WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Wednesday, May 18, 2011

อดีตปธ.กก.ติดตามสถานการณ์ฯ สรุปเหตุ 19 พ.ค. "นายกฯไม่เลี่ยงความรุนแรง-วัดปทุมฯมีจนท.รัฐบนราง"

ที่มา มติชน

นาย จิตติพจน์ วิริยะโรจน์ ส.ว.ศรีสะเกษ อดีตประธานคณะกรรมการติดตามสถานการณ์บ้านเมือง วุฒิสภา กล่าวเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม ถึงกรณีวันครบรอบ 1 ปี การสลายการชุมนุมที่ราชประสงค์ 19 พฤษภาคม ว่า ที่ผ่านมาคณะกรรมการฯได้ตรวจสอบข้อมูลและเชิญบุคคลมาชี้แจงทั้งภาครัฐ เอกชน สื่อ ประชาชนทั้งเสื้อเหลืองและเสื้อแดง ซึ่งได้ข้อมูลมากพอสมควรที่จะสรุปเบื้องต้น แต่น่าเสียดายที่ประธานวุฒิสภาคนก่อน สั่งยุบคณะกรรมการฯก่อนหมดวาระดำรงตำแหน่งประธาน ทำให้กระบวนการสืบสวนหาข้อเท็จจริงสะดุดลง อย่างไรก็ดี บางประเด็นคณะกรรมการฯได้ข้อมูลมากพอที่จะสรุปเบื้องต้น ได้แก่ 1.เหตุการณ์วันที่ 19 พฤษภาคม 53 เป็นเรื่องที่สามารถหลีกเลี่ยงได้ เพราะก่อนวันดังกล่าว ส.ว.และบุคคลจำนวนหนึ่งได้พยายามประสานฝ่ายรัฐและแกนนำผู้ชุมนุมเพื่อไม่ให้ เกิดเหตุดังกล่าว ซึ่งวันที่ 18 พฤษภาคม 53 ยังมีแนวโน้มที่ดีอยู่ แต่น่าเสียดาย วันที่ 19 พฤษภาคม นายกฯตัดสินใจสั่งสลายการชุมนุม ถือเป็นข้อผิดพลาด เพราะนายกฯได้เวลายุบสภาช้าลงไป 6-7 เดือน และกับการบาดเจ็บ ล้มตายของผู้คน ซึ่งสร้างรอยแผลลึก จึงไม่คุ้มกัน ถ้านายกฯเชื่อคนที่พยายามประสานการหารือ คงแก้ปัญหาบ้านเมืองที่ยิ่งขมวดเงื่อนปมมากขึ้นได้ง่ายกว่านี้

นาย จิตติพจน์กล่าวว่า 2.เมื่อเกิดเหตุวันที่ 19 พฤษภาคม แล้ว ต้องมีการแสวงหาความจริงเพื่อให้สังคมเรียนรู้และทำความเข้าใจร่วมกันในการ ป้องกันจะไม่ให้เกิดความรุนแรงเช่นนี้อีกเหมือน 6 ตุลาคม 19 และ พฤษภาคม 35 ที่สังคมยอมให้ใช้ความรุนแรงแก้ปัญหา ซึ่งกระบวนการยุติธรรมทั้งตำรวจ อัยการ ดีเอสไอ ป.ป.ช. ศาล ต้องแสดงให้สังคมเห็นถึงการสอบสวนเหตุการณ์ที่โปร่งใสตรวจสอบได้ ต้องให้มีการสู้คดีโดยเปิดเผยในชั้นศาล ไม่เช่นนั้นจะยิ่งหาทางออกจากปัญหายาก แต่คณะกรรมการฯกลับพบว่า กระบวนการเหล่านี้มีอุปสรรค เช่น คณะกรรมการฯของฝ่ายวุฒิสภาเอง ขอข้อมูลจากภาครัฐได้ยากมาก แต่โชคดีที่ได้ข้อมูลในช่องทางอื่นๆ มากพอสมควร 3.เหตุวันที่ 19 พฤษภาคม ที่คณะกรรมการฯได้ข้อมูลพอสรุปได้คือ เหตุที่วัดปทุมวนารามที่ค่อนข้างชัดเจนว่า มีเจ้าหน้าที่รัฐเกี่ยวข้อง มีพยานหลักฐานบุคคลและวัตถุ ว่า มีทหารอยู่บนรางรถไฟฟ้าจริง ซึ่งขัดกับที่นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกฯด้านความมั่นคง เคยชี้แจงในสภาว่าไม่มีทหารอยู่บนนั้น ส่วนเหตุตามจุดอื่นๆ ก็ค่อนข้างมีพยานหลักฐานชัดเจนพอสมควรว่า เจ้าหน้าที่รัฐมีส่วนเกี่ยวข้อง อย่างไรก็ดี ก็ต้องให้ผู้ถูกกล่าวหาได้ชี้แจงด้วย ซึ่งตอนนี้ก็หวังว่ากระบวนการตรวจสอบหาความจริงจากภาคส่วนต่างๆ จะเร่งดำเนินการต่อไปเพื่อให้ผลปรากฏต่อสังคม