WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Sunday, December 27, 2009

มวยล้มที่การบินไทย

ที่มา มติชน

โดย ประสงค์ วิสุทธิ์


เห็นมติคณะกรรมการหรือบอร์ดบริษัท การบินไทย จำกัด(มหาชน)ที่ให้แต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงกรณีซึ่งมีการกล่าวหา นายวัลลภ พุกกะณะสุต ประธานคณะกรรมการบริหาร ใช้อำนาจหน้าที่งไม่ถูกต้องในการขนสัมภาระน้ำหนักกว่า 398 กิโลกรัม บินจากโตเกียวมายังกรุงเทพ เมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน 2552 ด้วยเที่ยวบิน TG 677 แล้ว รู้สึกสังหรณ์ใจว่า อาจเป็นมวยล้มต้มคนดู


มติบอร์ดดังกล่าวให้เวลาในการสอบสวนนาน 3 สัปดาห์ใน 2 ประเด็นคือ


1.การขนสัมภาระครังนี้เป็นไปตามขั้นตอนหรือไม่ ผู้ใดเป็นผู้อนุมัติ


2.รายได้ที่บริษัทการบินไทยสูญเสียไปในเบื้องต้นกว่า 200,000 บาท ต้องมีผู้รับผิดชอบ


คำถามคือ ทำไมจึงตั้งประเด็นในการสอบสวนค่อนข้างแคบ เพราะเป็นที่โจษจันกันในการบินไทยว่า บอร์ดบางคนมีพฤติกรรมในลักษณะดังกล่าวมานานแล้ว มีผู้ร่วมขบวนการและอำนวยความสะดวกหลายคน จึงน่าที่จะขยายประเด็นการสอบสวนให้ครอบคลุมเพื่อจะได้ไม่สามารถอ้างได้ว่า เป็นความบกพร่องโดยสุจริต จึงไม่ต้องรับโทษหรือโดนแค่"ใบเหลือง"


นอกจากนั้นเริ่มมีการพูดกันหนาหูว่า อาจมีการโยนบาปให้แก่"พิมพ์ใจ"ให้เป็นผู้รับสมอ้างว่า เป็นเจ้าของสัมภาาระส่วนเกินทั้งหมดและเป็นความบพร่องของผู้จัดการสถานีการบินไทยที่สนามบินนาริตะที่เอาสัมภาระของ "พิมพ์ใจ"ใส่เข้าไปในชื่อนายวัลลภ ทั้งๆที่"พิมพ์ใจ" เส้นใหญ่ มีพฤติกรรมในลักษณะนี้มามานานจนเป็นที่รู้กันดีในการบินไทย


อย่างไรก็ตามเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมและเป็นการรื้อระบบอภิสิทธิ์ในสายการบินแห่งนี้ บอร์ดควรตรวจสอบย้อนหลังดูว่า มีการใช้อำนาจอย่างไร้หลักเกณฑ์ในการ"อัพเกรด"ที่นั่งและขนสัมภาระเกินน้ำหนักให้แก่ใครบ้าง เพราะล่าสุดทาง

ส.ส.พรรคฝ่ายค้านแถลงว่า มีรัฐมนตรีเศรษฐกิจกระทรวงใหญ่รายหนึ่งสั่งให้ผู้บริหารการบินไทยอัพเกรดที่นั่งให้ลูกเมียจากชั้นประหยัดเป็นชั้นหนึ่งและชั้นธุรกิจในการบินไปลอนดอน ประเทศอังกฤษ ทั้งๆที่ไม่มีสิทธิ์และยังขนสัมภาาระน้ำหนักเกินอีกด้วย


ได้แต่หวังว่า การออกมาเปิดโปงกันไปมาระหว่าง 2 ฝ่าย จะไม่ทำให้เกิดการตกลงกัน สอบสวนกันแบบลูกหน้าปะจมูกแล้วดองเรื่องจนสาธารณชนลืมหรือจบๆกันไปเหมือนกับเรื่องอื่นๆที่ผ่านมา


