สังคมไทยร้าวหนัก เกิดการแบ่งแยกชนชั้นชัดเจนหลังกลุ่ม “หมอ” ทำตัวศักดินาประกาศไม่รักษาตำรวจเพราะไม่พอใจที่เข้าสลายการชุมนุม จนถูกกลุ่มคนรากหญ้า ทั้งพ่อค้า-แม่ค้า มอเตอร์ไซค์รับจ้าง ตอบโต้ไม่ขายข้าวให้กิน ระบุคนเป็นหมอต้องมีจรรยาบรรณ การกระทำดังว่าทำให้ขาดความเชื่อมั่นต่อวิชาชีพแพทย์ ร้านค้าย่านตลาดสามย่านรวมตัว งดขายของให้หมอ จนกว่าจะออกมาขอโทษประชาชนในสิ่งที่พูดออกไป ย้อนเกล็ด! ซื้อของได้แต่ต้องไม่แต่งตัวเป็นหมอ “อ.จรัล” ระบุเป็นสิทธิของคนค้าขาย ชี้การต่อสู้กันของชนชั้นล่างกับชนชั้นกลางขึ้นไปได้เริ่มขึ้นแล้ว
หลังจากมีแพทย์ของโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ อ้างเป็นตัวแทนแพทย์ 8 สถาบัน ออกมาแถลงประกาศจะไม่รักษาตำรวจที่แต่งเครื่องแบบเข้ามารับการรักษา โดยอ้างว่าเพื่อตอบโต้ตำรวจที่สลายการชุมนุม นอกจากจะเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวาง ทั้งในแง่ขิงความขาดวุฒิภาวะที่ไม่รู้จักแยกแยะเรื่องงานออกจากเรื่องส่วนตัว หรือจะเป็นเรื่องของจริยธรรม ที่ระบุชัดว่าแพทย์ไม่มีสิทธิปฏิเสธคนไข้ และข้อกำหนดแพทยสภาที่ยังมีเรื่องของการไม่ฝักใฝ่การเมืองนั้น
ยังพบว่าเรื่องราวดังกล่าวได้ขยายวงออกไปถึงกลุ่มชาวบ้านระดับรากหญ้า และมองว่ากลุ่มหมอทำตัวเป็นพวกศักดินา ทำตัวมีอำนาจต่อรงทางาสังคมที่คิดว่าคนอื่นจะต้องง้ออยู่ตลอดเวลา และถึงกับมีการออกมาตอบโต้กันแล้ว ถมยังทำท่าจะขายตัวเป็นวงกว้างมากขึ้น
รวมไปถึงการกระทำของบรรดาแพทย์ ทั้งหลายที่ส่งผลให้เกิดการต่อต้าน ยังถูกมองอย่างเป็นห่วงด้วยว่าจะเป็นความเริ่มต้นของการแบ่งแยกชนชั้นทางสังคมชัดเจนมากยิ่งขึ้น จากที่มีความขัดแย้งทางครวามคิดในบ้านเมืองอยู่แล้วในขณะนี้
ล่าสุดมีรายงานว่าคณะแพทย์ ร.พ.จุฬาฯ ต้องรับศึกหนักจากการกดดันของพ่อค้าแม้ค้า ภายในโรงพยาบาล ที่ไม่ยอมขายอาหารให้ หรือแม้แต่รถมอเตอร์ไซต์รับจ้าง ก็ไม่ยอมให้บริการรับ-ส่ง ซึ่งสร้างความเดือดร้อนเป็นอย่างมาก
พ่อค้าในศูนย์อาหาร ของจุฬาฯ ระบุว่าเรื่องดังกล่าวสร้างความไม่พอใจและไม่สลายใจให้กับพวกพ่อค้าแม่ค่าหลายคน เพราะที่ผ่านมาพวกตนเองก็เหมือนต้อยต่ำกว่าอยู่แล้ว พวกหมอยังมาทำให้รู้สึกอีกว่าจะเลือกรักษาเฉพาะคนที่เป็นพวกเดียวกันเท่านั้น โดยไม่ได้คิดเลยว่าตำรวจทำตามหน้าที่ และกลับเอาเรื่องของการเจ็บป่วย ล้มตาย มาต่อรองสนองความต้องการทางการเมืองของตัวเอง
