WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Saturday, October 18, 2008

องค์กรสื่อฯชำเราการเมืองสามานท์!กรีด‘สภาตรายาง’รับใช้อำนาจเหนือกม.

องค์กรสื่อฯ ทุบโต๊ะ! ย้ำสื่อถูกปิดกั้นกรณีชำเราการเมืองสามานท์ ปูดแผนรบพุ่งการเมือง 2 ขั้วก่อวิกฤตชาติ อัดยับ “สภาตรายาง” เครื่องมือรับใช้อำนาจนอกเหนือกฎหมาย ขณะที่ บก.หัวเขียวลั่น “ความกลัว...ทำให้เสื่อม” ไม่กล้านำเสนอความจริง แนะสื่อฯเป็นได้ทั้งผู้ยับยั้งและเป็นผู้จุดชนวนให้เกิดความรุนแรง

สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย สมาคมนักข่าววิทยุโทรทัศน์ไทย และสถาบันอิศรา จัดงานเสวนา “บทบาทสื่อกับการยุติความรุนแรง” โดยมีวิทยากรร่วมกันเสนอความคิดเห็นและแนวทางในการปฏิบัติหน้าที่ของสื่อสารมวลชน ประกอบกับวิถีทางแห่งการยุติความรุนแรงทางการเมือง

โดยในปัจจุบันนี้ ได้มีองค์กรวิชาชีพสื่อบางแห่ง อันมีที่มาที่ไปในการเป็นกระบอกเสียงให้กับ “อำนาจเหนือกฎหมาย” เป็นพวกที่ให้การสนับสนุนกลุ่มผู้ชุมนุมให้ก่อความวุ่นวาย ความเกลียดชังระหว่างคนในชาติ และเป็นสื่อมวลชนที่มีจุดยืนในการต่อต้านรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง รวมทั้งไม่เคราพต่อเขื่อแปบ้านเมือง ซึ่งการทำหน้าที่ของสื่อมวลชนกลุ่มนี้ไม่เป็นไปตามวิถีทางแห่งระบอบประชาธิปไตย

นายสมหมาย ปาริจฉัตร์ กรรมการผู้จัดการบริษัท มติชน จำกัด(มหาชน) กล่าวว่า สื่อมวลชนในขณะนี้สูญเสียความเป็นอิสระภาพทางการนำเสนอจากวิกฤตการเมือง จนทำให้เกิดปรากฎการณ์คุกคามสื่อ ประกอบกับนักข่าวบางคนก็มีความคิดที่แตกต่างกัน ซึ่งถือเป็นสิทธิส่วนบุคคล ไม่มีใครผิด แต่ต้องยึดอยู่บนฐานของวิชาชีพ ในบทบาทของตนเอง และไม่คุกคามแนวความคิดของผู้อื่น

ดังนั้นสื่อต้องใช้ดุลยพินิจในการทำหน้าที่ของตนเองอย่างรอบด้าน เพื่อนำเสนอข้อเท็จจริง และสื่อสามารถช่วยยุติความรุนแรงโดยยึดมั่นในหลักการของวิชาชีพ รายงานข่าวรอบด้านโดยปราศจากความกลัว ความเกลียดชัง แก้ไขปัญหาความรุนแรงด้วยเหตุและผล รวมทั้งองค์กรสื่อต้องร่วมกันพูดคุยเพื่อสร้างความเข้าในร่วมกัน

เช่นเดียวกับนายสุนทร ทาซ้าย บรรณาธิการหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ระบุว่า ความกลัว...ทำให้เสื่อม โดยสื่อในปัจจุบัน แม้กระทั่งตน เกิดอาณาจักรแห่งความกลัว จึงไม่กล้าที่จะนำเสนอความจริงในบางประการที่เป็นความจริง เพราะเกรงว่าอาจจะกระทบต่อฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดจนกลายเป็นความรุนแรง ซึ่งนี่คือปัญหาดังนั้นสื่อมวลชนต้องปลดแอกความกลัว และต้องมีเสรีภาพในการนำเสนอความจริง ทำหน้าที่อย่างตรงไปตรงมา สื่อเป็นได้ทั้งผู้ยับยั้งและเป็นผู้จุดชนวนให้เกิดความรุนแรง โดยเฉพาะในสภาวะการณ์ที่ความเป็นประชาธิปไตยไม่เข้มแข็ง

“ทางออกที่ดีที่สุดในการยุติความรุนแรงสื่อคือผู้นำ หลักสำคัญคือการรายงานความจริงออกไป ต้องรายงานด้วยความรอบคอบ พอดี และเกิดประโยชน์ต่อสังคม การตั้งคำถามของสื่อหากขึ้นอยู่กับเจตนารมณ์และท่าทีอันดี ไม่ยั่วยุ ก็จะไม่เกิดความรุนแรง หรือไม่เป็นหนทางในการนำไปสู่ความรุนแรง” นายสุนทรกล่าว

ขณะที่ นายสนธิญาณ ชื่นฤทัยในธรรม หนึ่งในวิทยากร ได้เสนอแนวทางยุติความรุนแรงโดยการให้สื่อมวลชนพิจารณาอย่างใคร่ครวญในการนำเสนอข่าวสาร โดยต้องวิเคราะห์ว่าสื่อจะตกเป็นเครื่องมือของบุคคลกลุ่มใดหรือไม่ และต้องยึดหลักของวิชาชีพให้จงหนัก โดยองค์กรสื่อในแขนงต่างๆควรมีการพูดคุยสื่อสาร เพื่อผลักดันในเกิดแนวทางการทำงานร่วมกันเพื่อไม่ให้สื่อตกเป็นเครื่องมือที่อาจจะพัฒนาไปสู่ความรุนแรง

นอกจากนี้ ในประเด็นเรื่องความคิดเห็นที่แตกต่างตนมองว่า ความคิดเห็นเป็นสิทธิส่วนบุคคล ใครจะรักหรือชอบพอบุคคลใดก็ย่อมกระทำได้ถือเป็นเรื่องปกติ แต่ไม่ควรนำมารวมกับการนำเสนอรายงานข่าวต่อสาธารณะ เพราะอาจจะเกิดความรุนแรงที่เป็นการสั่งสมเพิ่มปริมาณเพื่อรอวันระเบิด