ตัวอย่างล่าสุดที่มีความพยายามในการทำให้เรื่องจบแบบจับมือใครดมไม่ได้คือ กรณีการจัดซื้อเครื่องบินแอร์บัส A330-300 จำนวน 8 ลำและจ่ายเงินค่างวดล่วงหน้าให้แก่บริษัท แอร์บัส กว่า 4,000 ล้านบาทจนกระทบต่อฐานะทางการเงินของบริษัทซึ่งขัดมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2550 (สมัย พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์)ที่ให้เช่าเครื่องบินเท่านั้น


ขณะเดียวกันเป็นเหตุให้ผู้ถือหุ้นฟ้องนายชัยสวัสดิ์ กิตติพรไพบูลย์ อดีตปลัดกระทรวงคมนาคม ในฐานะประธานบอร์ดการบินไทยกับพวกรวม 12 คนในข้อหา พนักงานในองค์กรหรือหน่วยงานของรัฐปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ(ต่อมา ครม.นายสมาชาย วงศ์สวัสดิ์ เปลี่ยนมติเมื่อวันที่ 13 ตุลาคม 2551 อนุมัติเงื่อนไขพิเศษ สำหรับการจัดหาเงินกู้เพื่อชำระค่าจัดซื้อเครื่องบินแอร์บัส)


แม้ก่อนหน้านี้บอร์ดชุดนายชัยสวัสดิ์ได้แก้เกี้ยวด้วยการมีมติเมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม 2551 ให้ตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงมีนายประวัติ วีรกุล อัยการอาวุโสเป็นประธานขึ้นมาสอบข้อเท็จจริง แต่เรื่องก็เงียบหายไป


ทำให้ พล.ต.อ.วุฑฒิชัย ศรีรัตนวุฑฒิ ช่วงที่ยังเป็นบอร์ดการบินไทยทำหนังสือลงวันที่ 16 มีนาคม 2552 ถึงประธานบร์อดการบินไทยทวงถามถึงเรื่องนี้โดยระบุว่า คณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงได้เสนอสำนวนการสอบสวนให้แก่ประธานบอร์ดตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2551 ซึ่งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงมีความเห็นว่า ให้ดำเนินการทางวินัยอย่างร้ายแรง และทางอาญาแก่ผู้บริหารระดับสูงหลายคน


แต่ปรากฏว่า บอร์ดไม่ยอมพิจารณาเรื่องดังกล่าว ทั้งๆที่มีการประชุมบอร์ดไปแล้วถึง 4 ครั้งคือ ในวันที่ 7 มกราคม 2552 , 1 กุมภาพันธ์ 2552,27 กุมภาพันธ์ 2552 และ 18 มีนาคม 2552


"กรณีเรื่องนี้ ..มีการร้องเรียนไปยัง สตง.(สำนักงานคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน) การที่คณะกรรมการบริษัทฯไม่รีบดำเนินการให้แล้วเสร็จ...น่าจะไม่ถูกต้อง เป็นลักษณการประวิงเวลา ถ้าคณะกรรมการบริษัทชุดใหม่ ไม่มีใครทราบเรื่องนี้มาก่อน หรือไม่สนใจเกี่ยวกับเรื่องนี้ อาจเป็นปัญหาเกิดขึ้นได้ เพราะสำนวนการตรควจสอบ..จะอยู่ในการดูแลของฝ่ายบริหารบริษัทฯซึ่งหลายคนมีส่วนเกี่ยวข้อง อาจจะต้องถูกพิจารณาข้อบกพร่องหรือความผิด"


หลังจากที่ พล.ต.อ.วุฑฒิชัยได้ทำบันทึกฉบับดังกล่าวแล้ว ไม่ปรากฏข่าวว่า มีการดำเนินการลงโทษผู้ถูกกล่าวหาคนใดเลย


ขนาดเรื่องการจัดซื้อเครื่องบินซึ่งสร้างความเสียหายให้กับการบินไทยมหาศาลยังถูก"ดอง"นานนับปี


ดังนั้น เรื่องที่บอร์ดใช้อภิสิทธิ์ในการขนสัมภาระเกินน้ำหนักมีโอกาสจะถูกเป่าทิ้งจึงเป็นไปได้สูงมาก