WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Thursday, May 19, 2011

อุดมการณ์พฤษภา

ที่มา Voice TV

ใบตองแห้ง

VoiceTV Member

Bio

คอลัมนิสต์อิสระ/Blogger

ครบรอบปี 19 พฤษภา แม้อยู่ในบรรยากาศเลือกตั้ง แต่มวลชนเสื้อแดงก็คงไม่ละเว้นกิจกรรมร่วมรำลึกถึงพี่น้องที่สูญเสีย

เพียงเสียดายที่แกนนำ นปช.ไม่รู้จักแยกแยะระหว่างพรรคการเมืองกับขบวนการเคลื่อนไหวมวลชน ดันแห่ไปลง ส.ส.จนไม่เหลือใครนำเวที (แล้วเป็นไง จตุพรถูกถอนประกัน ก็เคลื่อนไหวอะไรไม่ออก) แต่ดีแล้วละครับ จะได้กลับสู่การเคลื่อนไหวแบบ “แกนนอน”

นัยสำคัญของวันครบรอบปี 19 พฤษภา ด้านที่น่ายินดีคือ มีการตีแผ่ความจริงมากขึ้น กระทั่งองค์การนิรโทษกรรมสากลยังต้องออกมาระบุว่า“การสลายการชุมนุมในเดือน เมษายน – พฤษภาคม ปีที่แล้ว ถือเป็นการใช้กำลังเกินกว่าเหตุโดยเจ้าหน้าที่รัฐ ส่งผลให้มีผู้ชุมนุมเสียชีวิตกว่า 70 คน รวมถึงทหาร อาสากู้ภัย และนักข่าว นอกจากนี้ การประกาศใช้พ.ร.ก.ฉุกเฉินยังส่งผลให้ประชาชนกว่า 450 คนต้องถูกคุมขัง ซึ่งบางส่วนยังอยู่ในระหว่างดำเนินคดีและยังถูกคุมขังอยู่ในเรือนจำจนถึง ปัจจุบัน”

ซึ่งเป็นอะไรที่ผมไม่คาดคิดว่าจะหลุดจากปากสมชาย หอมลออ นั่นแสดงว่าพวกเขาจำเป็นและจำใจต้องยอมรับความจริง ถ้ายังอยาก “ประกอบอาชีพนักสิทธิมนุษยชน” ต่อการต่อสู้ในสงครามข้อมูลข่าวสาร ซึ่งมีนักวิชาการและสื่อที่ยังรักความเป็นธรรมเป็นหัวเรี่ยวหัวแรง (ไม่ใช่แกนนำเสื้อแดงที่เอาแต่ตะแบง) สามารถแย่งยึดพื้นที่ความจริงคืนมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในทางสากล แล้วตีโอบกลับมาในประเทศ

ยกตัวอย่างเช่น การเสนอข้อเท็จจริงโดยกลุ่ม "มรสุมชายขอบ" นำโดย ดร.บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ซึ่งแยกแยะให้เห็นว่าประชาชนที่บาดเจ็บเสียชีวิตถูกยิงเข้าลำตัวช่วงบนมาก ที่สุด และส่วนใหญ่ก็เป็นเวลากลางวันแสกๆ (ไม่ใช่ช่วงเวลาค่ำมืดที่ทหารอาจเข้าใจผิดว่าประชาชนเป็นชายชุดดำ)

นี่ แค่ปีเดียวนะครับ อย่าลืมว่า 6 ตุลา 19 ปีแรกต้องไปจัดงานรำลึกในป่า ผู้นำนักศึกษายังถูกจับติดคุก เราใช้เวลาต่อสู้ด้วยข้อเท็จจริงถึงสิบกว่าปีกว่าสังคมจะยอมรับว่ามีการ ตกแต่งภาพละครแขวนคอ อาจารย์ปรีดีท่านต้องต่อสู้อยู่เกือบ 30 ปีกว่าผู้คนจะเข้าใจและกลับไปยกย่องเชิดชู

