ที่มา บางกอกทูเดย์
ฉะนั้น หากนายอภิสิทธิ์ซึ่งยังปรารถนาที่จะเป็นนายกรัฐมนตรีอยู่อย่างต่อเนื่องและฝันไปถึง 2 สมัยเลยทีเดียวแต่หากยังคงขืนที่จะเล่นเกมการเมืองไม่หยุด และไม่หาทางสมานฉันท์อย่างแท้จริงแต่เลือกที่จะใช้การ “สมานฉันท์สไตล์ประชาธิปัตย์” แล้วงานนี้ไม่รู้ว่าระหว่างความใฝ่ฝันกับความเป็นจริง อะไรจะจบก่อนกัน
การสมานฉันท์จะเกิดขึ้นได้ จะต้องใช้ความจริงใจเป็นเครื่องมือในการเยียวยาหากว่ายังคงไม่มีการหันหน้าเข้าหากันต่อให้ตั้ง คณะกรรมการสมานฉันท์สักกี่ชุดกี่คณะก็ตาม บอกได้เลยว่าไม่มีประโยชน์ยิ่งหากยึดมั่นถือมั่นในผลประโยชน์เฉพาะกลุ่มเป็นที่ตั้ง แถมยังมีกลุ่มอำนาจกลุ่มพลัง กลุ่มการเมืองหนุนหลังด้วยแล้วอะไรที่ควรจะจบง่ายๆ ก็คงยากที่จะจบแน่นี่คือความน่ากลัวของสถานการณ์การเมืองในขณะนี้ฉะนั้น ป่วยการเปล่าที่รัฐบาลและพรรคประชาธิปัตย์จะออกมาพูดว่าพร้อมที่จะสมานฉันท์ พร้อมที่จะให้ความร่วมมือ เพราะภาพในขณะนี้กลายเป็นว่ารัฐบาลพูดอย่างหนึ่ง แต่กระทำอีกอย่างหนึ่ง2 กรณีที่สังคมจับตามองมากที่สุดในขณะนี้กำลังเป็นภาพติดลบอย่างหนักที่ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงกับรัฐบาลเรื่องแรกคือ เรื่องการสัมภาษณ์พิเศษพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร โดย นายจอมเพชรประดับ ผู้ดำเนินรายการเอ็กซ์คลูซีฟที่ออกอากาศทางสถานีวิทยุ อสมทคลื่น 100.5 เมกะเฮิร์ตซ์ ที่ในแง่ของการทำงานสื่อแล้วถือเป็นเรื่องเบสิกของหลักการทำข่าวและหลักการสัมภาษณ์พิเศษ ไม่ได้มีอะไรซับซ้อนอยู่เบื้องหลังแต่อย่างใดคนทำข่าว คนทำสื่อได้รับการสอนสั่งปลูกฝังกันมานมนานกาเลแล้วว่า จะเป็นบทสัมภาษณ์พิเศษ หรือเอ็กซ์คลูซีฟได้นั้นคนที่ถูกสัมภาษณ์จะต้องเป็นคนเด่นคนดังเป็นคนธรรมดาที่ไม่ธรรมดา ยิ่งเป็นคนที่สื่ออื่นๆ ไม่สามารถเข้าถึงหรือเข้าถึงได้ยากถ้าเราเข้าถึงได้สัมภาษณ์ได้ นั่นคือสุดยอด!!แต่รัฐบาลกลับบ้าจี้มองไปว่านี่เป็นการเปิดโอกาสให้พ.ต.ท.ทักษิณเข้ามาโฟนอินปลุกเร้าประชาชนก็เลยสั่งสอบผู้บริหารอุตลุดไปหมดว่า จะต้องชี้แจงด่วน และจะต้องไม่ให้เกิดขึ้นอีกอย่างเด็ดขาดเล่นเอา นายธนวัฒน์ วันสมกรรมการ
ผู้อำนวยการใหญ่ อสมท คนใหม่ที่เพิ่งมาเริ่มรับตำแหน่งเมื่อวันที่1 กันยายนนี้เอง ต้องวิ่งพล่านเคลียร์เพื่อไม่ให้กระเด็นตกเก้าอี้เหมือนกับกรณีของผู้อำนวยการ ช่อง 11 ที่เพิ่งจะโดนเชือดไปหมาดๆแต่เนื่องจากนายจอมมีสปิริตลูกผู้ชายมั่นใจว่าไม่ได้ทำในสิ่งที่ผิด แต่อย่างที่บอกเป็นการทำหน้าที่สื่อซึ่งได้ใช้สมองไตร่ตรองเลือกแล้วแน่นอนว่า หลักวารสารศาสตร์นิเทศศาสตร์ อดีตนายกรัฐมนตรีที่ไม่อาจสัมภาษณ์ได้ง่ายๆ กับนายกรัฐมนตรีที่ขยันรับเชิญไปปาฐกถาพิเศษถี่ชนิดที่ใครๆก็หาฟังได้นั้นคนไหนจะน่าสนใจกว่ากัน??แต่เมื่อ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะนายกรัฐมนตรี เซนซิทีฟเกี่ยวกับเรื่องนี้และ นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย รัฐมนตรีประจำสำนักนายกฯ สั่งให้สอบเรื่องนี้นายจอมจึงตัดสินใจลาออก!!ซึ่งแน่นอนว่าในแวดวงสื่อรับกันไม่ได้เลยกับท่าทีของรัฐบาลในครั้งนี้คณะกรรมการรณรงค์เพื่อการปฏิรูปสื่อ (คปส.)ถึงกับมีแถลงการณ์ด่วนว่าปรากฏการณ์ดังกล่าวคือการเข้าแทรกแซงกลไกการทำหน้าที่ของสื่อมวลชนถือเป็นการลิดรอนสิทธิเสรีภาพสื่อ ซึ่งขัดต่อหลักการพื้นฐานของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยคปส.