โดย Porsche
ปีวัวสาหัส เจอสารพัดปัญหาทั้งเศรษฐกิจโลกทรุดหนักการเมืองในประเทศร้อนฉ่า
ทุบเศรษฐกิจไทยกู่ไม่กลับ ย้อนรอยไปดูเหตุการณ์กัน
รถไฟสไตรก์ซ้ำซาก
วันที่ 16 ต.ค. 52 สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจการรถไฟแห่งประเทศไทย (สร.ร.ฟ.ท.) หยุดให้บริการผู้ในส่วนของรถไฟสายใต้ ถึงวันที่ 28 ต.ค. 52 หลังพนักงานรถไฟ อ้างความไม่ปลอดภัยของหัวจักร โดยโยงไปที่อุบัติเหตุรถไฟตกรางที่สถานีเขาเต่า เมื่อวันที่ 5 ต.ค. 52 ที่มีคนตายถึง 7 ศพ และบาดเจ็บจำนวนมาก
การหยุดรถไฟลากยาว จนวันที่ 28 ต.ค. นายโสภณ ซารัมย์ รมว.คมนาคม งัดไม้แข็งแก้ปัญหา ด้วยการไล่ออกพนักงานที่เกี่ยวข้องกับการหยุดรถไฟ 6 คน จากนั้น 30 ต.ค. ไล่ออกพนักงานในส่วนของสถานีหาดใหญ่อีก 10 คน และส่วนกลางอีก 8 คน
รวมทั้งนายสาวิทย์ แก้วหวาน ประธานสหภาพรถไฟด้วย โดยในส่วนของนายสาวิทย์และพนักงานที่อยู่ในสหภาพแรงงานได้ส่งฟ้องศาลปกครองแรงงานกลาง
เสียงบ่นเซ็งอื้ออึง เพราะรถไฟหยุดวิ่งบ่อย ตั้งแต่ปี"51
ระหว่างวันที่ 28 ส.ค. - 13 ก.ย. สร้างความเสียหาย 155 ล้านบาท ปี"52 วันที่ 22-23 มิ.ย.
สร้างความเสียหาย 30 ล้านบาท และล่าสุดวันที่ 16-28 ต.ค. 52 สร้างความเสียหาย 80 ล้านบาท
ตอนนี้ก็ตั้งตารอการปฏิรูปใหญ่รถไฟ
มรสุมซัดศก.ไทย
เศรษฐกิจไทยปี"52 ย่ำแย่ตามเศรษฐกิจโลก
เพราะไทยพึ่งพาการส่งออกถึง 60% หลังจากคู่ค้าหลักอย่างสหรัฐ ยุโรปและญี่ปุ่น
โดนมรสุมวิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ ขณะที่การท่องเที่ยวซึ่งเป็นตัวสร้างรายได้เข้าประเทศก็ทรุดต่อเนื่อง
ผสมโรงกับมรสุมการเมืองในประเทศ ลากยาวมาตั้งแต่ม็อบเสื้อเหลืองปิดสนามบินเมื่อปลายปี"51 มาถึงม็อบเสื้อแดงบุกพังการประชุมสุดยอดอาเซียน วันที่ 10-12 เม.ย.
ที่พัทยา จ.ชลบุรี ผู้นำอาเซียนเผ่นกันกระเจิง
ในกรุงเทพฯ ม็อบเสื้อแดงยังก่อจลาจลหลายจุด ถ
ึงขั้นปะทะกับเจ้าหน้าที่บ้านเมืองกลายเป็นสงกรานต์เลือด 12 เม.ย.
