WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Wednesday, May 11, 2011

ไทยเป็นตัวปัญหาในอาเซียน

ที่มา Thai E-News



สมาชิก ของอาเซียนและประชาคมโลกรู้สึกเบื่อหน่าย และมองไปว่า ประเทศไทยไม่มีเจตนาที่จะแก้ปัญหาชายแดนระหว่างไทยกับกัมพูชาอย่างจริงจัง ตามกระบวนการของอาเซียนและข้อมติของสหประชาชาติ แม้กระทั่งรัฐมนตรีช่วยต่างประเทศของมาเลเซียก็หมดความอดทนต่อไทย และได้ออกมากล่าวหาว่าไทยละเมิดข้อตกลงเรื่องการส่งผู้สังเกตการณ์ไปยัง พื้นที่ข้อพิพาทฯ


โดย ดร.พิทยา พุกกะมาน อดีตเอกอัครราชทูต

ไม่ มีใครจะปฏิเสธได้ว่า ท่าทีของรัฐบาลไทย เกี่ยวกับปัญหาความขัดแย้งตามแนวชายแดนระหว่างไทยกับกัมพูชา ทำให้ประเทศไทยถูกมองไปในทางลบในสายตาของสมาชิกอาเซียนและประชาคมโลก

ใน ขณะที่กัมพูชาสามารถสร้างภาพให้ต่างประเทศเห็นว่า เป็นฝ่ายที่รักสันติและปฏิบัติตามพันธกรณีและกฏหมายระหว่างประเทศ ความล้มเหลวของการทูตไทยดังกล่าวนี้นับได้ว่า เป็นผลงานของรัฐบาลของนายอภิสิทธิ์ฯ และรัฐมนตรีต่างประเทศของไทยที่วางตัวเป็นศัตรูกับทุกประเทศ

นับ ตั้งแต่สหประชาชาติได้มอบหมายให้อินโดนีเซีย ในฐานะประธานอาเซียน เป็นผู้ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทตามแนวชายแดนระหว่างไทยกับกัมพูชาเพื่อให้บรรลุ ถึงการคลี่คลายปัญหาการขัดแย้งระหว่างไทยกับกัมพูชา ประเทศไทยได้แสดงท่าทีที่บ่ายเบี่ยงอย่างเห็นได้ชัด ในลักษณะทีเล่นทีจริง หรือไม่ยอมให้ความร่วมมือกับอินโดนีเซียอย่างดื้อ ๆ

และไม่ยอมให้ ผู้สังเกตการณ์อินโดนีเซียเข้ามาทำหน้าที่ในพื้นที่ของไทยตาม แนวชายแดนฯ โดยตั้งแง่นานาประการเพื่อหลีกเลี่ยงที่จะปฏิบัติตามข้อตกลงฯ

ใน ทางตรงกันข้าม ฝ่ายกัมพูชาได้แสดงท่าทีผ่อนปรนและยินยอมให้ความร่วมมือกับอินโดนีเซียในการ ไกล่เกลี่ยกรณีข้อพิพาทฯ โดยอ้างว่า ตนต้องการให้มีการแก้ไขข้อพิพาทฯ อย่างสันติบนพื้นฐานของกฏหมายระหว่างประเทศและตามเจตนารมย์ของกฏบัตรอาเซียน รวมถึงสนธิสัญญาและความตกลงที่เกี่ยวข้อง

ในขณะที่ไทยยังไม่มี ท่าทีที่ชัดเจนเกี่ยวกับการยอมรับการไกล่เกลี่ยของ อินโดนีเซีย กัมพูชาได้แสดงท่าทีที่ชัดเจนในการยอมให้ความร่วมมือแก่อินโดนีเซียที่จะส่ง ผู้สังเกตการณ์เข้ามาในบริเวณปราสาทพระวิหารตามมติของสหประชาชาติ

เมื่อ อินโดนีเซียได้จัดทำข้อตกลงเพื่อกำหนดอำนาจหน้าที่ของผู้สังเกตการณ์ เสร็จแล้ว กัมพูชาได้ทำหนังสือยินยอมเมื่อวันที่ ๓ พฤษภาคมเพื่อให้ข้อตกลงฯ มีผลใช้บังคับ ในขณะที่ประเทศไทยยังไม่ยอมรับข้อตกลงฯ และยังตั้งเงื่อนไขอยู่ตลอดเวลา

ทำให้สมาชิกของอาเซียนและประชาคม โลกรู้สึกเบื่อหน่ายและมองไปว่าประเทศไทย ไม่มีเจตนาที่จะแก้ปัญหาชายแดนระหว่างไทยกับกัมพูชาอย่างจริงจังตามกระบวน การของอาเซียนและข้อมติของสหประชาชาติ

แม้กระทั่งรัฐมนตรีช่วยต่าง ประเทศของมาเลเซียก็หมดความอดทนต่อไทย และได้ออกมากล่าวหาว่าไทยละเมิดข้อตกลงเรื่องการส่งผู้สังเกตการณ์ไปยัง พื้นที่ข้อพิพาทฯ

