WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Thursday, January 5, 2012

มติชนสัมภาษณ์ “สมคิด” ยันกรณี “ก้านธูป” ไม่ควรล่าแม่มด

ที่มา ประชาไท

พร้อมแจงเหตุรับ “ก้านธูป” เข้าเรียน ชี้ไม่มีกฎข้อใดบอกว่า นศ.มธ. ต้องเคารพชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และอธิการบดีมีเรื่องมากมายที่ต้องทำ ยันไม่ควรล่าแม่มด ถึงเป็นแม่มดจริงก็สามารถอยู่ในสังคมไหนก็ได้ ด้าน “ไชยันต์ ไชยพร” ต้องการให้สถาบันกษัตริย์คงอยู่ต่อไป แต่อยากให้เลิก ม.112 เผยอยากเปิดโอกาสให้ฝ่ายที่เป็น “คู่ต่อสู้ทางความคิด” มาโต้เถียงกับตนอย่างเสรี

เมื่อวานนี้ (4 ม.ค.) มติชนออนไลน์ ได้เผยแพร่บทสัมภาษณ์ ศ.ดร.สมคิด เลิศไพฑูรย์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กรณีก้านธูป และบทสัมภาษณ์ รศ.ดร.ไชยันต์ ไชยพร ภาควิชาการเมืองการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

สมคิดแจง มติชน” ทำไมจึงรับ “ก้านธูป” เข้าเรียน

โดยในบทสัมภาษณ์ ศ.ดร.สมคิด โดยพันธวิศย์ เทพจันทร์ (อ่านบทสัมภาษณ์ที่นี่) ผู้สื่อข่าวถาม ศ.ดร.สมคิด ว่า “ทำไม มธ. ถึงรับ "ก้านธูป" ให้มาศึกษา ในขณะที่ มศก. และ มก. ต่างปฏิเสธ ที่จะรับเธอเข้าเรียน” ศ.ดร.สมคิดตอบว่า “ไม่เห็นมีกฎข้อบังคับใดของมหาวิทยาลัยบอกว่า นักศึกษา มธ. ต้องเคารพชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ถ้าหากมีกฎข้อนี้จริง หมายความว่า มธ. ต้องตรวจสอบว่านักศึกษาคนนี้รักชาติ รักศาสนาหรือเปล่า นับถือศาสนาไหม คำถามเหล่านี้จะเกิดทันที ไม่ใช่แต่เฉพาะก้านธูปคนเดียว ผมจึงสงสัยคนที่มาโพสต์ถามผมในเฟซบุ๊กเกี่ยวกับการรับก้านธูปมาเรียนที่ มธ. ว่า ทำไมถึงตั้งโจทย์กับก้านธูปคนเดียว ไม่ตั้งโจทย์นี้กับนักศึกษาอื่นเลย เพราะใน มธ. ก็มีนักศึกษาอีกมากที่ไปขึ้นเวทีชุมนุมต่างๆ ทั้งเหลืองทั้งแดง ทำไมต้องเป็นก้านธูป นี่คือคำถามของผม”

ต่อมาคือสิ่งที่ก้านธูปทำผมไม่รู้ว่าจริงหรือไม่ แล้วจะมาอ้างว่าก็ให้อธิการบดีไปตรวจสอบแล้วทำไมไม่ตรวจสอบ แต่ต้องเข้าใจด้วยว่าอธิการบดีมีเรื่องมากมายที่ต้องทำ นักศึกษา 1 ใน 35,000 คนของ มธ. ถือว่าเล็กมาก ที่สำคัญคือสิ่งที่คนพูดว่าก้านธูปโพสต์ข้อความหมิ่นประมาทนั้นเกิดขึ้นก่อน ที่เธอจะเข้ามาเรียนในมหาวิทยาลัยแห่งนี้ และสิ่งสุดท้ายคือ เราไม่ควรไล่ล่าแม่มดเพราะเราไม่รู้ว่าเขาเป็นแม่มดจริงหรือเปล่า แล้วแม้เธอจะเป็นแม่มดจริงแต่แม่มดก็สามารถอยู่ในสังคมไหนก็ได้ ตัวอย่างเรื่องแวมไพร์ ทไวไลท์ แวมไพร์ยังอยู่กับคนได้เลย”