รัฐบาลจึงต้องประกาศใช้พ.ร.ก.ฉุกเฉินในกรุงเทพฯ และปริมณฑลบางอำเภอ ตามมาด้วยการปลุกม็อบป่วนรัฐบาลตลอดปี
รัฐบาลต้องกู้เงินมหาศาลถึง 7.8 แสนล้าน ส่วนหนึ่งคือ 3.49 แสนล้าน อัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจ บางส่วนกระจายลงสู่รากหญ้าหวังกระตุ้นการใช้จ่ายผ่านโครงการ
แจกเช็คคนเงินเดือนน้อย 2 พันบาท แจกเบี้ยชรา 5 มาตรการช่วยเหลือค่าครองชีพประชาชน เป็นต้น
แต่ทั้งปี"52 คาดว่าจะพยุงผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) ได้แค่ติดลบ 3%
ตลาดหุ้นป่วน
ตลาดหุ้นไทยปี"52 มีเรื่องช็อกและสร้างความตื่นตระหนกให้บรรดานักลงทุนทั้งไทยและต่างประเทศ
เหตุการณ์แรก 20 ก.พ. นายกานต์ ตระกูลฮุน กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) หรือ เอสซีซี แจ้งตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) มีผู้ปลอมแปลงใบหุ้นสามัญของบริษัท 2 ใบ รวมจำนวนหุ้น 672,000 หุ้น มูลค่าในขณะนั้นประมาณ 67 ล้านบาท ตรวจสอบพบว่ามีพนักงาน 1 คน ของเอสซีจีเป็นผู้จัดทำใบหุ้นสามัญปลอมขึ้นมา
จากนั้น 14-15 ต.ค. กระดานหุ้นไทยร่วงกราวรูดแดงยกแผง หลังมีการปล่อยข่าวลือไม่เป็นมงคลในห้องค้า เป็นเหตุให้นักลงทุนทั้งไทยและเทศทิ้งหุ้นร่วงกราวรูด
กว่าตลาดจะหายช็อก 2 วันดัชนีหุ้นร่วงถึง 53.95 จุด มูลค่าการซื้อขาย 101,344.40 ล้านบาท
1 พ.ย. ตำรวจจับไอ้โม่ง 2 คน คือ
น.ส.ธีรนันต์ วิภูชนันธ์ อดีตกรรมการผู้จัดการ บล.ยูบีเอส และ
นายคธา ปาจริยพงษ์ พนักงาน บล.เคที ซีมิโก้ ในข้อหาปล่อยข่าวลือ
เป็นความผิดตามพ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
(1)-โกงธอส.499ล้าน
(2)-มรสุมซัดศก.ไทย
(3)-ตลาดหุ้นป่วน
(4)-เกาเหลาชามใหญ่
(5)-อุ้มน้ำมันแพง
เกาเหลาชามใหญ่
เกาเหลาชามใหญ่โชยหึ่งสุด หนีไม่พ้นพรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) กับพรรคภูมิใจไทย (ภท.)
โดยเฉพาะ นางพรทิวา นาคาศัย รมว.พาณิชย์ จากภท. กับ นายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ รองนายกรัฐมนตรี จากปชป. เริ่มจาก 9 เม.ย. โอนอำนาจขายสินค้าเกษตรจากพาณิชย์ให้ครม.ทำแทน อ้างป้องกันขายขาดทุน ต่อมาล้มประมูลข้าวโพด 4.5 แสนตัน ล้มประมูลข้าว 2.6 ล้านตัน
จากนั้น 7 พ.ย. นายธนพร ศรียางกูร ที่ปรึกษานางพรทิวา ปล่อยข่าวจะแจ้งจับนายกอร์ปศักดิ์ ปฏิบัติหน้าที่มิชอบกรณีอนุมัติขายมันเส้น อีก 10 วันถัดมา ปชป.เอาคืน เบรกพาณิชย์ขายแป้งมันให้รัฐวิสาหกิจของจีนแบบรัฐต่อรัฐ 2 แสนตัน อ้างว่าขายถูกเกินจริง
ย้ำรอยปริอีกคดีเมื่อนายกฯ ยื้อตั้ง นายยรรยง พวงราช ซึ่งนางพรทิวาดันสุดลิ่มจากอธิบดีกรมการค้าภายในเป็นปลัดกระทรวง
ต้องเสนอชื่อเข้าครม.ถึง 3 ครั้ง กว่าจะสมใจ
ภท.เอาคืนทันควัน 13 ต.ค. นางพรทิวา ดันก้น นายบรรยง ลิ้มประยูรวงศ์ ให้ครม.อนุมัติเป็นอธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ทั้งที่คนดูแลกรมนี้อย่าง
นายอลงกรณ์ พลบุตร รมช.พาณิชย์ สังกัดปชป.ไปปฏิบัติงานที่พม่า
ชามเกาเหลาแตกเมื่อไหร่ รัฐบาลก็พังเมื่อนั้น
โกงธอส.499ล้าน
วันที่ 1 พ.ค. นายขรรค์ ประจวบเหมาะ กรรมการผู้จัดการ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.)
แจ้งจับ นายสมเกียรติ ปัญญาวรกุลเดช อายุ 33 ปี พนักงานธุรกิจสาขาด้านการเงิน ธอส. สาขาเซนต์หลุยส์ 3 ข้อหายักยอกเงินในส่วนของดอกเบี้ยจ่าย 499 ล้านบาท ซึ่งกระทำต่อเนื่องมากว่า 1 ปีครึ่ง
ธอส. ตรวจสอบการทำงานภายในด่วน
พบว่าปัญหาเกิดจากระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ของธนาคารเอง (core banking system-CBS)
จึงสั่งตั้งกรรมการสอบ
วันที่ 23 ก.ค. นายนริศ ชัยสูตร ประธานกรรมการ ธอส.