การเจรจาในระดับทวิภาคีน่าจะเป็นวิธีแก้ปัญหา ระหว่างประเทศที่ได้ผลที่สุด แต่จนถึงปัจจุบัน การเจรจาแบบทวิภาคียังไม่มีผลคืบหน้าแต่ประการใด ในขณะที่ทหารไทยและคนไทยต้องสังเวยชีวิตจากการปะทะกับกองกำลังฝ่ายเขมรตาม แนวชายแดนฯ

นอกจากนี้ รายงานการประชุมคณะกรรมการร่วมเพื่อแก้ไขปัญหาชายแดนไทยกัมพูชาทั้ง ๓ ฉบับก็ยังไม่ได้รับความเห็นชอบจากฝ่ายไทย เนื่องจากปัญหาภายในของไทยเอง และข้อจำกัดของรัฐธรรมนูญของปี ๒๕๕๐ ซึ่งระบุว่ารัฐสภาต้องให้ความเห็นชอบในหนังสือสัญญาระหว่างประเทศ

เมื่อ การเจรจาในระดับทิวภาคีไม่ได้ผลหรือไม่คืบหน้า ไทยก็ควรจะใช้ช่องทางอื่น ๆ ซึ่งรวมถึงการไกล่เกลี่ยโดยประเทศที่สาม หรือการเจรจาในระดับพหุภาคีในขอบเขตที่จำกัด เพื่อมิให้ข้อพิพาทบานปลายเป็นปัญหาระหว่างประเทศ จนศาลโลกต้องเข้ามาเกี่ยวข้อง

อาเซียนเองก็มีกลไกสำหรับการแก้ไขข้อ พิพาทในระดับภูมิภาค เช่น สนธิสัญญา Amity and Cooperation, ASEAN Regional Forum, สถาบันเพื่อสันติและความสมานฉันท์ และการประชุมสุดยอดของอาเซียน

ซึ่งประเทศไทยอาจจะใช้ให้เป็นประโยชน์ได้เพื่อส่งเสริมสันติภาพ ความมั่นคง และเสถียรภาพในภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้

*****เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษ****

Respect for ASEAN Process

No one would deny that the most recent Thai-Cambodian border conflict has put Thailand in a bad light in the eyes of ASEAN and the world community, whilst Cambodia has managed to portray itself as a respectable and law abiding member. It would be all too easy to point accusing fingers at the Abhisit Government and the abrasive Thai Foreign Minister for the failure of Thai foreign policy vis-?-vis the Cambodia issue in the context of ASEAN and the international community.

Since the United Nations had mandated Indonesia, as ASEAN Chairman, to mediate the settlement of the border conflict between Thailand and Cambodia, the Thai government has not been very forthcoming in accepting the Indonesian mediation, let alone the stationing of Indonesia observers on its soil by citing technicalities. On the other hand, Cambodia has shown its willingness (at least in words) to accept mediation by ASEAN Chairman by declaring that it seeks peaceful settlement of this border dispute based on the principles of international law and the spirit of the ASEAN Charter and treaties as well as other related agreements. So, while Thailand is still struggling on how to come to terms with ASEAN mediation, Cambodia has scored points. Cambodia has lost no time in commending the efforts by Indonesia to dispatch observers to the area of the Pra Viharn (Preah Vihea) Temple in order to monitor the ceasefire in accordance with the UN mandate. Meanwhile, the Thai Foreign Ministry and the Thai Defence Ministry are still at loggerheads on the issue of deployment of observers and the GBC. When Indonesia finalized the Terms of References (TORs) for deploying the observers, Cambodia signed the Acceptance Letter on May 3rd to put the TORs into effect. Thailand has not yet accepted the TORs and still continues to put up conditions and technicalities. For ASEAN and the international community, the Thai Government’s procrastination and dubious moves could be interpreted by ASEAN members as the lack of willingness to settle the border dispute with Cambodia in accordance with ASEAN process and UN mandate.



Using bilateral mechanism may be a preferred method of resolving the border dispute but it has not hitherto made any significant progress. Moreover, the adoption of the 3 records of the meetings of the Thai-Cambodian Joint Border Committee (JBC) have not yet been approved by Thailand. The Thai government is still at a loss as to which government agency has the authority over the matter. It is still hamstrung by the 2007 Constitution that requires Parliamentary approval. Therefore, the Thai government should use all avenues available, whether they be bilateral or multilateral, to achieve a settlement of the border dispute before the issue takes on an international dimension which will be too much for Thailand to handle. The Thai-Cambodian conflict presents a great challenge to ASEAN. It can act as an obstacle to ASEAN Community to be realized in 2015. ASEAN has many mechanisms to resolve regional conflicts: The Treaty of Amity and Cooperation, the ASEAN Regional Forum (ARF), ASEAN Institute for Peace and Reconciliation, and ASEAN Summit. Thailand should engage them as much as possible to enhance peace, security, and stability in the region.