ไม่แน่ อีกไม่กี่ปี เราอาจจะประณามได้เต็มปากว่าใครสั่งฆ่า ใครสั่งยิง


ความจริงสองด้าน

อย่างไรก็ดี เราไม่อาจปฏิเสธข้อเท็จจริงอีกด้าน เพียงขึ้นกับจะมีมุมมองอย่างไร

เมื่อไม่กี่วันก่อน โพสต์ทูเดย์สัมภาษณ์ วีระกานต์ มุสิกพงศ์ อดีตประธาน นปช. “วิจารณ์เสื้อแดง” ซึ่งดูเหมือนจะเป็นที่ถูกอกถูกใจพวกพันธมิตรหรือคนกรุงคนชั้นกลางเกลียด เสื้อแดงทั้งหลาย เพราะวีระ (กานต์) วิพากษ์แกนนำฮาร์ดคอร์อยาง เสธแดง อริสมันต์ แรมโบ้ พายัพ ที่ไม่ยอมให้ยุติการชุมนุม (รวมทั้งยังวิพากษ์ทักษิณและจตุพรอยู่อ้อมๆ)

คนเสื้อแดงบางส่วนอ่านแล้วคงโกรธเกรี้ยวแค้นเคืองวีระ แต่ผมเห็นด้วยว่าวีระพูดความจริง เพราะย้อนไปในตอนนั้นผมก็ตำหนิแกนนำเสื้อแดงที่ไม่ยอมยุติการชุมนุม ทั้งที่ส่งคนไปเจรจากับรัฐบาลแล้ว ประกาศยอมรับผลการเจรจาแล้ว แต่พอต่อสายต่างประเทศ บางส่วนก็รวนเร

เรื่องเหล่านี้ วิสา คัญทัพ ก็เขียนวิพากษ์วิจารณ์ไว้อย่างหนักแน่นชัดเจนในบันทึกของเขา ถ้าแกนนำเสื้อแดงยอมยุติการชุมนุมในวันที่ 11 พ.ค.ความชอบธรรมจะอยู่กับฝ่าย นปช.เพียงแต่เราไม่ได้บอกว่าหลังจากนั้นเมื่อแกนนำไม่ยอมยุติ เมื่อพวกฮาร์ดคอร์ขึ้นมานำ แล้วรัฐบาลจะมีความชอบธรรมในการ “ใช้กระสุนจริง”

นี่ต่างหากคือมุมที่ต้องมองสองด้าน คนกรุงคนชั้นกลางเลือกมองความผิดของแกนนำเสื้อแดง (และทักษิณ) มา “ล้างบาป” ที่ตัวเองมีส่วนออกใบอนุญาตฆ่า (บางคนไม่สำนึกว่าบาปเลยด้วยซ้ำ) ขณะที่มวลชนเสื้อแดงบางส่วนก็ปกป้องว่าแกนนำของตัวทำถูกทุกอย่าง ทั้งที่ควรจะนำมาสรุปบทเรียนเพื่อการเคลื่อนไหวต่อไป

การสรุปบทเรียนและวิพากษ์วิจารณ์ไม่กระทบกับการยกย่องเชิดชูผู้เสียสละ ถ้าเรารู้จักแยกแยะ อย่างเช่นเสธแดง เราพูดได้เต็มปากว่าเสธแดงคือ “ตำนาน” ที่จะเล่าขานกันไปชั่วลูกชั่วหลานในประวัติศาสตร์ไพร่ เรื่องราวของนายพลใจถึงที่ลงมาคลุกคลีเป็นวีรบุรุษของคนยากคนจน กระทั่งพลีชีพในการต่อสู้ แต่ขณะเดียวกันก็ต้องทำความเข้าใจว่า เสธแดงคือคนมุทะลุ ที่ไม่เข้าใจยุทธศาสตร์ยุทธวิธีทางการเมืองแม้แต่น้อย

