ที่มา thaifreenews
บทความโดย... dreamcatcher
คำปาฐกถาของธีรยุทธ บุญมี
มุมมองใหม่ประวัติศาสตร์วรรณกรรมไทย วรรณกรรมไทยกับกึ่งศตวรรษที่หายไป
อัล แบร์ กามูส์ เคยกล่าวไว้ว่าหากโลกไม่มีศตวรรษที่ 19 ของนักเขียนรัสเซีย เช่น ตอลสตอย ดอสโตเยฟสกีก็จะไม่มีตัวเขาและนักเขียนคนอื่น ๆ อีกมาก เช่นเดียวกันเราก็อาจสรุปว่าถ้าไม่มีครึ่งศตวรรษของปัญญาชนแบบศรีบูรพาและ คณะสุภาพบุรุษก็จะไม่มีครึ่งศตวรรษของปัญญาชนรุ่น 14 ตุลาคม สิ่งที่เราได้รับสืบทอดจากปัญญาชนรุ่นพ่อคณะนี้ก็คือการนับถือในความจริงการ ต่อสู้กับความยุติธรรม และจิตวิญญาณเพื่อเสรีภาพ
แต่สำหรับสังคมโดย ทั่วไปและแม้แต่ในหมู่นักศึกษา นักวิชาการ ค่อนศตวรรษของศรีบูรพาและคณะเป็นภาพที่ลางเลือน ผมคิดว่าปัญหาไม่ได้อยู่ที่ความทรงจำของสังคม ปัญหาอยู่ที่การสร้างกรอบครอบวรรณกรรมไทยด้วยสูตรอันว่างเปล่า ส่งผลให้นักเขียนไทย วรรณกรรมกลายเป็นไร้ตัวตน ไร้ความคิดสร้างสรรค์ ไร้อิทธิพลต่อสังคมไทย อันจำเป็นที่สังคมไทยต้องเร่งพยายามหามุมมองใหม่เพื่อแก้ไขสภาพดังกล่าว
(ตรงกลางมีแต่ผมตัดไปเพราะยาวมาก)
กล่าว ได้ว่า สังคมไทยปัจจุบันก้าวมาสู่สังคมสมัยใหม่ยุคที่สองและสังคมสมัยใหม่ตอนปลาย หรือสังคมหลังสมัยใหม่ ซึ่งล้วนแต่เป็นการอธิบายถึงสิ่งเดียวกันคือความล้มเหลวของ 3 กระบวนทัศน์ใหญ่ดังกล่าว คนรุ่นสมัยใหม่ยุคสองนี้ไม่สนใจสังคมใหญ่ พวกเขาอาจจะมีอุดมคติแต่เป็นจุดแยกย่อย เช่น อนุรักษ์ช้าง นก ป่าบางผืน พวกเขาไม่สนใจสัญลักษณ์แบบนักเขียนรุ่นยุควิกฤตสมัยใหม่ พวกเขาสนใจแต่สัญญะหรือเครื่องหมายที่บ่งถึงตัวตนของพวกเขาการต่อสู้ของพวก เขาทำเพื่อสิทธิและวิถีชีวิตของแต่ละคน ซึ่งก็แตกแยกย่อยเป็นส่วนเล็กส่วนน้อยเช่นกัน คนรุ่นนี้ทั่วโลกเริ่มมีประสบการณ์ร่วมกัน เกิดวรรณกรรมแปลที่หลากหลายวัฒนธรรมแต่มีจุดร่วมเป็นประสบการณ์ชีวิตที่ขาด วิ่น ไม่มีสิ่งที่ศรัทธาได้ ไม่มีจุดหมาย ไร้ความมั่นคง การหมกมุ่นในคุณค่า ความหมาย กับภาวะแยกย่อยขาดวิ่นเหล่านี้ วรรณกรรมและวัฒนธรรมก็สะท้อนประสบการณ์เหล่านี้ออกมาเช่น การหมกมุ่นกับการนอน ครัว น้ำหนักตัว เพศ การกิน วิดีโอเกมของแต่ละบุคคล แต่นักประพันธ์รุ่นหลังก็ทำให้สิ่งเหล่านี้มีความงามทางศิลปะ น่าสนใจติดตามวรรณกรรมไทยก็เริ่มสะท้อนภาวะนี้ให้เห็นตั้งแต่แนวกระแสสำนึก ของบุคคลของกนกพงศ์ สงสมพันธ์ แดนอรัญ แสงทอง วิถีชีวิตย่อย เช่น ครอบครัวกลางถนน ของศิลา โคมฉาย มุมมองย่อย ชีวิตที่เป็นเศษเสี้ยวไม่สอดคล้องของวินทร์ เลียววาริน อัญชัน และปราบดา หยุ่น เป็นต้น
