ที่มา บางกอกทูเดย์
สร้างปรากฏการณ์ใหม่ให้กับการเมืองท้องถิ่นได้อย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน สำหรับศึกเลือกตั้งนายก อบต. และสมาชิก อบต.ทั่วประเทศ ทั้ง 74 จังหวัด เมื่อวันอาทิตย์ที่6 ก.ย.ที่ผ่านมาปรากฏการณ์แรกคงจะเป็น “คลื่นมหาชน” ที่มุ่งหน้าสู่จังหวัดของตนเอง เพื่อใช้สิทธิ์เลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญปรากฏการณ์ที่สอง คือ ผลการเลือกตั้งที่ออกมาเมื่อดูแล้วส่วนใหญ่เป็นผู้สมัครที่อิงแอบกับพรรคการเมืองหรือขั้วการเมืองสนามใหญ่ ทั้งพรรคเพื่อไทย–ประชาธิปัตย์-ภูมิใจไทย
โดยเฉพาะอย่างยิ่งศึกเลือกตั้งในสนาม จ.บุรีรัมย์ ที่มีการขับเคี่ยวของ 2 พรรคการเมืองใหญ่ ทั้ง “ภูมิใจไทย” และ“เพื่อไทย” สุดท้ายแล้วเกมนี้เจ้าของพื้นที่เดิมอย่าง“ภูมิใจไทย” ยังคงมีชัยเหนือสนามเลือกตั้งทั้ง 78 แห่งกว่า 90 เปอร์เซ็นต์ ล้วนแต่เป็นผู้สมัครเสื้อสีน้ำเงินที่เข้าวินมีทั้งอดีตนายกฯ และผู้สมัครหน้าใหม่นอกจากนี้ ศึกเลือกตั้งครั้งนี้ “เสื้อน้ำเงิน” ยังเอาชนะคู่แข่งที่เป็นฐานเสียง นายปณวัตร เลี้ยงผ่องพันธุ์ อดีตส.ส.บุรีรัมย์ ในพื้นที่ อ.คูเมือง, อ.บ้านใหม่ไชยพจน์ รวมทั้งพื้นที่ อ.นางรอง, อ.เฉลิม พระเกียรติ ที่เคยเป็นของกลุ่มนายโสภณ เพชรสว่าง อดีต ส.ส.บุรีรัมย์ พรรคไทยรักไทยนายประกิจ พลเดช ส.ส.บุรีรัมย์ พรรคภูมิใจไทย ระบุว่าการโฟนอินของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ไม่ว่าจะดำเนินการในรูปแบบไหน ไม่ได้กระทบต่อผู้สมัคร อบต. ในส่วนของพรรคภูมิใจไทย โดยเฉพาะ จ.บุรีรัมย์ ซึ่งเป็นฐานเสียงของพรรคยืนยันไม่มีปัญหา โดยการเลือกตั้ง อบต.ได้ตรงตามเป้าก่อนหน้านี้ มีการคาดการณ์ไว้ว่า ศึกเลือกตั้ง อบต.ครั้งนี้คนเสื้อแดงหลายจังหวัดในภาคอีสานและภาคเหนือจะกลับเข้ามายึดเก้าอี้คืนเพื่อ “ตบหน้ารัฐบาล” แต่จากผลเลือกตั้งในภาคอีสานหลายจังหวัดชี้ให้เห็นว่า “เสื้อแดง”ยังไม่แรงเท่าที่ควรแม้จะมี พ.ต.ท.ทักษิณ เป็นแม่เหล็กดึงดูดแขกให้ก็ตามแต่ยังไม่เพียงพอกับความสนิทสนมของเครือข่าย“เสื้อน้ำเงิน” ที่เดินเกมมาตลอด 2 เดือนที่ผ่านมาเช่นเดียวกับผลการเลือกตั้ง อบต. ในพื้นที่จ.นครราชสีมา ซึ่งเป็นฐานเสียงเดิมของ ว่าที่ ร.ต.ไพโรจน์สุวรรณฉวี แกนนำพรรคเพื่อแผ่นดิน สามี ร.ต.(หญิง)ระนองรักษ์ สุวรรณฉวี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) ที่ผูกขาดการเมืองท้องถิ่น ทั้งสมาชิกองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) และอบต. ในเขตเลือกตั้ง อ.จักราช, อ.ห้วยแถลง, อ.โชคชัย,
