WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Thursday, September 10, 2009

เครือข่ายแรงงานเหนือชี้มาร์คเหลว ยื่น10ข้อทวงศักดิ์ศรีคนงาน

ที่มา Thai E-News


โดย ทีมข่าวไทยอีนิวส์
10 กันยายน 2552

รัฐบาลไม่มีมาตรการและนโยบายที่ปกป้องสิทธิของคนงาน ไม่สร้างความเป็นธรรมให้กับคนงาน กลับปล่อยให้นายจ้างอาศัยช่องว่างทางกฎหมายเอาเปรียบคนงาน และฉวยโอกาสจากวิกฤตเศรษฐกิจทำลายสหภาพแรงงาน เสมือนรัฐรู้เห็นเป็นใจด้วย จึงขอยื่นข้อเรียกร้องทั้ง 10 ข้อดังต่อไปนี้




เมื่อวันที่ 9 กันยายน 2552 ณ ห้องประชุมเชิงปฏิบัติการณ์ชั้น 4 คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เครือข่ายแรงงานภาคเหนือ ประกอบด้วย สหภาพแรงงานอัญมณีและเครื่องประดับสัมพันธ์ สหภาพแรงงานอิเลคทรอนิคส์และอุปกรณ์ไฟฟ้าสัมพันธ์ สหภาพแรงงานอิเลคทรอนิคส์และเครื่องไฟฟ้าสัมพันธ์ แรงงานข้ามชาติ แรงงานนอกระบบ แนวร่วมกลุ่มเกษตรกรภาคเหนือ กลุ่มประชาธิปไตยเพื่อรัฐสวัสดิการ ได้ร่วมกันแถลงข่าว ดังนี้

จากภาวะวิกฤติเศรษฐกิจโลก ซึ่งเกิดขึ้นในปัจจุบันนี้ ได้แผ่ขยายไปในทุกประเทศทั่วโลก รวมถึงประเทศไทยด้วย ดังจะเห็นได้จากมีการปิดกิจการ หรือลดกำลังการผลิตในสถานประกอบการทั้งสถานประกอบการขนาดใหญ่ ขนาดกลาง และขนาดเล็ก ส่งผลให้มีการเลิกจ้างแรงงานเป็นจำนวนมาก

โดยข้อมูลล่าสุด ผู้ว่างงานในเดือน มิ.ย.2552 มีทั้งสิ้น 4.8 แสนคน หรือคิดเป็นอัตราว่างงาน 1.2% แยกเป็นผู้ว่างงานที่เคยทำงานมาก่อน 3 แสนคน ซึ่งเป็นผู้ว่างงานที่มาจากภาคการผลิตมากที่สุด 1.4 แสนคน ภาคการบริการและการค้า 1.3 แสคน และภาคเกษตรกรรม 30,000 คน ส่วนผู้ว่างงานที่ไม่เคยทำงานมาก่อนจำนวน 1.8 แสนคน (ข้อมูลจากสำนักงานสถิติแห่งชาติ (สสช.)

สำหรับในเขตภาคเหนือ ซึ่งมีนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือ จังหวัดลำพูน เป็นศูนย์กลาง ผู้ใช้แรงงาน ก็ได้รับผลกระทบอย่างมากเช่นกัน ประมาณการว่าตั้งแต่ปลายปี 2551 ถึงกลางปี 2552 มีการเลิกจ้างคนงานกว่า 20,000 คน ซึ่งเป็นทั้งที่มาจากการเลิกจ้างคนงานอย่างตรงไปตรงมา และอาศัยสถานการณ์วิกฤติเศรษฐกิจในครั้งนี้เป็นเหตุผลในการลดจำนวนคนงานลง ก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมต่อผู้ใช้แรงงาน อาทิเช่น

-การใช้มาตรา 75 ในกฎหมายคุ้มครองแรงงาน เรื่องการหยุดงานบางส่วน หรือทั้งหมด เป็นการชั่วคราว โดยนายจ้างจ่ายค่าจ้างแก่ลูกจ้างร้อยละ 75 ของค่าจ้าง ส่งผลให้แรงงานอีกเป็นจำนวนมากเช่นกันที่ต้องมีรายได้น้อยลงกว่าเดิม จนไม่สามารถที่จะเลี้ยงดูครอบครัวได้