สรุปผลการสอบสวนข้อเท็จจริง พบการทำทุจริตแบ่งเป็น 2 วิธี คือ
การปลอมสลิปเพื่อถอนเงินจากบัญชีเงินฝากของลูกค้า 36.5 ล้านบาท และการสร้างรายการจากดอกเบี้ยจ่ายของธนาคาร 499.27 ล้านบาท
ส่วนสาเหตุที่กระทำทุจริตได้สำเร็จ เพราะการผ่อนปรนเงื่อนไขของขั้นตอนการทำงานในระบบ CBS ใหม่ การละเลยไม่ปฏิบัติหน้าที่ในการควบคุมกำกับดูแลงานปกติของผู้ที่รับผิดชอบ และความไม่พร้อมของพนักงานและระบบต่างๆ ที่ใช้ในการตรวจสอบ เมื่อเริ่มใช้ระบบ CBS
(6)-เช่าเมล์เอ็นจีวี
(7)-พ่อมดราเกซสิ้นฤทธิ์
(-ลงทุนมาบตาพุดสะดุด
(9)-สารเคมีรั่วแหลมฉบัง
แต่ผู้บริหารธอส.ก็รอดตัวไปตามระเบียบ
อุ้มน้ำมันแพง
ราคาน้ำมันในปีนี้ไต่ระดับสูงขึ้นเรื่อยๆ น้ำมันขายปลีกในไทยช่วงต้นปีอยู่ที่ 15-16 บาท/ลิตร แต่ราคาไต่ระดับสูงขึ้นจนน้ำมันดีเซลขยับใกล้ 30 บาท/ลิตร
โดยเมื่อวันที่ 11 ส.ค. 52 ครม. ออกมาตรการบรรเทาผลกระทบน้ำมันแพง 5 มาตรการประกอบด้วย
1.ลดราคาดีเซลลง 2 บาท/ลิตร และลดราคาบี 5 ลง 40 ส.ต./ลิตร อย่างไม่มีกำหนด
2.ตรึงราคาก๊าซหุงต้ม (แอลพีจี) ออกไปอีก 1 ปีจนถึง 31 ก.ค. 53
3.ตรึงราคาก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์ (เอ็นจีวี) ออกไปอีก 1 ปี
4.เปลี่ยนแท็กซี่ที่ยังใช้แอลพีจีอีก 30,000 คัน
5.ตรึงค่าไฟฟ้าอัตโนมัติ (เอฟที) เป็นเวลา 1 ปี
ขณะที่ปี"53 แนวโน้มราคาน้ำมันตลาดโลกคาดว่าจะอยู่ที่ 80 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล
จากปี"52 เฉลี่ยที่ 70 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล คงต้องติดตามว่าในปี"53 รัฐบาลจะต่ออายุมาตรการช่วยเหลือออกไปอีกหรือไม่
โดยเฉพาะแอลพีจี เพราะขณะนี้ยอดนำเข้าสูงกว่าเดือนละ 1 แสนตัน
เช่าเมล์เอ็นจีวี
วันที่ 29 ก.ย. 52 ครม.เห็นชอบให้องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.)
เช่ารถเมล์เอ็นจีวี 4,000 คัน มูลค่า 66,000 ล้านบาท ตามข้อเสนอของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เพราะเห็นว่ามีความเสี่ยงต่ำกว่าการซื้อ
และในวันเดียวกันได้ตั้งคณะกรรมการขึ้นมา 1 ชุด เพื่อตรวจสอบแผนปฏิบัติการ
และทีโออาร์โครงการเช่ารถเมล์ ซึ่งกระบวนการตรวจสอบจะแล้วเสร็จในเดือนธ.ค.52 จากนั้นจะนำเสนอกระทรวงคมนาคม เพื่อเสนอให้ครม.รับทราบ และจะประกาศเชิญชวนให้เอกชนประกวดราคาในต้นปี"53
อย่างไรก็ตาม วันที่ 17 พ.ย.
คณะทำงานของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) เสนอครม. ให้พิจารณาโครงการประกวดราคาเช่ารถโดยสารปรับอากาศเอ็นจีวี 4,000 คัน ว่าอาจไม่โปร่งใสใน 10 ประเด็น ขณะที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ออกมาการันตีหลังการประชุมครม. ว่ายังไม่พบการทุจริต
โครงการนี้จะคลอดได้หรือไม่ต้องจับตา
พ่อมด"ราเกซ"สิ้นฤทธิ์
เมื่อวันที่ 29 ต.ค. ศาลฎีกาแคนาดา มีคำสั่งไม่รับคำร้องขออุทธรณ์ของ
"พ่อมดการเงิน" นายราเกซ สักเสนา อดีตที่ปรึกษา
นายเกริกเกียรติ ชาลีจันทร์ เอ็มดีธนาคารกรุงเทพฯพาณิชย์การ จำกัด (มหาชน) หรือ บีบีซี
ผู้ต้องหาคดียักยอกทรัพย์
นายราเกซ เลยถูกส่งตัวกลับมารับการพิจารณาคดีในไทย ตามความเห็นของรมว.ยุติธรรมแคนาดา
ในวันที่ 30 ต.ค. และส่งมอบตัวให้พนักงานสอบสวนกองปราบปรามดำเนินคดีทันที
นายราเกซ ใช้เวลาถึง 13 ปี ต่อสู้คดีส่งผู้ร้ายข้ามแดนกับทางการไทย หลังเผ่นหนีคดียักยอกเงินบีบีซี
กว่า 75 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือราว 3,000 ล้านบาท ซึ่งกำลังจะหมดอายุความในปี"53
ขณะที่คดีของนายราเกซ อาจส่งแรงกระเพื่อมถึงนักการเมืองหลายคน
โดยเฉพาะนักการเมืองกลุ่ม 16 ซึ่งนายราเกซ กุมความลับของคนที่ร่วมกันทึ้งบีบีซีจนล้มตึงในปี"38 เพราะมีหนี้เสียมูลค่ามหาศาล ประมาณ 1.2 แสนล้านบาท
พิษบีบีซียังลามมาถึงการปิดตัวของสถาบันการเงินอีก 56 แห่ง
ซึ่งเป็นชนวนสำคัญนำไปสู่วิกฤตเศรษฐกิจเอเชีย หรือวิกฤตต้มยำกุ้งเมื่อปี"40
จุดจบของนายราเกซจะลงเอยอย่างไร?
