ที่มา ประชาไท
18 พ.ค.54 เวลา 10.30 น. ศาลปกครองสูงสุด มีคำพิพากษาให้สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) ชดใช้ค่าค่าสินไหมทดแทนความเสียหายแก่นักพัฒนาเอกชน (เอ็นจีโอ) ผู้ฟ้องคดี 5 คน ในกรณีการตรวจสอบข้อมูลทางธุรกรรมของทั้ง 5 คน โดยไม่มีอำนาจตามกฎหมาย และละเมิดต่อสิทธิในความเป็นส่วนตัว ซึ่งรัฐธรรมนูญคุ้มครองไว้ โดยศาลพิพากษาให้ชดใช้เงินแก่ผู้ฟ้องคดีทั้งห้า คนละ 10,000 บาท รวมเป็นเงิน ทั้งสิ้น 50,000 บาท พร้อมด้วยดอกเบี้ยจนถึงวันฟ้องคดี
ทั้งนี้ คดีนี้มีสุรชัย ตรงงาม และส.รัตนมณี พลกล้า เป็นทนายความผู้รับผิดชอบคดี
คำ พิพากษาในคดีหมายเลขแดงที่ อ.46/2554 ระหว่างนายชัยพันธ์ ประภาสะวัต ผู้ฟ้องคดีที่ 1, นายภาคภูมิ วิธานติรวัฒน์ ที่ 2, นายบารมี ชัยรัตน์ ที่ 3, นายนันทโชติ ชัยรัตน์ ที่ 4, และนายประยงค์ ดอกลำใย ที่ 5 ผู้ฟ้องคดีทั้ง 5 คน กับ สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ที่1, เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ที่ 2, สำนักงานเทคโนโลยีสารสนเทศและสืบสวนทางการเงิน (ผู้อำนวยการศูนย์สารสนเทศและติดตามประเมินผล เดิม)ที่ 3 ซึ่งเป็นคดีเกี่ยวกับการกระทำละเมิดของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของ รัฐ อันเกิดจากการใช้อำนาจตามกฎหมาย ในกรณีที่ผู้ถูกฟ้องคดีออกคำสั่งตรวจสอบข้อมูลการทำธุรกรรมซึ่งเป็นข้อมูล ส่วนตัวของผู้ฟ้องคดีทั้งห้า ไปยังสถาบันการเงินต่างๆ โดยไม่มีอำนาจตามกฎหมาย
ศาลปกครองพิพากษาให้สำนัก งานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนความเสียหายแก่ผู้ฟ้องคดีทั้งห้า คนละ 10,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีของต้นเงินดังกล่าวนับแต่วันที่ 15 ตุลาคม 2554 เป็นต้นไปจนถึงวันฟ้องคดี
โดยศาลสูง สุดวินิจฉัยว่า ผู้ถูกฟ้องอ้างว่าอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่ง พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการทุจริต ในการออกคำสั่งตรวจสอบการทำธุรกรรมของผู้ฟ้องคดีทั้ง 5 คน โดยมีที่มาจากการได้รับบัตรสนเท่ ซึ่งศาลวินิจฉัยว่า ปปง.ไม่มีอำนาจกระทำได้ อีกทั้งต้องพิจารณาว่าบัตรสนเท่ห์จะมีน้ำหนักรับฟังได้เพียงใด ต้องตรวจสอบความเป็นไปได้ของข้อความอันเป็นข้อกล่าวหาตามบัตรสนเท่ห์ต่อไป มิใช่อาศัยบัตรสนเท่ห์นั้นเป็นฐานในการใช้อำนาจตามกฎหมายได้เลยทันทีเนื่อง จากการใช้อำนาจตามพ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน เป็นกฎหมายที่จำกัด และกระทบสิทธิเสรีภาพส่วนบุคคลที่รัฐธรรมนูญรับรองและคุ้มครองไว้ การตีความบทบัญญัติและการใช้อำนาจตามกฎหมายดังกล่าว จึงต้องเคร่งครัดกับถ้อยคำ และหลักการในกฎหมายอย่างยิ่ง เหตุอันควรสงสัยว่าธุรกรรมใดเกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดฐานฟอกเงินหรือไม่ ต้องมีข้อเท็จจริงภายนอกอันแสดงหรือบ่งชี้ให้เห็น มิใช่สงสัยไปเองว่าธุรกรรมใดเกี่ยวข้องหรืออาจเกี่ยวข้องกับการกระทำความผิด ฐานฟอกเงิน แล้วดำเนินการใช้อำนาจตามกฎหมาย อันเป็นการกระทบสิทธิเสรีภาพของบุคคล ดังนั้น ข้อเท็จจริงตามบัตรสนเท่ห์ ไม่เป็นเงื่อนไขเพียงพอที่ ปปง.จะใช้อำนาจเพื่อสั่งให้ตรวจสอบข้อมูล ธุรกรรมของผู้ฟ้องคดีทั้งห้า
“การกระทำดังกล่าวของ ผู้ถูกฟ้องคดีเป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายที่ เสียหายต่อสิทธิที่จะได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายในความเป็นอยู่ส่วนตัว อีกทั้งยังเป็นข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ฟ้องคดีทั้งห้า การกระทำของผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสาม จึงเป็นการกระทำละเมิดต่อผู้ฟ้องคดีทั้งห้า”