WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Sunday, May 8, 2011

นับถอยหลัง ชี้ชะตา2พรรค

ที่มา ข่าวสด



ถึง จะมีความขลุกขลักอยู่บ้างจนสังคมเกิดข้อวิตกกังวลว่าปฏิทินการยุบสภาเลือก ตั้งใหม่ อาจต้องเลื่อนออกไปจากที่ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีเคยประกาศไว้ในตอนแรก

ไม่ว่าจะเป็นความขลุกขลักกรณีกฎหมายลูก 3 ฉบับที่อยู่ในกระบวน การของศาลรัฐธรรมนูญ

รวมถึงข้อหวั่นเกรงว่าการเมืองจะเกิดสุญญากาศ ถ้าหากยุบสภาแล้วแต่ยังไม่มีประธานวุฒิสภามาทำหน้าที่รักษาการประธานรัฐสภา

แต่ทุกอย่างก็คลี่คลายโดยเร็วเมื่อมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ พล.อ.ธีรเดช มีเพียร เป็นประธานวุฒิสภาเมื่อวันที่ 4 พ.ค.ที่ผ่านมา

ขณะเดียวกันศาลรัฐธรรมนูญก็ยืน ยันว่า

ถึงแม้ต้องใช้เวลาในการพิจารณากฎหมายลูกทั้ง 3 ฉบับอย่างละเอียดรอบคอบ แต่ก็จะไม่ส่งผลต่อการยุบสภาที่นายกฯ กำหนดเงื่อน ไขเวลาไว้แล้วแต่อย่างใด

กระทั่งในที่สุดนายกฯอภิสิทธิ์ จึงตัดสินใจนำร่างพระราชกฤษฎีกายุบสภา ขึ้นทูลเกล้าฯ เมื่อช่วงบ่ายวันที่ 6 พ.ค. ก่อนตนเองจะเดินทางไปประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน ที่ประเทศอินโดนีเซีย

โดยมีกำหนดเดินทางกลับประเทศ ไทยวันที่ 9 พ.ค. ซึ่งนายกฯอภิสิทธิ์ บอก ว่าจะเปิดแถลงข่าวชี้แจงรายละเอียดเกี่ยวกับการยุบสภาและการเลือกตั้งอีก ครั้ง

ดังนั้น ถึงวันยุบสภาจะคลาดเคลื่อนไปจากปฏิทินเดิมอยู่บ้าง แต่ก็ไม่ส่งผลกระทบต่อวันเลือกตั้ง ที่คาดว่าจะมีขึ้นไม่วันที่ 26 มิ.ย. ก็เป็นวันที่ 3 ก.ค.

ซึ่งล่าสุด นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกฯ และผู้จัดการรัฐบาลแย้มออกมาบ้างแล้วว่า การเลือกตั้งจะมีขึ้นวันใดนั้นขึ้นอยู่กับการประกาศให้กฎหมายลูกทั้ง 3 ฉบับมีผลบังคับใช้

หากบวกลบเวลาที่กกต.ต้องใช้ในการ เตรียมตัวจัดการเลือกตั้งแล้ว วันที่ 26 มิ.ย. อาจไม่ทัน

สรุปว่าความเป็นได้สูงสุด คือการเลือกตั้งน่าจะมีขึ้นวันที่ 3 ก.ค.

เมื่อนับถอยหลังจากนี้ไป 55 วันก็จะเป็นวันเลือกตั้ง

ถึงนายกฯอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ จะรักษาคำพูดของตนเองไว้ได้ในการทูลเกล้าฯ พระราชกฤษฎีกายุบสภาภายในสัปดาห์แรกของเดือนพ.ค.

แต่ที่ตกเป็นหัวข้อวิพากษ์วิจารณ์กันอย่างหนักหน่วง

คือพฤติกรรมการ 'ทิ้งทวน' อนุมัติงบประ มาณโครงการในการประชุมคณะรัฐมนตรี นัดประวัติศาสตร์ เมื่อวันที่ 3 พ.ค. ข้ามคืนต่อเนื่องวันที่ 4 พ.ค.

เป็นการประชุม 'มิดไนต์มาราธอน' นาน 15 ชั่วโมง พิจารณาโครงการมากถึง 200 กว่าโครง การ อนุมัติงบประมาณกว่า 1.3 แสนล้านบาท

ทำให้ถูกครหาว่าเป็นมหกรรม 'ลาสต์ซัปเปอร์'

สวาปามมื้อใหญ่นาทีสุดท้ายก่อนพ้นจากอำนาจ จนฝ่ายค้านเสนอนำไปจดบันทึกสถิติลงกินเนสส์บุ๊ก ด้วยอัตราเฉลี่ยอนุมัติงบฯ นาทีละกว่า 100 ล้านบาท

พร้อมตั้งข้อสังเกตเป็นการ 'แบ่งเค้ก' ก้อนใหญ่ในหมู่พรรคร่วมรัฐบาล

วางมัดจำซื้อใจกันล่วงหน้า หวังผลไกลไปถึงการกลับมาจับมือตั้งรัฐบาลอีกครั้งหลังเสร็จศึก เลือกตั้ง