ปาฐกถาประมาณ ปี2005
อ่านข้างบนดู เหมือนขลังดีนะครับ
แต่จริงๆแค่คำพูดที่ ผ่านการประดิษฐ์ เพื่อตีกรอบปกปิดสาระสำคัญบางอย่าง
ปิดความคิดสร้างสรรค์ ใหม่ๆ ปิดกั้นแนวโน้มค่านิยม หรือ TREND
ที่จะเกิดขึ้นใน วงการวรรณกรรม
ทำไม เพราะ การปาฐกถา นี้มี ไม่ได้พูดถึง อินเตอร์เน็ทเลย
หลายปีมานี้ วงการวรรณกรรมทั่วโลก มีนักเขียนหน้าใหม่เกิดขึ้นมาจาก
อินเตอร์เน็ท โดยเฉพาะเกาหลีใต้ วรรณกรรมหลายเรื่อง ที่ประสบความสำเร็จ
จนทำเป็น หนังทีวีมาฉายบ้านเรา ทางช่อง 7 สี เรื่อง เจ้าหญิงวุ่นวายกับเจ้าชายเย็น
ชา เรื่องนี้เดิมก็เผยแพร่ทางอินเตอร์เน็ท ก่อนจนโด่งดังไปทั่วเกาหลีใต้ แล้วจึงมาเป็นหนังสือ และ หนังชุดทางทีวี
แนว โน้มสำนักพิมพ์หลายประเทศ ในโลกจะหา วรรณกรรมที่ประสบความสำเร็จจาก อินเตอร์เน็ทมาตีพิมพ์ เพราะมีกลุ่มลูกค้าที่แน่นอนกลุ่มหนึ่งคือบรรดาผู้ที่อ่าน
ทางอินเตอร์เน็ท ถึงแม้จะรู้เนื้อหาหมดแล้ว แต่ก็อยากได้ฉบับรวมเล่ม
ถ้าเรื่องนั้นได้รับความนิยมทางอินเตอร์เน็ทสูง ก็เป็นการสอบเรตติ้งผ่านในระดับหนึ่ง โอกาสขาดทุนน้อยมาก
ในต่างประเทศ เค้าเรียนรู้ที่จะใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีเต็มประสิทธิภาพ
บ้านเราเก่งแต่การ บล็อก ไว้ให้บางกลุ่ม บางชนชั้น พรรคพวก เท่านั้น
ข้างบน ธีรยุทธ เริ่มที่ ศรีบูรพา แล้วก็นำท่าน ที่น่านับถือบางท่านมา
ต่อ หลังจากนั้น ก็แทรก เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ แล้วปิดท้ายด้วย ปราบดา หยุ่น
สอง คนหลังพรรคพวกของธีรยุทธทั้งนั้น ถามหน่อย คุณ คำพูน บุญทวี นักเขียน รางวัลวรรณกรรมสร้างสรรค์ยอดเยี่ยมแห่งอาเซียนประจำปี พ.ศ. 2522 หายไปไหน
เรื่อง ลูกอีสาน ที่ได้รางวัลหายไปไหน
การที่จะแบ่ง ประวัติศาสตร์ วรรณกรรมไทย เป็นยุค ต่างๆ
การแบ่ง ยุค ต่างๆ เราควรแบ่ง เพื่อให้จดจำง่าย ไม่ใช่ให้เพื่อ
ท่องจำ วิธีที่จะจำง่ายๆ ในการแบ่งยุค ก็คือแบ่ง เมื่อมีความแตกต่างอย่างชัดเจน
เช่น ที่เราเรียนเรื่อง ประวัติศาสตร์การปกครอง ว่าแบ่งเป็น ยุคสมัยที่เป็นสมบูรณ์บูรณาญาสิทธิราช อย่างสุโขทัย เป็นการปกครอง แบบ พ่อปกครอง ลูก แต่เราก็ให้อยู่ในกลุ่มนี้ กับยุค ประชาธิปไตย ถึงแม้ แม้มีการปฎิวัติ รัฐประหาร ผู้นำเป็นเผด็จการ แต่เรา จัดอยู่ใน กลุ่มนี้ เพราะหลังการปฎิวัติ ผู้นำการปฎิวัติก็ต้องออกมายืนยันทุกทีว่าจะคืนสิทธิการเลือกตั้งแก่ประชาชน ทุกครั้ง
ผมจะแบ่งเป็น สอง ยุค คือ วรรณกรรมและบทความ รวมทั้ง บทกวี ต่างๆ
