WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Saturday, January 2, 2010

ผู้สื่อข่าวไร้พรมแดน : ประมวลสถานการณ์สื่อทั่วโลกในปี 2009

ที่มา ประชาไท

องค์กรผู้สื่อข่าวไร้พรมแดน (RSF) รายงาน เมื่อวันที่ 30 ธ.ค. 2009 ถึงสถานการณ์ความโหดร้ายที่เกิดขึ้นกับผู้สื่อข่าวทั่วโลกในปี 2009 บอกว่ามีการสังหารนักข่าวเพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว 26% ขณะที่แม้สื่อใหม่อย่างเว็บบล็อกหรือเว็บเครือข่ายทางสังคมจะเติบโต แต่ก็มีการสอดส่องและปราบปรามผู้ใช้อินเตอร์เน็ตมากขึ้นด้วย

ตัวเลขผลสรุปเรื่องเสรีภาพสื่อในปี 2009 โดย ผู้สื่อข่าวไร้พรมแดน
ผู้สื่อข่าวถูกสังหาร 76 ราย
ถูกลักพาตัว 33 ราย
ถูกจับกุม 573 ราย
ถูกทำร้าย 1456 ราย
สื่อถูกเซนเซอร์ 570 แห่ง
ผู้สื่อข่าวหนีออกจากประเทศตนเอง 157 ราย
บล็อกเกอร์ 1 รายเสียชีวิตในคุก
บล็อกเกอร์และผู้ใช้อินเตอร์เน็ตถูกจับกุม 151 ราย
ถูกทำร้ายร่างกาย 61 ราย
มี 60 ประเทศ ที่ได้รับผลกระทบจากการเซนเซอร์

ภาวะสงครามและความขัดแย้งจากการเลือกตั้ง : อันตรายร้ายแรงที่สุดสำหรับนักข่าว
องค์กรผู้สื่อข่าวไร้พรมแดน (RSF) เปิดเผยว่า เหตุการณ์สังหารหมู่ในฟิลิปปินส์เมื่อปีที่ผ่านมาถือเป็นเหตุการณ์ที่มีผู้สื่อข่าวถูกสังหารมากที่สุดภายในวันเดียวคือ 30 ราย ขณะที่ในประเทศอิหร่านที่มีความขัดแย้งด้านผลการเลือกตั้งของประธานาธิบดีมาห์มูด อาห์มาดิเนจาด ก็ทำให้ผู้สื่อข่าวและบล็อกเกอร์ในอิหร่านถูกจับกุมและลงโทษเป็นจำนวนมาก

โดยมีนักข่าวราว 160 รายที่ออกจากประเทศเพื่อหนีจากการจับกุมหรือการถูกขู่ลอบสังหาร เช่นในประเทศอิหร่านและโซมาเลีย

ผู้สื่อข่าวไร้พรมแดนระบุว่า ภาวะสงครามและความขัดแย้งเรื่องการเลือกตั้งเป็นภัยร้ายแรงสำหรับนักข่าวสำหรับปี 2009 ทำให้นักข่าวเสี่ยงต่อการถูกสังหารหรือลักพาตัว โดยความรุนแรงจากก่อนและหลังการเลือกตั้งในปี 2009 นั้นส่วนหนึ่งมาจากประเทศที่มีความน่าเชื่อถือทางประชาธิปไตยต่ำ

และแม้ว่าบล็อกเกอร์กับเว็บไซต์ต่าง ๆ จะเติบโตเบ่งบานมากขึ้นในอินเตอร์เน็ต แต่การเซนเซอร์และปราบปรามก็มีมากขึ้นตามไปด้วย โดยแทบจะไม่มีประเทศใดเลยที่หนีพ้นจากปรากฏการณ์ดังกล่าวในทุกวันนี้ หลังจากที่อินเตอร์เน็ตและสื่อใหม่ (เว็บไซต์เครือข่ายทางสังคม, โทรศัพท์มือถือ ฯลฯ) มีบทบาทสำคัญในการแพร่กระจายข้อมูลข่าวสาร ก็มีการปราบปรามอย่างจริงจังตามมา โดยบล็อกเกอร์ในตอนนี้ถูกจับตามองอย่างใกล้ชิดเทียบเท่ากับผู้สื่อข่าวในสื่อเก่า