-การทำสัญญาจ้างระยะสั้นแบบชั่วคราวและแบบเหมาช่วง ซึ่งทำให้นายจ้างควบคุมคนงานได้ง่ายขึ้น และทำให้คนงานไม่มีอำนาจในการต่อรอง

-ตลอดทั้งได้มีนายจ้างใช้กลยุทธ์ทำลายสหภาพแรงงานซึ่งเป็นองค์กรพื้นฐานของคนงานในระบอบประชาธิปไตย

-ขณะที่รัฐใช้ความรุนแรงกระทำต่อผู้ใช้แรงงานด้วย เช่น กรณีสหภาพแรงงานไทรอัมพ์อินเตอร์เนชั่นแนล

-นอกจากนี้แล้ว รัฐบาลก็ไม่มีมาตรการและนโยบายที่ปกป้องสิทธิของคนงาน ไม่สร้างความเป็นธรรมให้กับคนงาน กลับปล่อยให้นายจ้างอาศัยช่องว่างทางกฎหมายเอาเปรียบคนงานและฉวยโอกาสจากวิกฤตเศรษฐกิจทำลายสหภาพแรงงาน เสมือนรัฐรู้เห็นเป็นใจด้วย

-ตลอดทั้งนโยบายต่างๆของรัฐบาล เพื่อแก้ไขปัญหาคนตกงานโดยคนงานไม่มีส่วนร่วมในนโยบายแต่อย่างใด เช่น นโยบายต้นกล้าอาชีพ เป็นต้น ซึ่งเป็นผลให้การแก้ไขปัญหาผู้ใช้แรงงานไม่สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริง ไม่มีประสิทธิภาพ และไม่มีความมั่นคงแต่อย่างใด

ขณะเดียวกัน นอกจากแรงงานในระบบเหล่านี้ที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤติเศรษฐกิจแล้ว ยังพบว่าแรงงานข้ามชาติ แรงงานภาคบริการ แรงงานนอกระบบ และแรงงานในภาคเกษตรภาคเหนือ ก็ได้รับผลกระทบด้วยเช่นกัน ทั้งการถูกเลิกจ้าง รายได้ที่ลดลง และการลดสวัสดิการ รวมถึงปัญหาเรื่องสุขภาพความปลอดภัยที่ยังไม่ได้รับการแก้ไข

ดังนั้น เครือข่ายแรงงานภาคเหนือ ซึ่งประกอบด้วย องค์กรแรงงาน องค์กรพัฒนาเอกชนด้านแรงงาน และนักวิชาการด้านแรงงาน ในภาคเหนือ จึงได้มีข้อเสนอต่อรัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้ดำเนินการเพื่อแก้ไขปัญหาวิกฤติการเลิกจ้างทั้งระยะสั้นและระยะยาว ดังนี้

1.รัฐบาลโดยกระทรวงแรงงานต้องตั้งคณะกรรมการหลายฝ่ายโดยมีตัวแทนผู้ใช้แรงงานมีส่วนร่วมทำการตรวจสอบสถานประกอบการที่มีการเลิกจ้างคนงานและปิดกิจการ ว่าประสบปัญหาจากวิกฤตการณ์เศรษฐกิจจริงหรือไม่ หรือเป็นเพียงการฉวยโอกาสในการเลิกจ้างพนักงานเพื่อลดต้นทุนการผลิต และปิดสถานประกอบการเพื่อย้ายฐานการผลิตไปที่อื่น

รวมถึงการกำกับตรวจสอบไม่ให้นายจ้างฉวยโอกาสใช้มาตรา 75 เป็นเครื่องมือในการจ้างงานไม่เป็นธรรม

2.ให้รัฐบาลรับรองอนุสัญญา ILO ข้อ 87 และ 98 รวมถึงดำเนินการแก้ไขกฎหมายแรงงานสัมพันธ์ 2518 กฎหมายคุ้มครองแรงงาน 2551 และพรบ.ประกันสังคม พรบ.เงินทดแทนด้วย โดยต้องคุ้มครองสิทธิและผลประโยชน์ รวมถึงสนับสนุนการรวมกลุ่มของผู้ใช้แรงงานทุกกลุ่มไม่ว่าแรงงานข้ามชาติ แรงงานนอกระบบ แรงงานภาคบริการและแรงงานภาคเกษตรกรรมด้วย