ลงทุนมาบตาพุดสะดุด
เมื่อวันที่ 3 มี.ค. 52 ศาลปกครองระยองมีคำพิพากษาให้คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ผู้ถูกฟ้องคดี ประกาศให้ท้องที่เขตเทศบาลเมืองมาบตาพุด และพื้นที่ใกล้เคียงเป็นเขตควบคุมมลพิษ ตามที่สมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อนและประชาชนชาวมาบตาพุด รวม 43 ราย ยื่นฟ้อง
ต่อมา ผู้ฟ้องในกลุ่มเดิมเดินหน้ายื่นฟ้องต่อศาลปกครองกลาง
เนื่องจากเห็นว่าหน่วยงานรัฐละเลยต่อหน้าที่
รัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 มาตรา 67 วรรค 2 โดยโครงการ 76 แห่ง
ในมาบตาพุดทำผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) เท่านั้น ไม่ได้ทำผลกระทบด้านสุขภาพ (เอชไอเอ) เป็นเหตุให้ศาลมีคำสั่งในวันที่ 23 ก.ย. 52 ระงับ 76 โครงการ มูลค่า 4 แสนล้านบาท
เพื่อคุ้มครองชุมชนมาบตาพุด
สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยระบุว่า การระงับ 76 โครงการ
ทำให้นักลงทุนใหม่ชะลอแผนการลงทุนในไทย 2-3 แสนล้านบาท และยังมีคนตกงานเกือบ 4 หมื่นคน
หลังภาครัฐและเอกชนยื่นอุทธรณ์ วันที่ 2 ธ.ค. 52 ศาลปกครองสูงสุดมีคำสั่งให้ 11 โครงการเดินหน้าต่อไปได้
แต่อีก 65 โครงการยังถูกสั่งระงับไว้ มูลค่าประมาณ 2.5 แสนล้านบาท
ภาครัฐแต่งตั้ง นายอานันท์ ปันยารชุน เป็นประธานคณะกรรมการ 4 ฝ่าย แก้ปัญหามาบตาพุด
หวังปลดล็อกโครงการที่เหลือให้เดินหน้าต่อไปได้
สารเคมีรั่วแหลมฉบัง
เมื่อวันที่ 25 พ.ย. เกิดสารเคมีรั่วไหล บริเวณท่าเทียบเรือ b3 บริหารโดย
บริษัท อีสเทิร์นซี แหลมฉบัง เทอร์มินัล จำกัด หรือ ESCO ในท่าเรือแหลมฉบัง จ.ชลบุรี เป็นการลุกไหม้ตู้คอนเทนเนอร์ ที่บรรจุสารเคมีสารโซเดียมไฮโดรซัลไฟต์ ซึ่งเป็นสารฟอกขาวที่ใช้ในอุตสาหกรรมย้อมผม
คาดว่าถุงที่บรรจุสารดังกล่าวเกิดแตกทำให้สารรั่วไหลออกมา และเกิดความร้อน ทำให้ไฟไหม้ มีกลิ่นเหม็นเหมือนไข่เน่า
เจ้าหน้าที่ได้อพยพประชาชนประมาณ 400 คน ไปอยู่ในที่ปลอดภัย
โดยมีผู้ได้รับความเดือดร้อนทั้งสิ้น 246 ครัวเรือน
ได้รับบาดเจ็บจากการสูดดมสารพิษ จนเกิดอาการเวียนศีรษะ อาเจียน และแน่นหน้าอก ต้องเข้ารับการรักษาตัวที่โรงพยาบาลต่างๆ 73 ราย และมีผู้เสียชีวิต 1 ราย แต่ผู้เสียชีวิตมีโรคประจำตัวจนเป็นที่ถกเถียงกันว่าเสียชีวิตจากสารเคมีรั่วหรือจากอาการของโรคประจำตัว
ขณะที่ภาคเอกชนเรียกร้องให้หน่วยงานรัฐตรวจหาสาเหตุที่เกิดขึ้นโดยเร็ว มิฉะนั้นจะทำให้ประชาชนขาดความเชื่อมั่นเรื่องความปลอดภัย
และเชื่อมโยงเป็นกรณีเดียวกับปัญหานิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด
http://www.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TURObFkyOHdNVE13TVRJMU1nPT0=§ionid=TURNd05RPT0=&day=TWpBd09TMHhNaTB6TUE9PQ==
ทุบเศรษฐกิจไทยกู่ไม่กลับ ย้อนรอยไปดูเหตุการณ์กัน
รถไฟสไตรก์ซ้ำซาก
วันที่ 16 ต.ค. 52 สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจการรถไฟแห่งประเทศไทย (สร.ร.ฟ.ท.) หยุดให้บริการผู้ในส่วนของรถไฟสายใต้ ถึงวันที่ 28 ต.ค. 52 หลังพนักงานรถไฟ อ้างความไม่ปลอดภัยของหัวจักร โดยโยงไปที่อุบัติเหตุรถไฟตกรางที่สถานีเขาเต่า เมื่อวันที่ 5 ต.ค. 52 ที่มีคนตายถึง 7 ศพ และบาดเจ็บจำนวนมาก