พร้อมกับย้อนบางเหตุการณ์ให้ฟังด้วยว่าก่อนหน้านี้พ่อค้า-แม่ค้า ภายในบริเวณ ร.พ.จุฬาฯได้รวมตัวกันประท้วงไม่ยอมขายอาหารให้ จนสร้างความเดือดร้อนกันทั่วถึง โดยพวกแพทย์ต้องแก้ปัญหา จ้างให้มอเตอร์ไซต์รับจ้างไปซื้อให้ ก็กลับถูกปฏิเสธอีก ทำให้ต้องเดินไปซื้อเองและยังถูกแม่ค้าตะโกนต่อว่าด้วย
ขณะเดียวกันจากการสำรวจร้านค้าและร้านอาหารบริเวณตลาดสามย่าน เพื่อตรวจสอบเรื่องดังกล่าว หลายร้ายยอมรับว่าไม่พอใจ และคาดไม่ถึงว่าคนเป็นหมอจะคิดได้อย่างนี้ และส่วนใหญ่ยังทวงถามถึงเรื่องจรรยาบรรณเป็นหลัก แต่หลายร้ายก็ระบุว่ายังต้องทำมาหากิน ใครมาซื้อก็คงขายให้ ส่วนความำไม่พอใจก็ต้องเก็บเอำไว้
อย่างไรก็ดีหลายรายก็ออกมาแสเดงความเห็นอย่างชัดเจน ตรงไปตรงมา
ป้าบุญยืน อายุ 53 แม่ค้าขายส้มตำ บริเวณตลาดสามย่านท้ายซอย กล่าวว่ารู้สึกไม่ชอบใจที่คณะแพทย์ ร.พ.จุฬาฯ ออกมาระบุถึงการเลือกรับผู้ป่วย โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ตำรวจ ซึ่งทำให้ตนเกิดความไม่มั่นใจวิชาชีพแพทย์ ที่ต้องให้การรักษาผู้บาดเจ็บหรือป่วยโดยไม่มีการแบ่งแยกชนชั้นวรรณะ เท่ากับเป็นการเลือกปฏิบัติอย่างชัดเจน
ตนจึงอยากจะแสดงให้พวกแพทย์ที่สนับสนุนพันธมิตรฯ ได้เห็นว่าก็ยังมีประชาชนอยู่อีกมากที่ไม่เห็นด้วยกับพวกพันธมิตรฯโดยเฉพาะอย่างยิ่งพ่อค้า แม่ค้าในบริเวณนี้จะไม่ให้การต้อนรับ หรือขายสินค้าให้กับพวกที่แต่งตัวเป็นหมอจุฬาฯโดยเด็ดขาด ซึ่งถ้าหากว่าอยากจะซื้อสินค้าก็ต้องไม่แต่งตัวเป็นหมอมา จะได้ขายให้ หากตนรู้ว่าเป็นหมอจะไล่ไปให้พ้นหน้าร้าน
ขณะนี้มีร้านค้าอีกเป็นจำนวนมากที่ไม่ยอมขายของให้กับนักศึกษาแพทย์ และหมอ โดยจะทำเช่นนี้ไปจนกว่าจะมีคณะแพทย์จะออกมาขอโทษกับสิ่งที่ได้กล่าวออกไป
“ความจริงวิชาชีพแพทย์ ที่เป็นผู้ให้การรักษาคนป่วยไม่น่าที่จะยุ่งเกี่ยวกับวงการเมือง โดยควรทำหน้าที่ของตนเองให้ดีที่สุด แต่กลับกลายเป็นว่ากับละทิ้งจรรยาบรรณของความเป็นหมอแบบนี้ ประชาชนจะวางใจฝากชีวิตไว้ในมือได้อย่างไร แสดงให้เห็นชัดเจว่าถึงเป็นหมอหากมีความแค้นหรือไม่พอใจใครก็แกล้งปล่อยให้ตายไปแบบไม่ต้องสนใจได้อย่างนั้นหรือ รู้สึกเสียดายเงินภาษีที่ต้องเสียไปให้กับพวกหมอที่ไม่รู้จักแยกแยะ” แม่ค้าส้มตำ กล่าว
ด้านนายเจษฎา (นามสมมุติ) พ่อค้ากาแฟสด ในโรงเรียนสาธิตจุฬาฯ กล่าวว่า ความจริงเรื่องของบ้านเมืองก็ควรจะปล่อยให้เป็นเรื่องของนักการเมืองเป็นผู้จัดการ แต่ตนไม่เขาใจว่าทำไมหมอที่ทำหน้าที่รักษาคนไข้ จะต้องอกมาประกาศสิ่งที่ทำให้คนไข้หลาย ๆ คนไม่สบายใจ การเข้ายุ่งกับเรื่องดังกล่าว ถึงแม้ว่าจะเป็นเรื่องการใช้กำลังเจ้าหน้าตำรวจในการสลายการชุมนุม แต่ก็เป็นไปตามหน้าที่และสมควรแก่เหตุแล้วที่จะใช้กำลังเข้าปะทะ