ศ.ดร.สมคิด ตอบตอนหนึ่งด้วยว่า “... เมื่อเทียบก้านธูปกับนักศึกษาที่เข้าร่วมกลุ่ม พคท. เมื่อหลายปีก่อน เราในฐานะที่เป็นผู้ใหญ่ เป็นอธิการบดี เป็นคน มธ. ถ้าเด็กมีความรู้ ความสามารถสอบเข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยแห่งนี้ได้เธอก็ต้องได้รับการศึกษาจาก มธ. สิ่งที่เธอทำก่อนมาเข้าศึกษาใน มธ. เป็นสิ่งที่ยังไม่เคยมีใครแจ้งความจับ มีเพียงแต่บอกทำผิดกฎหมาย ซึ่งกฎ ข้อบังคับของ มธ. ระบุชัดว่า หากนักศึกษาผู้ใดต้องโทษหรือมีคำพิพากษาที่สุดให้จำคุก เว้นแต่ทำผิดลหุโทษ หรือทำความผิดโดยประมาท ถือว่าผิดร้ายแรงถึงมีคำสั่งให้ไล่ออก ดังนั้นผมจะไล่ก้านธูปได้ก็ต่อเมื่อมีคำพิพากษาที่สุดให้จำคุก ต่อให้ถูกแจ้งความวันนี้ผมก็ไล่เขาออกไม่ได้ เพราะฉะนั้นผมขอร้องว่าอย่าไล่คนให้ไปจนตรอก ผมคิดว่าคนแต่ละคนก็มีความคิดเห็นทางการเมืองที่แตกต่างกัน ที่ผมคิดก็คือก้านธูปเป็นเด็กที่มีความคิดหัวรุนแรง”

ส่วนกรณีที่มีผู้นำข้อมูลส่วนตัวมาเปิดเผยในที่สาธารณะ และมีสื่อมวลชนสำนักหนึ่งลงบทความเกี่ยวกับก้านธูป ผู้สื่อข่าวถามว่าชี้แจงหรือตอบโต้สื่อดังกล่าวหรือไม่ ศ.ดร.สมคิดตอบว่า “ไม่ ครับ อธิการบดีไม่ว่างขนาดนั้น น้ำท่วมเสียหาย 2,800 ล้านบาท ผมมีเรื่องใหญ่ที่ต้องคิดเยอะ มีเรื่องที่ต้องคิดว่าจะทำยังไงให้อาจารย์ มธ. ทำวิจัย เพื่อให้เป็นมหาวิทยาลัยระดับโลกให้ได้ เรื่องก้านธูปนี้คณบดีคณะสังคมสงเคราะห์ฯ รับเรื่องและเป็นที่ปรึกษาให้เธอด้วย ปกติคณบดีไม่รับเป็นที่ปรึกษาให้แก่นักศึกษาหรอก เรื่องนี้มีคนดูแลเยอะครับ มีคนจับจ้องก้านธูปเยอะไม่ต้องห่วงอะไร ผมขอย้ำว่าถ้าก้านธูปทำอะไรผิดใน มธ. ผมก็ต้องจัดการ ซึ่งผมเองก็ไม่เห็นด้วยกับพฤติกรรมของก้านธูปตามข้อกล่าวหา เพราะฉะนั้นอย่าบอกว่าผมช่วยเหลือก้านธูปเพราะผมเป็นพวกเดียวกับก้านธูป เรื่องก้านธูปผมก็สนใจเลยเอาเรื่องดังกล่าวเข้าที่ประชุมคณบดีซึ่งในที่ ประชุมก็มีการพูดคุยกันว่าจะรับหรือไม่ คณบดีส่วนใหญ่ก็หนุนว่าควรรับทั้งนั้น” (อ่านบทสัมภาษณ์ในมติชนได้ที่นี่)

ไชยันต์ ไชยพร เสนอให้ยกเลิก ม.112 เพราะมี ม.8 ในรัฐธรรมนูญอยู่แล้ว

ส่วนในบทสัมภาษณ์ รศ.ดร.ไชยันต์ โดยฟ้ารุ่ง ศรีขาว (อ่านบทสัมภาษณ์ที่นี่) ซึ่งไชยันต์เป็น1 ใน 15 นักวิชาการผู้ลงชื่อเรียกร้องให้มีการจัดตั้ง “คณะกรรมการกลั่นกรองการฟ้องร้องในความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112” โดยตอนหนึ่งในบทสัมภาษณ์ไชยันต์แสดงความเห็นต่อประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ว่า “จุดยืนส่วนตัวของผมในขณะที่มีคนบอกว่าให้แก้ไข แต่ผมเห็นว่าควรยกเลิก มาตรา 112 แต่ต้องประชาพิจารณ์ ที่ผมคิดแบบนี้ เพราะเรามีมาตรา 8 ในรัฐธรรมนูญอยู่แล้วที่คุ้มครององค์พระมหากษัตริย์ แล้วจำเป็นต้องประชาพิจารณ์ เพื่อให้ประชาชนถกเถียงพูดคุยกันว่า ตกลงแล้วสถานะและบทบาทของสถาบันกษัตริย์ในระบอบการปกครองที่เรามีอยู่จะเป็น อย่างไร แล้วเสรีภาพในการวิพากษ์วิจารณ์จะมีแค่ไหน และการวิพากษ์วิจารณ์กับการหมิ่นประมาทต่างกันอย่างไร แล้วคนในสังคมจะวาง ระเบียบให้ตัวเอง ซึ่งถ้าแก้ไขกันเงียบๆ ก็ไม่ได้ช่วยอะไร

