WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Monday, October 13, 2008

ม็อบชั่วหน้าแตกยับผู้พิพากษา ICC ชี้ชัดปราบม็อบเรื่องปกติ

อดีตผู้พิพากษาศาลอาชญากรรมระหว่างประเทศ เผยการสลายการชุมนุมของรัฐบาลไทย ถือเป็นเรื่องภายในประเทศ ไม่เข้าข่ายว่าเป็นการก่อ "อาชญากรรมต่อความเป็นมนุษย์" เป็นการควบคุมความสงบเรียบร้อยของประเทศ อีกทั้งการสลายการชุมนุมของรัฐบาลไทยไม่ได้เกิดขึ้นเป็นประจำ ถือเป็นเรื่องธรรมดาที่การสลายการชุมนุมทางการเมืองจะต้องมีความสูญเสียเกิดขึ้น

เมื่อวันที่ 12 ตุลาคมที่ผ่านมา สำนักข่าวต่างประเทศ รายงานโดยอ้างคำเปิดเผยของนายคาร์ล เทอร์เรนซ์ ฮัดสัน-ฟิลลิปส์ (Karl Hudson-Phillips) อดีตผู้พิพากษาประจำศาลอาชญากรรมระหว่างประเทศ (International Criminal Court : ICC) ชาวตรินิแดดแอนด์โตเบโก ที่ออกมาแสดงทรรศนะว่า เหตุการณ์สลายการชุมนุมของรัฐบาลไทยที่ปรากฏเป็นข่าวไปทั่วโลกเมื่อไม่กี่วันก่อนหน้านี้ ถือเป็นเรื่องภายใน ของประเทศไทยที่นานาชาติไม่สามารถเข้าไปยุ่งเกี่ยวได้

นอกจากนี้และการสลายการชุมนุมโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐถือเป็นเรื่องปกติทางการเมืองที่เกิดขึ้นเป็นประจำในประเทศต่างๆทั่วโลก และไม่เข้าข่ายว่าเป็นการก่ออาชญากรรมต่อความเป็นมนุษย์ (Crime against humanity) แต่อย่างใด

นายฮัดสัน-ฟิลลิปส์ ซึ่งดำรงตำแหน่งเป็นผู้พิพากษาศาลอาชญากรรมระหว่างประเทศ หรือ ICC ในระหว่างปี 2003-2007 ระบุว่า การที่รัฐบาลไทยเข้าสลายการชุมนุมของกลุ่มผู้ประท้วงต่อต้านรัฐบาลที่ปรากฏเป็นข่าวไปทั่วโลกนั้น เป็นการกระทำที่ไม่เข้าข่ายว่าเป็น Crime against humanity เนื่องจากการกระทำดังกล่าวเป็นความพยายามของฝ่ายรัฐที่ต้องการควบคุมความสงบเรียบร้อยของประเทศ และการสลายการชุมนุมของรัฐบาลไทยไม่ได้เกิดขึ้นแบบเป็นประจำ

รวมทั้งยังไม่ได้เกิดขึ้นเป็นวงกว้าง และถือเป็นเรื่องธรรมดาที่การสลายการชุมนุมทางการเมืองจะต้องมีความสูญเสียเกิดขึ้นบ้าง แต่ก็เป็นเรื่องของกระบวนการยุติธรรมในประเทศนั้นๆ จะต้องทำหน้าที่ตัดสิน ไม่ใช่เรื่องที่ศาลอาชญากรรมระหว่างประเทศต้องเข้ามาเกี่ยวข้องแต่อย่างใด

นอกจากนั้น อดีตผู้พิพากษา ICC รายนี้ ยังระบุว่า นับตั้งแต่ที่ ICC เริ่มดำเนินการอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม ปี 2002 เป็นต้นมา ได้เคยมีผู้ร้องเรียนต่อ ICC ในกรณีที่ได้รับความสูญเสียจากการเข้าสลายการชุมนุมของรัฐบาลเช่นเดียวกันนี้มาแล้วหลายครั้ง จากหลายประเทศแต่ ICC ก็ไม่เคยนำเรื่องนี้เข้าสู่กระบวนการดำเนินคดีแต่อย่างใด เพราะการสลายการชุมนุมทางการเมืองในลักษณะเช่นที่เกิดขึ้นในประเทศไทยครั้งนี้ ถือว่าไม่เข้าข่ายการพิจารณาของ ICC อย่างแน่นอน