ประเด็นที่พวกพันธมิตรและคนกรุงคนชั้นกลางตั้งแง่ต่อการเคลื่อนไหวของเสื้อ แดง คือพวกเขาอ้างว่าทักษิณและแกนนำมุ่งหวังให้เกิดความรุนแรง เพื่อซ้ำรอยเหตุการณ์พฤษภา 35 กระทั่งใช้ “ชายชุดดำ” เข้ามาก่อเหตุ แต่ถามว่านั่นทำให้รัฐบาลมีความชอบธรรมที่จะใช้กำลังทหารเข้ามา “กระชับพื้นที่” จนมีประชาชนตาย 70 กว่าคน อย่างนั้นหรือ

ใน จินตภาพของคนกรุงคนชั้นกลาง ต้องให้ม็อบนั่งพับเพียบเรียบร้อยแล้วถูกทหารบุกเข้าไปยิงกราด อย่างนั้นหรือจึงเรียกว่าการใช้ความรุนแรงเกินกว่าเหตุ

ก็ลองย้อนไปดูม็อบพันธมิตรสิครับ เขานั่งพับเพียบหรือเปล่า

การเคลื่อนไหวมวลชนในยุคสมัยของเรา ตั้งแต่พันธมิตรมาถึงเสื้อแดง ล้วนไม่มีใคร “สันติ อหิงสา” ซื่อใสไร้เดียงสาโดยสัมบูรณ์ เหมือนนักศึกษาประชาชนสมัย 14 ตุลาหรือ 6 ตุลา อันที่จริงแม้พฤษภา 35 “ม็อบมือถือ” ก็มีเจตนา Copycat 14 ตุลา เพราะความจริงเปิดเผยภายหลังว่า ใครเผา สน.นางเลิ้ง

เรื่องของความรุนแรงก็เช่นกัน มีการก่อความรุนแรงทั้งด้วยอารมณ์มวลชน และด้วยความจงใจ 14 ตุลา ก็เผากรมกร๊วก พฤษภา 35 ก็มีขบวนมอเตอร์ไซค์ มี “ไอ้แหลม” เรื่องนี้ดูเหมือนจะเป็นสากล เพราะสมัยที่ผมเป็น “ผู้ก่อการร้าย” ในยุค 80 พรรคคอมมิวนิสต์อบรมเข้มงวดว่าเราต้องไม่ทำให้ประชาชนผู้บริสุทธิ์เดือดร้อน แต่พวกอัลกออิดะห์ (ซึ่งก่อตัวมาจากการเอารัดเอาเปรียบของอเมริกา) หรือพวก 3 จังหวัดภาคใต้ (ซึ่งเริ่มต้นมาจากความไม่เป็นธรรมของรัฐไทย) ฆ่าผู้บริสุทธิ์กันหน้าตาเฉย

การมองแต่ละกรณีในมุมของสิทธิมนุษยชนจึงต้องมองอย่างแยกแยะ และมองการใช้อำนาจของรัฐว่าละเมิดสิทธิรุนแรงเกินกว่าเหตุหรือไม่


มุมมองสองมาตรฐาน

ถ้าเปรียบเทียบกันง่ายๆ กรณี 7 ตุลา พันธมิตรปิดหน้ารัฐสภา ถามเจตนาพันธมิตรต้องการอะไร ผมเชื่อว่าพวกเขาพร้อม “พลีชีพ” เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง copycat ยั่วยุให้ใช้กำลังสลาย ตำรวจมีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายที่ต้องสลาย (คำสั่งศาลปกครอง) แม้ในทางการเมือง ผมเห็นว่าเป็นการตัดสินใจไม่เหมาะสม เพราะรัฐบาลชะลอการเปิดประชุมสภาไปได้ หรือย้ายที่ได้ แต่ถามว่าตำรวจทำรุนแรงเกินกว่าเหตุหรือไม่ เขาใช้ปืนยิงแก๊สน้ำตา ซึ่งก่อนหน้าวันที่ 7 ตุลา ไม่เคยมีใครรู้ว่า ปืนยิงแก๊สน้ำตาจะทำให้คนแขนขาดขาขาดได้ ตำรวจก็ไม่รู้ (ปปช.จึงพลิกไปเอาผิดว่า เมื่อรู้แล้วก็ไม่สั่งให้หยุด แต่ถามว่าหยุดได้ไง ในเมื่อมวลชนล้อมจะบุก บช.น.)

