไปได้ที่จังหวัดธนบุรี จะแยกตัวออกมา เพื่อช่วยลดขนาดของกรุงเทพมหานครลง

ประการต่อมา การรื้อฟื้นจังหวัดธนบุรีถือได้ว่าเป็นการถวายพระเกียรติแก่พระเจ้ากรุง ธนบุรี ที่เป็นผู้ตั้งเมืองธนบุรีเป็นราชธานี และด้วยเหตุผลที่ธนบุรีเป็นอดีตราชธานีเช่นนี้ ก็น่าจะเพียงพอต่อการฟื้นฟูสถานะของจังหวัดขึ้นมา เพื่อเป็นการเคารพแก่ประวัติศาสตร์ของประเทศไทย

สำหรับผมเอง ก็เห็นด้วยกับข้อเสนอนี้เช่นกัน แม้ว่าจะไม่ได้เป็นชาวธนบุรี สาเหตุสำคัญก็คือ การล้มล้างผลพวงของการรัฐประหาร พ.ศ.๒๕๑๔ ซึ่งอาจจะเป็นจุดกเริ่มต้นของการล้มล้างผลพวงรัฐประหารทั้งหลาย ที่ทำให้ประเทศไทยล้าหลังอยู่ในขณะนี้