การหยุดรถไฟลากยาว จนวันที่ 28 ต.ค. นายโสภณ ซารัมย์ รมว.คมนาคม งัดไม้แข็งแก้ปัญหา ด้วยการไล่ออกพนักงานที่เกี่ยวข้องกับการหยุดรถไฟ 6 คน จากนั้น 30 ต.ค. ไล่ออกพนักงานในส่วนของสถานีหาดใหญ่อีก 10 คน และส่วนกลางอีก 8 คน
รวมทั้งนายสาวิทย์ แก้วหวาน ประธานสหภาพรถไฟด้วย โดยในส่วนของนายสาวิทย์และพนักงานที่อยู่ในสหภาพแรงงานได้ส่งฟ้องศาลปกครองแรงงานกลาง
เสียงบ่นเซ็งอื้ออึง เพราะรถไฟหยุดวิ่งบ่อย ตั้งแต่ปี"51
ระหว่างวันที่ 28 ส.ค. - 13 ก.ย. สร้างความเสียหาย 155 ล้านบาท ปี"52 วันที่ 22-23 มิ.ย.
สร้างความเสียหาย 30 ล้านบาท และล่าสุดวันที่ 16-28 ต.ค. 52 สร้างความเสียหาย 80 ล้านบาท
ตอนนี้ก็ตั้งตารอการปฏิรูปใหญ่รถไฟ
มรสุมซัดศก.ไทย
เศรษฐกิจไทยปี"52 ย่ำแย่ตามเศรษฐกิจโลก
เพราะไทยพึ่งพาการส่งออกถึง 60% หลังจากคู่ค้าหลักอย่างสหรัฐ ยุโรปและญี่ปุ่น
โดนมรสุมวิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ ขณะที่การท่องเที่ยวซึ่งเป็นตัวสร้างรายได้เข้าประเทศก็ทรุดต่อเนื่อง
ผสมโรงกับมรสุมการเมืองในประเทศ ลากยาวมาตั้งแต่ม็อบเสื้อเหลืองปิดสนามบินเมื่อปลายปี"51 มาถึงม็อบเสื้อแดงบุกพังการประชุมสุดยอดอาเซียน วันที่ 10-12 เม.ย.
ที่พัทยา จ.ชลบุรี ผู้นำอาเซียนเผ่นกันกระเจิง
ในกรุงเทพฯ ม็อบเสื้อแดงยังก่อจลาจลหลายจุด ถ
ึงขั้นปะทะกับเจ้าหน้าที่บ้านเมืองกลายเป็นสงกรานต์เลือด 12 เม.ย.
รัฐบาลจึงต้องประกาศใช้พ.ร.ก.ฉุกเฉินในกรุงเทพฯ และปริมณฑลบางอำเภอ ตามมาด้วยการปลุกม็อบป่วนรัฐบาลตลอดปี
รัฐบาลต้องกู้เงินมหาศาลถึง 7.8 แสนล้าน ส่วนหนึ่งคือ 3.49 แสนล้าน อัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจ บางส่วนกระจายลงสู่รากหญ้าหวังกระตุ้นการใช้จ่ายผ่านโครงการ
แจกเช็คคนเงินเดือนน้อย 2 พันบาท แจกเบี้ยชรา 5 มาตรการช่วยเหลือค่าครองชีพประชาชน เป็นต้น
แต่ทั้งปี"52 คาดว่าจะพยุงผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) ได้แค่ติดลบ 3%
ตลาดหุ้นป่วน
ตลาดหุ้นไทยปี"52 มีเรื่องช็อกและสร้างความตื่นตระหนกให้บรรดานักลงทุนทั้งไทยและต่างประเทศ
เหตุการณ์แรก 20 ก.พ. นายกานต์ ตระกูลฮุน กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) หรือ เอสซีซี แจ้งตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) มีผู้ปลอมแปลงใบหุ้นสามัญของบริษัท 2 ใบ รวมจำนวนหุ้น 672,000 หุ้น มูลค่าในขณะนั้นประมาณ 67 ล้านบาท ตรวจสอบพบว่ามีพนักงาน 1 คน ของเอสซีจีเป็นผู้จัดทำใบหุ้นสามัญปลอมขึ้นมา
จากนั้น 14-15 ต.ค. กระดานหุ้นไทยร่วงกราวรูดแดงยกแผง หลังมีการปล่อยข่าวลือไม่เป็นมงคลในห้องค้า เป็นเหตุให้นักลงทุนทั้งไทยและเทศทิ้งหุ้นร่วงกราวรูด
กว่าตลาดจะหายช็อก 2 วันดัชนีหุ้นร่วงถึง 53.95 จุด มูลค่าการซื้อขาย 101,344.40 ล้านบาท
1 พ.ย. ตำรวจจับไอ้โม่ง 2 คน คือ
น.ส.ธีรนันต์ วิภูชนันธ์ อดีตกรรมการผู้จัดการ บล.ยูบีเอส และ
นายคธา ปาจริยพงษ์ พนักงาน บล.เคที ซีมิโก้ ในข้อหาปล่อยข่าวลือ
เป็นความผิดตามพ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
(1)-โกงธอส.499ล้าน
(2)-มรสุมซัดศก.ไทย
(3)-ตลาดหุ้นป่วน
(4)-เกาเหลาชามใหญ่
(5)-อุ้มน้ำมันแพง
เกาเหลาชามใหญ่
เกาเหลาชามใหญ่โชยหึ่งสุด หนีไม่พ้นพรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) กับพรรคภูมิใจไทย (ภท.)
