WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Tuesday, January 3, 2012

ตรรกะสลิ่ม“ประเทศไทยโชคดีที่มีในหลวง แต่โชคร้ายที่มีประชาธิปไตย”

ที่มา thaifreenews

โดย เสรีชน คนใต้


วันนี้ มีประเด็นให้นำมา แตกหน่อ และนำเสนอเพื่อการถกเถียงอีกประเด็น คือ การตีความลัทธิการเมืองต่างๆ ที่ถกเถียงกันใต้ภาพ “ประเทศไทยโชคดีที่มีในหลวง แต่โชคร้ายที่มีประชาธิปไตย”

ทำให้นึก ย้อนไปยังคำกล่าวที่มีชื่อเสียงมากของอดีตประธานาธิบดีแม็คซิโก Porfirio Diaz (1876-1911) ที่ว่า “Poor Mexico, So Far From God, So Close To The United States” หมายความว่า “ประเทศแมกซิโกที่น่าสงสาร อยู่ห่างไกลจากประเจ้าเหลือเกิน แต่อยู่ใกล้อเมริกาเกินไป”

ซึ่งเป็น คำกล่าวที่ขบวนการประชาชนในลาตินอเมริกานำมากล่าวถึงกันอยู่เสมอ โดยเฉพาะในช่วงที่ประท้วงการทำข้อตกลงการค้าเสรี (FTA) ของประเทศลาตินอเมริกากับสหรัฐอเมริกา

พอมานึกถึงสลิ่มที่พูดประโยค นี้ “ประเทศไทยโชคดีที่มีในหลวง แต่โชคร้ายที่มีประชาธิปไตย” ซึ่งเป็นประเด็นที่นำมาซึ่งการถกเถียงอภิปรายกันต่อได้หลายแง่มุม

อาทิ ข้อถกเถียงที่คู่มากับประวัติศาสตร์ประชาธิปไตยเมืองไทย คือ “เมืองไทยไม่พร้อมกับลัทธิประชาธิปไตย” หรือมีการนำเสนอว่า ระบบสมบูรณาญาสิทธิราช หรือระบบคอมมิวนิสต์ น่าจะเป็นทางเลือกของเมืองไทยที่ดีกว่าหรือเปล่า? เป็นต้น

ก็เลยขอนำ มาแตกประเด็นต่อ เพื่ออธิบายคำจำกัดความลัทธิการเมืองเหล่านี้ ตามความเข้าใจของตัวเอง ทั้งนี้ เป็นการนำเสนอจากมุมมองและข้อคิดเห็นของผู้เขียน โดยไม่ได้ไปเปิดพจนานุกรมฉบับ “ราชบัณฑิตยสถาน” มาใช้ประกอบในการตีความ

สมบูรณาญาสิทธิราช
มาจาก “สมบูรณ์ + อาญา + สิทธิ + ราชา”

หมาย ถึง อำนาจและสิทธิในการตัดสินใจเกี่ยวกับการบริหารบ้านเมือง หรือตัดสินคดีความประชาชน หรือชี้เป็นชี้ตายในสังคม ขึ้นอยู่กับองค์พระมหากษัตริย์แต่เพียงผู้เดียว การเจริญรุ่งเรืองหรือเสื่อมถอยของบ้านเมืองจึงขึ้นอยู่กับพระปรีชาชาญของ กษัตริย์

คอมมิวนิสต์
มาจากคำว่า “คอมมูน (ชุมชนหรือสังคมที่คนอยู่ร่วมกัน) + นิสต์ (ผู้นิยม)

หมาย ความว่า ลัทธิการเมืองของผู้ที่นิยมในการอยู่ร่วมกันเป็นชุมชน ที่ตั้งอยู่บนความเสมอภาค และการใช้ทรัพย์สินส่วนกลางร่วมกัน ไม่มีใครเป็นเจ้าของ