อ.พิมาย และ อ.ชุมพวงแต่สุดท้าย “เกมพลิก” เครือข่ายเพื่อแผ่นดินพ่ายให้กับกลุ่มผู้สมัครนายก อบต. ในเครือข่ายของ “เสื้อน้ำเงิน”อย่าง นายบุญจง วงศ์ไตรรัตน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทยขณะที่เครือข่าย นายวิรัช รัตนเศรษฐ ส.ส.สัดส่วนพรรครวมใจไทยชาติพัฒนา ชนะเลือกตั้งในบางพื้นที่เท่านั้นส่วนที่ จ.เชียงใหม่ ผู้สมัคร อบต. ที่พรรคเพื่อไทยและส.ส.ในพื้นที่ 10 คน สนับสนุน สามารถยึดครองพื้นที่ อบต.ได้ 80% ส่วน 20% ที่ถูกแย่งไปส่วนใหญ่เป็นผู้สมัครอิสระแต่ผู้สมัครบางรายเป็นสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์โดยผ่านด่านมาได้กว่า 10 แห่งเช่นเดียวกับผลการเลือกตั้ง อบต.ใน จ.เชียงราย ที่เป็นฐานกำลังของเสื้อแดงอีกแห่งที่ถูกจับตามองว่า ศึกเลือกตั้งครั้งนี้จะเป็นการชี้วัด “บารมี” ของ นายยงยุทธ ติยะไพรัชว่า จะยังสามารถรักษาฐานที่มั่นได้หรือไม่แต่สำหรับศึกเลือกตั้งครั้งนี้ พบว่าพรรคเพื่อไทยแพ้การเลือกตั้งไปหลายเขต อาทิ อ.แม่สาย และ อ.แม่จันอีกด้าน คือ จ.อุดรธานี พื้นที่สีแดงของจริง ที่ใครๆต่างเชื่อว่า “คนเสื้อแดง” จะนำชัยกลับมาอีกครั้งในหลายพื้นที่ แต่ผลการเลือกตั้งครั้งนี้แม้จะมี นายขวัญชัยไพรพนา เป็นแกนนำแดงอีสาน แต่ผลเลือกตั้งออกมาฐานเสียงของคนเสื้อแดงเสียเก้าอี้ไปกว่า 80% ให้กับ“คนเสื้อน้ำเงิน”นายอุทัย แสนแก้ว ส.ส.อุดรธานี พรรคภูมิใจไทยกล่าวว่า แม้พื้นที่ จ.อุดรธานี มีแกนนำกลุ่มเสื้อแดง คือนายขวัญชัย ไพรพนา ซึ่งเป็นสาวกของ พ.ต.ท.ทักษิณอาศัยสถานีวิทยุของตัวเองในการหาเสียงให้กับผู้สมัครอบต.ในสังกัดพรรคเพื่อไทย แต่ก็ไม่สามารถทำอะไรได้ศึกเลือกตั้ง อบต.ครั้งนี้ นอกจากจะเป็นการวัดกำลังระหว่าง “เสื้อน้ำเงิน” และ “เสื้อแดง” ยังเป็นการวัดความร้อนแรงและความแผ่วของฐานเสียงทั้ง 2 ขั้วการเมืองด้วยเช่นกัน เพราะน้องใหม่มาแรงอย่าง“เสื้อน้ำเงิน” กำลังยึดฐานเสียงคืนจากเจ้าของเดิมนั่นยิ่งสะท้อนให้เห็นชัดว่า ศึกเลือกตั้งสนามใหญ่สีที่น่ากลัวอาจไม่ใช่ “สีแดง” ■