โดยเฉพาะ นางพรทิวา นาคาศัย รมว.พาณิชย์ จากภท. กับ นายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ รองนายกรัฐมนตรี จากปชป. เริ่มจาก 9 เม.ย. โอนอำนาจขายสินค้าเกษตรจากพาณิชย์ให้ครม.ทำแทน อ้างป้องกันขายขาดทุน ต่อมาล้มประมูลข้าวโพด 4.5 แสนตัน ล้มประมูลข้าว 2.6 ล้านตัน
จากนั้น 7 พ.ย. นายธนพร ศรียางกูร ที่ปรึกษานางพรทิวา ปล่อยข่าวจะแจ้งจับนายกอร์ปศักดิ์ ปฏิบัติหน้าที่มิชอบกรณีอนุมัติขายมันเส้น อีก 10 วันถัดมา ปชป.เอาคืน เบรกพาณิชย์ขายแป้งมันให้รัฐวิสาหกิจของจีนแบบรัฐต่อรัฐ 2 แสนตัน อ้างว่าขายถูกเกินจริง
ย้ำรอยปริอีกคดีเมื่อนายกฯ ยื้อตั้ง นายยรรยง พวงราช ซึ่งนางพรทิวาดันสุดลิ่มจากอธิบดีกรมการค้าภายในเป็นปลัดกระทรวง
ต้องเสนอชื่อเข้าครม.ถึง 3 ครั้ง กว่าจะสมใจ
ภท.เอาคืนทันควัน 13 ต.ค. นางพรทิวา ดันก้น นายบรรยง ลิ้มประยูรวงศ์ ให้ครม.อนุมัติเป็นอธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ทั้งที่คนดูแลกรมนี้อย่าง
นายอลงกรณ์ พลบุตร รมช.พาณิชย์ สังกัดปชป.ไปปฏิบัติงานที่พม่า
ชามเกาเหลาแตกเมื่อไหร่ รัฐบาลก็พังเมื่อนั้น
โกงธอส.499ล้าน
วันที่ 1 พ.ค. นายขรรค์ ประจวบเหมาะ กรรมการผู้จัดการ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.)
แจ้งจับ นายสมเกียรติ ปัญญาวรกุลเดช อายุ 33 ปี พนักงานธุรกิจสาขาด้านการเงิน ธอส. สาขาเซนต์หลุยส์ 3 ข้อหายักยอกเงินในส่วนของดอกเบี้ยจ่าย 499 ล้านบาท ซึ่งกระทำต่อเนื่องมากว่า 1 ปีครึ่ง
ธอส. ตรวจสอบการทำงานภายในด่วน
พบว่าปัญหาเกิดจากระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ของธนาคารเอง (core banking system-CBS)
จึงสั่งตั้งกรรมการสอบ
วันที่ 23 ก.ค. นายนริศ ชัยสูตร ประธานกรรมการ ธอส.
