ที่มา บางกอกทูเดย์
พยายามมี “บทบาท” สร้างเงื่อนไขในสิ่งที่ตนอยากได้อยากมีสำหรับ พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ที่ค้านแก้รัฐธรรมนูญ “หมกเม็ด” ปี 2550 ชนิดหัวชนฝา...บุคคลใดเห็นต่างถือว่าเป็น “ศัตรู” ทันทีโดยเฉพาะ “การเมืองใหม่” ในความหมายของ พันธมิตรฯอันเป็นการเมืองที่เอาประชาชนเป็นศูนย์กลาง ลดอำนาจหน้าที่ของตัวแทนหรือผู้แทนลง เพิ่มบทบาทและอำนาจให้กับประชาชนมากขึ้นเฉกเช่น...สูตรการเมือง 70/30 นั่นเท่ากับว่า...พันธมิตรฯ จะต้อง “แก้รัฐธรรมนูญ” ปี 2550 หรือไม่ก็ต้อง “ฉีกรัฐธรรมนูญ” ถึงจะทำได้!ณรงค์เดช สรุโฆษิต อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดโหมด “วิพากษ์รัฐธรรมนูญปี 2550” ให้ความรู้กับประชาชนถึง “จุดบกพร่อง” ในหลายด้านก่อนหน้านี้อาทิ...เป็นร่างรัฐธรรมนูญที่ “สายตาสั้น” มองปัญหาการเมืองไทยเพียงเฉพาะหลังรัฐธรรมนูญ 2540โดยเน้นช่วงที่พรรคไทยรักไทยเป็นรัฐบาล ปี 2544-2549 แต่ไม่ได้มุ่งแก้ไขปัญหาถาวรของการเมืองไทยที่นับแต่ 2475 เป็นต้นมาการรัฐประหารฉีกรัฐธรรมนูญแทบทุกครั้ง...เป็นผลพวงจาก“ความขัดแย้งกัน” ของกลุ่มนักการเมืองและกลุ่มข้าราชการประจำนำโดยทหารเป็นร่างรัฐธรรมนูญที่ “มีอคติ” ต่อนักการเมือง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “ขั้วอำนาจเก่า” ตัวอย่างที่เห็นได้ชัด คือร่างรัฐธรรมนูญฉบับรับฟังความคิดเห็นไม่มีเนื้อหาตัดสิทธิเลือกตั้งของ หัวหน้าพรรคการเมืองและ กรรมการบริหารพรรคการเมือง ที่ถูกศาลรัฐธรรมนูญยุบไป และไม่เคยมีการกล่าวถึงประเด็นนี้มาก่อนกระทั่ง ใกล้วันที่คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญจะอ่านคำวินิจฉัยคดียุบพรรค ประเด็นนี้จึงโผล่ขึ้นมาเป็นข่าวและปรากฏในร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ในท้ายที่สุด (มาตรา 68วรรค 4)
อีกทั้งยังเป็นร่างรัฐธรรมนูญฉบับ “หาเสียง...เขียนไว้ก่อน” ทำได้จริงหรือไม่ ไม่รู้ เช่น เพิ่มสิทธิคนจรจัดปัญหาก็คือ...อะไรก็ตามที่เขียนไว้ในรัฐธรรมนูญควรจะทำได้จริงเพราะสร้างความคาดหวังให้แก่ประชาชนโดยเฉพาะ “ช่องว่าง” ทางกฎหมายที่ผู้มีอำนาจบัญญัติไว้เป็น “ตาข่ายดักปลา” ในมาตรา 309 ซึ่งชี้ให้เห็นว่า...“การรัฐประหาร” เป็นสิ่งที่ถูกต้องในระบบกฎหมายไทยในรัฐธรรมนูญที่ตั้งใจจะให้เป็นรัฐธรรมนูญฉบับถาวร“การนิรโทษกรรม” ในรัฐธรรมนูญเท่ากับเป็นการเชื้อเชิญให้มีการก่อการรัฐประหารในอนาคตทำให้เกิดจารีตที่ไม่ถูกต้องในการเขียนรัฐธรรมนูญ อันจะเป็นกรณีตัวอย่างให้ คณะผู้ก่อการรัฐประหาร ในอนาคตเอาเป็นเยี่ยงอย่างและยังเป็นเยี่ยงอย่างที่ไม่ดีแก่คนไทยและนักเรียนกฎหมายไทยว่า...ใครมีอำนาจจะเขียนกฎหมายอย่างไรก็ได้โดยไม่ต้องคำนึงถึงหลักวิชาเมื่อคิดย้อนกลับไปถึง การปฏิวัติรัฐประหาร ในอดีต...ก็อดคิดไม่ได้เช่นกันเมื่อเห็นเนื้อความของรัฐธรรมนูญ ปี 2550ซึ่งเป็นรัฐธรรมนูญที่สร้างเงื่อนไขและเป็นประเด็นในการ“ก่อกวนป่วนเมือง” รอบใหม่ทำไม? พันธมิตรฯ จึงไม่ร่วมกันคิดและแก้ไข “ดีกว่า”มานั่งตั้งหน้าตั้งตา “คัดค้าน” เพื่อหวัง “ประโยชน์” ทางการเมืองเข้าทางฝักฝ่ายกลุ่มพรรคพวกตนอาณาจักร คือ ประชาชน...ไม่ใช่ปล่อยให้พวก “กังฉิน”ขึ้นมาครองเมือง!“พันธมิตรฯ” คือ กลุ่มก้อนการเมืองภาคประชาชนที่“เข้มแข็ง” และเป็นส่วนสำคัญในการเป็นที่พึ่งของประชาชนน่าเป็นห่วง...กับการแสดงออกของ “แกนนำพันธมิตรฯ”เวลานี้ ที่คัดค้านและไม่รับฟังเหตุผลของบุคคลอื่นเอาความคิดตนเป็นใหญ่...การกระทำเปรียบเปรยสื่อถึงว่า “รัฐธรรมนูญ ปี 2550” คนอื่นห้ามแก้ไข แต่ตนเองสามารถแก้ไขปรับปรุงได้จากการตรวจสอบการเมืองนอกสภาฯ ในอดีต...วันนี้“พันธมิตรฯ” ตัดสินใจแน่วแน่แล้วมิใช่หรือ สำหรับการก้าวเท้าเข้ามาเล่นการเมืองในสภาฯสมบัติผู้ดีของนักการเมือง ข้อ 8 ให้ข้อคิดเตือนสติว่า...นักการเมือง ต้องรู้จักข้อคิดต่อไปนี้ “นกน้อยก็ต้องทำรังแต่พอตัว นกคุ่มก็คุ้มแต่รังตัว จ่าโขลงช้างก็ควรแต่คุ้มครองโขลงช้าง”แต่อย่าอหังการคิด “คุ้มครองสัตว์ทั้งป่า” เพราะยังมีสัตว์ป่าอื่นที่แม้ตัวเล็กกว่า ชราภาพกว่า แต่ยังคล่องแคล่วกล้าหาญมากกว่า ที่พร้อมจะ “ขวางกิเลส” ได้เสมอ! ■