ที่มา มติชน เรื่องเอกสาร"ลับมาก"ของกระทรวงการต่างประเทศที่แกนนำกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ(นปช.)นำมาเผยแพร่โดยอ้างว่า เป็นการวางแผนฆ่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีนั้น ยังคงเป็นประเด็นข่าวอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม การกำหนดให้อยู่ในชั้นความลับใด ให้พิจารณาถึงองค์ประกอบต่อไปนี้ เช่น ถ้าความผิดดังกล่าวมาในสองวรรคก่อน ได้กระทำเพื่อให้รัฐต่างประเทศได้ประโยชน์ ผู้กระทำต้องระวางโทษประหารชีวิตหรือจำคุกตลอดชีวิต
โดย ประสงค์ เลิศรัตนวิสุทธิ์
แต่ผู้คนสับสนกันมากคือ เอกสารลับของราชการ ตามคำนิยามของกฎหมายคือ อะไร มีวิธีการอย่างไรในการกำหนดชั้นความลับ และผู้ที่นำเอกสารลับไปเปิดเผยมีโทษทางอาญาหรือไม่
เมื่อพลิกดูระเบียบว่าด้วยการรักษาความลับของทางราชการพ.ศ.2544 (ใช้บังคับแทนระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการรักษาความปลอดภัย พ.ศ.2517 ในส่วนเฉพาะข้อมูลข่าวสาร- ต่อมามีการตราระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการรักษาความปลอดภัย พ.ศ.2552 ใช้บังคับแทนทั้งหมด) พบนิยามศัพท์ที่น่าสนใจดังนี้
"ข้อมูลข่าวสารลับ" หมายความว่า ข้อมูลข่าวสารตามมาตรา 14 (เกี่ยวข้องกับสถาบันพระมหากษัตริย์) หรือมาตรา 15 (มีผลกระทบต่อความมั่นคงของประเทศ ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ เศรษฐกิจ การบังคับใช้กฎหมายฯลฯ)ที่มีคำสั่งไม่ให้เปิดเผยและอยู่ในความครอบครองหรือควบคุมดูแลของหน่วยงานของรัฐ ฯซึ่งมีการกำหนดให้มีชั้นความลับเป็น ชั้นลับ ชั้นลับมาก หรือชั้นลับที่สุด
"ประโยชน์แห่งรัฐ" หมายความว่า การดำเนินงานของรัฐที่เกี่ยวกับประโยชน์สาธารณะหรือประโยชน์ของเอกชนประกอบกัน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องความมั่นคงของรัฐที่เกี่ยวกับการเมืองภายในประเทศหรือระหว่างประเทศ การป้องกันประเทศ เศรษฐกิจ สังคม วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การพลังงาน และสิ่งแวดล้อม
ส่วนประเภทชั้นความลับของข้อมูลข่าวสารลับ แบ่งออกเป็น 3 ชั้น คือ
1.ลับที่สุด (TOP SECRET) หมายความถึง ข้อมูลข่าวสารลับซึ่งหากเปิดเผยทั้งหมดหรือเพียงบางส่วนจะก่อให้เกิดความเสียหายแก่ประโยชน์แห่งรัฐอย่างร้ายแรงที่สุด
2.ลับมาก (SECRET)หมายความถึง ข้อมูลข่าวสารลับซึ่งหากเปิดเผยทั้งหมดหรือเพียงบางส่วนจะก่อให้เกิดความเสียหายแก่ประโยชน์แห่งรัฐอย่างร้ายแรง
3.ลับ (CONFIDENTIAL)หมายความถึง ข้อมูลข่าวสารลับซึ่งหากเปิดเผยทั้งหมดหรือเพียงบางส่วนจะก่อให้เกิดความเสียหายแก่ประโยชน์แห่งรัฐ
สำหรับวิธีการกำหนดชั้นความลับว่า ข้อมูลข่าวสารใดอยู่ในชั้นใดนั้น
1.ให้หัวหน้าหน่วยงานของรัฐมีหน้าที่รับผิดชอบในการกำหนดชั้นความลับ พร้อมทั้งให้เหตุผลประกอบการกำหนดชั้นความลับของข้อมูลข่าวสารลับนั้นด้วยว่า เป็นข้อมูลข่าวสารประเภทใดและเพราะเหตุใด
