WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Friday, January 6, 2012

กระจายอำนาจ สู่การปฏิรูปโครงสร้างรัฐชายแดนใต้ (5)

ที่มา ประชาไท

ในงานสมัชชาปฏิรูปเฉพาะประเด็น 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ “ชายแดนใต้ไม่ทอดทิ้งกัน” ในวันที่ 5 มกราคม 2555 ซึ่งเป็นวันที่สองของงาน ที่กำหนดให้มีการนำเสนอเรื่องการกระจายอำนาจในจังหวัดชายแดนภาคใต้นั้น

สาระสำคัญที่คนใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ควรให้ความสนใจอย่างเป็นพิเศษคือ ทางเลือกการกระจายอำนาจรูปแบบพิเศษจังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่มีอยู่ 6 ทางเลือก คราวนี้มาว่ากัน 2 ประเด็นสุดท้าย

ทางเลือกที่ 5 มหานคร 1
เป็นการปกครองท้องถิ่นขนาดใหญ่รวมพื้นที่ จังหวัดปัตตานี ยะลา นราธิวาส และอำเภอเทพา อำเภอจะนะ อำเภอสะบ้าย้อย และอำเภอนาทวี จังหวัดสงขลาเข้าด้วยกัน เป็นหนึ่งหน่วยการปกครอง มีผู้ว่าราชการมาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน มีองค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล และองค์การบริหารส่วนตำบล เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นขนาดย่อย

ลักษณะเด่นของรูปแบบนี้ ผู้ว่าราชการมหานครมาจากการเลือกตั้ง รับผิดชอบครอบคลุมพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ในปัจจุบัน สอดคล้องกับลักษณะเฉพาะทางประวัติศาสตร์ของพื้นที่ ในขณะเดียวกัน ยังคงไว้ซึ่งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแบบเดิม

โครงสร้างการบริหาร ผู้ว่าราชการมหานครมาจากการเลือกตั้งโดยตรง สภามหานครมาจากการเลือกตั้งจากเขตเลือกตั้ง สภาเขตมาจากการเลือกตั้งโดยตรงภายในเขต และมีคณะกรรมการประสานงานระหว่างส่วนกลางกับท้องถิ่น

จุดเด่นอยู่ตรงที่ประชาชนสามารถเลือกผู้นำที่ตนเองต้องการได้ ในขณะที่ผู้นำที่ได้รับการเลือกตั้งก็มีความเป็นตัวแทนสูง และมีพันธะรับผิดชอบโดยตรงต่อคนที่เลือกมา และลดแรงต้านจากองค์กรปกครองท้องถิ่นในปัจจุบัน เพราะองค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล และองค์การบริหารส่วนตำบล ยังคงอยู่

อัตรากำลังข้าราชการในท้องถิ่นจะขยายตัวเพิ่มมากขึ้น ทำให้ประชาชนในพื้นที่มีโอกาสที่จะได้รับการบรรจุเป็นข้าราชการในท้องถิ่น มากขึ้นตามไปด้วย

ข้อที่ถูกวิจารณ์คือ อำนาจของผู้ว่าราชการมหานคร อาจจะทับซ้อนกับขององค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล และองค์การบริหารส่วนตำบล ทำให้ไม่สามารถบริหารจัดการพื้นที่ได้อย่างเต็มที่

การเปิดให้มีการเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัด จะทำให้กลุ่มอิทธิพลเข้ามามีอำนาจทางการเมืองมากขึ้น และมีแนวโน้มที่จะมีการทุจริตมากตามไปด้วย และยังมีข้อวิจารณ์ถึงความไม่พร้อมของประชาชนในการเลือกตั้งผู้ว่าราชการ จังหวัดด้วย

หน้าตาของปัตตานีมหานคร 1 รูปแบบใกล้เคียงกับร่างพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการนครปัตตานี พ.ศ. ... ของพรรคเพื่อ

สาระสำคัญระบุว่า การบริหารนครปัตตานี ประกอบด้วย สภานครปัตตานี และผู้ว่านครปัตตานี สมาชิกสภานครปัตตานีมาจากการเลือกตั้งจากตัวแทนอำเภอ โดยให้อำเภอเป็นเขตเลือกตั้งมีสมาชิกสภาฯได้ 1 คน ให้มีผู้ว่านครปัตตานีหนึ่งคน และรองผู้ว่านครปัตตานีได้ไม่เกิน 3 คน ผู้ว่านครปัตตานี มาจากการเลือกตั้งของประชาชนในจังหวัดนราธิวาส จังหวัดยะลา และจังหวัดปัตตานี

