ที่มา ประชาไท
ส่งท้ายปี ทีมประชาไท รวบรวมคมคำเด็ดๆประจำปีที่กลายเป็นวลีและประโยคฮิตทั้งในสังคมออฟไลน์และออ นไลน์ ย้อนความทรงจำที่มาที่ไป และแรงกระเพื่อมจากถ้อยคำ ซึ่งหลายคำกลายเป็นผลสะเทือนต่อคนพูดเอง ขณะที่อีกหลายถ้อยคำ ก่อให้เกิดการอภิปรายอย่างหลากหลาย แต่ที่แน่ๆ ล้วนถูกพูดขึ้นมาในจังหวะร้อนและสะท้อนความสนใจของสังคมไทยในสถานการณ์ที่ ช่วยก่อกำเนิดถ้อยคำเหล่านี้ขึ้นมา
0 0 0
สำหรับ Quotes of The year ประจำปีนี้ ประชาไทขอยกให้กับวลี/ประโยคเหล่านี้
- เอาเจ้าหรือไม่เอาเจ้า
- ดีแต่พูด
- เอาอยู่ค่ะ
- คืนนั้นเป็นคืนที่ผมร้องไห้อยู่นานมากครับ
- เราคืออากง
- ขอแชร์นะ
- ขอพูดอะไรแรงๆ สักครั้งในชีวิต
- Forgive and Forget และ ไม่แก้แค้นแต่แก้ไข
- นี่เราพูดอะไรโง่ๆ มากเกินไปหรือเปล่า
เราคืออากง
“อากง” คือคำเรียกติดปาก หมายความถึง “อำพล” ผู้ต้องขังคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ วัย 61 ปี แต่สภาพดูแก่ชราราวอายุ 70 ปี ผู้ริเริ่มเรียกอากงคนแรกคือ อานนท์ นำภา ทนายความของเขาเอง ซึ่งเป็นการเรียกเลียนแบบหลานๆ ของอำพลทั้ง 5 คน กรณีของอากงเป็นคดีหมิ่นพระบรมเดชานาภพที่สร้างความสั่นสะเทือนในสังคมได้ สูงสุดเท่าที่เคยมีมาก็ว่า โดยเฉพาะใน Social Network อย่าง Facebook มีการถกเถียงกันอย่างกว้างขวางเรื่องโทษจำคุก 20 ปีจาก 4 ข้อความ SMS ซึ่งหลักฐานสำคัญคือ EMEI เครื่องโทรศัพท์ ซึ่งยังเถียงกันไม่จบว่าน่าเชื่อถือเพียงใด แค่ไหนจึงจะน่าเชื่อถือ น่าเสียดายที่พยานจำเลยในคดีนี้ไม่มีผู้เชี่ยวชาญมาเบิกความเพื่อให้ข้อมูล ทางเทคนิคสู้กันจนสุดลิ่มทิ่มประตู เหตุเพราะไม่มีใครกล้ามาเป็นพยานให้คดีลักษณะนี้
“เราคืออากง” คนที่เริ่มต้นคำนี้เห็นจะเป็นแอนดรูว์ แมกเกรเกอร์ มาแชล อดีตผู้สื่อข่าวรอยเตอร์ ผู้กุมข้อมูลลับของสังคมไทยผ่านเอกสารวิกิลีกส์ เขาโพสต์ข้อความนี้สั้นๆ ในเฟซบุ๊คส่วนตัว จากนั้นมันเริ่มระบาดเหมือนเพลี้ยในนาข้าว คำนี้ได้ผนวกเอาตัวผู้พูด (หรือผู้ที่คิดจะพูด) เข้ากับตัวของ “อากง” ซึ่งถูกจำคุก 20 ปี เพื่อสะท้อนถึงเพดานของเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นที่ต่ำมาก รวมทั้งคุกที่อาจรอ “เรา” ทุกคนอยู่เหมือนๆ กันเมื่อมาตรา 112 ถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือทางการเมือง
“กลุ่มเราคืออากง” เป็นกลุ่มนักกิจกรรมที่สนใจเรื่องประชาธิปไตยและเสรีภาพในการแสดงออก มีฐานที่มั่นอยู่ใน facebook และมีการจัดกิจกรรม เช่น จัดแสดงศิลปะกลางแจ้ง “แท่งอัปลักษณ์” เพื่อแสดงสถิติคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพที่พุ่งสูงขึ้นอย่างมากในช่วงหลายปี ที่ผ่านมา
“ฝ่ามืออากง” ไม่นานหลังจากนั้น ปวิณ ชัชวาลพงศ์พันธ์ นักวิชาการไทยที่ไปเป็นนักวิจัยที่สถาบันเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษาแห่ง สิงคโปร์ ก็ลุกขึ้นมาทำการรณรงค์ง่ายๆ ที่ทุกคนร่วมทำได้นั่นคือ การเขียน คำว่า “อากง” หรือบางคนก็เขียน “ปล่อยอากง” บนฝ่ามือตนเองแล้วเผยแพร่บน facebook โดยการรณรงค์นี้ได้รับแรงบันดาลใจมาจากโครงการ “ก้าวข้ามความกลัว” (abhaya-อภยาคติ-fearlessness) ของพม่า ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากอองซาน ซูจี เพื่อสนับสนุนความกล้าหาญให้แก่นักโทษทางการเมืองจำนวนมากในพม่า ฝ่ามืออากงได้แพร่ระบาดออกไปนอกเหนือจากแวดวงนักกิจกรรม นักวิชาการหรือคนที่สนใจเรื่องมาตรา 112 เป็นทุนเดิม
