ที่มา ประชาไท
กลุ่มทวายวอชต์ ร่วมเครือข่ายภาคประชาสังคม ร้องรัฐบาลตั้งคณะกรรมการอิสระศึกษาผลกระทบเชิงยุทธศาสตร์จากโครงการฯ ท้วงใช้ทุนสาธารณะมูลค่า 5.2 หมื่นล้านบาท-เวนคืนที่ดิน เอื้อโครงการเอกชน ซ้ำเจรจาซื้อขายไฟฟ้าพม่าเพิ่ม ชี้อาจกระทบความมั่นคงระบบไฟฟ้าของไทย
วันนี้ (5 ม.ค.54) กลุ่มทวายวอชต์ ร่วมเครือข่ายภาคประชาสังคมทั้งไทยและระหว่างประเทศ 17 องค์กร ร่วมกันออกแถลงการณ์ “โครงการท่าเรือน้ำลึกและนิคมอุตสาหกรรมทวาย รัฐบาลต้องฟังประชาชนก่อนถลำสู่ความผิดพลาด” เรียกร้องให้รัฐบาลไทยพิจารณาถึงผลประโยชน์และผลกระทบที่จะได้รับจากโครงการ ดังกล่าวอย่างรอบคอบ
สืบเนื่องจากกำลังจะมีการประชุมระดับรัฐมนตรีไทยและพม่า 5 กระทรวง ประกอบด้วย กระทรวงการต่างประเทศ, กระทรวงอุตสาหกรรม, กระทรวงพลังงาน, กระทรวงการคลัง และกระทรวงคมนาคม) ที่เมืองทวาย ในวันที่ 7 ม.ค.55 และจากรายงานข่าวทางสื่อมวลชนจะมีการประชุม “ความร่วมมือโครงการ ท่าเรือน้ำลึกทวาย” เป็นหนึ่งในสามหัวข้อหลักของการประชุม ซึ่งเครือข่ายภาคประชาชนมองว่ารัฐบาลไทยกำลังพิจารณาสนับสนุนโครงการดัง กล่าวอย่างจริงจัง
แถลงการณ์ดังกล่าวตั้งคำถามและแสดงความห่วงใยต่อปัญหาธรรมาภิบาลของ โครงการท่าเรือนำลึกทวาย 3 ข้อ คือ 1.สมควรหรือไม่ที่รัฐบาลจะพิจารณาใช้ทุนสาธารณะมูลค่า 5.2 หมื่นล้านบาท เพื่อก่อสร้างถนนมอเตอร์เวย์ระยะทางประมาณ 167 กิโลเมตร จากท่าเรือน้ำลึกแหลมฉบังไปยังชายแดนไทยที่ จ.กาญจนบุรี รวมถึงการเวนคืนที่ดินเพื่อก่อสร้างถนนสายนี้ เพื่อรองรับโครงการของเอกชน
2.การให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เจรจาทำสัญญาซื้อขายไฟฟ้า เป็นการดำเนินนโยบายที่เอื้อประโยชน์ต่อบริษัทเอกชนที่อาจส่งผลต่อความมั่น คงของระบบไฟฟ้าของไทย กล่าวคือไฟฟ้า 3,600 MW จากโรงไฟฟ้าถ่านหินภายในโครงการท่าเรือน้ำลึกทวาย เป็นสัดส่วนการซื้อไฟฟ้าจากต่างประเทศที่สูงถึง 30% จากปริมาณ 11,669 MW ที่วางแผนจะซื้อจากต่างประเทศในช่วงปี 2553-2573 และหากรวมการรับซื้อไฟฟ้าจากเขื่อน ฮัตจี และท่าซาง ประมาณ 8,000 MW ที่จะมีการหารือในครั้งนี้ด้วยแล้ว ปริมาณการรับซื้อไฟฟ้าจากพม่าเพียงประเทศเดียวอาจสูงถึง 11,600 MW หรือเกือบ 100% ของปริมาณการรับซื้อไฟฟ้าจากต่างประเทศของไทยในอีก 20 ปีข้างหน้า
3.การป้องกันและควบคุมผลกระทบด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมจากกิจกรรมต่างๆ ภายใต้โครงการนี้มีแนวโน้มที่จะมีมาตรฐานที่ต่ำกว่าที่บังคับใช้ในประเทศไทย เสมือนเป็นการผลักภาระด้านสิ่งแวดล้อมและปัญหาที่อาจเกิดขึ้นหากมีการก่อ สร้างโครงการนี้ในไทยไปยังประเทศเพื่อนบ้าน อีกทั้งโครงการนี้จะนำไปสู่ปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนในพม่า และผลที่อาจติดตามมาคือการอพยพย้ายถิ่นของชาวทวายที่สูญเสียวิถีชีวิตดั้ง เดิม เพื่อมาเป็นแรงงานรับจ้างในประเทศไทย