เรื่องที่องค์กรผู้สื่อขาวไร้พรมแดนให้ความสำคัญเป็นอย่างมากในปี 2009 คือการอพยพของนักข่าวจำนวนมากในประเทศที่มีปราบปรามเช่น ศรีลังกา หรือ อิหร่าน ซึ่งกลุ่มผู้มีอำนาจในประเทศเข้าใจว่าการผลักดันให้นักข่าวต้องหลบหนีจากประเทศจะสามารถทำให้ความหลากหลายทางความคิดและการวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลลดลง ซึ่งเลขาธิการของผู้สื่อข่าวไร้พรมแดนเห็นว่า เป็นเรื่องอันตราย และต้องมีการประณามอย่างแข็งขัน

ตัวเลขนักข่าวถูกสังหารพุ่ง 26 เปอร์เซนต์ จากปีที่แล้ว
เลขาธิการผู้สื่อข่าวไร้พรมแดนเปิดเผยอีกว่า ผู้สื่อข่าวท้องถิ่นที่เป็นที่รู้จักน้อยกว่ามักเป็นผู้รับเคราะห์มากที่สุดในทุก ๆ ปี หากพวกเขารายงานเกี่ยวกับเรื่องการทำลายสิ่งแวดล้อม การคอร์รัปชั่น และสงคราม

ต้นปี 2009 เริ่มต้นด้วยความเลวร้ายจากกรณีการส่งกองทัพโจมตีฉนวนกาซาของอิสราเอล ซึ่งห้ามไม่ให้ผู้สื่อข่าวต่างประเทศเข้าไปทำข่าว นอกจากนี้รัฐบาลอิสราเอลยังได้สั่งทหารโจมตีอาคารสำนักงานสื่อซึ่งถือเป็นการละเมิดกฏมนุษยธรรมของนานาชาติ มีผู้สื่อข่าวสองรายถูกสังหารในการโจมตีครั้งนี้ ขณะที่สื่อและนักสิทธิมนุษยชนในรัสเซียก็มีการลักพาตัวและถูกสังหารโดยไม่สามารถเอาผิดผู้ใดได้

ขณะเดียวกันก็มีนักข่าวที่ถูกสังหารโดยกลุ่มหัวรุนแรง อัล-ชาบับ ในโซมาเลีย 9 ราย ใน 4 รายนี้มีผู้สื่อข่าวของสถานีวิทยุชาเบลซึ่งพยายามรายงานข่าวอย่างดีที่สุดท่ามกลางความขัดแย้ง ส่วนผู้สื่อข่าวในปากีสถานก็ตกเป็นเป้าของกลุ่มตอลิบานมากขึ้น

การลักพาตัวนักข่าวก็มีจำนวนสูงขึ้น โดยกรณีส่วนใหญ่เกิดขึ้นในประเทศ อัฟกานิสถาน, เม็กซิโก และโซมาเลีย มีเหตุการณ์ที่ผู้สื่อข่าวของนิวยอร์กไทม์ เดวิด โรด สามารถหนีออกจากที่กักกันของกลุ่มตอลิบานได้ ขณะที่ผู้สื่อข่าวของอัฟกานิสถาน ซุลตาน มุนาดี ถูกสังหารในปฏิบัติการทางทหารที่ส่งไปเพื่อช่วยเหลือตัวเขา

องค์กรผู้สื่อข่าวไร้พรมแดนกล่าวว่า สามปีมาแล้วที่สหประชาชาติอาศัยมติ 1738 ในการคุ้มครองผู้สื่อข่าวในพื้นที่ที่มีความขัดแย้ง แต่ก็ยังไม่สามารถคุ้มครองผู้สื่อข่าวได้มากพอ

ด้านตัวเลขของการใช้ความรุนแรงอื่น ๆ เช่น การทำร้ายร่างกาย และการข่มขู่ เพิ่มสูงขึ้นจาก 929 รายในปี 2008 เป็น 1,456 รายในปี 2009 ผู้สื่อข่าวที่มีความเสี่ยงสูงสุดคือในทวีปอเมริกา มีจำนวน 501 ราย เนื่องจากการเปิดโปงเรื่องยาเสพติดและการใช้อำนาจจากรัฐบาลท้องถิ่น ทวีปเอเชียพบความเสี่ยงเป็นลำดับสองที่ 364 ราย โดยเฉพาะในประเทศปากีสถาน, ศรีลังกา และ เนปาล

