WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Wednesday, September 9, 2009

จรรยาบรรณสื่อในทัศนะของ ‘เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง’ กับ ‘จอม เพชรประดับ’

ที่มา ประชาไท

ในบทความชื่อ “จิตสำนึกของสื่อไม่ใช่แค่ตอบสนองความอยาก” ดร.เจิมศักดิ์ ปิ่นทองได้วิจารณ์กรณีที่ จอม เพชรประดับ สัมภาษณ์ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ออกอากาศทางรายการวิทยุ เอฟเอ็ม 100.5 อสมท. เมื่อวันอาทิตย์ที่ 6 กันยายน 2552 ทำนองว่าเป็นการทำงานของสื่อที่มุ่งตอบสนองความอยาก (ทั้งของตนเองและผู้อื่น) มากกว่าที่จะคำนึงถึงจรรยาบรรณวิชาชีพและผลประโยชน์ส่วนรวม (ผู้จัดการออนไลน์, 07/09/2552)

ดร.เจิมศักดิ์ เห็นว่า สื่อมวลชน (ที่มีจรรยาบรรณวิชาชีพและคำนึงถึงผลประโยชน์ส่วนรวม) ไม่ควรนำเสนอความคิดเห็นของทักษิณสู่สาธารณะ ด้วยเหตุผลถึง 7 ข้อ ใจความสำคัญสรุปได้ว่า

“ทักษิณเป็นนักโทษหนีคุก และยังมีคดีอยู่ในกระบวนการยุติธรรม ถูกกล่าวหาว่าทุจริตร้ายแรงหลายคดี รวมถึงคดีทุจริตที่อยู่ในชั้นศาลอีกหลายคดี เช่น คดีทุจริตหวยบนดิน, คดีทุจริตเงินกู้เอ็กซิมแบงก์, คดีทุจริตร่ำรวยผิดปกติ ยึดทรัพย์ 76,000 ล้าน ฯลฯ และยังมีคดีที่ศาลฎีกามีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้ว คือ คดีที่ดินรัชดา ให้ลงโทษจำคุกทักษิณ 2 ปี ไม่รอลงอาญา เป็นต้น

นอกจากนี้ ทักษิณแสดงตนให้เห็นชัดเจนว่า เป็นผู้เกี่ยวข้อง หรืออยู่เบื้อหลังเหตุการณ์จลาจล เผาบ้านเผาเมืองในช่วงสงกรานต์ ทำการปลุกระดมสั่งการประชาชนให้ออกมาก่อความไม่สงบเรียบร้อยในบ้านเมือง ในทางเปิดเผย เช่น “ผมแพ้ไม่ได้” – “อย่ากลับบ้านมือเปล่า” – เราต้องไม่ถอย มีแต่บุกไม่มีถอย” – “เสียงปืนแตก จะลับมานำประชาชนด้วยตนเอง” ฯลฯ

ถ้าทักษิณได้รับสิทธิ์ให้แสดงความเห็นผ่านสื่อกระแสหลักได้ นักโทษอื่นๆ เช่น นายราเกซ สักเสนา นายปิ่น จักกะพาท นายวัฒนา อัศวเหม นายสมชาย คุณปลื้ม ฯลฯ ก็ควรได้รับสิทธิ์เช่นเดียวกัน”

แต่ในอีกมุมหนึ่ง จอม เพชรประดับ ให้เหตุผลในการสัมภาษณ์ พ.ต.ท.ทักษิณว่า
“...เมื่อ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร คือบุคคลที่ถูกมอง และถูกกล่าวหาว่า เป็นสาเหตุแห่งวิกฤตทางการเมืองที่เกิดขึ้นอยู่ในสังคมไทยเวลานี้ ก็ควรจะได้มีโอกาสได้ชี้แจงข้อเท็จจริง (แม้ฝ่ายตรงข้ามจะมองว่า คำพูดของ พ.ต.ท.ทักษิณ เป็นข้อเท็จเสียมากกว่าข้อจริง แต่หน้าที่ของสื่อมวลชน ก็ไม่อาจจะไปตัดสิน หรือสรุปได้เช่นนั้น ) และการสัมภาษณ์ก็ไม่ใช่ลักษณะของการโฟนอินเข้ามาด้วยเหตุผลทางการเมือง เหมือนที่ผ่านมา แต่เป็นการให้สัมภาษณ์กับสื่ออย่างเป็นกิจจลักษณะ” (ประชาไท, 07/09/2552)