“พวกเราจึงขอเรียกร้องให้รัฐบาลไทยพิจารณาถึงผลประโยชน์และผลกระทบ ต่างๆที่อาจเกิดขึ้นอย่างรอบคอบ ด้วยการตั้งคณะกรรมการอิสระเพื่อศึกษาผลกระทบเชิงยุทธศาสตร์จากโครงการท่า เรือน้ำลึกทวาย นิคมอุตสาหกรรม และกิจการเกี่ยวเนื่องทั้งหมด และรับฟังความเห็นของประชาชนทุกกลุ่ม ก่อนการตัดสินใจใดๆ” แถลงการณ์ระบุ
ทั้งนี้ โครงการท่าเรือน้ำลึกทวายซึ่งมีการระบุว่านี่คือเส้นทางสายตะวันออก-ตะวันตก สายใหม่ของอนุภูมิภาคแม่น้ำโขง จะตั้งอยู่ทางตอนใต้ของพม่า โดยโครงการประกอบด้วยการก่อสร้างนิคมอุตสาหกรรมครอบคลุมพื้นที่รวม 250 ตารางกิโลเมตร (156,250 ไร่) โรงไฟฟ้าถ่านหิน และถนนเชื่อมระหว่างไทยและพม่า จากเมืองทวาย ผ่าน จ.กาญจนบุรีไปยังท่าเรือน้ำลึกแหลมฉบังของไทย โดยรัฐบาลพม่าได้ให้สิทธิสัมปทานโครงการนี้แก่บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวลล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) บริษัทสัญชาติไทย ตั้งแต่เมื่อวันที่ 2 พ.ย.53 อายุสัมปทาน 60 ปี
แถลงการณ์ดังกล่าวะบุรายละเอียดดังนี้
แถลงการณ์
5 มกราคม 2555
โครงการท่าเรือน้ำลึกและนิคมอุตสาหกรรมทวาย รัฐบาลต้องฟังประชาชนก่อนถลำสู่ความผิดพลาด
ระหว่างการประชุมสุดยอดผู้นำอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง ที่กรุงเนปิดอร์ ประเทศพม่า เมื่อวันที่ 19-20 ธันวาคม 2554 ได้มีการเจรจาระหว่างรัฐบาลไทยและรัฐบาลพม่าเพื่อผลักดันการพัฒนาโครงการท่า เรือน้ำลึกทวาย ทางตอนใต้ของพม่า โครงการนี้ประกอบด้วยนิคมอุตสาหกรรม โรงไฟฟ้าถ่านหิน ระบบโลจิสติกส์เชื่อมระหว่างเมืองทวาย ผ่านจังหวัดกาญจนบุรีไปยังท่าเรือน้ำลึกแหลมฉบังของไทย มีการระบุว่านี่คือเส้นทางสายตะวันออก-ตะวันตกสายใหม่ของอนุภูมิภาคแม่น้ำ โขง อย่างไรก็ตาม โดยข้อเท็จจริงโครงการนี้เป็นของเอกชนโดยสมบูรณ์ เพราะรัฐบาลพม่าได้ให้สิทธิสัมปทานโครงการนี้แก่บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวลล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) บริษัทสัญชาติไทย ตั้งแต่เมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน 2553 อายุสัมปทาน 60 ปี โดยโครงการประกอบด้วยการก่อสร้างนิคมอุตสาหกรรมครอบคลุมพื้นที่รวม 250 ตารางกิโลเมตร (156,250 ไร่) และถนนเชื่อมระหว่างไทยและพม่า แต่การณ์กลับปรากฏว่า รัฐบาลไทยกำลังพิจารณาสนับสนุนโครงการนี้อย่างจริงจัง เพราะจะมีการประชุมระดับรัฐมนตรีไทยและพม่า 5 กระทรวง (การต่างประเทศ, อุตสาหกรรม, พลังงาน, การคลัง และคมนาคม) ที่เมืองทวาย ในวันที่ 7 มกราคม 2555 สื่อมวลชนรายงานว่า มี “ความร่วมมือโครงการท่าเรือน้ำลึกทวาย” เป็นหนึ่งในสามหัวข้อหลักของการประชุม
พวกเราองค์กรตามรายนามท้ายแถลงการณ์นี้ขอตั้งคำถามและ แสดงความห่วงใยต่อปัญหาธรรมาภิบาลของโครงการท่าเรือนำลึกทวายในสามประการ ดังนี้
ประการแรก ควรหรือไม่ที่รัฐบาลจะพิจารณาใช้ทุนสาธารณะมูลค่า 5.2 หมื่นล้านบาท เพื่อก่อสร้างถนนมอเตอร์เวย์ระยะทางประมาณ 167 กิโลเมตร จากท่าเรือน้ำลึกแหลมฉบังไปยังชายแดนไทยที่จังหวัดกาญจนบุรี รวมถึงการเวนคืนที่ดินเพื่อก่อสร้างถนนสายนี้ เพื่อรองรับโครงการของเอกชน
