WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Saturday, May 21, 2011

อาจารย์ชาญวิทย์กับวิกฤตการเมืองช่วงเปลี่ยนผ่าน

ที่มา มติชน



โดย เกษียร เตชะพีระ



อาจารย์ ดร.ชาญวิทย์ เกษตรศิริ อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ผู้บุกเบิกโครงการเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

(เรียบ เรียงจากคำกล่าวเกริ่นนำปาฐกถาของผู้เขียนในงาน "ชุมนุมปาฐกถา 70 ปี ดร.ชาญวิทย์ เกษตรศิริ" ที่หอประชุมศรีบูรพา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์, 7 พฤษภาคม ศกนี้)

ถึงแม้จะเหนื่อยล้าจากเพิ่ง ตรวจข้อสอบปลายเทอมเสร็จ แต่พอคุณธนาพล อิ๋วสกุล แห่ง นิตยสารฟ้าเดียวกัน ออกปากเชิญชวนให้มาร่วมปาฐกถาในโอกาสอาจารย์ชาญวิทย์ เกษตรศิริ อายุครบ 70 ปี ผมก็ตอบรับทำให้โดยไม่ลังเล

ทั้งนี้เพราะอาจารย์ชาญวิทย์เป็นครู 1 ใน 4 ท่าน ที่เปลี่ยนวิธีมองโลกของผม

ยิ่ง กว่านั้นในท่ามกลางความขัดแย้งทางการเมืองอันดุเดือด แหลมคม รุนแรงรอบหลายปีที่ผ่านมา อาจารย์ชาญวิทย์ยังเป็นหลักยึด-ที่พึ่ง-และแบบอย่างของอาจารย์นักวิชาการและ ปัญญาชน รุ่นลูกศิษย์หลานศิษย์ในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และสังคมไทยที่กว้างออกไป

ที่ อาจารย์เป็นเช่นนั้นได้ในขณะที่ครูบาผู้หลักผู้ใหญ่จำนวนไม่น้อยพากันเขว ผมเห็นว่า เพราะมีหลัก 3 ประการที่ท่านยึดไว้มั่นคง กล่าวคือ: -

1) เป้าหมายทางการเมืองที่สุดโต่งนั้นทำลายมากกว่าสร้างสรรค์

เราอาจสกัดกลั่นข้อเขียนคำอภิปรายและสัมภาษณ์หลายครั้งในระยะหลังของอาจารย์ชาญวิทย์ที่เน้นความสำคัญของการประนีประนอมปรองดอง "เกี๊ยะเซี๊ยะหรือสมานฉันท์" แทนการแตกหัก (อาทิ www.prachatai.com/journal/2009/08/25534 และ www.prachachat.net/ view_news.php?newsid=02pol01270553§ionid=0202&day=2010-05-27) ได้ว่า....

ต่อให้เป็นเป้าหมายการเมืองที่ดี แต่ถ้ายึดมั่นถือมั่นเอาไว้แต่เพียงเป้าเดียว โดยไม่คำนึงถึงเป้าหมายการเมืองอันดีงามอื่นๆ ที่เหลือทั้งหมด เช่น

จะเอาแต่ประชาธิปไตย โดยไม่คำนึงถึงสิทธิเสรีภาพ

จะเอาแต่ต่อต้านคอร์รัปชั่น โดยไม่คำนึงถึงประชาธิปไตย

จะปกป้องสถาบันหลักของบ้านเมือง แต่ไม่คำนึงถึงสิ่งดีงามอื่นๆ ทั้งหมดทั้งมวลที่ระเบียบการเมืองหนึ่งๆ พึงมีเสียแล้ว

สุด ท้ายมันจะส่งผลทำลายเสียหายต่อบ้านเมือง มากกว่าจะสร้างสรรค์สิ่งดีงามขึ้นมา เพราะลักษณะของชีวิตทางการเมืองที่เป็นจริงนั้นมันเป็นพหูพจน์

การ เมืองจึงเป็นเรื่องของการพยายามหาจุดประนีประนอมที่ลงตัวระหว่างเป้าหมายการ เมืองต่างๆ อันหลากหลาย แทนที่จะสะวิงสุดโต่งสุดขั้วแตกหักไปทางหนึ่งทางเดียว

2) วิธีการสำคัญกว่าเป้าหมาย

ใน ระยะที่ผ่านมา พลังการเมืองบางฝ่ายไม่เลือกวิธีการที่ใช้ ไม่ว่ารัฐประหาร, ใช้ความรุนแรง, ก่อการร้าย, โกหกหลอกลวงใส่ร้ายป้ายสี, ดูหมิ่นศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของผู้เห็นต่างจากตัว เพื่อไปบรรลุเป้าหมายที่ตนเห็นว่าถูกต้องดีงาม

แต่ในที่สุดแล้ว การณ์กลับตาลปัตรเป็นว่าวิธีการอันเลวร้ายนั้นได้ไปทำลายเป้าหมายดังกล่าวลง หมด ยกตัวอย่างเช่นรัฐประหาร 19 กันยายน พ.ศ.2549 ของ คปค.