จากเหตุผลดังกล่าว เราอาจตีความได้ว่า ในทัศนะของจอม การนำเสนอความเห็นอีกด้านต่อสาธารณะเป็น “หน้าที่ของสื่อมวลชน” ที่มีจรรยาบรรณวิชาชีพและคำนึงถึงผลประโยชน์ของส่วนรวม

อันที่จริงเราสามารถเข้าใจความคิดของจอมอย่างตรงไปตรงมาง่ายๆ ว่า หน้าที่ของสื่อที่มีจรรยาบรรณวิชาชีพ คือการเสนอข้อเท็จจริงและความคิดเห็นรอบด้านให้สาธารณชนได้รับรู้และวินิจฉัยเอง

การเปิดพื้นที่สื่อสาธารณะให้ประชาชนได้รับรู้ข้อมูลรอบด้านและวินิจฉัยเอง เป็นการเคารพต่อสิทธิที่จะรับรู้ความจริงและดุลพินิจของประชาชน นี่คือสิ่งที่หาได้ยากยิ่งจากสื่อยุคปัจจุบัน

ข้ออ้างของ ดร.เจิมศักดิ์ที่ว่า “ถ้าทักษิณได้รับสิทธิ์ในการแสดงความเห็นต่อสาธารณะผ่านสื่อกระแสหลัก นักโทษอื่นๆ เช่น ราเกซ สักเสนา ฯลฯ ก็ควรได้รับสิทธิ์นั้นเช่นกัน” เป็นการอ้างเหตุผลเปรียบเทียบที่ไม่สมเหตุสมผล เพราะทักษิณกับคนเหล่านั้นมีข้อแตกต่างอย่างสำคัญ เนื่องจากทักษิณเป็นนายกรัฐมนตรีที่ถูกทำรัฐประหาร และเขาต้องต่อสู้ด้วยเหตุผลที่ในแง่หนึ่งเกี่ยวข้องกับปัญหาของระบบการเมืองไทยอย่างมีนัยสำคัญ ดังที่เขาให้สัมภาษณ์ จอม เพชรประดับ ว่า

“...บ้านเมืองที่ยุ่งวันนี้ โครงสร้างปกติไม่สามารถทำงานได้ปกติ เพราะคนที่อยู่นอกโครงสร้างของการบริหารจัดการ เข้ามาสั่งการใช้บารมี ใช้อำนาจจัดการตรงนั้นตรงนี้ ทำให้คนที่อยู่ในโครงสร้างทำงานไม่ได้ ผมเจอปัญหานี้ตอนที่ผมเป็นนายกฯ ปีสุดท้าย ที่สร้างขบวนการพันธมิตรประชาชนฯ เข้ามาไล่ผม เพื่อเป็นเหตุในการปฎิวัติ (รัฐประหาร 19 กันยา 49) …” (ประชาไท, 09/09/2552)

ต่อให้ทักษิณเป็นนักโทษหนีคุก หรือโกงบ้านกินเมืองอย่างไรก็ตาม สิ่งที่เขาพูดย่อมเป็น “ปัญหาสำคัญ” ที่สื่อควรนำเสนอ สังคมควรรับฟัง และไตร่ตรอง ยิ่งกว่านั้นสื่อควรเจาะลึกหรือหาข้อมูลพิสูจน์ว่าสิ่งที่เขาพูดนั้นเป็นจริงหรือไม่

หากเป็นจริง แล้วสื่อและสังคมยัง “วางเฉย” อยู่ได้ก็นับเป็นเรื่องที่อันตรายอย่างยิ่ง!

คำถามจึงอยู่ที่ว่า สื่อที่พยายามเสนอข้อเท็จจริงและความคิดเห็นรอบด้าน กับสื่อที่เน้นการเสนอความจริงด้านเดียวและพยายามชี้นำให้สาธารณะ “ปิดตาข้างหนึ่ง” สื่อประเภทไหนกันแน่ที่มีจรรยาบรรณวิชาชีพ และทำหน้าที่เพื่อผลประโยชน์ของส่วนรวมอย่างแท้จริง?