WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Friday, October 17, 2008

7 ตุลาคม “พาคนไปตาย”

“...หรือเราจะปล่อยให้ผู้บังคับใช้กฎหมายต้องถูกโดดเดี่ยว และตกเป็นผู้ร้ายของสังคมไปอย่างนี้โดยปล่อยให้ผู้ก่อและผู้ริเริ่มการชุมนุมต้องลอยนวลทั้งที่การชุมนุมเมื่อ 7 ตุลาคม 2551 ได้ปิดฉากอย่างโหดร้าย โดยพวกเขาเหล่านั้นเอง...”

7 ตุลาคม “พาคนไปตาย”


ดูเหมือนว่าภายหลังเหตุการณ์ 7 ตุลาคม 2551 สำนักงานตำรวจแห่งชาติต้องตราเป็นผู้ร้ายของสังคมอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

ทั้งที่ความจริงแล้ว เหตุการณ์ครั้งนั้นไม่เพียงแต่กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย จะมีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บ แต่ทว่าฝ่ายเจ้าหน้าที่ตำรวจเองก็บาดเจ็บสาหัสหลายคน และบาดเจ็บอย่างไม่ถึงขั้นสาหัสอีกนับร้อย

และทั้งๆ ที่เจ้าหน้าที่ตำรวจเองได้ปฏิบัติตามอำนาจหน้าที่ในการรักษาความสงบเรียบร้อย และเพื่อการสลายการชุมนุมตามความจำเป็นและตามสมควรและการเคลื่อนขบวนของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยที่กระทำการด้วยความฮึกเหิม ไม่ยำเกรงต่อกฎหมาย และส่อให้เห็นได้ว่า การชุมนุมเช่นว่านั้นหากจะกล่าวอ้างความชอบธรรมตามรัฐธรรมนูญเพื่ออ้างเสรีภาพในการชุมนุมสาธารณะได้ก็ตาม แต่ที่สุดแล้ว บาปเคราะห์ทั้งปวงก็จะต้องตกอยู่กับเจ้าหน้าที่ตำรวจ

ทั้งๆ ที่เจ้าหน้าที่ตำรวจต้องบาดเจ็บจากการกระทำของผู้ชุมนุมที่อ้างว่าเป็นการชุมนุมโดยสงบปราศจากอาวุธ แต่ภาพที่ปรากฏกลับเห็นเด่นชัดถึงความรุนแรงที่ผู้ชุมนุมเป็นผู้ก่อและยั่วยุ

ทั้งๆ ที่เจ้าหน้าที่ตำรวจต้องกระทำการตามสมควรและความจำเป็นเพื่อปกป้องตนเองจากการถูกทำร้าย

แต่ที่สุดแล้ว เจ้าหน้าที่ตำรวจก็ยังตกเป็นผู้ร้ายอยู่นั่นเอง

แน่นอนว่าหากเจ้าหน้าที่ตำรวจได้กระทำการเกินสมควรแก่เหตุแล้วก็ย่อมจะต้องรับผิดไม่ว่าทางกฎหมายหรือทางวินัย

แต่ในวันนี้ดูเหมือนว่าหลายฝ่ายต่างเร่งรีบและด่วนตัดสินใจในทันใดและโดยพลันว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นเพราะการกระทำผิดของฝ่ายเจ้าหน้าที่ตำรวจ ดังนั้น ผู้บัญชาตำรวจแห่งชาติ ผู้บัญชาตำรวจนครบาลและรองผู้บัญชาการฯ จึงต้องถูกดำเนินการตามกฎหมายโดยคณะกรรมการ ป.ป.ช.