3.รัฐและสังคมไทย ต้องสร้างการยอมรับความเป็นจริงที่ว่า แรงงานข้ามชาติ แรงงานภาคบริการเป็นแรงงานส่วนหนึ่งที่ร่วมสร้างสรรค์ให้สังคมไทยพัฒนาก้าวหน้าอยู่ถึงปัจจุบัน จึงต้องเคารพความหลากหลายทางวัฒนธรรม ชาติพันธุ์ และเคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์

4.รัฐต้องยุติการละเมิดสิทธิมนุษยชนของแรงงานข้ามชาติ ในประเด็นดังต่อไปนี้

4.1 ให้ใช้มาตรฐานดียวกันกับคนไทยในการปรับ ข้อหาไม่มีใบขับขี่ โดยยึดหลักความถูกต้อง ชอบธรม และเหมาะสม

4.2 ให้แรงงานข้ามชาติมีสิทธิในการเดินทางข้ามจังหวัดเพื่อหางานใหม่

5.รัฐต้องมีนโยบายให้แรงงานข้ามชาติเข้าถึงการบริการพื้นฐานด้วย เช่นการรักษาพยาบาลบุตร การศึกษาขั้นพื้นฐานของเด็ก เป็นต้น

6.กรณีการต่อสู้ของสหภาพแรงงานไทยอัมพ์อินเอตร์เนชั่นแนล เนื่องจากนายจ้างฉวยโอกาสอ้างวิกฤตเศรษฐกิจเพื่อล้มสหภาพแรงงานทั้งๆที่มีการขยายโรงงานขยายการผลิตไปสู่ที่อื่นๆ รัฐควรเข้ามีบทบาทผลักดันให้นายจ้างรับคนงานเข้าทำงานตามข้อเสนอของสหภาพแรงงานไทรอัมพ์ฯ รัฐควรสร้างความเป็นธรรมในสังคม เป็นกลไกคุ้มครองสิทธิและผลประโยชน์ของผู้ใช้แรงงาน และรัฐบาลไม่ควรอย่างยิ่งที่ให้เจ้าหน้าที่ตำรวจใช้เครื่องเสียงทำลายโสตประสาทคนงานผู้ชุมนุมตามสิทธิพื้นฐานในระบอบประชาธิปไตยและเจ้าหน้าที่ตำรวจต้องถอนหมายจับผู้นำแรงงานโดยเร่งด่วน

7.รัฐบาลต้องผลักดัน พรบ.สถาบันคุ้มครองสุขภาพความปลอดภัย และสิ่งแวดล้อมในสถานประกอบการฉบับผู้ใช้แรงงาน มิใช่ฉบับคณะรัฐมนตรีที่บิดเบือนข้อเสนอและให้อำนาจกับราชการมากกว่าสิทธิของผู้ใช้แรงงาน

8.นโยบายการแก้ไขปัญหาแรงงานโดย เฉพาะคนตกงาน ต้องให้ผู้ใช้แรงงานเข้ามามีส่วนร่วมในกรแก้ไขปัญหา มิใช่รวมศูนย์อำนาจอยู่ที่ราชการอย่างที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน จึงจะเป็นการแก้ไขปัญหาที่ยั่งยืน และตรงต่อความต้องการของแรงงาน

9.รัฐต้องปฏิรูประบบการเกษตร ได้แก่ คุ้มครองพื้นที่เกษตรกรรม กระจายการถือครองที่ดิน สร้างหลักประกัน ให้แก่เกษตรกร

10.รัฐและสังคมไทยต้องผลักดันสังคมไทยจากสังคมประชานิยม สังคมที่มีหลักประกันสังคมบางระดับบางส่วน ที่เป็นอยู่ สู่สังคมรัฐสวัสดิการ โดยมีมาตราการภาษีที่ก้าวหน้า