ยืนยันเสมอมาว่า สื่อมวลชนต้องมีสิทธิและเสรีภาพเต็มเปี่ยมในการเลือกนำเสนอข้อมูลข่าวสารต่อประชาชนภายใต้กรอบจรรยาบรรณ เพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลที่หลากหลายรอบด้านตรงไปตรงมาบนพื้นฐานของความรับผิดชอบ ภายใต้การกำกับดูแลกันเองของนักวิชาชีพและการตรวจสอบจากสาธารณชนจึงเรียกร้องต่อรัฐบาลว่าจะต้องมีหลักประกันความเป็นอิสระในการทำหน้าที่แก่สื่อมวลชนทุกแขนงทุกประเภท โดยเฉพาะสื่อของรัฐ สื่อภาคธุรกิจเอกชน และสื่อของภาคประชาชนโดยต้องยุติกระบวนการควบคุม แทรกแซง การทำหน้าที่ของสื่อมวลชนในทุกรูปแบบกลายเป็นเผือกร้อนเผาพรรคประชาธิปัตย์ไปเต็มๆ แล้วในเวลานี้ว่า กลัวอะไรนักหนากับแค่การโฟนอิน??หากรัฐบาลทำดี ประชาชนเป็นสุขอยู่ดีกินดีเศรษฐกิจไม่มีปัญหา รัฐบาลมีผลงานที่จับต้องได้ การโฟนอินก็ไม่มีวันสั่นคลอนรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ได้
แต่ถ้ารัฐบาลไม่มีผลงานเป็นชิ้นเป็นอันเลยสักเรื่อง หากประชาชนจะคิดถึงพ.ต.ท.ทักษิณ ก็เป็นเรื่องที่ช่วยไม่ได้งานนี้รัฐบาลติดลบไปเต็มๆ กับการกะเปิ๊บกะป๊าบตามลักษณะเด็กๆ ที่ชอบตีโพยตีพาย วุ่นวายจุ้นจ้านไปทุกเรื่องเอาไว้ก่อนแล้วถามว่าคุ้มกันหรือไม่เช่นเดียวกับกรณีที่ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) มีมติชี้ความผิดดะไปหมด ไล่มาตั้งแต่ นายสมชายวงศ์สวัสดิ์ อดีตนายกรัฐมนตรี พล.อ.ชวลิตยงใจยุทธ อดีตรองนายกรัฐมนตรีพล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ ผบ.ตร.พล.ต.ท.สุชาติ เหมือนแก้ว ผู้บัญชาการตำรวจนครบาลขณะนั้น โดนกันกราวรูดไปหมดแต่แย่ตรงที่เป็นการชี้ความผิดที่สังคมส่วนใหญ่เชื่ออยู่ก่อนแล้วว่า ผลจะต้องออกมาแบบนี้และเป็นการชี้มูลความผิด โดยคณะกรรมการ ป.ป.ช. ชุดที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างมากในเรื่องของที่มาเพราะคณะกรรมการชุดนี้ ซึ่งมี นายปานเทพกล้าณรงค์ราญ ประธานกรรมการ และกรรมการประกอบด้วย นายกล้านรงค์ จันทิกนายใจเด็ด พรไชยา นายประสาท พงษ์ศิวาภัยศ.ภักดี โพธิศิริ ศ.เมธี ครองแก้ว นายวิชามหาคุณ นางสาวสมลักษณ์ จัดกระบวนพลและเลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ช. คือนายปรีชา เลิศกมลมาศแต่เนื่องจากเป็นการแต่งตั้งมาตามประกาศคณะปฏิรูปฯ ฉบับที่ 19แถมในแง่ของการคัดเลือกตัวบุคคลยังถูกมองว่า เป็นเรื่องของการตั้งโจทก์กันเข้ามาหลายคน เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ด้วยแล้วตลอดมาในแง่การยอมรับของ ป.ป.ช.ชุดนี้จึงคลุมเครือ และถูกมองเป็นสีเทามาโดยตลอดเมื่อมามีมติเช่นนี้ ทำให้มีการโยงว่าเป้าใหญ่น่าจะเล่นคน 2 คนเป็นหลัก คือนายสมชาย กับ พล.ต.อ.พัชรวาท ซึ่งก็ทำให้โยงไปถึงเรื่องความพยายามในการแต่งตั้งผบ.ตร.คนใหม่ของนายอภิสิทธิ์จึงยิ่งเป็นภาพที่ไม่ดีหนักขึ้นไปอีกสำหรับนายอภิสิทธิ์และรัฐบาลว่า นี่คือเกมการเมืองหรือไม่???ฉะนั้น หากนายอภิสิทธิ์ซึ่งยังปรารถนาที่จะเป็นนายกรัฐมนตรีอยู่อย่างต่อเนื่องและฝันไปถึง 2 สมัยเลยทีเดียวแต่หากยังคงขืนที่จะเล่นเกมการเมืองไม่หยุด และไม่หาทางสมานฉันท์อย่างแท้จริงแต่เลือกที่จะใช้การ “สมานฉันท์สไตล์ประชาธิปัตย์” แล้วงานนี้ไม่รู้ว่าระหว่างความใฝ่ฝันกับความเป็นจริง อะไรจะจบก่อนกัน?? ■