ภาพที่ออกมาทางหน้าจอเรียลลิตี้ทีวี ไม่ถึงสิบนาที องค์กรสิทธิมนุษยชน นักวิชาการ สื่อ แห่ออกมาออกคำแถลงการณ์กันนับไม่ถ้วน บอกให้หยุด ตำรวจก็หยุด แต่พันธมิตรไม่หยุด พันธมิตรขับรถชนตำรวจ พันธมิตรจะจุดระเบิดแต่ระเบิดตัวเองตาย มือมืดในม็อบเอาปืนยิงตำรวจ แล้วก็ปิดล้อมรัฐสภา ปิดล้อม บช.น.

พันธมิตร ขับรถไล่ชนตำรวจ ศาลตัดสินจำคุก 3 ปีแต่ให้รอลงอาญา ซึ่งชอบแล้วเพราะเป็นความผิดที่ควรให้อภัย แต่ทำไมมวลชนเสื้อแดงถูกคุมขัง 450 คน ทั้งที่ไม่มีพยานหลักฐานชัดเจน บางคนแค่มีภาพยืนจุดบุหรี่สูบใกล้ที่เผาศาลากลางเชียงใหม่ ต้องติดคุกเป็นปี (แต่คนกรุงคนชั้นกลางกลับสะใจที่เขาให้สัมภาษณ์ว่า ถูกแกนนำทอดทิ้ง)

เปรียบเทียบอีกทีกับเหตุการณ์พันธมิตรยึดสนามบิน Agenda ไม่ Hidden รัฐบาลมีความชอบธรรมจะใช้กำลังสลายม็อบมากกว่าราชประสงค์เป็นร้อยเท่า การ์ดพันธมิตรพกอาวุธอย่างเปิดเผย ขึ้นรถตระเวณมีพระเอกหนังเป็นผู้นำ (คนชั้นกลางคงนึกว่าเขาถ่ายหนัง)

แต่ถามว่าเคยมีแกนนำพันธมิตรออกมาตำหนิกันเองหรือไม่ (อ้าว ก็เขาชนะนี่)

ความลำเอียงของกระแสสังคม ที่สร้างขึ้นโดยสื่อ นักวิชาการ ไม่ได้ใช้มาตรฐานเดียวกันมองการปราบปรามม็อบเสื้อแดง ซึ่งทหารใช้กระสุนปืนไปถึงแสนกว่านัด ดร.บัณฑิต จันทร์โรจน์กิจ ตั้งคำถามสำคัญว่า หลังการเจรจาล้มเหลว รัฐบาลไม่สนใจเจรจาอีกเลย แม้วุฒิสภาเสนอเป็นตัวกลาง

ผมเคยพูดตั้งแต่ตอนนั้นว่าในทางการเมือง ม็อบเสื้อแดงหมดความชอบธรรม รัฐบาลสามารถใช้กระแสบีบให้ยุติการชุมนุมได้ เพียงอาจใช้เวลายืดเยื้อไปอีกหลายวัน แต่รัฐบาลกลับตัดสินใจปราบปราม