ยุคที่1 ยุคก่อนอินเตอร์เน็ท ยุคนี้ การสื่อสารส่วนใหญ่จะเป็นไปในทางเดียว
เป็นรูปสามเหลี่ยม หน้าจั่ว หรือปิรามิด คือข่าวสาร ช่องทางต่างๆ จะกระจายจาก
บน ลงล่าง การสื่อสาร ไม่ว่าจะสื่อสิ่งพิมพ์ ทีวี วิทยุ ล้วนกระจายจากยอดลงสู่ด้านล่าง ถ้าผู้อ่านไม่เห็นด้วยกับข้อความ ส่ง จดหมายไปแสดงความเห็นก็อาจโดนโยนลงตระกร้า โทรศัพท์ ไปที่สถานีวิทยุก็ไม่ให้ออกอากาศ ตัวคนเขียนเอง
ก็ไม่สามารถหาข้อมูลต่างๆ ได้ง่าย บางทีต้องเดินทางไปไกลถึงห้องสมุดเพื่อหาข้อมูลมาเขียน
ไม่เคยมีใครเขียนจากความว่าง ครับ
ดัง นั้นคนที่จะเขียน บทความ วรรณกรรมต่างๆ จะมีจำนวนน้อย เพราะช่องทางในการสื่อสารที่ตีบแคบ นี่เอง และยังก่อให้เกิดกลุ่มแสวงหาผลประโยชน์ จากช่องทางที่ตีบแคบนี้ กีดกันไม่ให้คนที่มีความสามารถอื่นๆได้แสดงออก
ยุคที่ 2 ยุคที่อินเตอร์เน็ท มีการใช้อย่างแพร่หลาย
การสื่อสารเป็นไปในรูปแบบ สองทิศทาง
รูปแบบการสื่อสารเป็น รูปสี่เหลี่ยม คางหมู ที่ยอดอยู่ด้านบน
หรือเหมือน ปิรามิดที่ตัดยอดปลายออกทำให้มีโอกาสขึ้นไปยืนข้างบน
มากขึ้น เมื่อคนขึ้นไปยืนมากขึ้น คนที่แกร่งจริงเท่านั้นที่จะยืนหยัดอยู่ได้
และคนที่เคยอยู่บนยอดเก่า หลายคนก็จะโดนเบียดตกลงมา
คำว่ากรรมติดจรวดก็จะหมดไป เพราะแค่คลิก เดี๋ยวนี้กรรมก็ไปรอบโลกแล้ว
ธีรยุทธ เคยเห็นภาพเขียนก่อนประวัติศาสตร์ ที่ผาแต้ม หรือเห็นตัวหนังสือ
ในสุสาน... ฟาโรว์ มั้ย สิ่งแรกที่นายคิดคืออะไร ภาพนั้นดีหรือไม่
การลงสีดีหรือไม่
อย่างที่ผมว่า “ ไม่มีใครเขียนจากความ ว่าง “
ภาพหรือตัวหนังสือแสดงให้เห็นว่าคนสมัยนั้นบันทึกสิ่งที่เค้าเห็น ได้ยิน ได้กระทำ
อาจ จะรวมทั้งจินตนาการ เพื่อถ่ายทอดให้ อาจจะเป็นลูกหลานของเค้าได้ รู้ว่ามีความเป็นอยู่อย่างไร ทำมาหากินอย่างไร เดินทางด้วยอะไร มีโครงสร้างทางสังคมอย่างไร แสดงสิ่งที่คนสมัยนั้นเชื่อหรือเคารพบูชา
จะ บอกให้นะ ธีรยุทธ หนังสือทุกเล่ม หรือแม้แต่ สมุดบันทึกส่วนตัวเล่มหนึ่ง ก็บันทึกประวัติศาสตร์ของห้วงเวลานั้นๆเอาไว้ กว่าเราจะมีภาษา ใช้กันได้ไม่รู้เราต้องผ่านวิวัฒนาการกันมาเท่าไร
ไม่นานมานี้ผมดูสารคดีเรื่อง ลิงชิมแปนซี ทำหอกไปแทงสัตว์อื่น
โดยการหักกิ่งไม้ นำส่วนที่แหลมไปแทงสัตว์อื่นที่อยู่ในโพรงไม้
ลิงตัวอื่นดูแล้วก็ทำตาม แต่ไม่สามารถต่อยอดโดยทำให้หอกดีขึ้นกว่าเดิม
นักวิทยาศาสตร์สรุปว่า ลิงสอนกันเองไม่ได้ ทำให้พัฒนาไปกว่านี้ไม่ได้
ผมว่ามันคงติดขัดด้านภาษา มันยังไม่พัฒนาถึงขั้นที่สื่อสารกันได้อย่างถ่องแท้
