WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Saturday, May 14, 2011

“คำ ผกา” ชี้ “ณัฐวุฒิ” พาลูกเมียกินข้าวนอกบ้านถือว่าต้องตามธรรมเนียมไพร่

ที่มา ประชาไท

คำ ผกา” เขียนบทความสอน “กรณ์ จาติกวณิช” ชี้ “ไพร่-อำมาตย์” ไม่เกี่ยวกับเรื่องทรัพย์สินเงินทอง แต่เป็นเรื่องการต่อสู้ทางการเมืองหลังรัฐประหาร 2549 โดยฝ่ายแย่งอำนาจคือ “อำมาตย์” ส่วนเรื่องกินข้าวนอกบ้านถือเป็นสำนึกแบบไพร่กระฎมพี เพราะใช้ภาชนะร่วมกับคนอื่น ย้ำณัฐวุฒิและครอบครัวออกมากินข้าวนอกบ้านถือว่าถูกต้องตามธรรมเนียมไพร่ รวมทั้งกรณ์และเมียก็ถือว่าเป็นไพร่

ตามที่เมื่อวันที่ 7 พ.ค. ที่ผ่านมา นายกรณ์ จาติกวณิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ได้โพสต์ลงในบัญชีผู้ใช้ facebook ว่า "เมื่อสักครู่ ได้มาทานข้าวกับภรรยาที่ร้านอาหารแถวๆทองหล่อ คนที่นั่งอยู่โต๊ะข้างๆบอกว่า ณัฐวุฒิ ไสยเกื้อ กับครอบครัวเพิ่งลุกไปจากโต๊ะที่ผมนั่งอยู่ไม่ถึง 5 นาทีที่ผ่านมานี้เอง ทำให้เราอดนึกขำไม่ได้ว่า คนที่เรียกตัวเองว่า "ไพร่" ก็ไม่ได้ใช้ชีวิตแตกต่างไปจากคนที่เขาเรียกว่าเป็นพวก "อำมาตย์" สักเท่าใดนัก" และตามมาด้วยวิวาทะออนไลน์ จากนายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อนั้น (อ่านข่าวย้อนหลัง)

ล่าสุดเมื่อวานนี้ มีในหนังสือพิมพ์มติชนออนไลน์ มีการเผยแพร่บทความหัวเรื่อง ไพร่ VS อำมาตย์” เขียนโดย “คำ ผกา” นักเขียน และคอลัมน์นิสต์หนังสือพิมพ์ ซึ่งวิจารณ์วิวาทกะของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง โดย คำ ผกา ระบุว่า “ให้ตายเถอะ ฉันไม่คิดเลยว่า ประเทศไทยจะโชคร้ายมีรัฐมนตรีคลังที่ทัศนคติทางการเมืองและสังคมที่เสื่อม ทรามขนาดนี้ ทั้งสะท้อนความคับแคบของโลกทัศน์ วิธีคิด แสดงอาการของคนที่สักแต่ได้เรียนหนังสือทว่าขาดการศึกษาอย่างรุนแรง”

คำ ผกา ได้อธิบายเรื่อง ไพร่-อำมาตย์ ว่าไม่ใช่เรื่องของความสามารถในการบริโภค แต่เป็นเรื่องการต่อสู้ทางการเมือง “วาทกรรม ไพร่-อำมาตย์ นั้นคนที่มีปัญญาย่อมเข้าใจได้ทันทีว่ามันหมายถึงการต่อสู้ของประชาชนที่ออก มาบอกว่า สังคมไทยต้องการระบอบประชาธิปไตยที่สมบูรณ์ ทว่า สิ่งที่เกิดขึ้นกับสังคมไทย โดยเฉพาะนับตั้งแต่หลังการรัฐประหารปี 2549 คือการกระทำที่ดึงเอาระบอบประชาธิปไตยออกจากสังคมไทย-คือขบวนการล้ม ประชาธิปไตย, ล้มประชาชน-พลันพวกเราที่เป็นประชาชนอยู่ดีๆ ต้องกลายไปเป็น "ไพร่" ส่วนชนชั้นนำที่แย่งอำนาจไปจากประชาชนจึงกลายเป็น "อำมาตย์"-กลับไปสู่การปกครองยุคก่อนสมัยใหม่”

ย้ำ อีกรอบ เพราะดูเหมือนคนอย่างกรณ์น่าจะสมองช้า การรับรู้ช้า และเข้าใจอะไรได้ช้า (ไม่อย่างนั้นคงไม่เขียนทัศนคติเสื่อมๆ ออกมาเช่นนั้น) - ย้ำว่า - ความเป็นประชาชนถูกพรากไปจากคนไทยเพราะการรัฐประหาร และนับแต่นั้นคนไทยแบ่งออกเป็น อำมาตย์+เครือข่าย, ไพร่ และสุดท้าย คือกลุ่มสมองช้าปัญญาทึบ นึกว่าใครมีปัญญาไปกินข้าวร้านแพงๆ แปลว่า "อำมาตย์" คนกลุ่มนี้เลยเลือกอยู่ข้างเป็นสมุนอำมาตย์คอยเห่าเป็นคอรัสให้อำมาตย์แลก เศษเนื้อเศษกระดูกเท่านั้น” บทความที่เขียนโดย คำ ผกา ระบุ และย้ำว่า พรรคประชาธิปัตย์ “เป็นแค่สมุนรับใช้อำมาตย์ – ไม่แม้แต่จะเป็นอำมาตย์ด้วยตนเอง”