ดร.บัณฑิตยังชี้ว่ารัฐบาลไม่ได้จัดเตรียมหน่วยกู้ชีพ สั่งถอนหน่วยกู้ชีพออกตั้งแต่เย็นวันที่ 14 พฤษภาคม ผู้ชุมนุมต้องนำผู้บาดเจ็บส่ง ร.พ.เอง ในวันที่ 15 พฤษภาคม รถกู้ชีพไม่สามารถเข้าพื้นที่ได้ เพราะถูกทหารยิงสกัดเอาไว้ มีเพียงคันเดียวที่เข้าไปรับคนเจ็บ

ผมตั้งคำ ถามเดียวกันต่อกรณีของเจ้าหน้าที่ดับเพลิง ที่รัฐบาลและกองทัพปล่อยให้ตึกเวิลด์เทรดไหม้ข้ามคืน จนเป็นภาพสมบูรณ์แบบของการ “เผาบ้านเผาเมือง”

รศ.ชูศักดิ์ ภัทรกุลวณิชย์ เปรียบเทียบได้สะใจว่า 19 พฤษภาน่ะโหดร้ายกว่า 6 ตุลา เพราะ 6 ตุลาบุกเข้าไปฆ่านักศึกษาวันเดียวจบ สังคมยังไม่ทันตั้งตัว แต่นี่ฆ่ากันกลางกรุง 5 วัน โดยคนชั้นกลางส่งเสียงเชียร์

ถ้าใช้มาตรฐาน ปปช.เมื่อวันที่ 7 ตุลา ก็ต้องบอกว่าเมื่อรู้ว่าใช้กำลังแล้วมีคนตายทำไมรัฐบาลไม่หยุด

ที่พูดมาทั้งหมดผมไม่ได้กลบเกลื่อนความรับผิดชอบของแกนนำ นปช.ของทักษิณ หรือของ “ชายชุดดำ” ซึ่งต้องมีส่วนรับผิดชอบ แต่ความรับผิดชอบหลักอยู่ที่รัฐบาล ซึ่งเป็นผู้ใช้อำนาจปราบปราม ผมพูดเช่นนี้มาตั้งแต่สมัยรัฐบาลทักษิณ กรณีกรือเซะ ตากใบ หรืออุ้มฆ่าใน 3 จังหวัดภาคใต้ ซึ่งตอนนั้นพวกนิยมทักษิณนิยมความรุนแรงก็กล่าวหาว่าทำไมไม่ปกป้องสิทธิ มนุษยชนของคนบริสุทธิ์ที่ถูกฆ่าตายบ้าง

อุดมการณ์ปฏิรูป

ประเด็นสำคัญอีกประเด็นที่วีระให้สัมภาษณ์ แล้วโพสต์ทูเดย์เอาไปขีดเส้นทำตัวเน้น (แปลว่าผู้สัมภาษณ์เน้น ตรงที่ตัวเองอยากเอามาใช้) คือเรื่องของ “แดงสยาม” และสถาบัน

เช่นที่วีระกล่าว (และโพสต์ทูเดย์เน้น) ว่า “ก่อนนี้ เราเคลื่อนไหว เราปฏิเสธแดงสยาม แต่เดี๋ยวนี้ แดงสยามซาลงไปแล้ว แล้วทำไมเราจะต้องมาแสดงบทบาทแทนแดงสยาม ในเมื่อเราไม่ใช่อย่างนั้น”

หรืออย่างที่เอามา quote โปรยหัวว่า “มีคนมาบอกผมว่า คน 2 พันล้ำหน้า ถ้าล้ำคืออะไร ล้ำอาจจะมีความรู้สึกว่าไม่เอาสถาบัน ..ไม่ได้นะ ... คุณมาคิดสนุกแบบนี้ไม่ได้ คุณคิดไม่รับผิดชอบเวลารับผิดชอบ ใครต้องรับผิดชอบ แล้วคนอย่างเราก็ต้องรับผิดชอบ”