ในหลักการเป็นสิ่งที่ดีมาก คือ “ร่วมกันทำ + แบ่งกันกิน + แบ่งกันใช้” ทุกคนเท่าเทียมกัน ไม่มีชนชั้น ไม่มีอภิสิทธิชน ทุกคนในคอมมูนตัดสินใจร่วมกันในเรื่องกฎกฎิกาการปกครองและแบ่งปันระหว่างกัน

แต่ ณ ถึงปัจจุบัน ยังไม่เคยมีประเทศใด สามารถประสบความสำเร็จในการปฏิบัติตามลัทธินี้ เพราะระบบคอมมิวนิสต์ ท้ายที่สุดก็ต้องขึ้นอยู่กับการวางกฎกติกาตามระบอบ “ประชาธิปไตยที่เคารพเสียงคนทุกคน”

ที่ผ่านมามันล้มเหลวเพราะระบบ ”คอมมิวนิสต์” ถูกนำเสนอผ่านทาง “เผด็จการ และ/หรือกำลังทหาร” และไม่สามารถจัดการการคอรัปชั่น(ทั้งทางอำนาจและทางนโยบาย) ได้ มันจึงถูกเรียกกันในตามผู้นำ อาทิ ระบบเลนินนิสต์ ระบบสตาลินนิสต์ ระบบเหมาอิสต์ ฯลฯ ไป

ประชาธิปไตย
มาจากคำว่า “ประชา + อธิปไตย”
หมายความว่า ทุกคน มีอธิปไตยเป็นของตัวเอง

แต่ เมื่อมาร่วมอยู่ในคนกลุ่มใหญ่หรือคนหมู่มาก หรือในประเทศ จึงจำต้องเคารพกฎกติกา แม้จะเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยทั้งหมดก็ตามในวิถีระบบ “ประชาธิปไตย”

ทั้งนี้ทุกคนมีสิทธินำเสนอดำรงหรือเสนอแนวคิดในหลัก อธิปไตยของตัวเองทั้งทางตรงหรือทางผ่านตัวแทน และในขณะเดียวกันจำต้องรับฟังหรือยอมรับอธิปไตยของคนอื่นๆ ได้บ้าง ดังเช่นคำกล่าวที่ว่า “เสียงส่วนใหญ่ตัดสิน เสียงส่วนน้อยมีความหมาย”

ท้าย ที่สุด ถ้าไม่ได้ยอมรับกันด้วยเหตุผล ก็ต้องยอมรับในการลงมติ แล้วก็หาทางนำเสนอหรือดันเหตุผลที่ตัวเองคิดและเชื่อผ่านกลไกสภาหรือรัฐสภา

ขออนุญาตฉายภาพนี้ซ้ำอีกครั้งหนึ่ง

ทั้งนี้ระบอบประชาธิปไตยยังถูกตีความและพ่วงท้ายมากมาย

อาจ จะตีความได้ว่า มันเป็นระบบที่เปิดให้คนถกเถียงมากที่สุด มีเสรีภาพในการตีความมากที่สุด (นี่พูดในแง่บวก และในฐานะของคนที่เลือกระบบประชาธิปไตย)

ประชาธิปไตยทางตรงน่าจะเป็น ประชาธิปไตยในอุดมคติมากที่สุด คือ แต่ละคนมาร่วมกันวางกฎ กฎิกา หรือเขียนกรอบรัฐธรรมนูญร่วมกัน แต่มีข้อจำกัดคือไม่คล่องตัวและทำได้ในหน่วยสังคมที่ไม่ใหญ่มากเกินไป

จริงๆ ระบบ อบต. ควรจะเป็นหน่วยสังคมที่ส่งเสริมให้สร้างกระบวนการประชาธิปไตยทางตรงทั้งใน เรื่องการเลือกตั้งและการพิจารณาแผนการทำงานให้มากที่สุด – ถ้าระดับ อบต. เป็นประชาธิปไตยอย่างมากที่สุด กลไกประชาธิปไตยระดับชาติก็จะเข้มแข็งมากขึ้น