ธีรยุทธเห็นคุณค่าของภาษาหรือยัง
ธีรยุทธ เคยอ่านเรื่อง ชุดบ้านเล็กในป่าใหญ่ ของลอล่า อิงกัลส์ ไวล์เดอร์
ไหม ผมว่าน่าจะผ่านตา ธีรยุทธบ้างแต่ คงไม่ ซาบซึ้งกับ หนังสือเล่มนี้หรอก
ไม่งั้นคงเอามาพูดถึงบ้าง เห็นนายพูดถึงแต่ ตอลสตอย
โลก รู้จักเรื่องนี้ในชื่อ Little House in the Big Woods (บ้านเล็กในป่าใหญ่) เล่าถึงชีวิตความเป็นอยู่ประจำวัน ของครอบครัวเล็กๆในกระท่อมไม้ซุง ในป่าใหญ่ทางตะวันตกของรัฐวิสคอนซินเมื่อปลายศตวรรษที่ ๑๙ เป็นวรรณกรรมเยาวชนยอดนิยมต่อเนื่องยาวนานที่สุดเรื่องหนึ่งของสหรัฐอเมริกา ตั้งแต่ปี ค.ศ. ๑๙๓๒ จนถึงปัจจุบัน แปลออกเป็นภาษาต่างๆทั่วโลกมากกว่า ๔๐ ภาษา รวมทั้งภาษาไทยโดย ''สุคนธรส'' เมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๐ ส่งชื่อเสียงของลอรา อิงกัลส์ ไวลเดอร์ให้ขึ้นไปอยู่แถวหน้านักเขียนนิยายเยาวชนของอเมริกา เธอได้รับรางวัลนิวเบอรี่ อวอร์ด ซึ่งมอบให้วรรณกรรมเยาวชนดีเด่นประจำปี และมีการตั้งรางวัลเป็นเกียรติแก่เธอด้วย คือรางวัลลอรา อิงกัลส์ ไวลเดอร์ อวอร์ด สำหรับผู้ชนะเลิศการเขียนนิยายประวัติศาสตร์สำหรับเยาวชน
นิยาย ชุด ''บ้านเล็ก'' ทั้งหมดนี้บรรยายชีวิตของเด็กหญิงสี่พี่น้อง ในครอบครัวอิงกัลส์ มองผ่านจากสายตา ของ ลอรา ลูกสาวคนที่สอง คนอื่นๆคือแมรี่ พี่สาวคนโต แครี่น้องสาวคนรองจากลอราและเกรซน้องสาวคนเล็กสุด นอกจากนี้คือบุคคลสำคัญที่สุดในบ้าน พ่อและแม่ผู้เป็นความรักความอบอุ่น และกำลังใจให้ลูกตลอดมา ไม่ว่าเหตุการณ์นอกบ้านจะยากแค้นแสนเข็ญ จากภัยธรรมชาติและเสี่ยงอันตราย ในแดนเถื่อนเท่าใดก็ตาม ในบ้านก็ไม่เคยขาดเพลงไพเราะ จากไวโอลินของพ่อ ในยามค่ำ อาหารอร่อยๆฝีมือแม่ ที่รู้จักดัดแปลงจากผักและเนื้อสัตว์ เท่าที่หามาได้ตามประสายาก ทั้งหมดนี้ร้อยเรียง เข้าเป็นความทรงจำงดงาม ของพี่น้องผู้เติบโตจากเด็กหญิงตัวน้อยๆ ขึ้นมาเป็นสาวรุ่นในเล่มสุดท้าย
เสน่ห์ อันหาตัวเปรียบยาก ของนิยายเยาวชนชุดนี้ คือประสบการณ์ซึ่งถ่ายทอดลงอย่างแม่นยำ ได้กลิ่นอายของความจริง ทั้งในเชิงประวัติศาสตร์และสังคมประจำวัน นับเป็นประสบการณ์หายากที่จะพบ เรียกความสนใจ ได้ตั้งแต่นักวิชาการ ลงไปจนถึงเยาวชนทั่วโลก
ธีรยุทธ เคยคิดไหมว่า ทำไมหนังสือ ที่เขียนตั้งแต่ปลายศตวรรษที่ ๑๙
แล้วยังได้รับความนิยมมาจนถึงปัจจุบัน เพราะมันเป็นหนังสือที่อ่านแล้วมี
ความสุข โดยไม่ขึ้นกับกาลเวลา เป็นครอบครัวที่อบอุ่น ไม่ว่าจะผ่านไปนาน
เท่าใดใครๆก็ยังใฝ่หา ชีวิตแบบนี้