2.การกำหนดชั้นความลับของข้อมูลข่าวสารลับที่มีชั้นความลับหลายชั้นในเรื่องเดียวกันให้กำหนดชั้นความลับเท่ากับชั้นความลับสูงสุดที่มีอยู่ในข้อมูลข่าวสารลับนั้น
3.ในกรณีที่กำหนดให้ข้อมูลข่าวสารลับที่มีชั้นความลับต่ำ แต่จำเป็นต้องอ้างอิงข้อความจากข้อมูลข่าวสารที่มีชั้นความลับสูงกว่า ต้องพิจารณาถึงเนื้อหาที่อ้างถึงนั้นว่าจะไม่ทำให้ข้อมูลข่าวสารที่ชั้นความลับสูงกว่ารั่วไหล
4.ให้นายทะเบียนจดแจ้งเหตุผลประกอบการกำหนดชั้นความลับของข้อมูลข่าวสารลับไว้ในทะเบียนควบคุมข้อมูลข่าวสารลับ แต่ถ้าเหตุผลนั้นมีรายละเอียดมากหรือเหตุผลนั้นบางส่วนมีชั้นความลับสูงกว่าชั้นความลับของทะเบียนข้อมูลข่าวสารลับให้บันทึกเหตุผลย่อไว้ในทะเบียนควบคุมข้อมูลข่าวสารลับฯ
1. ความสำคัญของเนื้อหา 2.แหล่งที่มาของข้อมูลข่าวสาร 3.วิธีการนำไปใช้ประโยชน์ 4.จำนวนบุคคลที่ควรรับทราบ 5.ผลกระทบหากมีการเปิดเผย 6.หน่วยงานของรัฐที่รับผิดชอบในฐานะเจ้าของเรื่องหรือผู้อนุมัติ
เมื่อดูจากระเบียบดังกล่าวแล้ว การกำหนดชั้นความลับของข้อมูลข่าวสาร แม้เป็นดุลพินิจของหัวหน้าส่วนราชการ แต่ก็ต้องคำนึงถึงองค์ประกอบต่างๆด้วย เช่น การเปิดเผยจะเกิดความเสียหายแก่ประโยชน์ของรัฐในระดับใด เช่น ความมั่นคง การป้องกันประเทศ เศณษฐกิจ หรืออื่นๆ ไม่ใช่ตีตราลับกันตามอำเภอใจหรือตามความเคยชินเพียงอย่างเดียว
สำหรับบทลงโทษในการนำเอาเอกสารลับไปเปิดเผยนั้น ถ้าเป็นข้าราชการต้องถูกลงโทษทางวินัยอยู่แล้ว แต่ในทางอาญาไม่มีกฎหมายกำหนดไว้เป็นการเฉพาะ แต่อยู่ในประมวลกฎหมายอาญา หมวด 3 ความผิดต่อความมั่นคงของรัฐภายในราชอาณาจักร ดังนี้
มาตรา 123 ผู้ใด กระทำการใดๆ เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อความ เอกสารหรือสิ่งใดๆ อันปกปิดไว้เป็นความลับสำหรับความปลอดภัยของประเทศ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 10 ปี
มาตรา 124 ผู้ใด กระทำการใดๆ เพื่อให้ผู้อื่นล่วงรู้หรือได้ไปซึ่งข้อความ เอกสารหรือสิ่งใดๆอันปกปิดไว้เป็นความลับสำหรับความปลอดภัยของประเทศ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 10 ปี
ถ้าความผิดนั้นได้กระทำในระหว่างประเทศอยู่ในการรบหรือการสงคราม ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 5 ปีถึง 15 ปี
จากบทบัญญัติดังกล่าวต้องพิจารณาว่า เอกสาร"ลับมาก"นั้น เป็นการเอกสารที่มีเนื้อหาที่เปิดเผยไปแล้วมีผลกระทบต่อ"ความปลอดภัยของประเทศ"หรือไม่ด้วย จึงจะเข้าองค์ประกอบของความผิด
ลำพังเฉพาะการเป็นเอกสาร"ลับมาก" แต่เพียงอย่างเดียว อาจไม่เข้าองค์ประกอบความผิด ดังกล่าว
นอกจากนั้น ตาม พ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ.2540 ข้อมูลข่าวสารแม้ตีตรา"ลับมาก"หรือ"ลับที่สุด" แม้ยังมิได้ยกเลิกชั้นความลับ แต่ถ้าถูกนำมาเผยแพร่แล้ว เท่ากับชั้นความลับถูกยกเลิกโดยปริยาย