คปค. กล่าวอ้างว่าที่ก่อรัฐประหารก็เพื่อต่อต้านคอร์รัปชั่น, เพื่อรักษาความรู้รักสามัคคีในหมู่คนไทย, และเพื่อปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์

ทว่าในระยะ 5 ปีที่ผ่านมา คอร์รัปชั่นหมดไปจากวงการรัฐบาลหรือ?

คนไทยรักสามัคคีกันมากขึ้นหรือ?

สถาบันพระมหากษัตริย์มั่นคงมากขึ้นหรือไม่ อย่างไร? ด้วยวิธีการรัฐประหาร

สำหรับ อาจารย์ชาญวิทย์การยึดมั่นสันติวิธีและการเจรจาหาทางออกด้วยความรู้และ เหตุผล ในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งระหว่างประเทศเพื่อนบ้านรวมทั้งในประเทศเราเอง จึงเป็นสาระสำคัญกว่าเป้าหมายเรื่องดินแดนหรืออำนาจอธิปไตยใด ๆ (อาทิ http://matichon.co.th/mtc-flv-window.php?newsid=1297138809 และ www.oknation.net/blog/piggylin/2011/02/18/entry-4)

3) คำโกหกใส่ร้ายป้ายสีผู้อื่นไม่ยั่งยืน

ใน ระยะที่ผ่านมานักวิชาการผู้พยายามยึดหลักวิชา ตั้งตนอยู่ในความเที่ยงธรรม มักถูกด่าว่า โจมตีใส่ร้ายป้ายสีจากพลังการเมืองที่ขัดแย้งกันฝ่ายต่างๆ อย่างดุเดือดเลวร้าย รุนแรงชนิดที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน โดยผ่านสื่อสารมวลชนที่อยู่ในมือของพวกเขา ไม่ว่าหนังสือพิมพ์ วิทยุ ทีวี เว็บไซต์ หรือบนเวทีชุมนุมอภิปรายต่างๆ จากข้างถนน, ห้องประชุมไปจนถึงกลางรัฐสภา (อาทิ www.prachatai.com/journal/2006/11/10711, www.manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9510000054643)

ใน ฐานะอาจารย์อาวุโสและอดีตอธิการบดีผู้มีฐานะบทบาทสำคัญ อาจารย์ชาญวิทย์จึงค่อนข้างโดนโจมตีหนักหน่วงเป็นพิเศษ (อาทิ www.prachatai3.info/journal/2007/05/12828, www. prachatai.com/print/18167 และ www.manager. co.th/Politics/ViewNews.aspx?NewsID=9540000023205)

ท่ามกลางสรรพศัพท์สำเนียงระเบ็งเซ็งแซ่ดังกล่าว ผมพบว่าวิธีอยู่กับมันก็คือทำใจเสียว่า

ถ้าอะไรจริง แม้ไม่มีใครพูดถึงเขียนถึง มันก็จริง

แต่ถ้าอะไรไม่จริง ต่อให้เอาไปพูดไปเขียนกันเลอะเทอะวุ่นวาย มันก็ไม่จริงขึ้นมาได้

หากมองเช่นนี้ได้ ใจเราก็จะค่อยสงบเยือกเย็นลง

และ ปล่อยให้ความจริงเป็นเครื่องพิสูจน์ในท้ายที่สุดว่า ระหว่างอาจารย์ชาญวิทย์ เกษตรศิริกับคนที่ได้ชื่อว่าเป็นนักวิชาการ และเจ้าพ่อสื่อผู้ต้องหาคดีก่อการร้ายนั้น ประวัติศาสตร์จะพิพากษาว่าอย่างไร?

ผมคิดว่าบทเรียนที่เรา พอสรุปได้จากบทบาทและประสบการณ์ของอาจารย์ชาญวิทย์กับวิกฤตการเมืองไทยรอบ หลายปีที่ผ่านมาก็คือ พลังการเมืองใดละทิ้งหลักการ 3 ข้อข้างต้นนั้น

ถึงชนะใหญ่โตก็ชั่วครู่ชั่วคราว ไม่ยั่งยืน

รังแต่จะพ่ายแพ้ เพลี่ยงพล้ำ เสื่อมถอย แตกแยก หดเล็กลงในระยะยาว (www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1297584699&grpid=no&catid=04, http://news.mthai.com/ headline-news/112145.html และ www.bangkokpost.com/print/234122/)

ดัง ที่เราเห็นกันอยู่ว่าถึงขั้นใช้วิธีการอันเลวร้ายที่เคยทำกับคนอื่นมาเล่น งานทำลายพวกพ้องเดียวกันเองแล้วตอนนี้ (www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1304654083&grpid=no&catid=&subcatid=)

และน่าเชื่อว่าสุดท้ายวิธีการเลวร้ายดังกล่าวก็จะย้อนมาทำลายตัวผู้ใช้เองในที่สุด