“ก้าวข้ามความกลัว” ผลงานจากการรณรงค์ของปวิณ ถูกรวบรวมนำมาตีพิมพ์เป็นหนังสือ “Thailand’s Fearlessness Free Akong ก้าวข้ามความกลัว” ซึงปรากฏภาพของฝ่ามือนับร้อยที่รวบรวมได้จาก facebook รวมถึงข้อเขียนของปวิณ และบทความเกี่ยวกับสถิติคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพของ เดวิด สเตร็คฟัส นักวิชาการจากมหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยปกหลังของหนังสือเล่มนี้เขียนไว้ว่า “โครงการ ‘Thailand’s Fearlessness: Free Akong’ มีจุดมุ่งหมายเบื้องต้นในการเรียกร้องให้ปล่อยตัวอากง แต่ที่สำคัญกว่านั้นคือการปล่อยนักโทษการเมืองทั้งหมด และผลักดันให้มีการปฏิรูปหรือยกเลิกมาตรา 112 เพื่อให้ไทยได้เป็นอายะประเทศสมบูรณ์แบบ”
“อาม่า สยบอากง” ผลสืบเนื่องเล็กน้อยในอีกฝั่งหนึ่ง เห็นจะเป็นการเขียน “อาม่าสยบอากง” บนฝ่ามือเช่นกัน ซึ่งแม้จะเป็นเพียงการแสดงออกที่ไม่ได้มุ่งเน้นเป็นการรณรงค์ให้เป็นกระแส แต่ก็สะท้อนให้เห็นความคิดเห็นที่ยังแตกต่างอย่างสุดขั้วภายในสังคมไทย ซึ่งน่าจะต้องใช้เวลาในการถกเถียงกันอีกยาว (ถ้าคนเถียงไม่ถูกจับติดคุกหมดไปเสียก่อน)
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
- คุยกับคนเริ่มแคมเปญ "ฝ่ามืออากง"
- Fearlessness Talk: เสวนาเพื่อก้าวข้ามความกลัว
- เปิดตัวหนังสือ ก้าวข้ามความกลัว” (Thailand’s Fearlessness: Free Akong)
- ‘อภยยาตรา’ กรุงเทพฯ/เชียงใหม่ จุดประกายสังคมหันมองปัญหา ม. 112
- ประมวลภาพ: ขบวน ‘อภยยาตรา’ Fearlessness walk
0 0 0 0 0 0
"ขอแชร์นะ"
ในปีที่โซเชียลเน็ตเวิร์กอย่างเฟซบุ๊กกำลังเฟื่องฟู เช้า-สาย-บ่าย-เย็น หลายคนเป็นต้องแวะเข้ามาอัพสเตตัส กดไลค์ กดแชร์ หรือมาดูว่ามีใครมาไลค์ มาเม้นต์อะไรบ้าง เกิดประโยคติดปาก-ติดนิ้วของผู้ใช้เฟซบุ๊กชาวไทย "ขอแชร์นะ/นะคะ" เมื่อเห็นลิงก์-ข้อความที่สนใจ และอยากนำไปเผยแพร่ต่อให้เพื่อนของตัวเองรับรู้ แม้ว่าเฟซบุ๊กจะมีปุ่ม share หรือ แบ่งปัน ให้กดได้ทันทีอยู่แล้วก็ตาม
ช่วงพีคสุดของภาวะ "ขอแชร์นะ" ในปีนี้คือ ช่วงน้ำท่วมใหญ่ที่ข้อมูล-ข่าวสารท่วมจอมาตามๆ กัน ข้อมูลบางเรื่องเกิดจริง ณ จุดเวลาหนึ่ง แต่ถูกสรุปไปแบบหนึ่ง บางเรื่องเป็นเรื่องแต่งล้วนๆ บวกภาพประกอบถูกรสนิยม หลายคนกดแชร์ข้อมูลพร้อมแสดงความเห็นสมทบชนิดที่ไม่ได้ตรวจสอบก่อน ก่อให้เกิดวิวาทะกันในวงกว้าง เว็บ "ศัพท์การเมืองไทยร่วมสมัย" เขียนแซวว่า พฤติกรรม "ขอแชร์นะ" ว่า "เกิดขึ้นในเวลาเพียงลัดนิ้วแต่อาจส่งผลกระทบที่ต้องใช้เวลาสะสางยาวนานกว่านั้นหลายเท่านัก" มองในแง่ดี อาจเป็นช่วงเวลาที่ข้อมูลหลากหลายได้ปะทะสังสรรค์ ให้ผู้ได้อ่านไปประมวลตัดสินใจเอาเอง (ถ้าไม่ unfriend กันไปก่อน)
อย่างไรก็ตาม ช่วงสิ้นปี การแชร์อาจชะงักไปเล็กน้อย เพราะ น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ รัฐมนตรีไอซีที ออกมาขอไม่ให้แชร์นะอยู่หลายครั้ง ด้วยเหตุผลว่า การแชร์หรือกดไลค์ข้อความ-ลิงก์ที่มีลักษณะ "หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ" อาจเข้าข่ายเผยแพร่ทางอ้อม ทำให้มีความผิดตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ได้ (จนเครือข่ายพลเมืองเน็ตต้องออกมาแถลงไม่เห็นด้วยและชี้แจง รมต.และผู้ใช้เน็ตอย่างละเอียดถึงหลักการและเหตุผลเลยทีเดียว)
/////////////
ข่าวที่เกี่ยวข้อง