ในระดับชาติ เนื่องจากสังคมนั้นใหญ่เกินกว่าจะให้ทุกคนมาร่วมลงคะแนนได้ทุกประเด็น จึงต้องใช้ระบบผ่านตัวแทน หรือพรรคการเมืองตัวแทน “หรือประชาธิปไตยในระบบรัฐสภาตัวแทนประชาชน”

ซึ่งประเด็นนี้ “เป็นหัวใจสำคัญ” การที่จะทำให้ประเทศนั้นเป็นประชาธิปไตยอย่างแท้จริงหรือผสมเผด็จการ ก็คือการทำให้ระบบ โปร่งใส เคารพกติกา ปราศจากคอรัปชั่น ไม่เผด็จการ เคารพในเสรีภาพ ความเท่าเทียม และการมีส่วนร่วมของประชาชน ฯลฯ

ณ ปัจจุบันอีกเช่นกัน แทบจะเรียกได้ว่า มีประเทศที่บอกว่าเป็นระบอบ “ประชาธิปไตย” จำนวนไม่น้อยที่มีสร้อยต่อท้าย โดยเฉพาะประเทศโลกใต้ที่ช่องว่างระหว่างคนรวยและคนจนทิ้งช่วงห่างมาก (เมืองไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่ช่องว่างระหว่างคนรวยและคนจนห่างกันสูงมากถึง 15 เท่า)

ในประเทศเหล่านี้ สถาบันต่างๆ โดยเฉพาะสถาบันทางการเมือง ใช้เล่ห์เลี่ยมระหว่างกันทุกช่องทาง เพื่อผลคะแนนเสียง ทั้งการกีดกั้น ซื้อเสียง ติดสินบน สร้างนโยบายที่ไม่เป็นจริง ตัดแข้งตัดขาคู่แข่ง หรือไม่ยอมให้มีการตั้งพรรคแนวคิดซ้าย (ผลพวงของสงครามเย็น)

รวมทั้ง การที่รัฐบาลไม่สามารถจัดการปัญหาคอรัปชั่นที่สูงในทุกสถาบันได้อย่างมี ประสิทธิภาพ ประชาชนจำนวนไม่น้อยจึงเบื่อหน่าย และแสวงหารการเมืองรูปแบบอื่นๆ อาทิ การหวนหาลัทธิสมบูรณาญาสิทธิราช ลัทธิคอมมิวนิสต์ ลัทธิทหาร และ/หรือลัทธิเผด็จการ เป็นต้น

ดังนั้นเราจึงดูแค่ปรากฎการณ์ทางการเมืองอย่างเดียวไม่ได้ ต้องดูประวัติศาสตร์ และที่มาที่ไปด้วย . .

ใน เมืองไทย พรรคการเมืองเดียวที่อยู่มาได้โดยไม่ถูกยุบจนถึงปัจจุบันคือพรรคประชาธิปัต ย์ ที่ก่อตั้ง 6 เมษายน 2489 ก่อนเหตุการณ์ลอบปลงพระชนม์ในหลวงอานันท์ 2 เดือน

นับตั้งแต่ปี 2490 เมืองไทยปกครองด้วยพระประมุของค์เดียว (65 ปี) แต่มีนายกรัฐมนตรีถึง 27 คน (นายกที่อยู่นานเป็นจอมพลหรือพลเอกเกือบทั้งหมด ทั้งจอมพล ป. ( 9 ปี) จอมพลสฤษดิ์ (6 ปี) จอมพลถนอม (10 ปี) และพลเอกเปรม (8 ปี)

นายกที่ มาจากการเลือกตั้ง จะอยู่กันได้เพียงแค่ ต้นเทอม-กลางเทอม-และปลายเทอม นายกที่มาจากการเลือกตั้งที่อยู่ครบเทอม (ที่ไม่ใช่ทหารที่ขึ้นสู่อำนาจจากผลพวงของการปฏิวัติ) ตลอดรัชสมัย ที่ไม่ถูกรัฐประหารหรือถูกบีบให้ยุบสภาเสียก่อน เห็นจะมีเพียงสมัยทักษิณ 1 (2544-2548) เท่านั้น

