WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Monday, October 13, 2008

‘เจ๊ยุ’ตอกม็อบคุกคามสื่อจี้สมาคมออกมาจัดการ


ฉะ! พันธมิตรฯ อันธพาลทำตัวคุกคามสื่อ หลัง “ข่าวสด” เสนอข่าวไม่ถูกใจ บรรดาแกนนำเรียงหน้ากล่าวหาเป็นพวก “ทักษิณ” เขียนข่าวบิดเบือน แถมขู่เคลื่อนพลไปปิดล้อม “เจ๊ยุ” สวนเป็นเสรีภาพในการเสนอข่าวและข้อเท็จจริง ไม่จำเป็นต้องให้ใครพอใจ พร้อมจี้ให้สมาคม-สมาพันธ์สื่อทั้งหลายที่ชอบออกแถลงการณ์มาดูแลแก้ปัญหา หลังบรรดาท่านกรรมการทั้งหลายขอสงบปาก ไม่อยากขัดใจกับพันธมิตรฯ ด้านนักข่าวเนชั่น ยกข่าวสดเป็นฮีโร่ที่กล้าหาญเสนอข่าว ในขณะที่สื่ออื่นทำเงียบเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น

นอกจากกลุ่มพันธมิตรฯ จะกล่าวหา นสพ.ข่าวสด ว่าแปลคำพระราชทานให้สัมภาษณ์ของสมเด็จพระเทพฯ โดยบิดเบือนแล้ว กลุ่มพันธมิตรฯ ก็ยังผูกใจเจ็บกับการนำเสนอข่าวดังกล่าว โดยมีการโจมตีและข่มขู่คุกคาม นสพ.ข่าวสด อย่างรุนแรง

ซึ่งนายสนธิ ลิ้มทองกุล แกนนำพันธมิตรฯ ระบุว่าข่าวสด เป็นหนังสือในเครือมติชน และมีมติชนสุดสัปดาห์อีกเล่ม ที่จงใจบิดเบือนคำแปลเพราะเป็นพวก พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี และยังเรียกร้องใช้กลุ่มผู้ชุมนุมหยุดซื้อหนังสือทั้ง 3 ฉบับดังกล่าว

ขณะที่ นายสำราญ รอดเพชร แกนนำรุ่น 2 ก็ปลุกระดมผู้คน ว่าน่าจะไปเยือนข่าวสด ตามแบบฉบับที่เคยไปปิดล้อมสถานที่ราชการ หรือหน่อยงานที่เป็นฝ่ายตรงกันข้าม

กรณีดังกล่าวนางยุวดี ธัญญสิริ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ กล่าวว่า ข่าวที่ได้มีการนำเสนอไปนั้น เป็นข่าวที่มาจากสำนักข่าวต่างประเทศ ซึ่งการที่หนังสือพิมพ์ข่าวสดเอาข้อความเป็นลงตรงนั้น ได้ผ่านการพิจารณาว่าเหมาะสมแล้ว

“การที่กลุ่มพันธมิตรฯ ออกมาต่อต้านแสดงความไม่พอใจในข่าวที่เสนอไปนั้นและพยายามจะบิดเบือน จะบุกที่สำนักข่าว มันไม่ใช่เรื่องอะไรที่กลุ่มพันธมิตรฯจะมาคุกคามสื่อ”

จากประเด็นที่ได้มีการนำเสนอข่าวของหนังสือพิมพ์ข่าวสด ทางกลุ่มพันธมิตรจะรับได้หรือไม่ได้ในข้อความที่สื่อนำเสนออกไป ก็เป็นเรื่องของแต่ละบุคคล เพราะสื่อถือว่ามีหน้าที่ในการนำเสนอข่าวที่คิดว่าเป็นประโยชน์และประชาชนน่าจะรู้ คนส่วนใหญ่ให้ความสนใจ

“ข่าวก็คือข่าว มีทั้งถูกใจคนและไม่ถูกใจคน คนเป็นประชาชนก็สามารถเลือกเสพสื่อได้ สื่อมีหน้าที่ของตนเอง ก็นำเสนอข่าวไปตามนั้น ไม่ควรที่จะมาก้าวกายกัน”

นางยุวดีกล่าวในตอนท้ายว่า เรื่องนี้น่าจะมีการสอบถามไปยังสมาคมนักข่าวและหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย เห็นชอบออกมาแถลงการณ์ต่างๆ กับเรื่องแบบนี้ทำไมไม่ออกมาพูด

ขณะที่นางสาวนาตยา เชษฐโชติรส นายกสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ได้ปฏิเสธที่จะพูดถึงเรื่องดังกล่าว โดยกล่าวว่าหากมีคำสัมภาษณ์ออกไป เกรงว่าจะกลายเป็นเกิดกระแสการวิพากษ์วิจารณ์ของทั้งสองฝ่าย รวมถึง นายภัทร คำพิทักษ์ อดีตนายกสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ก็ปฏิเสธที่จะออกมาชี้แจ้งในเรื่องดังกล่าวเหมือนกัน