ของไทยมีไหม มีแต่ธีรยุทธ ไม่ได้พูดถึง นักเขียนผู้นี้เลย คือ คุณ คำพูน บุญทวี
เรื่อง ลูกอีสาน เป็นหนังสือนวนิยายของคำพูน บุญทวี ได้รับรางวัลวรรณกรรมสร้างสรรค์ยอดเยี่ยมแห่งอาเซียนประจำปี พ.ศ. 2522 และได้รับการนำมาสร้างเป็นภาพยนตร์เรื่อง ลูกอีสาน ในปีพ.ศ. 2525 รวมทั้งยังได้รับการจัดให้เป็นหนังสือดี 100 เล่มที่คนไทยควรอ่านอีกด้วย
ผู้แต่ง คำพูน บุญทวี
เรื่องย่อ
ลูก อีสาน เป็นการนำเอาเรื่องราว จากประสบการณ์ ที่ผู้เขียนพบเห็น ถ่ายทอดในรูปนิยาย โดยได้เขียนเป็นตอนๆ ประมาณ 36 ตอน เพื่อพิมพ์ลง ในนิตยสารฟ้าเมืองไทย ช่วงปีพ.ศ.2518-2519 ลูกอีสาน ใช้วิธีการเล่าเรื่องราว โดยผ่านเด็กชายคูน ซึ่งใช้ชีวิตอยู่ ในถิ่นชนบท ของอีสาน แถบที่จัดได้ว่า เป็นถิ่นที่แห้งแล้ง แห่งหนึ่งของไทย ผู้เขียนได้เล่าถึง ขนบธรรมเนียม ประเพณี ตลอดจน ความเชื่อของชาวอีสาน รวมไปถึง การบรรยาย ถึงสภาพความเป็นไป ตามธรรมชาติ ของผู้คน และสภาพแวดล้อม เช่น การเกี้ยวพาราสีกัน ของทิดจุ่น และพี่คำกอง จนท้ายที่สุด ก็ได้แต่งงานกัน การออกไปจับจิ้งหรีดของคูน การเดินทางไปหาปลา ที่ลำน้ำชี เพื่อนำปลามาทำอาหาร และเก็บถนอม เอาไว้กินนานๆ ด้วยการทำปลาร้า เป็นต้น นอกจากนั้น ยังแทรกความสนุกสนาน เพลิดเพลิน จากการทำบุญ ตามประเพณี ไว้หลายตอน ด้วยเช่นกัน ได้แก่ การจ้างหมอลำหนู ซึ่งเป็นหมอลำ ประจำหมู่บ้าน ลำคู่กับหมอลำฝ่ายหญิง ที่ว่าจ้างมาจากหมู่บ้านอื่น ทั้งกลอนลำ และการแสดงออก ของหมอลำทั้งสอง สร้างความสนุกสนาน ครึกครื้น แก่ผู้ชมที่มาเที่ยวงาน อย่างมาก ลูกอีสาน เป็นการถ่ายทอดเรื่องราว จากประสบการณ์ ด้วยภาษาที่ตรงไปตรงมา และแสดงให้เห็นวิถีชีวิต ความเป็นอยู่ ของชาวอีสานว่า ต้องเผชิญ กับความยากลำบากอย่างไร การเรียนรู้ ที่จะอดทน เพื่อเอาชนะ กับความยากแค้น ตามธรรมชาติ ด้วยความมานะบากบั่น ความเอื้ออารี ที่มีให้กันในหมู่คณะ ความเคารพ ในระบบอาวุโส สิ่งเหล่านี้ ปรากฏอยู่ในแต่ละตอน ของลูกอีสาน รวมทั้ง การแทรกอารมณ์ขัน ลงไปด้วย
สองเรื่องนี้มีความคล้ายคลึงกันมาก ที่บันทึก เหตุการณ์ ความเป็นอยู่ ที่มีความสุขของผู้เขียนทั้งสองท่าน
ข้อที่แตกต่าง คือจุดหมายปลายทางของชีวิต ลอล่าฝันจะมีไร่ ที่สวยงาม
มีผลผลิตมากๆ
แต่ของ เด็กชายคูณ ทุกคนกลับบอกว่าอยากให้เรียนหนังสือเก่งๆจะได้เป็นใหญ่เป็นโต เป็นเจ้าคน นายคน
มาลองวิเคระห์กันดู ทำไม คนที่มีความสุขทั้งคู่แต่กลับมีความฝันต่างกัน
ลอล่า มีความเชื่อมั่นว่าจะประสบความสำเร็จในการทำไร่ หรือนา