ทั้งนี้ ความเป็นไพร่และอำมาตย์นั้นไม่มีอะไรเกี่ยวข้องกับปริมาณของเงินทอง ทรัพย์สินที่ครอบครองอยู่ ทว่า มันเกี่ยวพันโดยตรงกับสิ่งที่เรียกว่าสิทธิในฐานะที่เป็นประชาชนในระบอบการ ปกครองที่มิใช่ประชาธิปไตย "อำมาตย์" มีสิทธิจะชี้บอกว่าสิ่งมีชีวิตหน้าไหนคือคนและหน้าไหนไม่ใช่คน”

คำ ผกา อธิบายด้วยว่า "วัฒนธรรมการกินข้าวนอกบ้านเป็นวัฒนธรรมของไพร่กระฎุมพี การที่ครอบครัวของนายณัฐวุฒิออกมาทานข้าวนอกบ้านนั้นถือว่าถูกต้องตาม ธรรมเนียมไพร่ทุกประการ"

การกินข้าวนอกบ้าน เท่ากับว่าเราได้ใช้ จาน ชาม ช้อน ส้อม แก้วน้ำ ร่วมกับคนอื่น เครื่องครัว มีด ครก เขียงของร้านนั้นทำอาหารมาให้คนร้อยพ่อพันแม่กินมาแล้ว ปราศจากสำนึกแบบกระฎุมพี วัฒนธรรมการกินการใช้ของร่วมกับคนร้อยพ่อพันแม่ที่เราไม่รู้จักไม่มีวันเกิด ขึ้นได้

ขยายความต่อไปว่า สำนึกแห่งการใช้ของร่วมกันเป็นสาธารณะ เป็นส่วนหนึ่งของสำนึกและวัฒนธรรมประชาธิปไตยด้วย (ด้วยความที่เราตระหนักว่าคนที่กินช้อนคันเดียวกับเราเมื่อวานก็เป็นคน เหมือนกับเราจึงไม่เห็นมีอะไรน่ารังเกียจกับการไปกินข้าวในร้านอาหาร)

ณัฐ วุฒิ ใสยเกื้อ และครอบครัวเป็นไพร่ออกมากินข้าวนอกบ้านนั้นถูกต้องตามธรรมเนียมไพร่ทุก ประการ กรณ์และเมียก็เป็นไพร่ด้วยเช่นกัน จึงมีวัฒนธรรมการกินข้าวนอกบ้านเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวัน”

คำ ผกา อธิบายด้วยว่ามีความแตกต่างของไพร่สองคนคือกรณ์และณัฐวุฒิ โดยที่ “ไม่ ได้ต่างตรงที่ใครมีเงินมากกว่ากัน แต่ที่ต่างกันที่ณัฐวุฒิเป็นไพร่ที่ออกมาต่อสู้เพื่อให้มาซึ่งความเป็น ประชาชนกลับมาสู่คนไทยทุกคน ส่วนกรณ์เป็นไพร่ที่ต้นตระกูลก็โล้สำเภามาจากหมู่บ้านเล็กๆ จากเมืองจีน (ซึ่งไม่แปลกเพราะสังคมไทยก็เป็นสังคม Mestizo หรือสังคมลูกครึ่งอยู่แล้ว แต่ที่แปลกคือ Mestizo ของไทยเลือกจะจำว่าตนเองเป็นอำมาตย์ มากกว่าเป็นลูกครึ่งจีนอพยพ) อาศัยเกาะกิน หาสัมปทาน ค้าขาย เป็นนายหน้าให้กับอำมาตย์จนมั่งคั่งขึ้นมาระดับหนึ่ง และด้วยทางครอบครัวมิได้อบรมให้ตระหนักรู้จักรากเหง้าที่มาของตนเอง”

วัน ดีคืนดีเลยลืมตัวเป็นวัวลืมตีน ลืมไปว่าบรรพบุรุษของตนก็เป็นไพร่จ่ายส่วยเท่านั้น เมื่อเป็นวัวลืมตีนเช่นนี้ คนอย่างกรณ์จึงมีความสุขที่จะหากินในฐานะสมุนอำมาตย์มากกว่าจะตระหนักในความ สำคัญของประชาธิปไตยและสิทธิของคนไทยในฐานะที่เป็นประชาชน บวกกับเป็นเพียงผู้ที่ได้เรียนหนังสือแต่มิได้มีการศึกษาจึงขาดความลึกซึ้ง มีความคิดและความสามารถในการทำความเข้าใจปรากฏการณ์ทางสังคมได้แต่เพียง ผิวเผิน ทั้งไร้รสนิยมในการเขียน ถกเถียง และแสดงความรู้สึก” ตอนหนึ่งของบทความโดย “คำ ผกา” ระบุ (อ่านบทความทั้งหมดที่นี่)