ประการที่สอง การให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เจรจาทำสัญญาซื้อขายไฟฟ้าจำนวน 3,600 เมกะวัตต์ จากโรงไฟฟ้าถ่านหินภายในโครงการท่าเรือน้ำลึกทวายอันเป็นกิจการเกี่ยวเนื่อง ที่จะดำเนินการโดยบริษัทเจ้าของสัมปทาน เป็นการดำเนินนโยบายที่เอื้อประโยชน์ต่อบริษัทเอกชนที่อาจส่งผลต่อความมั่น คงของระบบไฟฟ้าของไทย กล่าวคือไฟฟ้า 3,600 เมกะวัตต์ เป็นสัดส่วนการซื้อไฟฟ้าจากต่างประเทศที่สูงถึง 30% จากปริมาณ 11,669 เมกะวัตต์ ที่วางแผนจะซื้อจากต่างประเทศในช่วงปี 2553-2573 และหากรวมการรับซื้อไฟฟ้าจากเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำ ฮัตจี และท่าซาง ประมาณ 8,000 เมกะวัตต์ (ทั้งสองเขื่อนนี้ บริษัท กฟผ. อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด เป็นผู้ได้สิทธิสัมปทานด้วย) ที่จะมีการหารือในครั้งนี้ด้วยแล้ว ปริมาณการรับซื้อไฟฟ้าจากพม่าเพียงประเทศเดียวอาจสูงถึง 11,600 เมกะวัตต์ หรือเกือบ 100% ของปริมาณการรับซื้อไฟฟ้าจากต่างประเทศของไทยในอีก 20 ปีข้างหน้า และยังถือเป็นการเพิ่มความเสี่ยงให้กับระบบไฟฟ้าของประเทศที่ต้องพึ่งไฟฟ้า จากโครงการเดียวในประเทศพม่าถึงร้อยละ 8-10 ของระบบไฟฟ้าทั้งหมดด้วย
ประการที่สาม มีแนวโน้มที่การป้องกันและควบคุมผลกระทบด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมจากกิจกรรม ต่างๆภายใต้โครงการนี้จะมีมาตรฐานที่ต่ำกว่าที่บังคับใช้ในประเทศไทย เสมือนเป็นการผลักภาระด้านสิ่งแวด ล้อมและปัญหาที่อาจเกิดขึ้นหากมีการก่อสร้างโครงการนี้ในไทยไปยังประเทศ เพื่อนบ้านซึ่งมีมาตรฐานการคุ้มครองทางสังคมและสิ่งแวดล้อมที่ต่ำกว่า อีกทั้งโครงการนี้จะนำไปสู่ปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนในพม่า และผลที่อาจติดตามมาคือการอพยพย้ายถิ่นของชาวทวายที่สูญเสียวิถีชีวิตดั้ง เดิม เพื่อมาเป็นแรงงานรับจ้างในประเทศไทย
พวกเราจึงขอเรียกร้องให้รัฐบาลไทยพิจารณาถึงผลประโยชน์และผลกระทบต่างๆที่อาจเกิดขึ้นอย่างรอบคอบ ด้วย การตั้งคณะกรรมการอิสระเพื่อศึกษาผลกระทบเชิงยุทธศาสตร์จากโครงการท่าเรือ น้ำลึกทวาย นิคมอุตสาหกรรม และกิจการเกี่ยวเนื่องทั้งหมด และรับฟังความเห็นของประชาชนทุกกลุ่ม ก่อนการตัดสินใจใดๆ
กลุ่มทวายวอชต์ (Tavoy Watch)
คณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชนภาคเหนือ
โครงการฟื้นฟูนิเวศในภูมิภาคแม่น้ำโขงและพม่า
มูลนิธินโยบายสุขภาวะ
มูลนิธิศักยภาพเยาวชน (ไทยัพ)
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
กลุ่มเขลางค์เพื่อการพัฒนา จ.ลำปาง
กลุ่มฮักเมืองก๊ก
คณะกรรมการองค์กรเอกชนด้านเอดส์
ศูนย์พิทักษ์และฟื้นฟูสิทธิชุมชนท้องถิ่น
ศูนย์พัฒนาเครือข่ายเด็กและชุมชน
Burma Rivers Network
Burma Environment Working Group
Ethnic Community Development Forum
Karen Environment and Social Action Network
Karen Rivers Watch
Shwe Gas Movement
Burma Environment Working Group
Ethnic Community Development Forum
Karen Environment and Social Action Network
Karen Rivers Watch
Shwe Gas Movement
Salween Watch