เพราะ ที่ผ่านมาทั้งพ่อของเธอ และเพื่อนบ้านคนอื่นๆ ก็ประสบความสำเร็จในการทำ
ไร่ หรือ นา
แต่คูณ ทั้งหมู่บ้านไม่มีใครประสบความสำเร็จ หลายๆครอบครัว อพยพ ไปที่ๆมี
ดินดำน้ำชุ่ม
มาต่อเรื่อง วรรณกรรม ยกตัวอย่างเช่น บ้านทรายทอง
เรื่องพวกนี้แสดงให้เห็นการแบ่งชนชั้น ในสังคมในสมัยนั้น
การจะข้ามชนชั้นขึ้นมา จะต้องประกอบด้วยอะไร การเป็นตระกูลเก่า มี มรดก
มีการศึกษา เนื้อเรื่องจึงเป็นอย่างที่เห็น เพราะระบบสังคมเราไม่ใช่ระบบ พุทธ
แต่เป็นพราหมณ์ มีการแบ่ง ชั้นวรรณะ แบ่งลงไปกระทั่งใน ระบบเศรษฐกิจ
ทุก วันนี้ เด็กๆลูกคนรวยก็ มีโอกาสเรียนโรงเรียนดี ๆ จากนั้นก็สอบได้มหาวิทยาลัยดีๆ เข้าทำงาน เมื่อระบบการค้าผูกขาดในกลุ่ม การเข้าทำงานก็ยังต้องใช้เส้นสายช่วย
แล้วคนจน มันจะมีโอกาสไหม พอท่านทักษิณจะให้โอกาส คนเด็กบ้านนอก แบบ ดช คูณ ในลูกอีสาน ได้ไปนอก ก็มีคนมาทำลายอีก กรรมเวลามันตามทัน อย่ามาร้องละกัน
คนอ่าน สังเกตไหมว่า ธีรยุทธ ไม่เคยพูดถึงคนอ่านเลย
ทำไม ไม่พูด คงมีธีรยุทธคนเดียวที่ตอบได้
โถปรัชญา
มี จริตที่ปรุงแต่ง กันมากเหลือเกิน สังเกตดูธีรยุทธ ไม่พูดถึงศาสนาพุทธเลยทั้งๆที่ พระพุทธองค์ทรงสอนทุกอย่างไว้ตรงๆ หัดหาอ่านกันบ้าง ขนาดตรงๆแบบนี้คิดออกมั้ย จะยกมาตอนหนึ่งเรื่องเกี่ยวกับ ระบบเศรษฐกิจ
พระพุทธเจ้าทรงพูดถึง ระบบเศรษฐกิจไว้ดังนี้ (หนังสือพุทธธรรม ฉบับปรับปรุงและขยายความหน้า 795)
เมื่อบุคคลผู้หนึ่งมั่งมีขึ้น สังคมก็พลอยเจริญงอกงามอุดมสมบูรณ์ยิ่งขึ้น ดังนั้นทรัพย์ที่เกิดแก่คนดีคนหนึ่งก็เท่ากับเกิดแก่สังคมด้วย บุคคลดีที่มั่งมีขึ้นนั้นเป็นเหมือนเนื้อนาดีที่ข้าวงอกงามขึ้นเพื่อ ประโยชน์สุขของคนทั้งปวง
คนมั่งมีตามหลักการนี้ พึงยินดีเอิบอิ่มใจที่ได้มีความสามารถทำหน้าทีเป็นตัวแทนเป็นเจ้าการหรือมี เกียรติเหมือนด้รับความไว้วางใจจากสังคม ในการจัดหาทรัพย์มาช่วยอุดหนุนหล่อเลี้ยงเพื่อนมนุษย์ในสังคมของตนให้อยู่ สุขสบายและมีโอกาศ ทำกิจที่ดีงาม
แต่ในทางตรงกันข้าม ถ้าบุคคลผู้หนึ่งยิ่งร่ำรวยขึ้น สังคมยิ่งซูบโทรมลง เพื่อนมนุษย์ยิ่งมีความทุกข์ทรมานมากขึ้นก็เป็นเครื่องแสดงว่ามีการปฎิบัต ิผิดต่อทรัพย์ ทรัพย์ไม่เป็นปัจจัยอุดหนุนตามวัตถุประสงค์ของมัน ไม่ช้าสังคมก็จะระส่ำระสายในที่สุด ถ้ามิใช่บุคคลมั่งมีดำรงอยู่ไม่ได้ ก็สังคมอยู่ไม่ได้ หรือทั้งสองอย่าง สังคมอาจปลดเค้าจากตำแหน่ง แล้ววางวิธีจัดหาทรัพย์และตั้งเจ้าหน้าที่จัดสรรทรัพย์ใหม่ ซึ่งอาจเป็นผลดีขึ้นหรือเลวลงก็ได้ แต่จะอย่างไรก็ตาม คติก็มีอยู่ว่า ถ้ามนุษย์ปฎิบัติผิดต่อทรัพย์ที่มีขึ้นเพื่อประโยชน์ ย่อมกลับเป็นโทษที่ทำลายทั้งความเป็นมนุษย์ ตัวมนุษย์ และสังคมมนุษย์