ตอกย้ำความจริงที่ว่าพรรคประชาธิปัตย์กำลัง'หน้ามืด' จากกระแสความนิยมตกต่ำ อันเนื่องมาจากปัญหาข้าวยากหมากแพง ที่ดูเหมือนเป็นจุดอ่อนที่สุดของรัฐบาล

ทั้งยังเกิดปัญหาวุ่นวายขัดแย้งกันเองภายในพรรค เกี่ยวกับการวางตัวผู้สมัครลงเลือกตั้งในระบบเขตและบัญชีรายชื่อ

สุดท้ายเลยเข้าตาจนต้องตัดสินใจใช้ 'กระสุน' เข้าต่อกรกับฝ่ายตรงข้ามที่ 'กระแส' กำลังมา แรง

โดยไม่สนใจเสียงครหา ประชาธิปัตย์อาศัย ความได้เปรียบในฐานะพี่ใหญ่ฝ่ายรัฐบาล นำเงินงบประมาณของรัฐไปหว่านหาเสียง

จากเสียงนินทาไล่หลังจึงเป็นเรื่องต้องจับตา ดูกันต่อไป

มหกรรม 'ลาสต์ซัปเปอร์' จะช่วยให้คะแนนความศรัทธาของประชาชนต่อรัฐบาลพรรคประชา ธิปัตย์ กระเตื้องขึ้นมากน้อยขนาดไหน

หรือจะโดนกระแสตีกลับดำดิ่งหนักกว่าเดิม

นักวิเคราะห์การเมืองในซีกพรรคประชาธิปัตย์เชื่อว่า

ศึกเลือกตั้งที่ใกล้จะมีขึ้นเป็นการขับเคี่ยวกันระหว่างพรรคประชาธิปัตย์กับ เพื่อไทย ในสภาพที่คู่คี่สูสี 200 เสียงบวกลบ โดยมีพรรคขนาดกลางเป็นตัวชี้ขาดว่าระหว่าง 2 พรรคใหญ่ใครจะได้จัดตั้งรัฐบาล

ในสภาพคู่คี่ก้ำกึ่งนี้เอง แกนนำพรรคประชาธิปัตย์ รวมทั้งตัวนายอภิสิทธิ์เองก็ได้แบไต๋ออกมาแล้วว่า จะยึดถือหลักพรรคใดสามารถรวบรวมเสียงข้างมากได้

ก็จะได้เป็นแกนนำรัฐบาลและเป็นนายกรัฐมนตรี

โดยไม่สนใจเสียงท้วงติงว่าอาจเป็นการทำลายหลักการ วัฒน ธรรมประเพณีทางการเมืองที่สืบทอดมาตั้งแต่สมัยนายชวน หลีกภัย เป็นหัวหน้าพรรค

ซึ่งสอดคล้องกับกรณีนายเนวิน ชิดชอบ แกนนำพรรคภูมิใจไทยที่เชื่อว่า ไม่ว่าผลเลือกตั้งจะออกมาอย่างไร พรรคเพื่อไทยก็ไม่มีทางได้จัดตั้งรัฐบาล

อย่างไรก็ตามถึงหลักการดังกล่าวจะไม่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ แต่ก็ขัดต่อเจตนารมณ์ของประชาชนที่ได้สะท้อนผ่านการลงคะแนนเลือกตั้ง

ทั้งนี้ด้วยอำนาจลี้ลับนอกระบบและมือที่มองไม่เห็นซึ่งแกะไม่ออกจากพรรคประชาธิปัตย์ ทั้งยังมีอิทธิพลเหนือพรรคขนาดกลางและขนาดเล็ก

ทำให้มีความเป็นไปได้สูงมากว่า

ต่อให้พรรคเพื่อไทยชนะเลือกตั้ง ได้รับเลือกเข้ามาเป็นพรรคอันดับ 1 แต่ผลสุดท้ายก็ไม่สามารถจัดตั้งรัฐบาลได้เพราะไม่มีพรรคใดเข้ามาร่วมด้วย

แต่ปัญหาคือประชาชนจะยอมรับได้หรือไม่ เพราะถ้ามองในมุมกลับกันการกำหนดโฉมหน้ารัฐบาลไว้ตั้งแต่ยังไม่ทันได้เลือกตั้ง

ก็ไม่ต่างจากการท้าทายอำนาจประชาชน

ทั้งยังเป็นการเสริมส่งให้พรรคเพื่อไทยฉวยโอกาสนำไปเป็นประเด็นหาเสียงเรียก คะแนนสงสาร ปลุกกระแสชักนำประชาชนให้เลือกเพื่อไทยได้เสียงเกินครึ่ง เพื่อเข้าไปจัดตั้งรัฐบาลพรรคเดียว

ตัดปัญหายืมจมูกพรรคอื่นหายใจ