นอกจากนั้น ยังมีประเด็นว่า กฎหมายนี้คุ้มครองใครบ้าง คำว่าสถาบันพระมหากษัตริย์จะรวมใครบ้าง หรือแยกออก เพราะในกรณีพระบรมวงศานุวงศ์ ทำสิ่งซึ่งกระทบกระเทือนสถาบันพระมหากษัตริย์ เราจะทำอย่างไร จะวิพากษ์วิจารณ์ได้ไหม ถ้าคนที่ไม่ใช่พระมหากษัตริย์ แต่เป็นคนใกล้ชิดสถาบันพระมหากษัตริย์ แทรกแซงกิจการราชการ หรือมีพฤติกรรมที่ไปเกี่ยวข้องกับระบบราชการแล้วทำให้เกิดความเสียหาย แล้วคนเหล่านี้จริงๆ ต้องถือว่าหมิ่นพระบรมเดชานุภาพนะ ทำให้คนเป็นห่วงสถาบัน ห่วงองค์พระมหากษัตริย์

ฉะนั้น การวิพากษ์วิจารณ์ทำให้เกิดการปรับตัว ทำให้เกิดความเชื่อมโยงระหว่างสถาบันพระมหากษัตริย์ กับประชาชน ในแนวที่ไม่ใช่เป็นแนวดิ่งถึงขนาดต้องรอการเชื่อฟัง แต่ถ้าแนวความสัมพันธ์บนลงล่างที่เอนลง ลดความชันลงมาหน่อย ไม่ถึงขนาดเสมอภาคหรอก แต่พอสื่อสารกันได้ ไม่ได้อยู่ในระนาบสูงเกินไป ก็จะทำให้เกิดความมั่นคง ความปรับตัวขึ้น เพราะมักมีข่าวลือ ที่ทำให้เราไม่สบายใจเกี่ยวข้องกับอนาคตสถาบันด้วย ถ้าเราต้องการให้สถาบันมีความเข้มแข็ง ก็ต้องทำให้คนรอบข้างสถาบันไม่ทำอะไรที่กระทบกระเทือนการปกครองระบอบนี้”

ตอนหนึ่งของบทสัมภาษณ์ ไชยันต์ตอบคำถามของผู้สื่อข่าวด้วยว่า “...คือ เราปฏิเสธไม่ได้ว่ามีคนจำนวนหนึ่งที่ไม่เอาเจ้า แล้วปฏิเสธไม่ได้ว่ามีคนคิดที่จะเปลี่ยนรูปแบบการปกครอง เขามีอยู่จริง ทีนี้ ถ้าเราไม่เปิดโอกาสให้เขาอธิบายเหตุผลของเขา เขาไปพูดใต้ดินในช่องทางอินเตอร์เน็ต มันก็จะผสมกับเรื่องจริงบ้างไม่จริงบ้างหมิ่นประมาทไปใหญ่ แต่ถ้าเราเปิดกว้างให้เขาได้พูดด้วยเหตุผลว่า เขาไม่ต้องการสถาบันพระมหากษัตริย์ เพราะอะไร

ผมต้องการให้สถาบันพระมหากษัตริย์อยู่ต่อไปด้วยเหตุผลทางรัฐศาสตร์ ผมไม่ได้ตอบด้วยแค่คำว่าจงรักภักดี แต่ผมตอบด้วยหลักทางรัฐศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับสังคมไทย ฉะนั้น ผมพูดเพื่อให้สถาบันดำรงอยู่ ผมพูดได้อย่างไม่มีอุปสรรค แต่คู่ต่อสู้ทางความคิดของผมสิ (คนที่คิดแตกต่าง) เขาพูดไม่ได้ ผมอยากให้เปิดโอกาสให้เขากับผม มาโต้เถียงกันอย่างเสรี ผมก็มั่นใจในเหตุผลของผมที่จะโต้กับเขา แต่ถ้ายิ่งมีกฎหมายไปห้าม มีเงื่อนไขทางสังคมที่ไปปิดกั้นเขาออกไป มันก็ยิ่งไปยืนยันว่าสิ่งที่เขาต้องการให้เปลี่ยน มันสมควรต้องเปลี่ยน มันยืนยันสิ่งที่เขาตำหนิว่าเราไม่ใช่ประชาธิปไตย แล้วก็เราเป็นระบอบราชาธิปไตยที่กดขี่เป็นเผด็จการ แต่ถ้าเขาหมิ่นประมาทเรื่องส่วนตัวที่ทำให้สาธารณะเสียหาย คนอื่นก็ควรพูดได้ตั้งคำถามได้ แต่ถ้าไม่เกี่ยวกับสาธารณะก็เป็นเรื่องส่วนตัวที่ไม่เกี่ยวกับความเป็น สถาบัน...” (อ่านบทสัมภาษณ์ในมติชนได้ที่นี่)