ทางด้านนายบุญเลิศ ช้างใหญ่ บรรณาธิการหนังสือพิมพ์มติชน ระบุว่าไม่อยากเอาตัวเองไปอยู่ในวงจรของคนสองกลุ่ม

ส่วนนายประดิษฐ์ เรืองดิษฐ์ เลขาธิการสมาคมนักข่าวและหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ปฏิเสธที่จะให้สัมภาษณ์ โดยอ้างว่ายังไม่ได้ศึกษาในรายละเอียด เกรงว่าจะมีการให้ข้อมูลที่ผิดพลาดได้ เช่นเดียวกับนายชิงชัย รุ่งละโภ กรรมการสภาการหนังสือพิมพ์ ที่อ้างว่าตกข่าว

ขณะที่แหล่งข่าวในหนังสือพิมพ์ข่าวสด ยืนยันว่าการนำเสนอข่าวดังกล่าวมีการตรวจสอบความถูกต้องแล้ว และถือเป็นหน้าที่ของสื่อที่จะต้องรายงานความถูกต้อง ไม่ได้จงใจเข้าข้างใครทั้งสิ้น

ด้านนายจรัล ดิษฐาอภิชัย กล่าวถึงกรณีพันธมิตรฯ ประกาศจะไปบุกล้อมสำนักพิมพ์ข่าวสด ว่าถ้ากล้ามีเรื่องกับสื่อมวลชนก็ไปได้ เพราะคงเห็นว่ายึดทำเนียบก็ทำได้แล้ว และนี่ก็เตรียมบุกสำนักงานตำรวจแห่งชาติอีก

ขณะที่นายประวิตร โรจนพฤกษ์ ผู้สื่อข่าวเนชั่น ได้เสนอบทความผ่านเวบไซต์ประชาไท
http://www.prachatai.com/05web/th/home/14046 ในประเด็นดังกล่าวมีความโดยสรุปว่าสถานการณ์การเมืองที่แบ่งฝักแบ่งฝ่ายอย่างชัดเจน สะท้อนให้เห็นได้ชัดในสื่อและมีผลกระทบต่อความน่าเชื่อถือของบรรดาสื่อที่เลือกข้าง (ไม่ว่าข้างไหน) อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

การเลือกข้างมิใช่สิ่งที่ผิด สื่อสามารถเขียนบทบรรณาธิการ บททัศนะและให้คอลัมนิสต์แสดงความเห็นว่าไม่เห็นด้วยหรือเห็นด้วยกับรัฐบาลและพันธมิตรฯ ได้อย่างเต็มที่ นั่นมิใช่ปัญหา แต่ปัญหาคือในส่วนที่เป็นการรายงานข่าวตรงไปตรงมา (straight news report) สื่อไม่ควรปิดกั้นการลื่นไหลของข่าวสารและความเห็นอันหลากหลายต่อวิกฤตการเมืองไทย เพื่อที่สังคมจะได้ร่วมกันเรียนรู้ฉุกคิดจากมุมมองและทัศนะที่หลากหลาย ซึ่งจะเป็นประโยชน์แก่สังคมโดยรวม และทำให้ประชาชนมีวุฒิภาวะพิจารณาอะไรต่างๆ ได้เอง

แต่สื่อที่เลือกข้างจนมืดมัว มักแยกไม่ออกระหว่างการรายงานข่าวอย่างตรงไปตรงมากับบทความหรือบทบรรณาธิการที่แสดงความเห็นส่วนตัวหรือส่วนองค์กร ล่าสุด เกิดปรากฎการณ์ไม่เล่นข่าวของเอพี (Associated Press) ที่รายงานความเห็นของสมเด็จพระเทพฯ ต่อกลุ่มพันธมิตรฯ และวิกฤตการเมืองไทย ระหว่างทรงเสด็จประพาสสหรัฐฯ (บล็อกเกอร์ Bangkok Pundit อ้างถึงข่าวนี้ ในบล็อกของเขา เมื่อช่วงสาย วานนี้)

ถามว่าสื่อไทยเห็นประชาชนหรือผู้รับข่าวสารเป็นอะไร สื่อถึงปฎิบัติตนเช่นนี้ ในขณะที่อ้างเรื่องความรับผิดชอบในการให้ข้อมูลข่าวสารอย่างตรงไปตรงมาและหลากหลายและอ้างเรื่อง free flow of news and information

ขอให้ประชาชนท่านผู้อ่านตัดสินเอาเอง ว่าทำไมสื่อส่วนใหญ่ถึงไม่รายงาน แต่นี่แหละ Silence of the Lamp ที่มืดมิดอย่างแท้จริง