เรื่องการเซนเซอร์สื่อ มีหนังสือพิมพ์ สถานีวิทยุ สถานีโทรทัศน์ ราว 570 รายถูกแบนหรือถูกสั่งปิด สื่อเหล่านี้รวมไปถึง นิตยสารแนวเสียดสีของมาเลเซีย, หนังสือพิมพ์ของฝ่ายปฏิรูปในอิหร่าน, สถานีวิทยุ ฟรานซ์ อินเตอร์เนชั่นแนล ของประเทศคองโก และ บีบีซี เวิร์ดเซอร์วิส ใน รวันดา

ขณะที่จำนวนผู้สื่อข่าวที่ถูกจับกุมตัวมีจำนวนลดลงเล็กน้อย (ในปี 2008 มี 673 ราย ในปี 2009 มี 573 ราย) เนื่องจากมีจำนวนผู้สื่อข่าวถูกจับในเอเชียลดลง ขณะที่ในตะวันออกกลางมีมากขึ้น

ความรุนแรงจากฤดูเลือกตั้ง
องค์กรผู้สื่อข่าวไร้พรมแดนยังได้ยกตัวอย่างเหตุการณ์การสังหารหมู่นักข่าว 30 รายในฟิลิปปินส์ ว่าเป็นฝีมือของคู่แข่งทางการเมืองในท้องถื่น โดยฟิลิปปินส์จะมีการเลือกตั้งระดับท้องถิ่นในปี 2010 นี้ การเลือกตั้งในตูนีเซียและกาบอนมีนักข่าวถูกจับกุม ถูกข่มขู่ ถูกทำร้าย มีบางรายที่ถูกทำร้ายอย่างสาหัส การประท้วงการเลือกตั้งในอิหร่านก็ทำให้เกิดการปิดสื่อเป็นจำนวนมาก

โดยผู้สื่อข่าวไร้พรมแดนบอกว่า แม้การเลือกตั้งหลายพรรคการเมืองจะเป็นสัญลักษณ์ของประชาธิปไตย
แต่ทางสื่อของรัฐก็มักไม่เอื้อให้เกิดการเลือกตั้งที่เป็นธรรมกับหลาย ๆ ฝ่าย เช่นในอัฟกานิสถาน หรือในกินี ขณะที่บางพื้นที่ก็มีการสำรวจโพลล์ที่ไม่ได้ทำตามแบบแผน เช่นโพลล์ในเขตพื้นที่ทมิฬของศรีลังกา

หลังจากการเลือกตั้งไปแล้วสถานการณ์ก็ยิ่งเลวร้าย เช่น ในอิหร่านมีกลุ่มต่อต้านรัฐบาลอาห์มาดิเนจาดที่ชนะการเลือกตั้ง โดยบอกว่ามีการโกงการเลือกตั้ง และผู้ประท้วงต่างมีสื่อของตนเองทั้งสื่อสิ่งพิมพ์และสื่ออินเตอร์เน็ต ผู้สนับสนุนอาห์มาดิเนจาด ก็ทำการปราบปรามผู้สื่อข่าวและบล็อกเกอร์ที่ต่อต้านอย่างหนัก กล่าวหาว่าพวกเขาเป็นสายลับจากต่างชาติที่มาทำลายความมั่นคงของประเทศ

สื่อที่พยายามเปิดโปงการทุจริตเลือกตั้งมักจะถูกดำเนินคดี กุมขัง หรือถูกปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรม ทางผู้สื่อข่าวไร้พรมแดนจึงคิดว่าน่าจะมีวิธีการที่ดีกว่าในการปกป้องคุ้มครองผู้สื่อข่าวในการทำข่าวการทุจริตเลือกตั้ง ซึ่งในปี 2010 นี้จะมีการเลือกตั้งในประเทศพม่า ศรีลังกา และในเขตปาเลสไตน์ ซึ่งประเทศเหล่านี้มักมีการคอยสอดส่องสื่อในช่วงที่มีการเลือกตั้ง