(คนหลังเป็นใครไปคิดเอาเองผมว่าทุกท่านมีคำตอบในใจแล้ว)
หนังสือเล่มนี้พิมพ์ ครั้งที่10 ปี2546
ชัดเจนไหมธีรยุทธต้องตีความไหม รู้จักคนที่มั่งมี แล้วสังคมก็พลอยเจริญงอกงามมั้ย ถ้าคิดไม่
ออกจะบอกใบ้ให้ให้คนที่นายออกมาด่าทุกปีไง
ส่วนกลุ่มบุคคลที่ยิ่งรวยขึ้นแต่สังคมยิ่งซูบโทรมลง ก็กลุ่มที่หนุน ธีรยุทธไง
ธีรยุทธ รู้จัก โยนิโสมนสิการไหม คือการคิดแบบสืบถึง
ต้นเค้า คิดไหมทำไม ตอลสตอล เซ็น หรือ เต๋า ต้องพูดให้ตีความ พูดตรงๆไม่ง่ายกว่าเหรอ
แต่ในบางสมัย บางที่ บางโอกาส การพูดตรงๆอาจนำภัยมาสู่ตนได้ จึงต้องพูดให้มันวกวน
ธีรยุทธ เรามีความเหมือน กันในบางสิ่ง แต่แตกต่างมากๆในหลายๆสิ่ง
ความเหมือนคือ ธีรยุทธ จบ วิศวะ ผมก็จบวิศวะ แต่คนละที่กัน
ธีรยุทธ ปลุกระดม เพื่อน น.ศ. ต่อต้านสินค้าญี่ปุ่น บอกว่ารักชาติ
รู้ไหมว่า ญี่ปุ่น ที่ขณะนั้นค่าแรงเริ่มแพงขึ้น ต้องหาฐานการผลิตสินค้าใหม่
กำลังจะมาลงทุนในไทยเพราะคิดว่าเราปลอดภัย จากคอมมิวนิสต์
ก็ย้ายอุตสาหกรรมหนักไปที่ เกาหลีใต้ ส่วน อุตสาหกรรมทั่วๆไปก็ไปที่ ไต้หวัน
ผม เคยอ่านเรื่องของ พ.ต.ต. ประชา พูนวิวัฒณ์ เรื่องของท่าน ในภายหลังผมไม่วิจารณ์ เพราะท่านเสียชีวิตไปแล้ว แต่ในหนังสือท่านที่เขียน ถึงตอนที่ไป ไต้หวัน
คงจะช่วงลี้ภัยการเมืองเพราะท่านเคยหนีไปอยู่กับกองพล 93 มาก่อน
ท่านเล่าถึง สถานอาบอบนวด ที่ไต้หวัน ว่าสมัยนั้น ทำเป็น ถนนคล้ายๆ เพชรบุรีตัดใหม่ สมัยสงครามเวียดนาม หรือ รัชดาภิเษก สมัยนี้
ว่าคนไต้หวัน สมัยนั้นยากจนมาก ที่ท่านบรรยายเป็นสังคมเกษตรเล็กๆไม่มีงานทำ
ผู้หญิง ต้องมาเป็นหมอนวดแต่ท่านบอกว่า บริการดี อัธยาศัยดีมาก
ถึงแม้ว่า จะพูดกันไม่รู้เรื่องก็ตาม คือจริงๆเรื่องที่ท่านเขียนก็มักจะออกแนว
อีโรติค แต่บางเรื่อง ก็ สะท้อนสังคมของ สมัยเมื่อ สี่สิบปีที่แล้วเช่น
เรื่องหัวใจมีตีน ที่โด่งดังมาก ทำเป็นภาพยนตร์ด้วย
แสดงว่า สังคมไทยอาจมีผู้ชายให้บริการทางเพศตั้งแต่สมัยนั้นแล้ว
อย่างที่ผมบอกไว้ต้นๆไง ว่าหนังสือทุกเล่ม บันทึกประวัติศาสตร์ ในห้วงเวลานั้นไว้
ประเทศไต้หวัน ปัจจุบัน มีเงินทุนสำรองเป็น ดอลล่าร์ อันดับต้นๆของโลก
คอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊ค กับ PDA ส่วนมาก ก็ผลิตที่ไต้หวัน
ความเป็นอยู่ของคนที่นี่ มีคุณภาพดีมากๆ ผมเคยไปดูงาน สองครั้ง