ทั้งนี้ ก่อนหน้านี้ นายสนธิ ลิ้มทองกุล แกนนำพันธมิตรฯ กล่าวบนเวทีปราศรัย เพื่อขอฉันทามติในการดำเนินการฟ้องนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ นายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม รวมถึงเจ้าหน้าที่ตำรวจที่เกี่ยวข้องกับการสลายการชุมนุม ที่ศาลอาญาระหว่างประเทศ ณ กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ โดยยืนยันว่า ได้คิดหาทางต่อสู้และได้ปรึกษาหลายฝ่ายรวมถึงสำนักงานกฎหมายระหว่างประเทศ ที่กรุงนิวยอร์ก และได้รับคำแนะนำว่าให้นำเรื่องดังกล่าวไปฟ้องต่อศาลอาญาระหว่างประเทศ เพราะประเทศไทยมีสนธิสัญญา ซึ่งถือเป็นพันธกรณีที่ต้องปฏิบัติตามกับสหประชาชาติ

ซึ่งศาลดังกล่าวเป็นศาลที่นำอาชญากรระหว่างประเทศ รวมถึงผู้ทำที่ทำรายประชาชนเข้าคุกมาเป็นจำนวนมาก โดยกรณีที่เกิดขึ้นเมื่อวานนี้ก็ถือว่าเข้าข่ายที่ฟ้องได้เช่นกัน อย่างไรก็ตาม เชื่อว่านายกรัฐมนตรีจะถูกดำเนินคดีอย่างแน่นอน ไม่สามารถหนีหมายจับระหว่างประเทศได้ นอกจากนี้ ยังมีอีกหลายเรื่องที่จะดำเนินคดีกับรัฐบาลชุดนี้

ขณะที่วันเดียวกันนี้ ผู้สื่อข่าวรายงานว่า พล.ต.ท.วรพงษ์ ชิวปรีชา ผู้บัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง (ผบช.ก.) ในฐานะได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่ผู้บัญชาการเหตุการณ์ กรณีกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยกำหนดจะไปชุมนุมที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติในวันที่ 13 ตุลาคมนี้ ได้เรียกประชุมตำรวจสันติบาล นครบาลและกองปราบปรามเพื่อวางแผนเกี่ยวกับการรับมือ

อย่างไรก็ตาม การประชุมดังกล่าว ไม่อนุญาตให้สื่อมวลชนเข้าไปรายงานข่าว โดยเบื้องต้นมีรายงานว่า จะให้ตำรวจปราบจลาจลเข้ารายงานตัวที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติภายในเวลา 15.00 น. พร้อมด้วยเครื่องมือดับเพลิง ก่อนจัดแบ่งกำลังทั้งในและนอกเครื่องแบบตามภารกิจที่ได้รับ

ผู้สื่อข่าวรายงานต่อว่า นอกจากนี้ พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติยังได้ออกคำสั่งสำนักงานตำรวจแห่งชาติเรื่อง แต่งตั้งคณะทำงานตรวจสอบข้อเท็จจริงกรณีเหตุการณ์ความรุนแรงที่เกิดขึ้นใน วันที่ 7 ตุลาคม 2551 ว่า มีสาเหตุมาจากอะไร และการปฏิบัติหน้าที่ของตำรวจเป็นไปตามกฎหมายหรือไม่

ทั้งนี้ คณะทำงานที่ตั้งขึ้นมีกรรมการทั้งหมด 14 คน มี รศ.นพ.เจษฎา แสงสุพรรณ รองอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นประธาน กำหนดให้สรุปผลภายใน 7 วัน