ดั้งนั้นการจะดูว่าประเทศเป็น “ประชาธิปไตย” หรือไม่ ก็ต้องเริ่มด้วยการดูว่าระบบการเลือกตัวแทน และสิทธิในการเสนอตัวแทน หรือสิทธิในการจดทะเบียนพรรคเพื่อเป็นตัวแทน นั้นวางอยู่บนกรอบที่ยอมรับสิทธิของทุกคนในการมีส่วนร่วมทางการเมืองหรือ ไม่? ด้วยประการนี้และหลายเหตุผลที่กล่าวมา “ประเทศจึงไม่ใช่ประเทศประชาธิปไตยที่แท้จริง”

ปัจจุบันนี้จึงต้องมี ขบวนการ “สังเกตุการณ์เลือกตั้งจากประเทศต่างๆ เข้าไปช่วยสอดส่องและดูการเลือกตั้งในประเทศที่ประชาธิปไตยมีปัญหาอยู่ เพื่อร่วมตรวจสอบและกดดันให้กระบวนการประชาธิปไตยในประเทศนั้นโปร่งใส (ในระดับที่ยอมรับได้)

การยอมรับความคิดเห็นหรือทฤษฎีการเมืองที่แตกต่างเป็นหัวใจของประชาธิปไตย

ใน ปัจจุบัน ประเทศไทยยังอยู่ในภาพความโหดร้ายของการปราบปรามประชาชนที่คิดต่าง และยังคงหวาดกลัวลัทธิการเมืองฝ่ายซ้าย ที่ถูกอัดฉีดทั้งทางความรุนแรง และการโฆษณาชวนเชื่อเพื่อล้างสมองกันอย่างบ้างคลั่ง ตลอดระยะเวลาหลายสิบปีแห่งช่วงสงครามเย็น (ประมาณ 2490 – 2523) และมันได้ถูกถ่ายทอดจากรุ่นพ่อรุ่นแม่ สู่รุ่นลูกรุ่นหลาน

รวมทั้งกฎหมายเมืองไทยก็กีดกันพรรคสังคมนิยมและพรรคที่มีแนวคิดฝ่ายซ้าย

พรรคคอมมิวนิสต์ ไม่สามารถจดทะเบียนได้ตามกฎหมาย และใครที่ฝักใฝ่ลัทธิคอมมิวนิสต์ถือว่าทำผิดกฎหมาย (ตามที่ทราบ)

ประเด็น การถกเถียงจึงอยู่ที่ว่า จะทำให้สังคมดำรงไปด้วยกันได้อย่างสันติโดยที่ไม่จำเป็นต้องยอมรับ ไม่จำเป็นต้องรับฟัง หรือไม่จำเป็นต้องเลือกตัวแทนหรือพรรคที่มีแนวคิดที่แตกต่าง แต่ต้องยอมรับว่าแต่ละคนคิดต่างกันได้ ได้อย่างไร?

ผู้คนในสังคมทั้ง คนเมืองเทพ และคนชนบทกลางทุ่ง จะตระหนักร่วมกันได้อย่างไรว่า “คนคิดต่างไม่ใช่ศัตรู” ที่จะต้องถูกฆ่าฟันให้ตายไป และพวกเขาไม่มีสิทธิไปข่มขู่ ทำร้าย เข่นฆ่า จับกุม คุมขัง เนรเทศ คนที่ถูกหาว่าเป็นคอมมิวนิสต์หรือคนที่ไม่รักในหลวง ฯลฯ”