ให้นครปัตตานีปฏิบัติภารกิจในการจัดทำ และบูรณาการแผนงานโครงสร้างด้านการพัฒนาของหน่วยงานของรัฐต่างๆ องค์การบริหารส่วนท้องถิ่นและเอกชน

ให้โอนบรรดากิจการ ทรัพย์สิน สิทธิ หน้าที่ ข้าราชการ พนักงาน ลูกจ้างและอัตรากำลังของศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) มาเป็นของนครปัตตานี

นโยบายเสริมสร้างสันติสุข ยุทธศาสตร์การแก้ไขความมั่นคงและการรักษาความมั่นคงภายในพื้นที่จังหวัดชาย แดนภาคใต้ เป็นหน้าที่และความรับผิดชอบของรัฐบาล

ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย มีอำนาจและหน้าที่ควบคุมดูแลการปฏิบัติราชการของนครปัตตานี

ให้ดำรงตำแหน่งกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด นายกเทศมนตรี และนายกองค์การบริหารส่วนตำบลในพื้นที่จังหวัดนราธิวาส จังหวัดยะลา และจังหวัดปัตตานี ยังคงอยู่

ทั้งนี้จะต้องยกเลิกศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) และพระราชบัญญัติการบริหารราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้ พ.ศ.2553 โดยให้นครปัตตานี เป็นท้องถิ่นรูปแบบพิเศษทำหน้าที่ในการกำหนดยุทธศาสตร์ในการพัฒนาจังหวัด นราธิวาส จังหวัดยะลา และจังหวัดปัตตานีอย่างบูรณาการ และให้ใช้พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการนครปัตตานีมหานคร พ.ศ. ...แทน

ทางเลือกที่ 6 มหานคร 2
เป็นการปกครองท้องถิ่นขนาดใหญ่ รวมจังหวัดปัตตานี จังหวัดยะลา จังหวัดนราธิวาส และอำเภอเทพา อำจะนะ อำเภอสะบ้าย้อย และอำเภอนาทวี จังหวัดสงขลาเข้าด้วยกันเป็นหนึ่งหน่วยการปกครอง มีผู้ว่าราชการมาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน และยกเลิกองค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล และองค์การบริหารส่วนตำบล

ลักษณะเด่น ผู้ว่าราชการมหานครมาจากการเลือกตั้ง รับผิดชอบครอบคลุมพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ปัจจุบัน สอดคล้องกับลักษณะเฉพาะทางประวัติศาสตร์ของพื้นที่ โดยยกเลิกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแบบเดิม ทั้งองค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล และองค์การบริหารส่วนตำบล

โครงสร้างการบริหาร ผู้ว่าราชการมหานครมาจากการเลือกตั้งโดยตรง สภามหานครมาจากการเลือกตั้งโดยตรงตามเขตเลือกตั้ง และสภาเขตมาจากการเลือกตั้งโดยตรงภายในเขต สภาประชาชนที่มาจากการเลือกตั้งตามสาขาอาชีพ และมีคณะผู้อาวุโสทางจริยธรรม ซึ่งมาจากผู้รู้ทางศาสนาในพื้นที่

จุดเด่น ประชาชนสามารถเลือกผู้นำที่ตนเองต้องการได้ ในขณะที่ผู้นำที่ได้รับการเลือกตั้งก็มีความเป็นตัวแทนสูงและมีพันธะรับผิด ชอบโดยตรงต่อผู้คนที่เลือกมา

การรวมพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้เข้าด้วยกันสอดคล้องกับลักษณะเฉพาะทางประวัติศาสตร์ของพื้นที่

อัตรากำลังข้าราชการในท้องถิ่นจะขยายตัวเพิ่มมากขึ้น ทำให้ประชาชนในพื้นที่มีโอกาสที่จะได้รับการบรรจุเป็นข้าราชการในท้องถิ่น มากขึ้นตามไปด้วย

ข้ออ่อนที่ถูกวิจารณ์คือ มีแรงต้านจากองค์กรปกครองท้องถิ่นในปัจจุบัน เพราะองค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล และองค์การบริหารส่วนตำบล จะถูกยกเลิก

การเปิดให้มีการเลือกตั้งผู้ว่าราชการนครปัตตานี ทำให้กลุ่มอิทธิพลเข้ามามีอำนาจทางการเมืองมากขึ้น และมีแนวโน้มที่จะมีการทุจริตมากตามไปด้วย และมีข้อวิจารณ์ถึงความไม่พร้อมของประชาชนในการเลือกตั้งผู้ว่าราชการ จังหวัด