บล็อกเกอร์และผู้ใช้อินเตอร์เน็ตกว่า 151 รายถูกจับกุม

เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่อินเตอร์เน็ตถือกำเนิดมา ที่มีบล็อกเกอร์และผู้ใช้อินเตอร์เน็ตทั่วโลกถูกจับกุมรวมแล้ว 151 ราย จากการที่พวกเขาโพสท์ความเห็นในอินเตอร์เน็ต มีประเทศที่ปราบปรามเรื่องนี้อย่างหนักราว 10 ประเทศ ขณะที่ประเทศอื่น ๆ ทำให้การแสดงความเห็นทางอินเตอร์เน็ตกลายเป็นอาชญากรรม

โดยปีที่ผ่านมาอินเตอร์เน็ตเป็นพลังขับเคลื่อนหลักของผู้ที่เรียกร้องประชาธิปไตย ทั้งในอิหร่าน จีน และที่อื่น ๆ ทำให้รัฐบาลอำนาจนิยมออกมาจัดการกับผู้ใช้อินเตอร์เน็ตอย่างหนัก มีบล็อกเกอร์สองรายในประเทศอาเซอร์ไบจันถูกสั่งจำคุกสองปี เนื่องจากพวกเขาสร้างภาพยนตร์ล้อเลียนนักการเมืองระดับสูง

ประเทศจีนยังคงเป็นประเทศที่เซนเซอร์อินเตอร์เน็ตอย่างหนักที่สุดในปี 2009 โดยมีประเทศ อิหร่าน, ตูนิเซีย, ซาอุดิอารเบีย, เวียตนาม, อุซเบกิสถาน และไทย ที่คอยสอดส่องการแสดงความเห็นตามอินเตอร์เน็ต ทั้งยังมีการบล็อกเว็บไซต์หรือเว็บบล็อกอยู่เนือง ๆ

ขณะที่วิกฤติเศรษฐกิจก็มีผลต่อการปิดกั้นสื่อออนไลน์ เช่นในเกาหลีใต้ บล็อกเกอร์รายหนึ่งถูกจับกุมตัวจากการที่เขาวิพากษ์วิจารณ์สถานการณ์ทางเศรษฐกิจของเกาหลีใต้ที่กำลังประสบปัญหา มีชาวอินเตอร์เน็ตหกรายในประเทศไทยที่ถูกจับกุมหรือข่มขู่ จากการที่พวกเขาโยงเรื่องตลาดหุ้นกับพระอาการประชวรของพระเจ้าอยู่หัว ส่วนที่ดูไบก็มีการเซนเซอร์การรายงานถึงเรื่องที่รัฐบาลไม่สามารถจ่ายหนี้คืนได้

ส่วนในประเทศที่เป็นประชาธิปไตยก็ไม่แพ้กัน หลายประเทศในแถบยุโรปก็มีมาตรการใหม่ในการควบคุมอินเตอร์เน็ตภายใต้ข้ออ้างเรื่องการปราบปรามภาพอนาจารเด็กและการดาวน์โหลดอย่างผิดกฏหมาย ออสเตรเลียมีระบบกรองข้อมูลอินเตอร์เน็ตที่เป็นภัยต่อเสรีภาพในการแสดงความเห็น ศาลของทางการตุรกีก็สั่งบล็อกเว็บไซต์จำนวนมากรวมถึงยูทิวบ์ (Youtube) ที่มีการวิจารณ์ผู้ก่อตั้งสาธารณรัฐ

ทางผู้สื่อข่าวไร้พรมแดนบอกว่าพวกเขาจะเริ่มต้นโครงการ "ศัตรูของอินเตอร์เน็ต" (Enemies of the Internet) ในวันที่ 12 มี.ค. ที่จะถึงนี้ เพือจัดการกับปัญหาการเซนเซอร์อินเตอร์เน็ตทั่วโลก

