สื่อเทศแฉสื่อไทย บิดเบือนเหตุปะทะเดือดม็อบพันธมิตรฯ 7 ต.ค. ระบุ FBI เตรียมบุกสอบเหตุนองเลือดหน้ารัฐสภา ลั่นปิดหูผิดตาประชาชน เผยไม่มีรายงานกรณีม็อบถ่อยเขวี้ยงระเบิดปิงปองฆ่ากันเอง หวังปลุกปั่นให้เกิดความรุนแรง
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สื่อต่างประเทศแห่งหนึ่ง ได้ตีพิมพ์บทความชื่อระเบิดปิงปอง! โดยวิเคราะห์ถึงเหตุการณ์ควบคุมฝูงชน และปะทะกันจนทำให้เกิดผู้บาดเจ็บและล้มตายในเหตุการณ์ดังกล่าว โดยเจ้าหน้าที่ตำรวจได้ยิงแก๊สน้ำตาใส่กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย โดยทั้ง 2 ฝ่ายต่างออกมากล่าวหากันว่าความรุนแรงเกิดจากอีกฝ่ายหนึ่ง
ทั้งนี้ มีรายงานว่า สื่อสารมวลชนในประเทศไทยได้นำภาพผู้ประท้วงที่บาดเจ็บและเสียชีวิตในเหตุการณ์ โดยตั้งประเด็นเหมือนกับการบรรยายจากฝั่งพันธมิตรฯ ว่าตำรวจทำร้ายประชาชนจนบาดเจ็บล้มตาย เรื่องนี้มีนัยยะสำคัญที่ทำให้ พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ผู้บัญชาการทหารบก (ผบ.ทบ.) ออกมาโยนเรื่องให้นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ นายกรัฐมนตรี รับผิดชอบ ซึ่งเป็นการส่งสัญญาณว่ากองทัพไม่ได้อยู่ภายใต้รัฐบาล แต่เป็นอิสระโดยตนเอง
ขณะเดียวกัน มีหลักฐานของตำรวจ ระบุว่าผู้ชุมนุมของพันธมิตรฯ ใช้ระเบิดปิงปอง ที่ถือได้ว่าเป็นความรุนแรงที่เกิดจากกลุ่มผู้ชุมนุม ท่ามกลางกระแสวิจารณ์ว่าความรุนแรงที่เกิดขึ้นมีสาเหตุมาจากแก๊สน้ำตา
อย่างไรก็ตาม มีหลักฐานชิ้นสำคัญ ก็คือ การตรวจพบวัตถุระเบิดในรถจิ๊ฟ เชอรากี ซึ่งระเบิดในวันที่ 7 ต.ค. ใกล้กับพื้นที่ชุมนุม โดยมีการอ้างถึงเจ้าหน้าที่ตำรวจว่า หากตำรวจใช้ความรุนแรงจริง น่าจะมีคนตายและบาดเจ็บมากกว่านี้ ซึ่งเจ้าหน้าที่ยืนยันว่าภาพผู้บาดเจ็บน่าจะเกิดจากการกระทำของกลุ่มพันธมิตรฯเอง ซึ่งไม่ได้ถูกตีพิมพ์ในสื่อหลักของประเทศไทย
ในขณะที่มีข้อถกเถียงในเว็บไซด์พันธ์ทิพย์ ห้องราชดำเนิน ซึ่งมีการโพสต์กระทู้ เตือนปฎิบัติการของกลุ่มพันธมิตรฯ รวมทั้งได้พูดถึงแผนการที่วางเอาไว้ของพันธมิตรฯในวันนั้น โดยข้อมูลเหล่านี้อาจจะได้รับการตรวจสอบข้อเท็จจริงและทำให้สมดุลจากรัฐบาลสหรัฐอเมริกา โดยเอฟบีไอ. เพราะมีพลเมืองของสหรัฐอเมริกาได้รับบาดเจ็บจนต้องเข้าไปผ่าตัด จากเหตุการณ์วันที่ 7 ต.ค.2551 ที่ผ่านมา
การเคลื่อนไหวของพันธมิตรฯ จนก่อให้เกิดความรุนแรงในวันที่ 7 ต.ค. เพื่อต้องการให้เกิดข้อได้เปรียบทางการเมือง ในการที่จะเติมเชื้อเพลิงความรุนแรงนี้ และมีการระดมคน ซึ่งเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นในวันต่อๆมา หลังจากเกิดเหตุการณ์ดังกล่าว โดยผู้นำพันธมิตรฯนำมาขยายประเด็น และฟ้องร้องต่อศาลในประเทศ รวมถึงศาลโลก
อย่างไรก็ตาม มีหลายคนที่มองว่าการเคลื่อนไหวของผู้ประท้วง ทำปฎิกริยาตรงกันข้ามกับหลักการที่เคยทำไว้ เพราะพันธมิตรฯ ส่วนใหญ่เป็นการรวมกันของคนไทยฝ่ายก้าวหน้า นักวิชาการ นักศึกษา และองค์กรพัฒนาเอกชน ที่เคยต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยในเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 กับเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519
ซึ่งจำนวนคนของพันธมิตรฯ มีการรวมตัวกันมากขึ้นอย่างเข้มข้น ภายหลังการที่นายสมัคร สุนทรเวช เข้ามาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี หลังจากที่ถูกมองว่าเป็นตัวแทนของอดีตนายกรัฐมนตรี และถูกศาลตัดสินว่ามีความผิดฐานไปทำกับข้าวออกโทรทัศน์
ทั้งนี้ มีการทำโพลล์ออกมาว่า 70 % ของคน กทม. ให้การสนับสนุนพันธมิตรฯ โดยโพลล์ดังกล่าวได้ถูกนำออกมาเปิดเผยในวันที่ 5 ต.ค. ในวันที่ พล.ต.จำลอง ศรีเมือง ถูกจับกุม
เป็นที่ชัดเจนแล้วว่า พันธมิตรฯ ได้ละทิ้งหลักการเดิมๆ ที่เขาเคยบอกเอาไว้ และสามารถเรียกได้เลยว่าเป็นขบวนการเคลื่อนไหวที่ไม่ใช้ความรุนแรง ทั้งที่มีตำรวจ 3 คนถูกยิงจากกลุ่มผู้ชุมนุมเข้าไปปิดล้อมที่ทำการรัฐสภา ในช่วงบ่ายวันที่ 7 ต.ค. ในเวลาเดียวกันมีเจ้าหน้าที่ตำรวจ 3 นาย ที่ได้รับบาดเจ็บจากการถูกผู้ชุมนุมพันธมิตรฯ ขับรถยนต์ทับ
ความรุนแรงดังกล่าวได้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องหลังจากที่กองกำลังของพันธมิตรฯ ได้เข้าบุกยึดที่ทำการของทำเนียบรัฐบาล และสถานีโทรทัศน์แห่งชาติ NBT