ทั้งนี้เรื่องนี้ควรจะต้องพินิจพิจารณากันด้วยความสุขุมรอบคอบ และต้องฟังความรอบด้าน

แน่นอนเหลือเกินว่าหากประชาชนผู้บริสุทธิ์ได้รับบาดเจ็บล้มตายลงจากการกระทำของเจ้าหน้าที่ตำรวจผู้บังคับบัญชาก็จะต้องรับผิดชอบ

แต่คำถามก็คือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นใครเป็นผู้ก่อ และแท้ที่จริงแล้วประชาชนที่บาดเจ็บและเสียชีวิตนั้น มีส่วนร่วมในเหตุการณ์ในฐานะประชาชนผู้บริสุทธิ์ และไม่รู้อีโหน่อีเหน่ จนตัวเองต้องบาดเจ็บหรือเสียชีวิต จริงหรือไม่ และสิ่งสำคัญที่สุดก็คือ

ฝ่ายที่ริเริ่มใช้ความรุนแรงคือฝ่ายใดรวมถึงบรรดาแกนนำคนสำคัญของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยที่วางแผนการและผลักดันให้ประชาชนเคลื่อนพลไป ร่วมถึงผู้นำฝูงชนเข้าชุมนุมจนต้องบาดเจ็บล้มตายไปนั้น ควรจะต้องเป็นผู้มีส่วนร่วมรับผิดชอบหรือไม่นั้น กลับไม่มีผู้ใดกล่าวถึง

หรือเหตุการณ์ 7 ตุลาคม 2551 ไม่มีผู้นำการชุมนุมคนใดที่ควรถูกกล่าวหาว่า “พาคนไปตาย” อย่างที่เคยเกิดเมื่อพฤษภาคม 2535

อย่างไรก็ดี ความเป็นจริงมีอยู่ว่า ในการเคลื่อนไหวทางการเมืองขนาดใหญ่ทั้งหมดนั้น จะต้องเข้าใจให้ถ่องแท้ว่าผู้นำการชุมนุมนั้นไม่ได้มีหน้าที่เพื่อต่อสู้ทางการเมืองเพียงอย่างเดียว หากยังมีหน้าที่และความรับผิดชอบต่อผู้ร่วมชุมนุมทุกคน

แต่จนถึงวันนี้ยังไม่เห็นผู้นำการชุมนุมหรือแกนนำกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยคนใดออกมาแสดงความรับผิดชอบต่อเหตุการณ์

และยังไม่ปรากฏว่ามีผู้หลักผู้ใหญ่ผู้อาวุโสคนใดในบ้านเมืองนี้ ออกมาแสดงความคิดเห็นในเรื่องนี้ แต่กลับแสดงอาการเกาะกระแสซ้ำเติมกล่าวหาเจ้าหน้าที่ตำรวจผู้กระทำการตามหน้าที่ โดยมิได้คำนึงว่า ความรู้สึกของเจ้าหน้าที่ตำรวจต้องเหนื่อยยากตลอดมานั้น จะเป็นเช่นไร

ซึ่งนี่คือสภาพความเป็นจริงที่เจ็บปวดในสังคมไทยในวันนี้

จนถึงเวลานี้ เราจะปล่อยให้มีการใช้เสรีภาพอย่างไม่มีขอบเขตจำกัด จนก่อให้เกิดสภาวะอนาธิปไตยเกิดขึ้นในรัฐและนำไปสู่การที่ไม่มีเสรีภาพเหลืออยู่เลย กระนั้นหรือ

หรือเราจะปล่อยให้ผู้บังคับใช้กฎหมายต้องถูกโดดเดี่ยว และตกเป็นผู้ร้ายของสังคมไปอย่างนี้โดยปล่อยให้ผู้ก่อและผู้ริเริ่มการชุมนุมต้องลอยนวลทั้งที่การชุมนุมเมื่อ 7 ตุลาคม 2551 ได้ปิดฉากอย่างโหดร้าย โดยพวกเขาเหล่านั้นเอง หรือว่าสิ่งที่เราจะทำได้ก็เพียงแต่หวัง หวังเพียงว่าความโหดร้ายและการสูญเสียของผู้ชุมนุมจะตามหลอกหลอนมโนธรรมสำนึกของผู้นำชุมนุมไปตลอดชีวิต