รวมความคือวีระเห็นว่า นปช.ไม่ควรเคลื่อนไหวในทางที่ “หมิ่นเหม่” พยายามตีกรอบว่าต้องการแค่ “ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข” ใครไปไกลกว่านั้นไม่เกี่ยว ใครละเมิดกฎหมายต้องไม่ปกป้อง

บอกก่อนว่าตอนที่ นปช.ตัดญาติเสธแดงกับแดงสยาม เมื่อ พ.ค.ปีที่แล้ว ผมก็เห็นด้วย ผมเห็นด้วยกับวีระ ที่จะต้องต่อสู้ด้วยแนวทางสันติวิธี อย่าเอาพวกสุ่มเสี่ยงอย่างเสธแดงกับสุรชัย มาชักใบให้เรือเสีย

และผมยืนยันว่าเป้าหมายการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย ไม่ใช่ “ไม่เอาสถาบัน” แต่คือการทำให้เกิดความชัดเจนใน “ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขอยู่ใต้รัฐรรมนูญ”

เพียงแต่เมื่อมาถึงขั้นนี้ จาก 19 กันยา มาถึง 19 พฤษภา จนมาถึงวันนี้ การต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยไม่สามารถปฏิเสธที่จะพูดถึงบทบาทของสถาบันพระมหา กษัตริย์ต่อการเมือง ไม่สามารถพูดแค่การแก้ไขรัฐธรรมนูญ จำกัดกรอบ “แค่อำมาตย์ลงมา” โดยไม่พูดถึงการปฏิรูปสถาบัน หรือการแก้ไขกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ มาตรา 112

เพราะแม้เราจะพูดด้วยเจตนาที่ต้องการรักษาสถาบันไว้เป็นที่เคารพเทิดทูนโดย ไม่ถูกดึงมาเกี่ยวข้องกับการเมืองอีก แต่เราก็ “สุ่มเสี่ยง” “หมิ่นเหม่” อยู่ดี ภายใต้การใช้มาตรา 112 อย่างครอบจักรวาล

นี่คือสิ่งที่ต้องต่อสู้ และต้องช่วยกันปกป้อง แม้แต่คนที่มีความเห็นต่าง เช่นสุรชัย จตุพร ผมไม่เคยเห็นด้วยกับการ “ล้ำหน้า” ของสุรชัย แต่เมื่อเขาถูกจับกุมคุมขังอย่างไม่ยุติธรรมก็ต้องปกป้อง ไม่ใช่บอกว่าใครละเมิดกฎหมายต้องไม่ปกป้อง เพราะ 5 ปีที่ผ่านมา วีระก็รู้ไม่ใช่หรือว่ามีการใช้กฎหมาย 2 มาตรฐาน ไม่มีความยุติธรรม หรือวีระจะยอมเคารพกฎหมายรัฐธรรมนูญมาตรา 237 ว่าด้วยการยุบพรรค

ผมเชื่อว่านี่คือสิ่งที่มวลชนเสื้อแดงตกผลึกแล้ว จากการเคลื่อนไหวแบบ “แกนนอน” หลังพฤษภา 53 ไม่มีใครสามารถถอดโจทย์เรื่องสถาบันออกไปจากการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยได้ วีระก็ถอดไม่ได้ เพียงแต่สิ่งที่เราต้องควบคุมไม่ให้ “ล้ำหน้า” คือควบคุมให้อยู่ในกระแส “ปฏิรูปสถาบัน” เพื่อ “รักษาสถาบัน”

นี่ คือมรดกตกทอด ของอุดมการณ์พฤษภา 53 ซึ่งผมเห็นด้วยกับวีระว่า คนเสื้อแดงต้องไม่คิดแก้แค้น ถ้าพรรคเพื่อไทยชนะต้องสร้างบรรยากาศภราดรภาพ แต่ในทางหลักการและเนื้อหาประชาธิปไตย ต้องยืนหยัดให้ถึงที่สุด (ไม่ใช่แค่ประนีประนอมเพื่อเอาทักษิณกลับบ้าน)