ข้อเสนอแนะที่ผู้เขียนจะให้ได้ ณ วันนี้ก็คือ ขอให้ประชาชนเช็คอ่านตรวจสอบสื่อและรับสื่อที่หลากหลาย ทั้งของไทยและเทศ ทั้งออนไลน์และออฟไลน์ และโปรดระลึกว่า ณ ห้วงวิกฤตการเมืองในปัจจุบัน เราคงปล่อยให้หนังสือพิมพ์ฉบับใด ฉบับหนึ่ง (หรือสื่อแขนงอื่น ช่องใดช่องหนึ่ง หรือคลื่นใดคลื่นหนึ่ง) เป็นที่พึ่งพาทางข้อมูลข่าวสารโดดๆ มิได้

จากการเช็คหนังสือพิมพ์ฉบับหลักๆ เรื่องการไม่มีข่าวที่สมเด็จพระเทพฯ ทรงตรัสให้สัมภาษณ์ต่อคำถามว่า ทรงเห็นด้วยหรือไม่ที่กลุ่มผู้ชุมนุมพันธมิตรฯ ระบุว่าประท้วงเพื่อสถาบันกษัตริย์ สมเด็จพระเทพฯ ตรัสตอบคำถามดังกล่าวว่า “I don’t think so... they do things for themselves.”

ไทยรัฐ – (หนังสือพิมพ์จำหน่ายมากที่สุดของประเทศ) – ไม่มีข่าวนี้ปรากฎ

เดลินิวส์ – ไม่มีข่าวนี้ แต่หนังสือพิมพ์มีสโลแกนว่า “อ่านความจริง อ่านเดลินิวส์”

โพสต์ทูเดย์ – ไม่มีข่าวนี้ แต่สโลแกนฉบับนี้คือ “ลึกซึ้งทุกข่าวสาร ตอบทุกด้านของชีวิต”

คมชัดลึก – ไม่มีทั้งๆ ที่สโลแกน คือ “เนชั่นเจาะข่าว ทั่วไทย”

บางกอกโพสต์ – สโลแกนคือ “The Newspaper You Can Trust” แต่ไม่มีข่าวนี้

เดอะเนชั่น – ไม่มีข่าวนี้ ทั้งๆ ที่เป็นหนังสือพิมพ์ภาษาอังกฤษ อ้างเรื่องความตรงไปตรงมา และทั้งที่การที่เป็นหนังสือพิมพ์ภาษาอังกฤษหมายความว่า ไม่ต้องมานั่งแปลข่าวเอพีให้เมื่อยสมอง

กรุงเทพธุรกิจ – (สโลแกนคือ มือขวาหรือมือซ้ายของผู้บริหารก็ไม่แน่ใจ) ไม่มีข่าวนี้เช่นกัน

ผู้จัดการรายวัน – (ฉบับเสาร์-อาทิตย์ 11-12 ต.ค.) – คิดว่าต้องเช็คไหมเนี่ย หรือเดาก็ถูก ... ไม่มีข่าวนี้เปิดเท่าไหร่กี่ครั้งกี่หนกี่หน้าก็ไม่เจอ เช็คออนไลน์ก็ไม่มี และก็ไม่น่าแปลกใจมิใช่หรือว่าทำไม

มติชน – (หนังสือพิมพ์คุณภาพ เพื่อคุณภาพของประเทศ) ไม่มีข่าวนี้

ข่าวสด – Surpriseๆ มีข่าวนี้ และพาดหัวใหญ่สุดหน้าหนึ่ง ฉบับวันอาทิตย์ที่ 12 ตุลาคมว่า “ตรัสถึงพันธมิตรฯ พระเทพฯ ทรงสัมภาษณ์ที่สหรัฐ” และข่าวไปต่อหน้า 14 ซึ่งมีการอ้างคำให้สัมภาษณ์ทั้งภาษาอังกฤษและไทย

ต้องขอปรบมือให้กับหนังสือพิมพ์ข่าวสด แต่ข่าวสดระยะหลังก็ดูเหมือนจะเบื่อพันธมิตรฯ มิใช่น้อย ซึ่งเห็นได้จากบททัศนะของคอลัมนิสต์บางคน (ผู้เขียนสงสัยว่า ถ้าข่าวสดยังเชียร์พันธมิตรฯ สุดๆ อยู่จะลงข่าวนี้หรือไม่) อย่างไรก็ตาม ต้องให้เครดิตข่าวสด ผู้เขียนคว้าซื้อหนังสือพิมพ์ฉบับนี้ทันทีทันควันเลย และยอดขายข่าวสดฉบับนี้น่าจะพุ่งเป็นพิเศษ