รายละเอียดรูปแบบการบริหารราชการดูได้จากร่างพระราชบัญญัติระเบียบบริหาร ราชการปัตตานีมหานคร พ.ศ. ... ที่จัดทำเครือข่ายประชาชนเพื่อพัฒนาการมีส่วนร่วมทางการปกครองในจังหวัดชาย แดนใต้ ศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้ สถาบันวิจัยความขัดแย้งและความหลากหลายทางวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ คณะกรรมการประชาสังคม สภาพัฒนาการเมือง

สาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการปัตตานีมหานคร พ.ศ. ... ระบุให้การบริหารปัตตานีมหานคร ประกอบด้วย สภาปัตตานีมหานคร และผู้ว่าการปัตตานีมหานคร โดยสภาปัตตานีมหานคร ประกอบด้วย สมาชิก 43 คน มาจากการเลือกตั้งตามเขตพื้นที่ 37 คน และกลุ่มผู้นับถือศาสนาพุทธ 3 คน ศาสนาอื่น 1 คน สตรี 1 คน และผู้พิการ 1 คน ทำหน้าที่เสนอและพิจารณาข้อบัญญัติ ตั้งกระทู้ถาม และตั้งคณะกรรมการด้านต่างๆ

ผู้ว่าราชการปัตตานีมหานคร มีอำนาจในการบริหารและกำหนดนโยบาย โดยมาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชนด้วยเสียงเกินกึ่งหนึ่ง มีวาระ 4 ปี และมีรองผู้ว่าราชการเป็นคนไทยพุทธไม่น้อยกว่า 1 ใน 3

ผู้ว่าฯ มีอำนาจแต่งตั้งปลัดปัตตานีมหานครทำหน้าที่บริหารราชการประจำตามนโยบาย แต่งตั้ง “ผู้อำนวยการเขต” ทำหน้าที่ประสานงานกับสภาเขต และแต่งตั้งหัวหน้าแขวง 290 คน ทำหน้าที่ประสานงานกับสภาเขต กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน

ขณะเดียวกันก็มี “สภาเขต” ประกอบด้วย สมาชิกอย่างน้อยเขตละ 7 คน มาจากการเลือกตั้งตามเขตพื้นที่ มีหน้าที่จัดทำแผนพัฒนาเขต จัดสรรงบประมาณพัฒนาเขต

มี “สภาประชาชน” ประกอบด้วย สมาชิก 51 คน มาจากการเลือกตั้งของกลุ่มอาชีพ กลุ่มวัฒนธรรม และองค์กรประชาสังคม ทำหน้าที่เสนอแนะ ตรวจสอบ ประเมินผลการดำเนินงานของผู้ว่าฯ และสมาชิกปัตตานีมหานคร พร้อมจัดทำรายงานประจำปี เสนอชื่อผู้ทรงคุณวุฒิต่อสภาปัตตานีมหานคร เพื่อเป็น กรรมาธิการด้านต่างๆ แนะนำรายชื่อผู้เหมาะสมจะลงสมัครรับเลือกตั้งผู้ว่าฯ ด้วยกระบวนการปรึกษาหารือ

อีกทั้งยังมี “คณะผู้แทนส่วนกลาง” 22 คน จากผู้แทนกระทรวงและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทำหน้าที่ประสานงานและแก้ไขข้อขัดแย้ง ระหว่างรัฐบาลกับปัตตานีมหานคร กำกับดูแลการบริหารให้เป็นไปตามกฎหมาย และมาตรฐานกลาง ให้คำปรึกษาในแง่ของข้อกฎหมาย และระเบียบต่างๆ

รวมถึง “คณะผู้อาวุโสทางจริยธรรม” 15 คน มาจากการเลือกตั้งของผู้นับถือศาสนาอิสลาม ที่จบการศึกษาระดับซานาวีขึ้นไป ทำหน้าที่วินิจฉัยหลักการอิสลาม ตามที่ผู้ว่าฯ หรือประธานสภาฯ ร้องขอ คำวินิจฉัยดังกล่าวต้องไม่ละเมิดสิทธิเสรีภาพของศาสนิกอื่น และไม่ขัดต่อบทบัญญัติตามกฎหมาย

นี่คือ ประเด็นที่จะมีการพูดคุยกัน ในที่ประชุมสมัชชาปฏิรูปเฉพาะประเด็น 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ “ชายแดนใต้ไม่ทอดทิ้งกัน” ที่มหาวิทยลัยราภัฏยะลา ตลอดวันที่ 5 มกราคม 2555 นี้