ผู้คนมีอัธยาศัยดีมากจริงๆ ที่ไทเป ผมออกมาเดินเล่นๆ ตู้เกม ถึงสี่ทุ่มก็
ยังปลอดภัย ตีสอง ผมเดินมาซื้อ บะหมี่ถ้วยที่ 7-11 ก็เห็นยังมีคนเดินกัน
มี ครั้งหนึ่งไปตรงกับคริสมาส รีเซฟชั่นที่โรงแรม ยังชวนผมไป ฉลองกับกลุ่มเพื่อนเค้า แต่ผมไม่ได้ไป เพราะ ต้องรีบเขียนรายงานส่ง กลัวเมาแล้วจะเขียนไม่ออก
อาหาร ญี่ปุ่น ที่นั่นถูกมากเมื่อ เทียบกับค่าครองชีพ ผมถามเค้าว่า ทำไมถูกจัง
เค้าบอกว่า ไต้หวันในอดีต บางช่วงเวลาเคยเป็นเมืองขึ้นของญี่ปุ่น
ดังนั้นจะมี พ่อครัวทำอาหารญี่ปุ่นเก่งกันจำนานมาก
ขนาดเค้าเคยเป็น เมืองขึ้นมาก่อน เค้ายัง ยอมอดทน ให้ญี่ปุ่น
มาลงทุน แล้วการถ่ายทอดเทคโนโลยีมันก็จะเกิดขึ้นเองโดยอัตโนมัติ
ทำไมจะเกิดก็เพราะ
การผลิตสินค้า ประกอบด้วยวัตถุดิบ กับค่าแรง
เมื่อไปลงทุนในที่ค่าแรงต่ำ แล้ว แต่คู่แข่งก็มาลงทุนเช่นกัน
ดังนั้นต้องทุนที่วัตถุดิบ หรือ ชิ้นส่วนที่นำมาประกอบ
ถ้าหาจากในท้องถิ่นได้ ต้นทุนก็ลด
ดังนั้นเมื่อ บริษัทขนาดยักษ์ ไปตั้งที่ไหน ก็จะมีบริษัทของคนท้องถิ่น
ไปผลิตชิ้นส่วนให้ บางครั้งผลิตส่งมากๆ ก็เลยเปิด ทำแบรนด์ตัวเองขึ้นมาเลย
ธีรยุทธ บอกว่ารักชาติ คิดมั้ยว่า คนไต้หวัน คนเกาหลี เค้าก็รักชาติเหมือนกัน
ทุกวันนี้ ธีรยุทธ เห็นไหมว่า ทั้ง ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ไต้หวัน ก็ไปผลิตสินค้าที่จีนกัน
ขณะที่จีนก็พัฒนาแบรนด์ ตัวเองขึ้นมาเรื่อยๆ
แต่ผมไม่ได้บอกว่า ให้เราวิ่งไปเรียกประเทศต่างๆมาลงทุนในบ้านเรานะครับ
เพราะค่าแรงเราอาจแพงไปแล้ว
ถามว่าจะมีนโยบายอย่างไร ต่อไป ผมว่าทำแบบที่ท่าน ทักษิณเคยทำ
แล้วปรึกษาท่านว่า ต่อไปควรทำอะไร ยิ่งตอนนี้ท่านอยู่ต่างประเทศยิ่งรุ้ว่า
ตลาดโลกต้องการอะไร เรามีศักยภาพพอจะทำได้ไหม
อย่างครัวไทยไปทั่วโลกที่ท่านเคยทำไว้ก็ดีนะ
เพราะตอนนี้ เศรษฐกิจ ทั่วโลกไม่ดี คนอาจไม่อยากบินมาเที่ยว
อย่างที่ เค้ามีคำกล่าวว่า โมหะหมัด ไม่ไปหาภูเขา ภูเขาก็ต้องไปหาโมหะหมัดเอง
คือร้านอาหารไทยในต่างประเทศ มันแพง อาจจะเพราะวัตถุดิบ หรือค่าแรง
พ่อครัว แม่ครัว แต่ถ้าเราเจรจากับประเทศนั้น ให้เราส่งพ่อครัวจากประเทศเราได้
วัตถุดิบลดภาษี หาแหล่งเงินทุนให้เจ้าของร้าน
ทั้งหมดนี่ท่านทักษิณทำไว้นะไม่ใช่ผมคิดหรอก เราอาจขายอาหารที่ยังมีคุณภาพแต่ในราคาที่ต่ำลง
หรืออาจเปิดสอนทำอาหารไทย แล้วส่งวัตถุดิบไปขายก็ได้
อาหารไทยดีต่อ สุขภาพ หลายอย่างกันมะเร็งได้
ไม่รู้จะจบยังไงดี
ขอให้กลับตัวเป็นคนมี ศีลธรรมละกัน