สรุปผลการสอบสวนข้อเท็จจริง พบการทำทุจริตแบ่งเป็น 2 วิธี คือ
การปลอมสลิปเพื่อถอนเงินจากบัญชีเงินฝากของลูกค้า 36.5 ล้านบาท และการสร้างรายการจากดอกเบี้ยจ่ายของธนาคาร 499.27 ล้านบาท
ส่วนสาเหตุที่กระทำทุจริตได้สำเร็จ เพราะการผ่อนปรนเงื่อนไขของขั้นตอนการทำงานในระบบ CBS ใหม่ การละเลยไม่ปฏิบัติหน้าที่ในการควบคุมกำกับดูแลงานปกติของผู้ที่รับผิดชอบ และความไม่พร้อมของพนักงานและระบบต่างๆ ที่ใช้ในการตรวจสอบ เมื่อเริ่มใช้ระบบ CBS
(6)-เช่าเมล์เอ็นจีวี
(7)-พ่อมดราเกซสิ้นฤทธิ์
(-ลงทุนมาบตาพุดสะดุด
(9)-สารเคมีรั่วแหลมฉบัง
แต่ผู้บริหารธอส.ก็รอดตัวไปตามระเบียบ
อุ้มน้ำมันแพง
ราคาน้ำมันในปีนี้ไต่ระดับสูงขึ้นเรื่อยๆ น้ำมันขายปลีกในไทยช่วงต้นปีอยู่ที่ 15-16 บาท/ลิตร แต่ราคาไต่ระดับสูงขึ้นจนน้ำมันดีเซลขยับใกล้ 30 บาท/ลิตร
โดยเมื่อวันที่ 11 ส.ค. 52 ครม. ออกมาตรการบรรเทาผลกระทบน้ำมันแพง 5 มาตรการประกอบด้วย
1.ลดราคาดีเซลลง 2 บาท/ลิตร และลดราคาบี 5 ลง 40 ส.ต./ลิตร อย่างไม่มีกำหนด
2.ตรึงราคาก๊าซหุงต้ม (แอลพีจี) ออกไปอีก 1 ปีจนถึง 31 ก.ค. 53
3.ตรึงราคาก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์ (เอ็นจีวี) ออกไปอีก 1 ปี
4.เปลี่ยนแท็กซี่ที่ยังใช้แอลพีจีอีก 30,000 คัน
5.ตรึงค่าไฟฟ้าอัตโนมัติ (เอฟที) เป็นเวลา 1 ปี
ขณะที่ปี"53 แนวโน้มราคาน้ำมันตลาดโลกคาดว่าจะอยู่ที่ 80 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล
จากปี"52 เฉลี่ยที่ 70 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล คงต้องติดตามว่าในปี"53 รัฐบาลจะต่ออายุมาตรการช่วยเหลือออกไปอีกหรือไม่
โดยเฉพาะแอลพีจี เพราะขณะนี้ยอดนำเข้าสูงกว่าเดือนละ 1 แสนตัน
เช่าเมล์เอ็นจีวี
วันที่ 29 ก.ย. 52 ครม.เห็นชอบให้องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.)
เช่ารถเมล์เอ็นจีวี 4,000 คัน มูลค่า 66,000 ล้านบาท ตามข้อเสนอของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เพราะเห็นว่ามีความเสี่ยงต่ำกว่าการซื้อ
และในวันเดียวกันได้ตั้งคณะกรรมการขึ้นมา 1 ชุด เพื่อตรวจสอบแผนปฏิบัติการ
และทีโออาร์โครงการเช่ารถเมล์ ซึ่งกระบวนการตรวจสอบจะแล้วเสร็จในเดือนธ.ค.52 จากนั้นจะนำเสนอกระทรวงคมนาคม เพื่อเสนอให้ครม.รับทราบ และจะประกาศเชิญชวนให้เอกชนประกวดราคาในต้นปี"53
อย่างไรก็ตาม วันที่ 17 พ.ย.
คณะทำงานของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) เสนอครม. ให้พิจารณาโครงการประกวดราคาเช่ารถโดยสารปรับอากาศเอ็นจีวี 4,000 คัน ว่าอาจไม่โปร่งใสใน 10 ประเด็น ขณะที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ออกมาการันตีหลังการประชุมครม. ว่ายังไม่พบการทุจริต
โครงการนี้จะคลอดได้หรือไม่ต้องจับตา
พ่อมด"ราเกซ"สิ้นฤทธิ์
เมื่อวันที่ 29 ต.ค. ศาลฎีกาแคนาดา มีคำสั่งไม่รับคำร้องขออุทธรณ์ของ
"พ่อมดการเงิน" นายราเกซ สักเสนา อดีตที่ปรึกษา
นายเกริกเกียรติ ชาลีจันทร์ เอ็มดีธนาคารกรุงเทพฯพาณิชย์การ จำกัด (มหาชน) หรือ บีบีซี
ผู้ต้องหาคดียักยอกทรัพย์
นายราเกซ เลยถูกส่งตัวกลับมารับการพิจารณาคดีในไทย ตามความเห็นของรมว.ยุติธรรมแคนาดา
ในวันที่ 30 ต.ค. และส่งมอบตัวให้พนักงานสอบสวนกองปราบปรามดำเนินคดีทันที
นายราเกซ ใช้เวลาถึง 13 ปี ต่อสู้คดีส่งผู้ร้ายข้ามแดนกับทางการไทย หลังเผ่นหนีคดียักยอกเงินบีบีซี
กว่า 75 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือราว 3,000 ล้านบาท ซึ่งกำลังจะหมดอายุความในปี"53
ขณะที่คดีของนายราเกซ อาจส่งแรงกระเพื่อมถึงนักการเมืองหลายคน
โดยเฉพาะนักการเมืองกลุ่ม 16 ซึ่งนายราเกซ กุมความลับของคนที่ร่วมกันทึ้งบีบีซีจนล้มตึงในปี"38 เพราะมีหนี้เสียมูลค่ามหาศาล ประมาณ 1.2 แสนล้านบาท
พิษบีบีซียังลามมาถึงการปิดตัวของสถาบันการเงินอีก 56 แห่ง
ซึ่งเป็นชนวนสำคัญนำไปสู่วิกฤตเศรษฐกิจเอเชีย หรือวิกฤตต้มยำกุ้งเมื่อปี"40
จุดจบของนายราเกซจะลงเอยอย่างไร?