เพราะการ ใช้ความรุนแรง คือ การกระทำของพวก “ลัทธิเหยียดคนอื่น (Racism)” และถ้ารุนแรงมากถึงขั้นปลุกระดมให้คนใช้กำลังทำร้ายกัน หรือสังหารหมู่ มันก็กลายเป็นพวก “ลัทธิคลั่งหัวรุนแรง (Fundamentalism)“ ไป และนี่ก็เป็นประเด็นที่มาของการจำเป็นที่จะต้องหาข้อโต้แย้งด้วยเหตุผลต่อ ตรรกะมั่วๆ และไร้ความรับผิดชอบ ของสลิ่มกันให้เพิ่มเติมมากขึ้น

ลองเอาคำกล่าวว่า “ล้านคนก็ล้านความคิด” มาใส่แนวคิดทฤษฎีการเมืองแบบง่ายๆ ดู . .

พวกคลั่ง

ต้องฆ่าคน 999,999 คนให้หมด เพราะฉันคิดถูกอยู่คนเดียว เรามีตัวอย่างที่เลวร้ายมากมาย ขอยกตัวอย่างแค่ 2 คน

ฮิตเลอร์ ต้องฆ่ายิวให้หมดทุกคน (ผลคือคนเสียชีวิตเพราะสงครามโลกครั้งที่สองกว่า 40 ล้านคน)
สตาลิน ต้องฆ่าพวกเจ้าและอภิสิทธิชนให้หมด (ผลคือคนเสียชีวิตเพราะลัทธิสตาลินกว่า 30 ล้านคน ทั้งถูกสังหารและอดตาย)
เผด็จการ

จะทำยังไงให้ไอ้ล้านคน มันคิดได้แต่ทำไม่ได้ และถ้ามันคิดจะทำจริง จะจัดการอย่างไร (ตั้งแต่ระดับอ่อนไปจนระดับรุนแรงที่สุด)

กษัตริย์

ถ้า ความคิดนั้นๆ ไม่อยู่ในขอบเขตที่บันทอนพระราชอำนาจ ก็ปล่อยไปก่อน อย่างน้อยมันยังทำงาน “เข้าเดือน-ออกเดือน” ให้หลวงอยู่ แต่ถ้ากระด่างกระเดื่องเมื่อไร ก็ “เอาไปตัดหัวเจ็ดชั่วโคตร” หรือส่งกองทัพไปตีเมือง

ทุนนิยม

ฝ่ายไหนเป็นลูกค้าที่สำคัญกว่ากัน เราจะเลือกฝ่ายที่มีอำนาจจ่าย และเราได้กำไรมากที่สุด โดยลงทุนน้อยที่สุด

เสรีนิยม

ฉันไม่สนหรอกว่าคุณจะคิดอย่างไร อย่ามาสนว่าฉันคิดอย่างไรก็พอ

คอมมิวนิสต์

คุณก็ไปหาคอมมูนอื่นที่คิดเหมือนคุณอยู่ไป ถ้าคุณอยู่กับเราไม่ได้ หรือว่าไปสร้างคอมมูนของตัวเอง

ประชาธิปไตย

ผมอาจจะไม่เห็นด้วยกับคุณ แต่ผมจะปกป้องสิทธิที่จะพูดของคุณด้วยชีวิตของผม

ฯลฯ

เมื่อคุณคิดฆ่าคนทั้งโลก เพราะดำรงความถูกต้องของคุณไว้คนเดียว คุณคือพวกคลั่งหัวรุนแรงและเป็นอันตรายต่อมนุษย์คนอื่นๆ ในโลกด้วย

สลิ่มหัวรุนแรงก็จัดอยู่ในกลุ่มคลั่งมากขึ้นเรื่อยๆ และก็อันตรายมากขึ้นเรื่อยๆ

คำเตือน

เนื่องจากเป็นการเขียนจากความเข้าใจและการวิเคราะห์ของผู้เขียนเอง ยังไม่ได้ทำการวิจัยอย่างละเอียด ขอให้โปรดใช้วิจารณญาณในการอ่าน

โดย จรรยา ยิ้มประเสริฐ