WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Tuesday, September 8, 2009

'ดารณี ชาญเชิงศิลปกุล' ตัวอย่างของชีวิตที่ไม่สามารถดำรงอยู่ได้

ที่มา ประชาไท

“ดารณี ชาญเชิงศิลปกุล” หรือ “ดา ตอร์ปิโด” ถูกศาลชั้นต้นตัดสินว่ามีความผิดประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 และสั่งจำคุก 18 ปี เป็นคดีที่น่าสะเทือนใจในสังคมการเมืองที่เรียกตัวเองว่าเป็นสังคมประชาธิปไตย แต่ชีวิตของคุณดารณี เป็นเพียงตัวอย่างของชีวิตจำนวนมากที่ไม่สามารถเป็นชีวิตที่ดำรงอยู่ได้ (livable life) ในสังคมการเมืองนี้

ความคิดเห็นจากเว็บไซต์ข่าวในคดีของคุณดารณี มักเป็นไปในทางเดียวกัน คือกล่าวโจมตี เย้ยหยัน ด้วยความสะใจ ดังตัวอย่างในเว็บไซต์ผู้จัดการ [1]
“เห็นหน้าแต่ละตัว...คล้ายพวก...สัตว์นรกมาเกิด... อย่าหวังว่า..ชาติหน้าจะมีสำหรับพวกแกอีก....จำไว้...อย่าให้เจอบนท้องถนนนะ...โดนตีบแน่..”
“น่าจะเอาไปฉีดยาพิษให้ตายให้หมดไปเลยจะดีกว่า อยู่ไปก็เปลืองงบประมาณเปล่าๆ”
คำถามที่น่าสนใจ คือ ทำไมชีวิตของคน ๆ หนึ่งซึ่งอยู่ในสังคมการเมืองเดียวกันจึงไม่ถูกนับรวมว่าเป็นชีวิต? ทำไมความอยุติธรรมที่เกิดขึ้นกับชีวิตหลายชีวิตกลับถูกเย้ยหยัน ไม่ใส่ใจ เพียงเพราะเขามีจุดยืนทางการเมืองที่ต่างจากคนส่วนใหญ่เท่านั้นหรือ?
หากอธิบายตามแนวคิดของจูดิต บัทเลอร์ (Judith Butler) การที่ชีวิตอย่างชีวิตของคุณดารณี ไม่ถูกนับรวมว่าเป็นชีวิต เพราะการกระทำ จุดยืน ของคุณดารณี ไม่ได้สอดคล้องกับบรรทัดฐาน (norm) ที่เป็นสิ่งกำหนดว่าอะไร คือ ชีวิต และอะไรไม่ใช่ ในเมื่อไม่ใช่ชีวิต ย่อมไม่สามารถรับความโศกเศร้าได้ (grievability) เมื่อโศกเศร้าไม่ได้ ย่อมไม่ใช่ชีวิตที่สามารถดำรงอยู่ได้
นอกจากนั้นบรรทัดฐานยังสามารถลบความรุนแรงที่ปรากฎให้หายไปได้ ดังเช่น กรณีการทำร้ายผู้ไม่ยืนเคารพเพลงสรรเสริญฯในโรงหนัง เป็นตัวอย่างที่ชัดเจนของการทำงานของความรุนแรงเชิงบรรทัดฐานที่ทำให้ความรุนแรงเชิงกายภาพหายไปได้ [2]
อาจกล่าวได้ว่าบรรทัดฐานที่กล่าวไปข้างต้น ก็คือ แนวคิดราชาชาตินิยม (Royal Nationalism) หรือ อีกนัยหนึ่งก็คืออุดมการณ์กระแสหลักของสังคมการเมืองไทย ดูเหมือนว่าสิ่งที่กำลังดำเนินไปในสังคมการเมืองนี้ ไม่ได้ต่างอะไรจากการล่าแม่มด หรือ บุคคลนอกรีตในยุคกลาง
กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ทำให้สังคมการเมืองไทย ไม่ต่างจากสังคม CCTV ที่ทุกชีวิตที่ดำรงอยู่ และสิ่งที่ดำรงอยู่แต่ไม่ถูกนับรวมว่าเป็นชีวิต ต้องคอยระแวดระวังกันโดยเฉพาะในอาณาบริเวณสาธารณะ เพราะเสมือนว่ามีกล้อง CCTV จับตาดูอยู่ตลอดเวลา ในแง่นี้สังคมนี้จึงเป็นสังคมที่ไม่สามารถพูดความจริงได้ในอาณาบริเวณสาธารณะ
ชีวิตของคุณดารณี เป็นเพียงตัวอย่างของชีวิตที่ไม่สามารถดำรงอยู่ได้ ไม่สามารถได้รับความเศร้าโศกได้ ผู้เขียนหวังว่า สักวันชีวิตที่ไม่สามารถดำรงอยู่ได้เหล่านี้จะสามารถกลับมาดำรงอยู่ได้ตามจุดยืนทางการเมืองที่เขาและเธอปรารถนา และหวังว่า อย่างน้อยคนกลุ่มเล็ก ๆ จะไม่ลืมชื่อ ดารณี ชาญเชิงศิลปกุล ตัวอย่างของชีวิตที่ไม่สามารถดำรงอยู่ได้ในสังคมการเมืองไทย
อ้างอิง
[2] โปรดดูรายละเอียดใน ภูวิน บุณยะเวชชีวิน. “อำนาจของความโศกเศร้า,” วิภาษา, ปีที่ 3 ฉบับที่ 4 ลำดับที่ 20 (1 สิงหาคม – 15 กันยายน 2552), 53-56.