ลงทุนมาบตาพุดสะดุด
เมื่อวันที่ 3 มี.ค. 52 ศาลปกครองระยองมีคำพิพากษาให้คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ผู้ถูกฟ้องคดี ประกาศให้ท้องที่เขตเทศบาลเมืองมาบตาพุด และพื้นที่ใกล้เคียงเป็นเขตควบคุมมลพิษ ตามที่สมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อนและประชาชนชาวมาบตาพุด รวม 43 ราย ยื่นฟ้อง
ต่อมา ผู้ฟ้องในกลุ่มเดิมเดินหน้ายื่นฟ้องต่อศาลปกครองกลาง
เนื่องจากเห็นว่าหน่วยงานรัฐละเลยต่อหน้าที่
รัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 มาตรา 67 วรรค 2 โดยโครงการ 76 แห่ง
ในมาบตาพุดทำผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) เท่านั้น ไม่ได้ทำผลกระทบด้านสุขภาพ (เอชไอเอ) เป็นเหตุให้ศาลมีคำสั่งในวันที่ 23 ก.ย. 52 ระงับ 76 โครงการ มูลค่า 4 แสนล้านบาท
เพื่อคุ้มครองชุมชนมาบตาพุด
สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยระบุว่า การระงับ 76 โครงการ
ทำให้นักลงทุนใหม่ชะลอแผนการลงทุนในไทย 2-3 แสนล้านบาท และยังมีคนตกงานเกือบ 4 หมื่นคน
หลังภาครัฐและเอกชนยื่นอุทธรณ์ วันที่ 2 ธ.ค. 52 ศาลปกครองสูงสุดมีคำสั่งให้ 11 โครงการเดินหน้าต่อไปได้
แต่อีก 65 โครงการยังถูกสั่งระงับไว้ มูลค่าประมาณ 2.5 แสนล้านบาท
ภาครัฐแต่งตั้ง นายอานันท์ ปันยารชุน เป็นประธานคณะกรรมการ 4 ฝ่าย แก้ปัญหามาบตาพุด
หวังปลดล็อกโครงการที่เหลือให้เดินหน้าต่อไปได้
สารเคมีรั่วแหลมฉบัง
เมื่อวันที่ 25 พ.ย. เกิดสารเคมีรั่วไหล บริเวณท่าเทียบเรือ b3 บริหารโดย
บริษัท อีสเทิร์นซี แหลมฉบัง เทอร์มินัล จำกัด หรือ ESCO ในท่าเรือแหลมฉบัง จ.ชลบุรี เป็นการลุกไหม้ตู้คอนเทนเนอร์ ที่บรรจุสารเคมีสารโซเดียมไฮโดรซัลไฟต์ ซึ่งเป็นสารฟอกขาวที่ใช้ในอุตสาหกรรมย้อมผม
คาดว่าถุงที่บรรจุสารดังกล่าวเกิดแตกทำให้สารรั่วไหลออกมา และเกิดความร้อน ทำให้ไฟไหม้ มีกลิ่นเหม็นเหมือนไข่เน่า
เจ้าหน้าที่ได้อพยพประชาชนประมาณ 400 คน ไปอยู่ในที่ปลอดภัย
โดยมีผู้ได้รับความเดือดร้อนทั้งสิ้น 246 ครัวเรือน
ได้รับบาดเจ็บจากการสูดดมสารพิษ จนเกิดอาการเวียนศีรษะ อาเจียน และแน่นหน้าอก ต้องเข้ารับการรักษาตัวที่โรงพยาบาลต่างๆ 73 ราย และมีผู้เสียชีวิต 1 ราย แต่ผู้เสียชีวิตมีโรคประจำตัวจนเป็นที่ถกเถียงกันว่าเสียชีวิตจากสารเคมีรั่วหรือจากอาการของโรคประจำตัว
ขณะที่ภาคเอกชนเรียกร้องให้หน่วยงานรัฐตรวจหาสาเหตุที่เกิดขึ้นโดยเร็ว มิฉะนั้นจะทำให้ประชาชนขาดความเชื่อมั่นเรื่องความปลอดภัย
และเชื่อมโยงเป็นกรณีเดียวกับปัญหานิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด
http://www.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TURObFkyOHdNVE13TVRJMU1nPT0=§ionid=TURNd05RPT0=&day=TWpBd09TMHhNaTB6TUE9PQ==