อย่างไรก็ตาม ตนรู้สึกว่า การกระทำของแพทย์จุฬาฯ กำลังจะเป็นการแบ่งฝักแบ่งฝ่ายให้กับสังคมอย่างชัดเจน แทนที่แพทย์จะมีจรรยาบรรณยืนอยู่ข้างความถูกต้อง กลับกลายเป็นสมุนคอยรับใช้พันธมิตรฯแบบนนี้มันไม่ถูกต้อง
“ผมไม่เข้าใจการใช้กำลังของตำรวจก็เป็นตามขั้นตอนทุกอย่าง ผมติดตามดูข่าวมาตลอดก็เห็นกันอยู่ว่าเรื่องราวมันเป็นอย่างไร ผมอยากถามจริง ๆ ว่าจะต้องให้ตำรวจทำอย่างไรถึงจะพอใจ ต้องปล่อยให้โยรุมทึ้งให้เกือบตายก่อนใช่ไหม พวกแพทย์จุฬาฯจึงจะรักษา”
ส่วน นายสมหวัง จักรยานยนต์รับจ้าง เปิดเผยว่า เหตุที่ไม่รับผู้โดยสารที่แพทย์และนิสิตของร.พ.จุฬาฯ เป็นเพราะรู้สึกหมั่นไส้ที่ออกมาประกาศตัวไม่รับรักษาตำรวจ ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้อง ไม่ใช่สิ่งที่แพทย์ควรจะปฏิบัติ ตนไม่เข้าใจว่าหมอจะเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับการเมืองทำไม และทำแล้วได้ประโยชน์กับประชาชนอย่างไร ถ้าเป็นอย่างนั้น ตนก็จะไม่ให้บริการกับหมอที่ทำตัวเป็นอันธพาลเช่นกัน
ทางด้านนายจรัล ดิษฐาอภิชัย กล่าวว่า ตนเห็นด้วยที่แม่ค้าทำแบบนี้ เพราะถือเป็นสิทธิส่วนบุคคลที่จะกระทำได้ ซึ่งคิดว่าปรากฏการณ์แบบนี้เกิดจากความไม่พอใจที่หมอไม่ยอมรักษาตำรวจ เพราะเขาคิดว่าตำรวจได้ทำหน้าที่รักษากฏหมายอย่างดีที่สุดแล้ว ดังนั้นหากตำรวจไม่ได้รับความเป็นธรรมเขาก็พร้อมจะออกมาปกป้องอย่างเต็มที่
ทั้งนี้ ตามปกติแล้วแม่ค้ากับตำรวจจะเป็นไม้เบื่อไม้เมากันเสมอ เพราะตำรวจชอบจับแม่ค้า ทำให้แม่ค้าเกลียดตำรวจและตำรวจก็จะไม่ชอบแม่ค้า แต่มาครั้งนี้ทั้งสองอาชีพออกมาปกป้องกันและกันเพราะความไม่เป็นธรรมของคนในวิชาชีพแพทย์ที่ต้องยึดมั่นจรรยาบรรณ เพราะแพทย์ต้องรักษาคนไข้ทุกราย
“เหตุการณ์นี้คือการต่อสู้กันระหว่างชนชั้นล่างกับชนชั้นกลางขึ้นไป เพราะชนชั้นล่างรู้สึกไม่ได้รับความเป็นธรรมจากวิชาชีพที่ต้องยึดมั่นจรรยาบรรณ ดังนั้นพวกเขาจึงต้องลุกออกมาเพื่อปกป้องศักดิ์ศรีตนเอง และแสดงจุดยืนทางการเมือง ผมคิดว่าถ้าหากหมอยังจะประกาศจุดยืนว่าไม่ทำการรักษาตำรวจก็จะทำให้เกิดความขัดแย้งขึ้นไปอีก เพราะชาวบ้านก็จะคิดว่าหมอประกาศเลือกยืนอยู่ข้างพันธมิตรฯ แต่ถ้าหยุดสถานการณ์ก็อาจจะดีขึ้น”