ที่มา ข่าวสด
คอลัมน์ เหล็กใน
ด้วยการประกาศว่ารัฐบาลจะไม่เป็นเจ้าภาพ พร้อมกับโบ้ยให้เป็นเรื่องสภา
โยนให้ทำประชาพิจารณ์บ้าง อ้างไม่ใช่เรื่องเร่งด่วนบ้าง แก้แล้วจะทำให้เกิดความวุ่นวายทางการเมืองบ้าง
ล่าสุด พรรคประชาธิปัตย์ โดยนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกฯ ก็กลับลำลงมาเดินเกมเอง ด้วยการเสนอให้ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีในวันนี้ มีมติให้เปิดประชุมรัฐสภาเพื่อพิจารณาข้อเสนอคณะกรรมการสมานฉันท์ฯ
สำหรับ 6 ประเด็น ที่กก.สมานฉันท์ฯ เสนอแก้ไข ประ กอบด้วย
มาตรา 93-98 ที่มาของส.ส.ให้ใช้ตามรัฐธรรมนูญ ปี 2540 แต่ไม่ต้องกำหนดเกณฑ์ขั้นต่ำของส.ส.บัญชีรายชื่อ
มาตรา 111-121 ที่มาของส.ว.ให้กลับไปใช้ตามรัฐธรรมนูญปี 2540
มาตรา 190 การทำหนังสือสัญญาที่ต้องได้รับความเห็นชอบของรัฐสภา ให้คงหลักการเดิมแต่เพิ่มเติมข้อความในวรรค 5 ให้กำหนดประเภทของหนังสือสัญญาที่ต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภา
มาตรา 237 เสนอให้ยกเลิกการยุบพรรคการเมืองและเพิกถอนสิทธิ์เฉพาะตัวผู้สมัครที่ทำความผิด ถ้าบุคคลนั้นเป็นหัวหน้าพรรคหรือกรรมการบริหาร ควรได้รับโทษที่สูงกว่าสมาชิกปกติ
มาตรา 265 ให้ส.ส.ดำรงตำแหน่งทางการเมือง อาทิ เลขานุการหรือที่ปรึกษารัฐมนตรีได้
มาตรา 266 การแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนให้ประชาชนของส.ส.และส.ว. เสนอให้ตัดข้อความใน (1) ออก เพื่อให้ส.ส. ส.ว.เข้าไปช่วยแก้ปัญหาของประชาชนผ่านส่วนราชการได้
ว่ากันว่าสาเหตุที่ประชาธิปัตย์กลับลำ เพราะรู้สึกตัวว่ารัฐบาลเริ่มทำงานลำบาก
ไหนจะปัญหาระหว่างพรรคร่วมรัฐบาล โดยเฉพาะการ "ซ่อนดาบที่พร้อมจะประ" ได้ทุกเมื่อ ระหว่างประชาธิปัตย์กับภูมิใจไทย
ไหนจะต้องตอบแทนบุญคุณผู้อุปการคุณที่อุ้มสม ทำคลอดรัฐบาลชุดนี้ขึ้นมา
รวมถึงการแต่งตั้งผบ.ตร.คนใหม่ ที่คาราคาซังในขณะนี้
ยิ่งเช็ก เสียงก็ยิ่งหด ล่าสุดก็พบว่าก.ต.ช.ไม่น้อยกว่า 7 เสียงพร้อมโหวตสวน ถ้าหากยังจะดันทุรังผลักดันคนเดิม
ที่ผ่านมา ก็ถูกหักหน้า โดนตีตกไม่เป็นท่ามาแล้ว
บ่งชี้ว่าภาวะผู้นำของนายกฯ เสียหายยับเยิน
เรื่องการแก้รัฐธรรมนูญนั้น นายอภิสิทธิ์อ้างว่าที่มองไม่ใช่เรื่องเร่งด่วนก่อนหน้านี้ เพราะต้องดูแลแก้ปัญหาเศรษฐกิจก่อน
ว่ากันว่าที่ประชาธิปัตย์ต้องออกมาเล่นเรื่องนี้ เพราะต้องการลดกระแสการระดมพลของม็อบเสื้อแดงที่นัดชุมนุมใหญ่ในวันที่ 19 ก.ย.ด้วย
โดนทั้งพรรคร่วมบี้ ถูกทั้งกระแสม็อบบีบ ก็เลยต้องหารูหายใจเป็นธรรมดา!!