การดำเนินคดีกับสื่อ
สิ้นปี 2009 ที่ผ่านมายังคงมีนักข่าว 167 ราย ต้องอยู่ในห้องขัง การจับกุมนักข่าวจำนวนมากเช่นนี้เคยเกิดขึ้นนับย้อนไปได้ในช่วงทศวรรษที่ 1990s โดยรัฐบาลหลายประเทศยังคงมีกฏหมายที่อนุญาตให้พวกเขาสั่งกุมขังนักข่าวได้ และมีการลงโทษที่ไม่เหมาะสม ในประเทศเช่น คิวบา, จีน, ศรีลังกา และอิหร่าน การลงโทษนักข่าวมีความรุนแรงในระดับผู้ก่อการร้าย หรือ ผู้ก่ออาชญากรรมอุกฉกรรจ์

มีนักข่าวถูกจับกุมไม่ก็ถูกทำร้ายร่างกายมากกว่า 60 ราย ในอิรัก ในเขตปาเลสไตน์มีนักข่าวมากกว่า 50 ราย ถูกจับกุมโดยกลุ่มฮามาสในฉนวนกาซา และโดยกลุ่มฟาตาห์ในเวสท์แบงค์

ขณะที่ในแอฟริกาและเอเชีย มีจำนวนนักข่าวถูกจับกุมไล่เลี่ยกัน และแม้จำนวนในเอเชียจะลดลง แต่ในประเทศจีนและปากีสถานก็ยังมีการจับกุมนักข่าวทั้งในประเทศและจากต่างประเทศ เนื่องจากพวกเขาล่วงละเมิดเส้นกั้นที่รัฐบาลขีดไว้

การรัฐประหารเมื่อวันที่ 28 มิ.ย. 2009 ในฮอนดูรัสก็มีสื่อหัวอนุรักษ์นิยมเป็นเบื้องหลังสนับสนุน ทำให้เกิดการดำเนินคดีกับผู้สื่อข่าวที่มีท่าทีว่าจะอยู่ฝ่ายเดียวกับมานูเอล เซลายา อดีตประธานาธิบดีที่ถูกทำรัฐประหาร โดยยังได้มีการระงับหรือปิดสื่อบางแห่งด้วย

บางแห่งแม้จะยังไม่การจับขังนักข่าว แต่ก็มีการใช้อำนาจข่มนักข่าวด้วยกระบวนการศาล เช่น บรรณาธิการคนหนึ่งในอัลจีเรีย ถูกศาลเรียกตัวถึง 15 ครั้งในปี 2009 ด้านสื่อที่ต่อต้านทางการตุรกีและโมรอคโคถูกฟ้องร้องในหลายข้อหา

เลือกอพยพหนีตาย
เป็นครั้งแรกที่องค์กรผู้สื่อข่าวไร้พรมแดนสำรวจจำนวนผู้สื่อข่าวที่อพยพออกจากประเทศตนเนื่องจากถูกทางการสั่งเนรเทศ หรือจากการถูกข่มขู่ มีผู้สื่อข่าวทั้งหมด 157 รายที่ต้องอพยพออกจากประเทศ ในอิหร่านมีถึงมากกว่า 50 ราย ทั้งนักข่าวและบล็อกเกอร์ที่ต้องอพยพออกจากประเทศ ในศรีลังกามีจำนวน 29 ราย ส่วนในแอฟริกามีนักข่าวราว 50 รายอพยพจากความวุ่นวายในโซมาเลีย ส่วนในประเทศเอริเทรียนมีราว 20 รายที่ อพยพเนื่องจากกลัวตกเป็นเป้าของเผด็จการที่เลวร้ายที่สุดในทวีป นอกจากนี้ยังมีการอพยพของนักข่าวจาก กินี, อาฟกานิสถาน, ปากีสถาน, เม็กซิโก, โคลัมเบีย และ เอธิโอเปีย

นักข่าวบางคนต้องประสบกับอันตรายจากการอพยพและมีอนาคตที่ไม่แน่นอน บางคนต้องรอคอยเป็นเดือน จนถึงเป็นปี เพื่อให้ได้รับการคุ้มครอง และได้ตั้งรกรากแห่งใหม่

....

รายงานฉบับเต็ม
http://www.rsf.org/IMG/pdf/Bilan_2009_GB_BD.pdf